Welcome to my blog…………..http://cookie-nim.bloggang.com
Be my guest I baked I churned I cooked I quilted I made I traveled

บอกลาศรีนาการ์ ..ชม นครแห่งรัก - จบการเดินทาง






รูปนี้ดูแล้วเหมือนเรือชี้ฟ้าเนอะ




10 กค. 2552 – 5.30 น วันนี้ทุกคนตื่นนอนกันแต่เช้ามืด เพื่อออกไปชมตลาดน้ำ Floating Market เป็นวิถีชีวิตชาวบ้านในทะเลสาบดาล ที่นำพืชผักมาแลกเปลี่ยน ซื้อขายกัน การแลกเปลี่ยนซื้อขายที่ตลาดนี้จะเป็นคล้ายการซื้อขายส่ง คือจะซื้อหรือแลกกันเหมาหมดเรือไปเลย หรือซื้อเป็นกองใหญ่ๆ ตามแต่จะตกลงกัน และจะสังเกตได้ว่าที่ตลาดลอยน้ำนี้ มีแต่ผู้ชายเท่านั้น




3 หนุ่ม 3 มุม กำลังตกลงราคากัน



ตกลงกันแบบลูกผู้ชาย




เสร็จแล้วกลับมาเก็บข้าวของ กินมื้อเช้ากัน หลังอาหารเช้ายังมีเวลาเหลืออีกประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง มีการช็อปปิ้งรอบพิเศษอีก ก็ไม่พ้นผ้าอีกเช่นเคย รอบพิเศษนี้เป็นคำขอของน้อยที่บอกมิสเตอร์ดีนให้โทรไปตาม เพราะรู้สึกว่ายังซื้อไม่พอ แต่เช้านี้ส่งลูกชายมาแทน ลูกชายยังค้าขายไม่เป็นสู้พ่อไม่ได้เลย ไม่รู้จักต่อรอง ไม่นำเสนอ ไม่ชักจูง ที่จริงแล้ววันนี้เราเกิดปิ๊งผ้าปักผืนหนึ่ง แต่ราคาค่อนข้างสูง ต่อแล้วก็ไม่ให้ ไม่ได้คำเดียว แถมยังพูดจากวนบอกว่าไม่มีเงินรูดการ์ดก็ได้ ทำเอาคุณพ่อบ้านเราเริ่มอารมณ์ไม่ดี ที่ไม่ซื้อไม่ใช่ไม่มีเงิน แต่ไม่พอใจราคา ตกลงเราเลยไม่ได้ผ้าชิ้นนั้นมา นี่ถ้าเป็นพ่อมาขายเราคงได้มาแล้วล่ะ เพราะคนพ่อจะยื้อต่อรองกับลูกค้าจนต่างฝ่ายต่างได้ราคาที่พอใจทั้งคนซื้อคนขาย




คุยกันดีๆนะพี่นะ






9.30 เรือชิคาร่ามารับพวกเราที่หน้าบ้านเรือ ถึงเวลากล่าวคำอำลาบ้านเรือ และคุณพ่อบ้านดีนที่น่ารัก ก่อนจากถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึกกันด้วย มิสเตอร์ดีนไม่ได้มาส่งพวกเราที่สนามบิน เนื่องจากที่สนามบินศรีนาการ์นี้ ถ้าคนไม่มีตั๋วเครื่องบินจะเข้าไปไม่ได้ นอกจากคนขับรถคน

รถสองคันมารอรับพวกเราที่ท่าเรือชิคาร่า แล้วก็ไม่พ้นคุณลุงผมขาวอีกจนได้ เมื่อถึงสนามบินศรีนาการ์ ผ่านประตูทางเข้าด้านนอกแล้วพวกเราต้องขนกระเป๋าทุกใบเข้าเครื่องสแกน รวมทั้งคนก็โดนตรวจด้วย จากนั้นก็ขนกระเป๋าขึ้นรถอีกรอบเพื่อเข้าไปที่ตัวอาคาร เข้าไปในอาคารกระเป๋าและคนก็ต้องโดนตรวจอีกรอบหนึ่ง กล้อง กระเป๋าถือทุกใบจะต้องผ่านการตรวจและแสตมป์ตราพร้อมลายเซ็นของผู้ตรวจ




