ความไม่พร้อมของระบบประชาธิไตยของคนไทย 2

การเปลี่ยนถ่ายอำนาจ แล้วเป็นกลุ่มรวมศูนย์อำนาจแบบแร้งทึ่ง เป็นกลุ่มคนหยิบมือ ท่านครับ การเปลี่ยนถ่ายอำนาจสู่ระบบประชาธิปไตย มันก็เป็นธรรมดา จากอำนาจคนหนึ่งคน สู่อำนาจกลุ่มหนึ่ง แล้วมาสู่อำนาจคนกลุ่มขนาดใหญ่ขึ้น เป็นคลื่นลูกระนาบ ครั้นจะเปลี่ยนจากอำนาจคนหนึ่ง สู่ปวงชนทั้งหมดแบบมีส่วนร่วม มันไม่มีอยู่จริงในโลกนี้หรอก ถ้าเริ่มต้นด้วยระบบสมบูรณาสิทธิราช นอกจากการเป็นพบดินแดนใหม่ ในยุคสมัยใหม่หลังปฏิวัติอุตสาหกรรม นั่นอาจเริ่มต้นด้วยกลุ่มอำนาจ

อังกฤษกว่าเขาจะเปลี่ยนถ่ายสำเร็จ ก็จะใช้เวลานานโข จากกษัตริย์ ก็มาสู่กลุ่มสภาขุนนาง แล้วถึงมาหลังปฏิวัติอุตสาหกรรม ทีกลุ่มแรงงานมีส่วนรวมมากขึ้น หรือท่านจะเอาแบบ Radical เปลี่ยนแปลงแบบรุนแรงอย่างฝรังเศส มันก็อีกแบบ

การเปลี่ยนแปลงถ่ายโอนอำนาจ มันก็เกิตการต่อสู้เชิงความขัดแย้ง แย่งชิงอำนาจ เป็นเรื่องกลุ่มผลประโยชน์ การกระจายผลประโยชน์สู่กลุ่มใหญ่ขึ้น ที่บอกจะให้สักวันหนึ่ง ในความเป็นจริง ตามธรรมชาติมนุษย์ จะต้องถูกกลุ่มกดดันบีบให้ในสักวันหนึ่งต่างหาก การปฏิวัติเพื่อแย่งชิงอำนาจจากกษัตริย์ มันไม่ได้เกิดครั้งแรกในปี 2475 เช่น กบฏ รศ 130  ก่อนหน้านี้เป็นต้น ใยพวกท่านถึงคิดว่าไม่ถูกบีบใน พ.ศ. 2475 แล้วไม่เจอพ.ศ. หลัง เผลอๆ มีปฎิวัติถี่ขึ้น อาจรุนแรงขึ้น กระแสนิยมของกษัตริย์ ช่วง ร.6 มาต่อ ร.7 ก็ใช่ว่าสูงเทียบเท่าในปัจจุบัน ทั้งปัญหาเงินเฟ้อ สงครามโลก อันตัว  ร.7 ก็ขึ้นมาเป็นกษัตริย์แบบไม่พร้อม ไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน เป็นการขึ้นแบบฉุกละหุก ไม่ได้เตรียมตัวรับปัญหาที่รุมเร้ามากมาย โดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจเป็นผลต่อเนื่องของการใช้เงินเกินตัวของชาติและความฝืดเคืองต่อเนื่องจากสงครามโลก ทั้งโลกเริ่มสู่ภาวะฝืดเคือง คู่ค้าฝืดเคือง

ทำไมพวกท่านไม่คิดว่าความไม่พร้อมและในความฉุกละหุกของการขึ้นเป็นกษัตริย์ของ ร.7 ยังไงต้องถูกบีบกดดันจนได้ละ ใยไปคิดมุมเดียวต้องมีการให้ ระบบประชาธิปไตยที่ได้มาในโลกทั้งหมดล้วนถูกเปลี่ยนแปลงจากการบีบขึ้นจากสถาบันด้านล่างของกลุ่มกดดัน การให้จากสถาบันส่วนบนแทบไม่ปรากฎในโลก มันดูไม่ผิดธรรมชาติไปหน่อย ที่ไปเชื่อกันอย่างนั้น

การศึกษาอนุมานทางประวัติศาสตร์ ควรอนุมานจากเหตุการณ์หลักฐานรอบๆ มาตีความเทียบเท่า ไม่ใชไปอนุมานเหตุปัจจัยภายใน โดยเฉพาะสภาพจิตใจและความคิดของบุคคลในประวัติศาสตร์ นั่นคือการอนุมานที่เราไปใส่จิตวามคิดเราเองไปสวมแทนในตัวตนบุคคลในประวัติศาสตร์นั้น

ส่วนการยกเลิกไพร่และทาส ทางหนึ่งเพื่อลดทอนอำนาจของกลุ่มสายอำมาตย์ ศักดินา อีกทางหนึ่งเพื่อต้องการแรงงานเพื่อวิถีการผลิตที่เปลี่ยนแปลงของประเทศก้าวไปสู่การผลิตเพื่อค้าขายแลกเปลี่ยนต่างประเทศ ยกระดับประเทศให้หลุดพ้นการล่าอาณานิคม

