deeplove
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]




Group Blog
 
<<
มีนาคม 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
9 มีนาคม 2551
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add deeplove's blog to your web]
Links
 

 
มารู้จักชนิดของเมฆกันเถอะ






คำว่า "เมฆ" จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมฆ (Clouds)


เมฆ คือ ละอองน้ำและเกล็ดน้ำแข็งที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน

ลอยตัวอยู่ในชั้นบรรยากาศ ที่เราสามารถมองเห็นได้


ไอน้ำที่ควบแน่น เป็นละอองน้ำ (โดยปกติแล้วจะมีขนาด 0.01 มม)

หรือ เป็นเกล็ดน้ำแข็ง ซึ่งเมื่อเกาะตัวกันเป็นกลุ่มจะเห็นเป็นก้อนเมฆ

ก้อนเมฆนี้สะท้อนคลื่นแสงในแต่ละความยาวคลื่นในช่วงที่ตามองเห็นได้

ในระดับที่เท่า ๆ กัน จึงทำให้เรามองเห็นก้อนเมฆนั้นเป็นสีขาว

แต่ก็สามารถมองเห็นเป็นสีเทาหรือสีดำ

ถ้าหากเมฆนั้นมีความหนาแน่นสูงมากจนแสงผ่านไม่ได้

เมฆบนดาวดวงอื่นนั้นประกอบด้วยสารอื่นนอกจากน้ำ

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพบรรยากาศของดาวนั้น

(เช่นว่า มีก๊าซอะไรอยู่ และ ระดับอุณหภูมิ)



รูปแบบต่างๆของเมฆเมฆนั้นแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ

แบบเป็นชั้น (layered) ในแนวนอน

แบบลอยตัวสูงขึ้น (convective) ในแนวตั้ง


โดยจะมีชื่อเรียกว่า สเตรตัส (stratus ซึ่งหมายถึงลักษณะเป็นชั้น)

คิวมูลัส (cumulus ซึ่งหมายถึงทับถมกันเป็นกอง) ตามลำดับ



นอกจากนี้แล้วยังมีคำที่ใช้ในการบอกลักษณะของเมฆ

สเตรตัส (stratus) หมายถึง ลักษณะเป็นชั้น

คิวมูลัส (cumulus) หมายถึง ลักษณะเป็นกองสุม

เซอร์รัส (cirrus) หมายถึง ลักษณะเป็นลอนผม

นิมบัส (nimbus) หมายถึง ฝน



แบ่งตามระดับความสูง แบ่งเป็น 4 กลุ่ม

โดยระดับความสูงของเมฆนี้จะวัดจากฐานของก้อนเมฆ ไม่ได้วัดจากยอด

โดย Luke Howard เป็นผู้นำเสนอวิธีการแบ่งกลุ่มแบบนี้ แก่ Askesian Society ในปี ค.ศ. 1802



เมฆระดับสูง (ตระกูล A)

ก่อตัวที่ความสูงมากกว่า 16,500 ฟุต (5,000 เมตร) ในบริเวณที่อุณหภูมิต่ำ

ในชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ ที่ความสูงระดับนี้น้ำส่วนใหญ่นั้นจะแข็งตัว

ดังนั้นเมฆจะประกอบด้วยผลึกน้ำแข็ง เมฆในชั้นนี้ส่วนใหญ่มักจะมีลักษณะ

เป็นก้อนเล็ก ๆ และ มักจะค่อนข้างโปร่งใส เมฆในกลุ่มนี้จะมีชื่อนำหน้าด้วย เซอร์- (cirr-)


ชนิดของเมฆ:





เซอร์รัส (Cirrus- Ci): Cirrus, Cirrus uncinus, Cirrus Kelvin-Helmholtz

เมฆริ้ว สีขาว โปร่งแสง และเป็นผลึกน้ำแข็ง ลักษณะคล้ายขนนก

เพราะถูกกระแสลมชัดบนพัด มักเกิดขึ้นเวลาที่สภาพอากาศดีท้องฟ้าเป็นสีฟ้าเข้ม





เซอร์โรคิวมูลัส (Cirrocumulus - Cc) เมฆสีขาว มีลักษณะคล้ายเกล็ดบางๆ

หรือระลอกคลื่นเล็กๆ เป็นผลึกน้ำแข็ง โปร่งแสง มีลักษณะเป็นริ้วคลื่นเล็กๆ

และเรียงรายกันเป็นระเบียบมักเกิดขึ้นปกคลุมท้องฟ้าบริเวณกว้าง





เซอร์โรสเตรตัส (Cirrostratus - Cs) เมฆแผ่นบางๆ สีขาว โปร่งแสง เป็นผลึกน้ำแข็ง

มักปกคลุมท้องฟ้าเป็นบริเวณกว้าง โปร่งแสงต่อแสงอาทิตย์

บางครั้งหักเหแสงและทำให้เกิดดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ทรงกลดเป็นรูปวงกลม สีคล้ายรุ้ง