พวกนี้นั่งสังเกตุการณ์ก่อน






เมื่อพวกเราเช็คอินเข้าไปแล้ว ตอนแรกดีใจว่าคงอยู่ที่สนามบินไม่นาน เพราะกว่าจะตรวจเช็คกระเป๋าผ่านทุกด่านก็ใกล้เวลาแล้ว แต่เมื่อนั่งรอกันได้ไม่นานที่บอร์ดก็ขึ้นว่าไฟลท์ดีเลย์ จาก 12.30 เป็น 13.30 ซึ่งพวกเราก็ยังโอเคกันอยู่ เพราะพอรู้มาบ้างว่าเป็นเรื่องปกติของอินเดีย ผ่านไป 1 ชม. คราวนี้ขึ้น ดีเลย์เป็น 14.30 ตอนนี้ผู้โดยสารในห้องขาออกแน่นขนัดไปด้วยผู้คน เริ่มมีการจับกลุ่มพูดคุยกับเจ้าหน้าที่สายการบิน ปลาเองก็คอยไปฟังข่าวว่ามันดีเลย์ด้วยสาเหตุอะไร แต่ก็ไม่ได้คำตอบ

กว่าเราจะได้ไฟลท์บินออกจากสนามบินศรีนาการ์ก็ 5.30 น. ดีเลย์ไป 5 ชั่วโมงโดยไม่รู้สาเหตุ ไม่มีการแจ้งให้ทราบ ก่อนขึ้นเครืองพวกเรายังโดนตรวจอีกรอบ กล้องตัวไหนที่ไม่มีแท็คห้อยอยู่ ก็ต้องเปิดให้ดูว่ามีรูปถ่ายจริงๆ ได้ขึ้นเครื่องก็หมดแรงพอดี ทั้งวันพวกเราเพิ่งได้กินข้าวเช้ามื้อเดียว แล้วในห้องขาออกกมีแต่น้ำและโมโม่ อาหารว่างของแขกขาย ซึ่งพวกเราก็ไม่ค่อยกล้ากินเท่าไหร่

เครื่องลงที่สนามบินเดลีประมาณ 1 ทุ่มครึ่ง กว่าจะได้รับกระเป๋าออกจากสนามบิน กว่าจะได้กินข้าวมื้อเย็นก็ 3 ทุ่ม มื้อเย็นวันนี้เป็นอาหารจีนซึ่งพวกเรากินได้ค่อนข้างมาก ใช้เวลาในการกินอาหารเย็นกันอย่างรวดเร็ว เพราะจะต้องนั่งรถต่อไปที่อัคราในคืนนี้ ออกเดินทางจากเดลีราว 4 ทุ่ม ก่อนขึ้นรถน้อยยังสามารถช้อปธูปหอมแขกที่มาขายอยู่หน้าร้านอาหารได้อีกแน่ะ สามารถจริงๆแม่สาวนักช้อป กว่าจะฝ่าฝันการจราจรอันจอแจในเมืองเดลีออกมาได้ก็เกือบ 5 ทุ่ม เมื่อพ้นเดลีออกมาได้ทุกคนก็หลับกันมาตลอดทาง เนื่องจากความเหนื่อยอ่อน ราวตี 3 ครึ่ง รถก็มาจอดยังโรงแรมที่พักในเมืองอัครา ทุกคนสลึมสลือก้าวลงจากรถ หลังจากปลาติดต่อกับโรงแรมเรียบร้อยก็แจกกุญแจห้องให้ ทุกคนแยกย้ายกันไปยังห้องของตัวเอง ปลานัดเจอกันตอนเช้าเวลา 6 โมงเพื่อทานอาหารเช้า