การเปลี่ยนถ่ายอำนาจของรัชกาลที่ 5 จึงไม่ใช่การทำอำนาจศักดินา แต่เป็นรวบอำนาจหลักจากอำมาตย์ โดยเฉพาะตระกูล บุนนาค กลับมาร่วมศูนย์อำนาจที่ราชวงศ์เหมือนเดิม หลังจากรัชกาลที่ 5 เปลี่ยนอำนาจสำเร็จ ก็กระจายส่วนต่างๆ ผ่าน เครือข่าย ญาติวงศ์และลูกหลาน บุตรของรัชการที่ 5 ก็ถูกส่งต่อไปศึกษาต่างประเทศ แล้วกลับมาต่อสายบริหารทางสืบต่อไป


หลักฐานคือ รัชกาลที่ 6 อำนาจสามารถถูกรวบกลับมาอีกครั้ง โดยสามารถจัดตั้งกองกำลังลูกเสือป่่า เฉกเช่นกองกำลังรักษาพระองค์ เพื่อสร้างฐานอำนาจของตนเอง ส่วนคู่ปฏิสัมพันธ์ความขัดแย้งที่ก่อเกิดทั้งประนีประนอมทางอำนาจ กลับมาเป็นทางสายเครือญาติราชวงศ์  

แต่แรงขับภายนอกที่ทำให้เกิดสถานะราชวงศ์ไม่มั่นคง จนในที่สุดเป็นบ่อเกิดของการปฎิวัติและเปลี่ยนถ่ายอำนาจ จะเรียกอีกมุมหนึ่ง คือความพร้อมไม่ของราชวงศ์ ในการเป็นผู้ควบคุมฐานการเปลี่ยนแปลง (ไม่แน่ใจว่า ฐานการเปลี่ยนแปลงจะสู่ประชาธิปไตยได้อย่างไร ถ้าไม่ถูกบีบจากสถาบันส่วนล่าง)เกิดสองปัจจัยที่สำคัญ

ปัจจัยแรก  สภาวะเศรษฐกิจ จากการใช้เงินเกินตัวของชาติ เริ่มส่งผลตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 5 ต่อเนื่องผสมผลกระทบของสงครามโลกที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจ ฝืดเคือง จากการส่งออกแลกเปลี่ยนลดลง จากบริเวณสงครามคือทวีปยุโรป ล้วนเป็นคู่ค้าหลักของประเทศตอนนั้น

ปัจจัยที่สอง ที่เอ่ยเกริ่นไปข้างต้นแล้ว คือ ความไม่พร้อมและฉุกละหุกของการขึ้นเป็นกษัตริย์ของราชวงศ์รัชการที่ 7 เมื่อขึ้นแบบไม่พร้อม ไม่มีการเตรียมตัวปรับโครงสร้างถ่ายโอนอำนาจก่อนขึ้นมา เฉกเช่นรัชกาลที่ 4 เตรียมไว้ให้รัชกาลที่ 5 และ รัชกาลที่ 5 เตรียมไว้ให้รัชกาลที 6

การขึ้นมาของรัชกาลที่ 7 จึงไปคล้ายการขึ้นมาของรัชกาลที่ 4 ที่ไม่มีการเตรียมตัวถ่ายโอนอำนาจ ศูนย์อำนาจตอนรัชกาลที่ 4 ขึ้น จึงถูกถ่ายและหนุนเนื่องจากตระกูล บุนนาค และ  แบ่งสรรอำนาจ กับ วังหลัง แต่ในกรณีรัชกาลที่ 4 ระบบการเมืองไทยยังเป็นระบบค่อนข้างปิด ไม่มีการเข้ามาแลกเปลี่ยนการค้าและวิทยาการจากประเทศฝั่งยุโรปมากหนัก แต่ในรัชกาลที่ 7 เริ่มมีคลื่นลูกใหม่ กลุ่มคนมีความเชื่อมโยงขุนนางข้าราชการ ได้มีโอกาสไปศึกษาต่างประเทศ แถมมีต้นแบบของการปฏิวัติที่ไม่สำเร็จ รศ 130  มาเป็นแบบจำลองรออยู่แล้ว

ฉะนั้นความไม่พร้อม มันจึงไม่ใช่ความไม่พร้อมของไพร่ หรือของใครก็ตาม แต่ความไม่พร้อมของรัชกาลที่ 7 ที่จะรักษาอำนาจโดยปราศจากการปฏิวัติที่สำเร็จตลอดรัชกาล มันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ นอกจากไปอนุมานจิตนาการไป ของคนทีไม่เคยพร้อมสำหรับ ระบบประชาธิปไตย แม้กระทั่งในปัจจุบัน

ปัจจัยที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เกิดขึ้น ไม่ใช่เป็นการต้องการอำนาจ หรือ การชิงสุกก่อนหาม แต่ปัจจัยนำเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองทุกที และ ทุกเหตุการณ์จะเป็นปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ จากภาวะตกต่าเนื่องของเศรษฐกิจ ตั้งแต่รัชกาลที่ 6 มีอำนาจและสิทธิการบริหารมากกว่า ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ จนมาถึงรัฐกาลที่ 7 ซึ่งไม่ได้มีอำนาจหรือความพร้อมเท่ารัชกาลที่ 6 ยิ่งไปกว่านั้นก็ไม่ได้มีพระปรีชาความสามารถทางด้านเศรษฐกิจ ฉะนั้นเศรษฐกิจที่ตกต่ำ