คิวมูโลนิมบัส และ ไพเลียส (Cumulonimbus with pileus)





คอนเทรล (Contrail) “คอนเทรล” (Contrails) ซึ่งเป็นเมฆที่สร้างขึ้นโดยฝีมือมนุษย์

เมื่อเครื่องบินไอพ่นบินอยู่ในระดับสูงเหนือระดับควบแน่น ไอน้ำซึ่งอยู่ในอากาศร้อน

ที่พ่นออกมาจากเครื่องยนต์ ปะทะเข้ากับอากาศเย็นซึ่งอยู่ภายนอก เกิดการควบแน่นเป็นหยดน้ำ

โดยการจับตัวกับเขม่าควันจากเครื่องยนต์ซึ่งทำหน้าที่เป็นแกนควบแน่น

เราจึงมองเห็นควันเมฆสีขาวถูกพ่นออกมาทางท้ายของเครื่องยนต์เป็นทางยาว



เมฆระดับกลาง (ตระกูล B)

ก่อตัวที่ความสูงระหว่าง 6,500 และ 16,500 ฟุต (ระหว่าง 2,000 และ 5,000 เมตร)

เมฆจะประกอบด้วยละอองน้ำ และ ละอองน้ำเย็นยิ่งยวด

ชื่อของเมฆในชั้นนี้จะนำหน้าด้วย อัลโต- (alto-)


ชนิดของเมฆ:





อัลโตคิวมูลัส (Altocumulus - Ac): Altocumulus, Altocumulus

undulatus, Altocumulus mackerel sky, Altocumulus castellanus,

Altocumulus lenticularis เมฆก้อนสีขาว ลอยเป็นแพห่างกันไม่มาก มีช่องว่าง

ระหว่างก้อนเพียงเล็กน้อย มองดูคล้ายฝูงแกะ คล้ายเมฆเซอโรคิวมูลัส แต่ขนาดใหญ่กว่ามาก





อัลโตสเตรตัส (Altostratus- As): Altostratus, Altostratus undulatus

เมฆแผ่นหนา ส่วนมากมักมีสีเทาเนื่องจากบังแสงดวงอาทิตย์ ไม่ให้ลอดผ่าน

และเกิดขึ้นปกคลุมท้องฟ้าเป็นบริเวณกว้าง หรือปกคลุมท้องฟ้าทั้งหมด



เมฆระดับต่ำ (ตระกูล C)ก่อตัวที่ความสูงต่ำกว่า 6,500 ฟุต (2,000 เมตร)

และ รวมถึงสตราตัส (stratus) เมฆสตราตัสที่ลอยตัวอยู่ระดับพื้นดินเรียก หมอก


ชนิดของเมฆ:





สเตรตัส (Stratus - St) เป็นเมฆแผ่นบาง ที่ลอยไม่สูงมากนัก

เช่น ลอยปกคลุมยอดเขามักเกิดขึ้นตอนเช้า หรือหลังฝนตก

บางครั้งลอยต่ำปกคลุมพื้นดินถ้าลอยติดพื้นจะเรียกว่า “หมอก”





คิวมูลัส (Cumulus - Cu): Cumulus humilis, Cumulus mediocris

เป็นเมฆก้อนปุกปุย สีขาว รูปทรงคล้ายดอกกะหล่ำ มักก่อตัวในแนวดิ่ง

ลอยกระจายห่างกัน และเกิดขึ้นเวลาที่สภาพอากาศแจ่มใสดี





สเตรโตคิวมูลัส (Stratocumulus - Sc) เมฆก้อนลอยติดกันเป็นแพที่

ไม่มีรูปทรงชัดเจน มีช่องว่างระหว่างก้อนเพียงเล็กน้อย มักเกิดขึ้นเวลาที่อากาศไม่ดี