11 กค. 2552 -6 โมงเช้า ทุกคนมาพร้อมหน้ากันที่ห้องอาหาร ด้วยอาการสะโหลสะเหลกันบ้างเล็กน้อย หลังจากทานอาหารเช้าอันประกอบด้วย ไข่ดาวหรือออมเลท ขนมปังปิ้ง ชา กาแฟ แล้วทุกคนก็พร้อมสำหรับการเดินทางสู่ “ทัชมาฮาล” หนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกที่เลื่องลือถึงความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์ของประเทศอินเดีย




ป้อมทางเข้าสู่ทัชมาฮาล



ป้อมประตู






ทัชทาฮาล เป็นอนุสรณ์แทนความรักที่สวยที่สุดในโลก ถูกสร้างขึ้นโดยกษัตริย์ชาร์ จาฮาน เพื่อเป็นที่ฝังพระศพของพระมเหสีมุมตัชมาฮาล ที่ทรงสิ้นพระชนม์หลังจากให้กำเนิดทายาทองค์ที่ 14 การสิ้นพระชนม์ของพระมเหสีทำให้พระเจ้าชาห์ จาฮานโศกเศร้าอยู่ถึงสองทศวรรษ ราชสมบัติส่วนใหญ่สูญเสียไปเพื่อการสร้างอนุสรณ์แห่งความรักนี้




ซุ้มประตู ที่ป้อมทางเข้า



เสียดายรูปนี้รีบถ่ายกลัวตามคนอื่นไม่ทัน เลยเบี้ยวไปนิด




ในปีค.ศ. 1658 พระโอรสโอรังเซบ ขึ้นครองราชบัลลังก์แทน และจับพระเจ้าชาร์ จาฮานกักบริเวณที่ป้อมอัครา (Agra Fort) พระองค์ถูกกักขังอยู่ถึง 8 ปี จนกระทั่งสวรรคตในปี ค.ศ. 1666 ตามตำนานกล่าวว่าให้วันสุดท้ายของชีวิตพระองค์ใช้เวลาทั้งวันในการจ้องมองกระจกที่สะท้อนภาพของทัชมาฮาล จนสิ้นพระชนม์ พระเจ้าชาห์ จาฮานถูกฝังในทัชมาฮาล เคียงข้างมเหสีซึ่งพระองค์ไม่เคยลืม










มีบางคนกล่าวว่าพระเจ้าชาห์ จาฮาน มิได้ประสงค์ที่จะถูกฝังร่วมกับพระมเหสี แต่พระองค์มีแผนการที่จะสร้างสุสานอีกแห่งด้วยหินอ่อนสีดำ เพื่อเป็นสุสานของพระองค์ ซึ่งเป็นสาเหตุการแย่งชิงพระราชอำนาจของพระโอรสโอรังเซบ













ทัชมาฮาลตั้งอยู่ในสวนริมฝั่งแม่น้ำยมุนา ในเมืองอัครา ส่วนที่มีชื่อเสียงที่สุด คือ หลุมศพของพระนางมุมตัซ มาฮาล ซึ่งถูกสร้างด้วยหินอ่อนสีขาว ศิลาแลงประดับลวดลาย เครื่องเพชรพลอยหิน โมราและเครื่องประดับจากมิตรประเทศ ได้รับคำรับรองว่าสร้างขึ้นด้วยสัดส่วนที่วิจิตรและงดงามที่สุด กว้างยาวด้านละ 100 เมตร สูง 60 เมตร มีผู้สร้างและออกแบบร่วม 20,000 คน การก่อสร้างกินเวลานานถึง 22 ปี (ปี ค.ศ. 1630-1652) ทัชมาฮาลมีเนื้อที่ประมาณ 42 เอเคอร์ มีบันทึกว่าสถาปนิกผู้ออกแบบชื่อ อุสตาด ไอซา (Uatad Isa) ถูกประหารชีวิตหลังจากสร้างเสร็จ ด้วยเหตุผลที่ว่าไม่อยากให้มีการสร้างสิ่งก่อสร้างที่งดงามเช่นนี้ได้อีก ส่วนศิลปินอื่นๆที่มาร่วมในการสร้างทุกคนต่างถูกตัดมือทิ้งทั้งหมด