การรวมศูนย์การเงินและพระคลังอยู่ส่วนบน ยังไงต้องถูกกดดันและบีบให้คลายออกมา ถ้ายังไงบีบไม่สำเร็จในปี พ.ศ. 2475  กระแสความล้มเหลวทางเศรษฐกิจต้องถูกแพร่กระจาย คลื่นระนาบกว้างขึ้น ย้อนกลับมาหาสถาบันส่วนบนอีกครั้งอย่างแน่นอน การรักษาสมบัติและทุนที่มีส่วนยังไม่แยกจากพระคลังบริหารประเทศ อย่างชัดเจน ก็คงทำให้ราชวงศ์ต้องพยายามต่อสู้ฟื้นเพื่อรักษาทุนและอำนาจของตนเอง

เมื่อปฏิวัติสำเร็จ 2475  รัฐบาลแรกที่เกิดขึ้น ก็ไม่ใช่รัฐบาลทหารด้วย เป็นรัฐบาลที่เกิดจากการประนีประนอมของกลุ่มอำนาจส่วนบน กับ คณะราษฎร หวยเลยไปออกที่พระยามโนปกรณ์ที่เป็นตัวประสาน แต่ความไม่เข้มแข็งทรงฐานอำนาจที่มั่นคงของรัชกาลที่ 7 และกลุ่มราชวงศ์สะท้อนจากกาที่สุดท้ายไม่สามารถรักษาดุลอำนาจ และสูญเสียต่อคณะราษฎร เมื่อเกิดรัฐประหารเปลี่ยนกลับที่พระยาพหลที่เป็นคณะราษฎร ช่วงนี้ก็ยังไม่เป็นสายการปกครองของทหาร แต่ช่วงสายทหารที่เกิดขึ้น จึงควรเป็นจอมพล ป.

ฉะนั้น ตามความเป็นจริง จากภาวะแวดล้อมตรงนั้น ไม่มีทางเลยที่รัชกาลที่ 7 จะมีความพร้อมในการส่งต่อรัฐธรรมนูญจนเป็นจิ๊กซอร์ที่อนุมานต่อเติมกันเป็นประชาธิปไตย อย่างมีการพยายามกล่าวอ้างและเชื่อมโยงในบทเรียนการศึกษา

แต่การเตรียมตัวความพร้อมของประชาธิปไตย มันจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ 2475 ที่ก่อเกิดมหาวิทยาลัยที่เป็นโอกาสของสามัญชนที่เรียกว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง จนขยายโอกาสการศึกษา และ การเรียนรู้ต่อไป สำหรับสามัญชนต่อไป จนเกิดโอกาสการศึกษาในมหาวิทยาลัยอื่นต่อไป  แล้วต้นทุนทางโอกาสการศึกษาที่เกิดตรงนี้ จาก 2475  ก็เป็นต้นทุนที่ก่อเกิดคลื่นของการเปลี่ยนแปลงจากฐานอำนาจจากรัฐเผด็จการ ของสายทหารที่ยึดครอง จนเป็นปรากฎการณ์ตุลาคม 2516 และ 2519  

ฉะนั้นต้อนทุนของโอกาสและการตะหนักสิทธิ์การมีส่วนรวมปกครองในระบบประชาธิปไตย มันถูกให้และสร้างพร้อมพลวัตรการเปลี่ยนแปลง 2475 แล้วสำหรับต้นทุนโอกาสการศึกษาที่นำความพร้อมของประชาธิปไตย ต้นทุนความพร้อมของประชาธิปไตย คือต้นทุนทางการศึกษา

ณ ปัจจุบันที่การศึกษากว้างไกล ปริญญาล้นตลาด แต่ยังบอกระบบพิกลพิกาล เป็นชิงสุกก่อนหามในอดีต แต่ปัจจุบันมีต้นทุนการศึกษาและสื่อสารประชาสัมพันธ์ขนาดนี้ แล้วยังบอกประเทศไทย ไม่พร้อมอีก ฉะนั้นคำตอบของการไม่พร้อม คือ คนที่ตอบว่าไม่พร้อม จึงเป็นคนที่ไม่พร้อมจะอยู่กรอบกติกาประชาธิปไตย อดทนอยู่กับมัน แล้วต่อสู้ตามวิถีระบบประชาธิปไตยต่างหาก




 

Create Date : 12 ธันวาคม 2555   
Last Update : 12 ธันวาคม 2555 22:34:40 น.   
Counter : 1960 Pageviews.  