มักมีสีเทา เนื่องจากลอยอยู่ในเงาของเมฆชั้นบน





นิมโบสเตรตัส (Nimbostratus - Ns) เมฆแผ่นสีเทา เกิดขึ้นเวลาที่อากาศมีเสถียรภาพ

ทำให้เกิดฝนพรำๆ ฝนผ่าน หรือฝนตกแดดออก ไม่มีพายุฝนฟ้าคะนอง

ฟ้าร้องฟ้าผ่ามักปรากฏให้เห็นสายฝนตกลงมาจากฐานเมฆ



เมฆแนวตั้ง (ตระกูล D)เป็นเมฆที่มีแนวก่อตัวในแนวตั้ง ซึ่งทำให้เมฆมีความสูงจากฐาน





คิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus-Cb):Cumulonimbus,Cumulonimbus incus,

Cumulonimbus calvus, Cumulonimbus with mammatus เมฆก่อตัวในแนวตั้ง

พัฒนามาจากเมฆคิวมูลัส มีขนาดใหญ่มากปกคลุมพื้นที่ครอบคลุมทั้งจังหวัด

ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง หากกระแสลมชั้นบนพัดแรง ก็จะทำให้ยอดเมฆรูปกะหล่ำ

กลายเป็นรูปทั่งตีเหล็ก ต่อยอดออกมาเป็น เมฆเซอโรสเตรตัส

หรือเมฆเซอรัสก้อนเมฆฝนขนาดใหญ่ยักษ์





เมฆคิวมูลัส (Cumulus)
เมฆก้อนปุกปุย สีขาวเป็นรูปกะหล่ำ ก่อตัวในแนวตั้ง เกิดขึ้นจากอากาศไม่มีเสถียรภาพ

ฐานเมฆเป็นสีเทาเนื่องจากมีความหนามากพอที่จะบดบังแสง จนทำให้เกิดเงา

มักปรากฏให้เห็นเวลาอากาศดี ท้องฟ้าเป็นสีฟ้าเข้ม



สีของเมฆนั้นบ่งบอกถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นภายในเมฆ

เมฆเกิดจากไอน้ำลอยตัวขึ้นสู่ที่สูง เย็นตัวลง และ ควบแน่นเป็นละอองน้ำขนาดเล็ก

ละอองน้ำเหล่านี้มีความหนาแน่นสูง แสงอาทิตย์ไม่สามารถส่องทะลุผ่านไปได้ไกล

ภายในกลุ่มละอองน้ำนี้ จึงเกิดการสะท้อนของแสง ทำให้เราเห็นเป็นก้อนเมฆสีขาว

ในขณะที่ก้อนเมฆกลั่นตัวหนาแน่นขึ้น ละอองน้ำเกิดการรวมตัวขนาดใหญ่ขึ้น

จนในที่สุดตกลงมาเป็นฝน ในระหว่างกระบวนการนี้ละอองน้ำในก้อนเมฆซึ่งมีขนาดใหญ่ขึ้น

จะมีช่องว่างระหว่างหยดน้ำมากขึ้น ทำให้แสงสามารถส่องทะลุผ่านไปได้มากขึ้น

ซึ่งถ้าก้อนเมฆนั้นมีขนาดใหญ่พอ และ ช่องว่างระหว่างหยดน้ำนั้นมากพอ

แสงที่ผ่านเข้าไปก็จะถูกซึมซับไปในก้อนเมฆและสะท้อนกลับออกมาน้อยมาก

ซึ่งการซึมซับและการสะท้อนของแสงนี้ส่งผลให้เราเห็นเมฆตั้งแต่ สีขาว สีเทา ไปจนถึง สีดำ

สีของเมฆที่ใช้ในการบอกสภาพอากาศ:


เมฆสีเขียวจางๆ นั้นเกิดจากการกระเจิงของแสงอาทิตย์ เมื่อตกกระทบน้ำแข็ง

เมฆคิวมูโลนิมบัสที่มีสีเขียว นั้นบ่งบอกถึงการก่อตัวของ พายุฝน พายุลูกเห็บ

ลมที่รุนแรง หรือ พายุทอร์นาโด

เมฆสีเหลือง ไม่ค่อยได้พบเห็นบ่อยครั้ง แต่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิ

ไปจนถึงช่วงต้นของฤดูใบไม้ร่วง ในช่วงที่เกิดไฟป่าได้ง่าย

สีเหลืองนั้นเกิดจากฝุ่นควันในอากาศ

เมฆสีแดง สีส้ม หรือ สีชมพู นั้นโดยปกติเกิดในช่วง พระอาทิตย์ขึ้น

และ พระอาทิตย์ตก เกิดจากการกระเจิงของแสงในชั้นบรรยากาศ

ไม่ได้เกิดจากเมฆโดยตรง เมฆเพียงเป็นตัวสะท้อนแสงนี้เท่านั้น

ในกรณีที่มีพายุฝนขนาดใหญ่ในช่วงเดียวกันจะทำให้เห็นเมฆ เป็นสีแดงเข้ม เหมือนสีเลือด







คงรู้กันแล้วนะคะว่าเมฆมีกี่ชนิด และเมฆชนิดไหนทำให้เกิดฝนพรำหรือทำฝนตกหนัก

ก่อนออกจากบ้านครั้งต่อไปก็อย่าลืมพยากรณ์อากาศหรือดูท้องฟ้าบ้างก็ได้ค่ะ

จะได้เตรียมพร้อมรับมือกับฝนฟ้าในแต่ละวันได้ทันเวลาไงคะ








Without You



No I can't forget this evening

Or your face as you were leaving

But I guess that's just the way

The story goes

You always smile but in your eyes

Your sorrow shows

Yes it shows



No I can't forget tomorrow

When I think of all my sorrow

When I had you there

But then I let you go

And now it's only fair

That I should let you know

What you should know



I can't live

If living is without you

I can't live

I can't give anymore

I can't live

If living is without you

I can't give

I can't give anymore



Well I can't forget this evening

Or your face as you were leaving

But I guess that's just the way

The story goes

You always smile but in your eyes

Your sorrow show

Yes it shows



I can't live

If living is without you

I can't live

I can't give anymore

I can't live

If living is without you

I can't give

I can't give anymore


I can't live

If living is without you

I can't live

I can't give anymore

I can't live

If living is without you

I can't give

I can't give anymore







//www.nangdee.com/song/clip_song/LoveSong/12WithoutYou.wma








Create Date : 09 มีนาคม 2551
Last Update : 9 มีนาคม 2551 19:54:48 น. 7 comments
Counter : 1195 Pageviews.

 
ความรู้ใหม่เลยนะคับเนี่ย
ผมเพิ่งรู้ว่าเมฆที่เรามองเห็นกันอยู่ทุกวันเนี่ยมีการแบ่งชั้นและมีชื่อเรียกต่างๆกันไปด้วย
ขอบคุณที่นำความรู้ใหม่ๆมาแบ่งปันนะคับ
เวลาจะออกไปไหนทีนี้จะต้องคอยสังเกตเมฆกันหน่อยละ อิอิ
รักนะคับ


โดย: AquiraX IP: 58.8.143.81 วันที่: 9 มีนาคม 2551 เวลา:16:48:56 น.  

 

ผมเคยได้เรียนนะครับ

แต่พอเรียนจบผมก็เอาความรู้คืนครูไปแล้ว

ขอบคุณนะครับที่ทำให้รู้สึกอยากมองฟ้า มองเมฆนานๆ ขึ้น


โดย: ห่วงใย วันที่: 9 มีนาคม 2551 เวลา:17:18:25 น.  

 
ได้ความรู้+ได้ดูภาพสวยๆด้วย ขอบคุณนะคับที่นำความรู้ดีๆมาแบ่งปัน ภาพสวยมากเลยฮะ
รักนะคับ จุ๊บๆ


โดย: AquiraX IP: 58.8.143.81 วันที่: 9 มีนาคม 2551 เวลา:19:55:27 น.  

 
เพิ่งทราบจริงๆเลยค่ะเนี่ย ขอบคุณมากเลยนะคะ ทั้งภาพและข้อมูล


โดย: saykan@_@ วันที่: 9 มีนาคม 2551 เวลา:20:29:35 น.  

 
เพิ่งทราบจริงๆเลยค่ะเนี่ย ขอบคุณมากเลยนะคะ ทั้งภาพและข้อมูล


โดย: saykan@_@ วันที่: 9 มีนาคม 2551 เวลา:20:29:38 น.  

 
ว่างๆจะนั่งมองรูป ว่าเป็นรูปอะไรบ้างน้อ


โดย: StarInDark วันที่: 9 มีนาคม 2551 เวลา:21:38:32 น.  

 
เห็นมันทุกวันแต่ไม่เคยรู้เลยนะเนี่ยว่าแยกออกได้หลายแบบขนาดนี้


โดย: PriYa วันที่: 10 มีนาคม 2551 เวลา:1:00:25 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.