ใช้เวลาเกือบ 2 ชั่วโมงในการชื่นชมความงามของทัชมาฮาล โดยมีไกด์ท้องถิ่นตามบรรยายถึงรายละเอียดให้ฟัง พวกเราก็ฟังบ้างไม่ฟังบ้าง เพราะมัวแต่ถ่ายรูป ทัชมาฮาลวันนี้ค่อนข้างพลุกพล่านไปด้วยชาวอินเดีย เพราะเป็นช่วงเวลาท่องเที่ยวในอินเดีย ถ่ายรูปไปทางไหนจึงหนีไม่พ้นมีแขกติดมาด้วย




ซุ้มประตูที่ Agra Fort



สังเกตุดีๆจะเห็นคนห้อยต่องแต่งอยู่ เพื่อลงไปถอนต้นไม้ที่ขึ้นจามผนัง




เราเดินทางต่อไปยังป้อมอัครา(Agra Fort) พระราชวังที่ยิ่งใหญ่ กษัตริย์แห่งราชวงค์โมกุลใช้เป็นพระราชวังสืบต่อมาถึง 3 รัชกาล แล้วยังเป็นอนุสร์แห่งความหลังที่น่าเศร้าของพระเจ้าชาร์ จาฮาน เพราะเป็นสถานที่ที่พระองค์ทรงเฝ้ามองทัชมาฮาลจนลมหายใจสุดท้าย













พวกเราชื่นชมความยิ่งใหญ่และงดงามของป้อมแห่งนี้ที่ยังหลงเหลืออยู่ แม้ว่าเครื่องประดับประดาต่างๆจะไม่หลงเหลืออยู่แล้วก็ตาม แต่จากร่องรอยที่เห็นก็แสดงถึงความยิ่งใหญ่อลังการของสถานที่นี้ เราใช้เวลาที่นี่ราว 1 ชั่วโมงจึงออกเดินทางจากอัคราเพื่อมุ่งหน้ากลับไปยังเดลีซึ่งต้องใช้เวลาในการเดินทางราว 6 ชั่วโมง




โถงนี้ที่พระเจ้าชาร์ จาฮาน ใช้เป็นที่เฝ้ามองดูทัชมาฮาล ตราบจนสิ้นลม






เราแวะทานอาหารกลางวันระหว่างทางเป็นข้าวสวย ไก่ย่าง สลัดและซุป ซึ่งเป็นการกินไก่ย่างที่แพงมากๆ จากนั้นจึงเดินทางต่อ เพื่อจุดมุ่งหมายอันยิ่งใหญ่นั่นคือ ช้อปปิ้ง เรามาถึงย่านจันปาทประมาณ 4 โมงเย็น ปลาพาไปแนะนำให้รู้จักห้าง Emporium ซึ่งเป็นห้างติดแอร์ขายของฝากของที่ระลึกของอินเดียประเภทต่างๆซึ่งราคาค่อนข้างสูงแต่รัฐบาลรับประกัน หลังจากเข้าห้องน้ำและเดินดูของในห้างได้ไม่นาน ทุกคนก็ออกมาจากห้างแล้วข้ามถนนมายังย่านจันปาทที่อยู่ตรงข้ามห้างแทนเพราะน่าจะเหมาะและถูกใจพวกเรามากกว่าในห้าง ต่างคนต่างแยกย้ายไปช้อปปิ้ง แต่วนๆกันไปมาก็มาเจอกันอยู่ดี ใช้เวลาช้อปปิ้งกันจนถึง 1 ทุ่ม ต่างคนต่างหิ้วของกันพะรุงพะรัง คนที่ได้เยอะที่สุดก็เป็นน้อยอีกเช่นเคย ต่ายกับแบงค์ก็ไม่น้อยหน้ากัน หมอต่วนผู้ซึ่งเงินออกจากกระเป๋าน้อยที่สุดระหว่างทริป มาเล่นของหนักที่นี่เอง เพราะขนซื้อหนังสือกลับไปเป็นตั้งด้วยคำเชียร์ของตาล เนื่องจากหนังสือที่อินเดียถูกกว่าบ้านเราเยอะมาก ส่วนเราได้กระเป๋ามา 1 ใบ เชอร์รี่สองกล่อง พี่นุชกับพี่อ๋อยเป็นฝ่ายสนับสนุนอีกเช่นเคย เมื่อถึงเวลานัดหมายทุกคนมาพร้อมกันที่ร้านแมคโดนัลด์เพื่อจะเดินทางไปกินมื้อเย็นที่ร้านอาหารจีนร้านเดิม หลังอาหารก็มุ่งหน้าไปยังสนามบิน