ความไม่พร้อมของระบบประชาธิไตยของคนไทย

24 มิถุนายน 2475 เป็นคำถามคำโตของคนไทยเสมอมา

ถึงความพร้อมไม่ของระบบการปกครองประชาธิปไตย ใน

แง่มุมของการชิงสุกก่อนหาม แล้วอะไรคือความพร้อมของ

ประชาธิปไตย แล้วเมื่อใดจึงพร้อมเล่า

 

การมองว่าไทยไม่พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

เป็นเพียงการมองด้านที่ล้มเหลวของสิ่งเกิดขึ้น เพียงเพื่อ

ไม่ยอมรับระบบของการเมืองนี้หรือ เพียงเลือกที่จะละมอง

ประโยชน์อันที่ได้มาจากการเปลี่ยนแปลงนี้ ทั้งโอกาสทาง

การเมือง สวัสดิการต่างๆ การศึกษาที่มากขึ้นของสามัญชน

ที่เกิดขึ้น จะเป็นความเจริญและสาธาณูปโภคที่ขยายสู่

ภูมิภาคมากขึ้น ไม่กระจุกรวมตัวเพียงศูยน์กลางการ

ปกครอง

ครั้นจะบอกเพียงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นเพียงการ

เปลี่ยนแปลงตามการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ก็คงจะ

ไม่ใช่ เมื่อประเทศรอบบ้านที่ไม่มีประชาธิปไตยไม่ได้รับ

โอกาสกระจายอำนาจและโอกาสจากกลุ่มผู้มีอำนาจเฉก

เช่นประเทศไทย คงลืมไปเพียงว่ามหาวิทยาลัยแห่งแรก

ของสามัญชนนั้นก็มาจากการเปลี่ยนแปลงนี้ อันได้แก่

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ก็เกิดมาพร้อมกับ

การเปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างต้นทุนโอกาสแก่สามัญชน เป็น

คลื่นส่งเนื่องหนุนต้นทุนโอกาสของสามัญชนในการเปลี่ยน

แปลงอื่นอย่างต่อเนื่อง

เมื่อปัจจุบันยังพูดถึงความไม่พร้อมของประชาธิปไตย ใน

ขณะที่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตยถูกแพร่

กระจายไปกับระบบการศึกษาอย่างกว้างขวาง ฉะนั้นคำว่า

ความพร้อมนั่นที่พูดกัน หมายถึงอะไร เมื่อโลกก้าวไปไกล

เรื่อยๆ ความรู้และสิทธิต่างๆ ก็ได้รับการตระหนักตื่นตัวมาก

ขึ้น กระตุ้นตลอดเวลา จนความตื่นตัวที่เกิดขึ้นเป็นความล้น

เกินความจำเป็น

ฉะนั้นความไม่พร้อม น่าจะเป็นเพียงคนไทยกลุ่มหนึ่งมี

ความอดนไม่เพียงพอ มีความเป็นปัจเจกมากเกิน ขาดซึ่ง

ความระเบียบวินัย และรักระบบอย่างแท้จริง ขนาดการ

ศึกษาแพร่กระจาย มีความรู้เรื่องประชาธิปไตยไม่น้อย ยังมี

ความคิดจะล้มระบบทุกเมื่อ ด้วยข้ออ้างไม่พร้อม ไม่ดีจริง

ฉะนั้นความพร้อมของพวกคุณที่ว่ากันมันไม่มีอยู่จริง ทุก

ครั้งที่เกิดปัญหา พวกคุณก็จะอ้างว่าไม่พร้อมไปเรื่อย แล้ว

ล้มระบบไปเรื่อยๆ


ทั้งที่ความล้มเหลวประชาธิปไตยที่กล่างอ้างไม่ได้สะท้อนแค่ในประเทศไทย เกาหลี ญีปุน ก็ล้มเหลว มีเปลี่ยนรัฐบาล เลือกตั้งใหม่บ่อย นักการเมืองทุจริตถูกจับได้ ไม่เหมาะสม แต่พวกเขาเหล่านั้นไม่มองว่ามันล้มเหลว แต่มันเป็นธรรมชาติส่วนหนึ่งของระบบ แล้วพร้อมจะอยู่ในกรอบกติกา ฉะนั้นคำว่าพร้อม นั่นคือการพร้อมในกรอบกติกา ไม่ใช่พร้อมด้วยเงื่อนไขปัจจัยอื่นประกอบ คำว่าไม่พร้อมของคนไม่พร้อม ก็คือยังไงก็ไม่พร้อม ไม่ยอมรับ พร้อมจะล้มระบบ แล้วไปมองที่คนอีกกลุ่มที่พร้อมในระบบบบตั้งแง่ว่าไม่พร้อม เพื่อจะให้เกิดความไม่พร้อมของระบบตลอดเวลา มันก็เอวัง ประการฉะนี้

หรือความไม่พร้อมของระบบประชาธิปไตยที่เกิดขึ้น เป็นเพียงความเพ้อฝันในนิยายโลมโลกของกลุ่มคนที่ถูกชวนเชื่อมาจากระบบการศึกษาและสื่อสารที่ป้อนมาตลอด โดยปราศจากคิดในแง่ความเห็นแก่ตัวของมนุษย์กับบริบทของอำนาจ




 

Create Date : 11 ธันวาคม 2555   
Last Update : 11 ธันวาคม 2555 6:00:54 น.   
Counter : 1506 Pageviews.  


"คนรวยรวยขึ้น คนจนจนลง"

ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ หรือ ความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจ เป็นหัวข้อที่ถกกันอย่างเข้มข้นในประเทศไทย ทั้งนำไปสู่ภาวะเกิดวิกฤติการเมืองอย่างรุนแรงในช่วง 5 ปีหลัง ดังนั้นคำว่าความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจจึงต้องถูกนำมาทำความเข้าใจ ความเหลื่อมล้ำหรือความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น สามารถสร้างกรอบบริบทได้ 2 กรอบในการอธิบาย คือ การไม่เท่าเทียมกันของทุนทางเงินและการไม่เท่าเทียมกันของทุนโอกาส สำหรับการไม่เท่าเทียมกันของทุนทางเงินคือ ปัญหาการกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียม ปัญญาช่องว่างเกิดขึ้นผู้มีรายได้สูงกับผู้มีรายได้ต่ำ หรือเรียกกันภาษาชาวบ้านง่ายๆว่า ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน ผนวกกับอีกบริบทที่ถูกขยายความเพื่อทำให้ความเข้าใจของปัญหาความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจเข้าใจมากขึ้น คือความไม่เท่าเทียมกันของทุนโอกาส อันเป็นความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติหรือทรัพย์สินสาธารณะ ความไม่เท่าเทียมกันทางทุนโอกาสนี้ยังร่วมไปถึงความไม่เท่าเทียมกันทางสิทธิทางการเมือง สิทธิการเข้าถึงเงินทุน และ สิทธิเข้าถึงช่องทางการตลาด คำถามที่โยงต่อมาคือ ความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นนั้นไปสร้างปัญหาอะไรในสังคม ดังนั้นจึงขอขยายความเข้าใจปัญหาสังคมดังต่อไป

 

 ฐานอำนาจของความไม่เท่าเทียมสู่ความไม่เป็นธรรม เมื่อทุนทางเงินและทุนโอกาสที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด จึงทำให้ผู้ได้เปรียบทางทุนที่แตกต่างนี้ ใช้ทุนที่แตกต่างไปสร้างฐานอำนาจเพื่อสะสมความมั่งคั่งและทุนที่แตกต่างต่อไป ดังคำว่า “คนรวยรวยขึ้น คนจนจนลง”

 

แม้คำว่า “คนรวยรวยขึ้น คนจนจนลง” จะพยายามถูกสร้างความเข้าใจผิดว่าเพราะความไม่เอาไหน เกรียจคร้านของคนจน แต่นั่นเป็นส่วนย่อยของปัญหา แต่ความเป็นจริงประจักษ์แล้ว ถ้าทุนแห่งโอกาสและการเงินไม่เท่าเทียม การเข้าถึงและโอกาสทรัพยากรธรรมชาติไม่เท่าเทียม คนจนก็จะไม่มีวันเปลี่ยนสถานภาพกลายเป็นคนที่มีฐานะรายได้ที่ดีขึ้น ดังเช่นหลายพื้นที่ของบริบทชุมชนที่ได้รับผลกระทบการลงทุนโครงการขนาดใหญ่จากทุนเอกชนหรือรัฐบาลที่ไปเอื้อประโยชน์สัมประทานหรือสนองความต้องการการบริโถคของผู้มีฐานะรายได้ดี ทำให้ช่องทางทำมาหากินเขาถูกทำลาย เฉกเช่น โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ และ โครงการพลังงานน้ำเขื่อนปากมูล

 

 ความไม่สงบสุขของสังคม อันนี้เป็นปัญหาต่อยอดมาจากปัญหาประการแรก ที่เป็นตัวอย่างปรากฏในสังคมไทยในปัจจุบัน เมื่อชนชั้นที่มีน้อย แต่คนส่วนใหญ่ในสังคม รู้สึกความไม่เป็นธรรม ความไม่เท่าเทียมทางทุนโอกาส รวมถึงยังโดนขูดรีดทุนและสิทธิทางปัจเจคชนของตนเอง จึงทำให้เกิดการรวมกลุ่มสร้างขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้พวกตนเอง แต่เมื่อสิ่งที่เรียกร้องเหล่านี้ยังไม่ได้รับสนองตอบ พร้อมยังถูกขูดรีดส่วนเกินของตนเอง จากผู้มีมากแต่เป็นคนส่วนน้อยของประเทศ จึงก่อพลังขับเคลื่อนต่อไปพร้อมทั้งยกระดับความรุนแรงในเรียกร้องมากขึ้นเพื่อสร้างอำนาจต่อรองของกลุ่มตนเอง แม้วิธีการที่เกิดขึ้นจะไม่ชอบด้วยกฏหมายหรือเป็นเรื่องถูกต้อง เช่น การปิดถนนในการขึ้นราคาเชื้อเพลิงไม่เป็นธรรม หรือ การถูกกดราคาผลิตภัณฑ์สินค้าของกลุ่มตนเองเป็นต้น ทำให้เกิดความรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่าง กลุ่มกดดันเรียกร้อง และรัฐที่เป็นตัวแทนทางกฏหมายของประเทศ ฉะนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นยิ่งไปตอกย้ำความไม่สงบของประเทศ

 




 

Create Date : 11 ธันวาคม 2555   
Last Update : 11 ธันวาคม 2555 5:54:20 น.   
Counter : 2677 Pageviews.  