ท้องพระโรงว่าราชการ ที่ป้อมอัครา






ที่สนามบินเดลี หลังจากขนกระเป๋าลงจากรถและผ่านเข้ามาในอาคารผู้โดยสารแล้ว ทุกคนต่างง่วนอยู่กับการแพ็คกระเป๋าของตัวเองใหม่เนื่องจากของที่เพิ่งซื้อมาเมื่อตอนเย็นเป็นเหตุ อีกทั้งเกรงว่าน้ำหนักกระเป๋าจะเกินจากที่สายการบินอนุญาต จากนั้นก็ไปเช็คอินและโหลดกระเป๋าพร้อมกับลุ้นระทึกว่าน้ำหนักจะเกินหรือเปล่าผลการสอบปรากฏว่า ผ่านแบบเฉียดๆ

ก่อนขึ้นเครื่องพวกเรามีเรื่องตื่นเต้นกันอีกเล็กน้อย แต่ก็ผ่านไปด้วยดี ขึ้นเครื่องได้ไม่นานแทบทุกคนก็งัวเงียหลับๆตื่นๆกันตั้งแต่แอร์ยังไม่แจกอาหาร บางคนหลับยาวชนิดไม่แลอาหารกันเลย ส่วนเรา คุณพ่อบ้าน พี่นุช ตื่นขึ้นมากินอาหารกันได้สองสามคำ แล้วก็หลับสนิทจนแอร์ฯมาเก็บถาดอาหารยังไม่รู้ตัว

เครื่องถึงสนามบินสุวรรณภูมิราวๆ ตี 5.30 น. เมื่อลงเครื่อง น้อยก็ยังคงปฏิบัติการช้อปปิ้งได้อีก กว่าทุกคนจะแยกย้ายกันกลับบ้านของตัวก็ราว เกือบ 8 โมงเช้า







เป็นการจบทริปเที่ยวที่ยาวนานและสมบุกสมบันที่สุดสำหรับเราและคุณพ่อบ้าน

จาก.. เลห์-ลาดัก..สู่..ศรีนาการ์-แคชเมียร์
30 มิ.ย. – 12 ก.ค. 2552

12 วัน ที่ได้พบ เรียนรู้ และมิตรภาพใหม่ สนุกสนานประทับใจ ถึงจะสะบักสะบอมกันบ้าง



“โลกแคบลงเสมอ เมื่อการเดินทางสิ้นสุด” วันแรมทาง




ติดตามตอนอื่นๆ

Leh ดินแดนแห่งขุนเขา และ...วัด - ทัวร์ไหว้พระ 9 วัด ...I

Leh ดินแดนแห่งขุนเขา และ...วัด - ทัวร์ไหว้พระ 9 วัด ...II

Pangong Tso ทะเลสาบพันกอง - พันกอง...จริงๆนะ

Nubra Valley หุบเขาแห่งดอกไม้ ...ไม่ยักกะเห็นดอกไม้

Bye...Nubra Valley...แล้วจะกลับมาตามหาดอกไม้

Kargil ระยะทางสั้นๆแต่ช่างยาวนาน

Sonamarg ดินแดนแห่งเทพนิยาย

จากทะเลสาบดาล (Dal Lake)..สู่..กุลมาร์ค (Gulmarg)


Pahalgam กำเนิดนางเอกหนังแขกดวงใหม่





 

Create Date : 28 กรกฎาคม 2552
10 comments
Last Update : 31 กรกฎาคม 2552 7:57:42 น.
Counter : 1925 Pageviews.