รากเหง้าความขัดแย้งของการเมืองเรื่องน้ำท่วม

ไม่ต้องแปลกใจว่าวิกฤติน้ำท่วมครั้งย่อมตอกย้ำความขัดแย้ง เหลื่อมล้ำ คนกรุงเทพ กับ คนต่างจังหวัดมากยิ่งขึ้น จากสถานการณ์ต่างๆ ที่ถูกใช้เป็นสัญญะการมือง นำมาสู่การขัดแข้งขัดขากัน ยิ่งพิสูนจ์ว่าประเทศคงต้องย้ำอยู่กัยที่จุดเดิมกับจุดเริ่มต้นรัฐประหาร 2549 อีกครั้ง ไม่ต่ำกว่า 5 ปีข้างหน้า เมื่อได้อ่านแก่นปัญหาที่สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลที่ชี้ประเด็น ยิ่งคิดได้ว่าวังวนนี้ ประเทศเราคงต้องจมไม่ต่ำกว่า 10 ปี เมื่อประชาชนส่วนน้อยที่แพ้เลือกตั้งเริ่มจุดประเด็นเล็กๆน้อย จนประเด็นใหญ่ของกลุ่มผู้บริหารที่เพิ่งชนะเลือกตั้ง เพื่อไม่ยอมรับอำนาจและสิทธิของกลุ่มบริหารที่มาจากการเลือกตั้ง อาจนำมาสู่การัฐประหารด้วยน้ำ

"แต่ปัญหาของสถานการณ์ประเทศไทยในปัจจุบัน ในทรรศนะของอาจารย์ประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ มีลักษณะต่างออกไป เพราะความขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้นมีลักษณะเป็น "มูลฐาน" (fundamental) ระหว่างการจะยอมรับอำนาจที่มาจากการเลือกตั้งเป็นอำนาจนำของประเทศ หรือจะยังคงยืนยันให้อำนาจที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เป็นอำนาจนำของประเทศ"

"สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล"

คงต้องสู้ไม่ต่ำกว่า 20 - 30 ปี การยอมรับการเลือกตั้งคงไม่ใช่ปัญหาของชนกลุ่มน้อยประเภทเจ้าคุ้มกะลา ใยเล่าไม่เพ่งพิศว่าเหตุใดคนส่วนใหญ่ไม่คิดเหมือนคุณ หรือเพียงเพราะเหตุแก้ต่างง่ายๆ เขาโง่กว่าคุณ ต่อไปยังคิดแบบนี้ คนทุกคนล้วนทำตามอำเภอใจ เหตุแค่ว่า ฉันฉลาดกว่าคนอื่น ตราบใดยังไม่เครพความเท่าเทียมมนุษย์ ต้นดอกผลผลแห่งประชาธิปไตยย่อมไม่เบิกบาน ความเชื่อเมื่อประสบสิ่งที่ได้รับจริง ย่อมไม่ใช่เรื่องผิด แต่ผิดที่คุณต้องเสียอะไรไปกับสิ่งที่เขาได้รับ คุณเลยหาเหตุผลแค่ว่าคุณดีกว่าเขา เขาจึงไม่สมควรได้รับตรงนั้น นั่นแหละแก่นของประชาธิปไตยที่คนไทยส่วนน้อยชนชั้นกลางผู้หยิ่งผยองไม่เข้าใจ


ปล. หนึ่งปีหลังคนต่างจังหวัดแพ้พ่ายการเรียกร้องสิทธิของเขา เผชิญการบริหารที่นำมาสู่ราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำ ราคาข้าวยากหมากแพง พวกเขากลับมารอสิทธิการเลือกตั้งตามระบบอีกครั้ง แต่เมื่อเขาได้สิทธิและเสียงในระบบ พวกคุณคิดจะทำลายระบบอีกครั้ง เพียงพวกคุณคือคนกลุ่มน้อยที่ฉลาดกว่าเขา รากเหง้าของความขัดแยงคงยากจะสมานฉันท์




 

Create Date : 29 ตุลาคม 2554   
Last Update : 29 ตุลาคม 2554 13:13:21 น.   
Counter : 1255 Pageviews.  


BRIC ฐานมหาอำนาจเศรษฐกิจใหม่ของโลก

ท่ามกลางกระแสวิกฤติเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อทั้งสหรัฐ และยุโรป ซึ่งเคยมีบทบาทสำคัญบนเวทีเศรษฐกิจ การเงิน และการค้าของโลกจนทำให้เกิดความหวั่นวิตกไปตามๆ กัน นั้น กลุ่มเศรษฐกิจใหม่กลุ่มหนึ่งก็ถือกำเนิดขึ้นมาอย่างเงียบๆ และดูเหมือนว่าจะมีพลังและศักยภาพเหนือกว่าสหรัฐ และกลุ่มเศรษฐกิจเดิมเสียด้วยซ้ำ ประเทศที่เคยจน ซึ่งบางประเทศเคยถูกขนานนามว่าประเทศกำลังพัฒนา หรือไม่ก็เคยถูกโจมตีว่าเป็นประเทศสังคมปิด ก็ได้กลับกลายเปลี่ยนสถานภาพตัวเองขึ้นมาเป็นประเทศเศรษฐกิจใหม่ หรือที่เรียกว่า Emerging economy โดยในที่นี้มีอยู่ 4 ประเทศที่น่าจับตามอง ได้แก่ 1) บราซิล 2) รัสเซีย 3) อินเดีย และ 4) จีน ซึ่งถูกเรียกรวมๆว่า “BRIC” ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหม่ ที่มีลักษณะร่วมคล้ายๆ กันตรงที่เป็นแหล่งของวัตถุดิบ การประกอบการ และผู้บริโภคจำนวนมหาศาล ซึ่งคำว่า BRIC นี้ ถูกใช้ครั้งแรกในปี 2001 โดยนักวิเคราะห์จากบริษัทวาณิชธนกิจ Goldman Sachs เพื่อเรียกกลุ่มประเทศที่เป็นดาวรุ่งเศรษฐกิจ โดยปัจจุบันประเทศทั้งสี่มี GDP รวมกันประมาณ 15% ของGDPโลก แต่คาดว่าภายในไม่เกิน 20 ปี BRICจะมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจพอๆ กับกลุ่มG 8 เพราะลำพังเศรษฐกิจของจีนประเทศเดียวก็จะมีขนาดใหญ่ไล่เลี่ยกับสหรัฐอเมริกาทีเดียว

แรงท้าทายที่กลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหม่ทั้งสี่ได้ประกาศศักดาให้ชาวโลกได้ประจักษ์เกิดขึ้นเมื่อผลการสำรวจ 500 บรรษัทข้ามชาติ ที่เป็นตัวแทนของแบรนด์ระดับโลกในปีล่าสุดมาในนิตยสารฟอร์จูน ปรากฏให้เห็นถึงจำนวนของบริษัทของประเทศเศรษฐกิจใหม่ทั้งสี่ที่เพิ่มขึ้นจาก เดิมที่เคยมีอยู่เพียง 31 บริษัทเมื่อปี 2003 เป็น 62 บริษัทในปี 2007

ถ้าเรามาพิจารณาถึงศักยภาพของแต่ละประเทศในกลุ่มนี้ จะเห็นว่า รัสเซียมีพื้นที่เป็นลำดับ 1 ของโลก ขณะที่จีนอยู่ในอันดับ 3 บราซิลอันดับ 5 และอินเดียอันดับ 7 ในส่วนของประชากรนั้น จีนมีมากเป็นอันดับ 1 ในโลก อินเดียเป็นอันดับ 2 บราซิลอันดับ 5 และรัสเซียอันดับ 9 นอกจากนี้จีนยังเป็นประเทศที่ส่งออกสินค้ามากเป็นอันดับ 2 ของโลก และนำเข้าเป็นอันดับ 3 มีเงินตราสำรองต่างประเทศอยู่ในอันดับที่ 1 และดุลบัญชีรายวันในอันดับ 1 เช่นกัน

ส่วนรัสเซียนั้น มีเงินตราสำรองต่างประเทศเป็นลำดับที่ 3 ของโลก โดยถือครองพันธบัตรสหรัฐ ประมาณ 1.4 แสนล้านดอลลาร์ ตามมาด้วยอินเดียซึ่งอยู่ในอันดับที่ 4 และบราซิล อันดับที่ 7 ทั้งนี้ จีนและอินเดียซึ่งมีประชากรรวมกันแล้วมากกว่า 2,400 ล้านคน ก็เป็นตลาดผู้บริโภคและผู้ผลิตที่ใหญ่ที่สุดของโลก โดยจีนเป็นผู้นำด้านสินค้าอุปโภคบริโภค และอินเดียกำลังก้าวขึ้นมาสู่การเป็นเจ้าของสินค้าด้านอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยี และวิศวกรรม

หากพูดถึงวัตถุดิบหรือทรัพยากรธรรมชาติ บราซิลจัดว่าเป็นแหล่งแร่และโลหะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วย เหล็ก อะลูมิเนียม เอทานอล และแพลทินั่ม รวมทั้งเป็นประเทศเกษตรกรรมรายใหญ่ของโลกด้วยเช่นกัน ขณะที่รัสเซียมีก๊าซธรรมชาติกว่า 35% ของโลก และแหล่งน้ำมัน 20% ของโลก เมื่อสี่ประเทศนี้มารวมกันจึงเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่มีความสมบูรณ์และลงตัวในทุกด้าน

แม้ว่าเวลาจะล่วงเลยมาเกือบหนึ่งทศวรรษแล้ว แต่BRICก็ยังเป็นเพียงความร่วมมือกันอย่างหลวมๆ และไม่เป็นทางการ รวมทั้งยังไม่มีการยืนยันว่าจะใช้ชื่อนี้ต่อไปหรือไม่ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2009 รัสเซียได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดกลุ่มBRIC ครั้งแรกที่เมืองเยกาเตลินเบิร์ก ในเทือกเขาอูราล เนื่องจากรัสเซียกับจีนมีความตกลงความร่วมมือระหว่างกัน ที่เรียกว่าองค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (SCO) ที่ก่อตั้งมาเมื่อปี 2001 อยู่แล้ว และองค์การนี้ยังได้รวมอดีตประเทศในเครือสหภาพโซเวียตในเอเชียกลางเข้าไว้ด้วย ซึ่งอินเดียเองก็เคยอยู่ในฐานะผู้สังเกตการณ์ของSCOมาก่อนแล้ว

ดังนั้นเมื่อเชิญบราซิลเข้ามาเพิ่มแม้จะเพียงประเทศเดียวแต่ก็ทำให้ภาพจิกซอว์ของBRICสมบูรณ์ขึ้น ใช่แต่เท่านั้น ยังมีผู้เสนอแนวคิดให้BRIC เชิญอินโดนีเซีย ซึ่งกำลังเป็นดาวรุ่งพุ่งแรง และมีปัจจัยที่เอื้อต่อความเข้มแข็งของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหม่นี้เข้าร่วมวงศ์ไพบูลย์ด้วยด้วยจีน อินเดีย รัสเซียและบราซิล ถือเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในช่วง ก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งนี้ โดยคาดว่าบทบาทของกลุ่ม BRIC จะมีความสำคัญมากขึ้นต่อเศรษฐกิจโลก โดยผู้นำกลุ่ม BRIC มีกำหนดการประชุมเป็นครั้งแรกในวันที่ 16 มิถุนายน 2552 นี้ ที่ประเทศรัสเซีย ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจของการประชุมครั้งนี้ ได้แก่ การฟื้นฟูภาวะเศรษฐกิจ การใช้เงินสำรองต่างประเทศเพื่อซื้อพันธบัตรของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เพื่อเพิ่มบทบาทในองค์การด้านการเงินระหว่างประเทศ และบทบาทในเศรษฐกิจโลก

ทิศทางเศรษฐกิจกลุ่ม BRIC มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในช่วงที่เหลือของปีนี้ตามนโยบายการเงินและการคลัง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศทางต่างๆ ที่ส่งผลให้ภาคการบริโภคและการลงทุนภายในเริ่มปรับดีขึ้น ขณะที่มีปัจจัยหนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่น่าจะมั่นคงมากขึ้นในช่วง ครึ่งหลังของปีนี้ นอกจากนี้ ศักยภาพทางเศรษฐกิจและความแข็งแกร่งทางการเงินของกลุ่ม BRIC โดยถือเป็นกลุ่มที่มีขนาดเศรษฐกิจรวมกันคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15 ของจีดีพีโลก จำนวนประชากรมีสัดส่วนร้อยละ 42 ของประชากรโลก และเงินทุนสำรองต่างประเทศรวมกันระดับสูงถึง 2.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 37 ของเงินทุนสำรองต่างประเทศของโลก ทั้งนี้ ผู้นำกลุ่ม BRIC แสดงท่าที่ที่จะใช้เงินสำรองต่างประเทศซื้อพันบัตรของกองทุนการเงินระหว่าง ประเทศมากขึ้น ซึ่งคาดว่าจะสนับสนุนกลุ่ม BRIC ให้มีบทบาทเพิ่มขึ้นในองค์กรด้านการเงินระหว่างประเทศและอาจเข้ามามีส่วน ร่วมมากขึ้นต่อทิศทางการดำเนินนโยบายทางการเงินระหว่างประเทศในระยะต่อไป

นอกจากนี้ กลุ่ม BRIC ยังพยายามหาแนวทางลดการพึ่งพาเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แม้ว่าขณะนี้ยังไม่มีเงินสกุลใดที่มีบทบาทแทนที่เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในฐานะเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศได้ แต่ประเทศสมาชิกกลุ่ม ได้แก่ จีนและบราซิลได้หารือถึงความเป็นไปได้ในการหลีกเลี่ยงการใช้เงินดอลลาร์ สหรัฐฯ ในการซื้อขายระหว่างกันโดยหันมาใช้เงินหยวนของจีนและเงินเรียลของบราซิลแทน เพื่อเป็นการลดต้นทุนของสองประเทศ ก่อนหน้านี้ทางการจีนพยายามเพิ่มบทบาทเงินสกุลหยวนในเวทีโลกโดยพยายามผลัก ดันให้หยวนกลายเป็นค่าเงินนานาชาติ โดยจีนได้จัดทำความตกลงแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างกัน (currency swap) กับธนาคารกลางของฮ่องกง เกาหลีใต้ มาเลเซีย เบลารุส อินโดนีเซีย และอาร์เจนตินา เพื่อไม่ต้องแลกเปลี่ยนเงินผ่านดอลลาร์สหรัฐฯ
การทำความตกลงดังกล่าวเป็นการเตรียมการสำหรับการทำให้เงินหยวนสามารถเป็น สกุลเงินที่ค้าขายแลกเปลี่ยนได้ (convertibility) ซึ่งการเปิดทดลองใช้เงินหยวนในการทำการค้าระหว่างประเทศนี้จะเป็นการปูทางไป สู่การยกระดับเงินหยวนให้เป็นสกุลเงินสากลในระยะยาว และจะช่วยผู้ส่งออกจีนและคู่ค้าบรรเทาความเสี่ยงต่อความผันผวนของอัตราแลก เปลี่ยนเงิน อย่างไรก็ตาม บทบาทของเงินหยวนในการค้าขายอย่างสากลคงต้องใช้เวลาอีกระยะ เนื่องจากในปัจจุบันยังคงมีข้อจำกัดจากกฎระเบียบที่เข้มงวดเกี่ยวการเคลื่อน ย้ายเงินเข้าและออกของทางการจีน เงินหยวนจึงยังไม่สามารถใช้ได้อย่างแพร่หลายนอกประเทศจีน




 

Create Date : 07 พฤษภาคม 2554   
Last Update : 7 พฤษภาคม 2554 1:25:57 น.   
Counter : 3413 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  

still solo one
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




[Add still solo one's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com