 

ขอบคุณที่มีบันทึกให้อ่านนะคะ สนุก และประทับใจมาก

 

โดย: ป้านุช IP: 203.157.71.243, 117.121.208.2 28 กรกฎาคม 2552 9:32:16 น.  

 

วิหารสีความรัก...แสนเศร้า

 

โดย: แพนด้ามหาภัย 28 กรกฎาคม 2552 11:08:55 น.  

 

ไปเที่ยวมาหรือคะพี่ตุ๊ก ขอบคุณมากๆ ค่ะที่นำภาพมาให้ชมกันค่ะ

 

โดย: เต้าเจี้ยว 28 กรกฎาคม 2552 16:30:27 น.  

 

ปุ้มเข้ามาอ่านได้สองตอนเองค่ะพี่ตุ๊ก
เข้ามาวันนี้พี่ตุ๊กพาเที่ยวจบแล้ว แต่เดี๋ยวจะย้อนไปอ่านที่พลาดไปค่ะ
ทัชมาฮาล หินอ่อนสีขาวนวลสวยมาก ๆ เคยเห็นแต่ในรูป ( ตอนนี้ก็ยังเห็นแต่ในรูปที่พี่ตุ๊กถ่าย 5 5 แล้วจะพูดซ้ำทำไมล่ะเนี้ย )
ซุ้มประตูก็ดูมั่นคงแข็งแรง แหงนมองขึ้นไปดูตามมุมที่พี่ตุ๊กถ่ายภาพแล้วดูน่าเกรงขามจังค่ะ
แต่ว่าความสวย รายล้อมด้วยเรื่องราวความเศร้ายังไง ๆ ก็ไม่รู้
อยากมีโอกาสเที่ยวแบบนี้บ้าง น่าสนใจมาก 12 วันสุดคุ้มค่าเลยค่ะพี่ตุ๊ก

 

โดย: pumorg 28 กรกฎาคม 2552 20:25:49 น.  

 

ตามไปเที่ยวและมาดูรูปสวยๆ ของพี่ตุ๊กค่ะ..
พี่ตุ๊กบันทึกการเดินทางและเล่าความเป็นมาของสถานที่ได้ละเอียดจริงๆ เลยค่ะ

 

โดย: กะตุ้งนิ้ง 28 กรกฎาคม 2552 23:41:25 น.  

 

ตลาดน้ำที่นั่น มีแต่พ่อค้ามาขายของ แปลกดีจัง ถ้าเป็นตลาดน้ำของไทย จะมีแม่ค้ามาขายซะมากกว่า

คุณตุ๊กถ่ายรูปทัชมาฮาล ได้สวยมาก ๆค่ะ เห็นแล้วอยากไปเที่ยวบ้างจัง

 

โดย: นางฟ้าของชาลี 29 กรกฎาคม 2552 0:54:54 น.  

 

เดี๋ยวจะตามอ่านให้หมดเลยค่ะ รูปสวยมากๆ

 

โดย: Febie 29 กรกฎาคม 2552 3:15:06 น.  

 

โห เกือบมาไม่ทันตอนสำคัญ ทัชมาฮาล สวยมาก ค่ะ
ความรักของคน ๆ หนึ่ง สูงมากเลยนะคะ สามารถสร้าง
สิ่งมหัศจรรย์ขึ้นมาได้ ....

ชอบภาพ พ่อค้าชาวเรือมาก ๆ ค่ะ เหมือนตลาดน้ำบ้านเรา
เลยนะคะ ... แต่แปลกใจจังทำไมมีแต่ผู้ชาย ไม่เห็นมีผู้หญิง

... ไม่ได้อ่านละเอียดค่ะ ... พี่ตุ๊กอาจพูดถึงข้างบนแล้วก็ได้เนาะ ...

 

โดย: Tristy 30 กรกฎาคม 2552 10:12:15 น.  

 

มาร่วมปิดการเดินทางด้วยค่ะ
ชอบตลาดลอยน้ำจังเลยค่ะ น่าไปพืชผักเขาก็เขียวสดเชียว

ปล.รูปประตูทางเข้าทัชมาฮาลณ มนก็ถ่ายเอียงค่ะ
คนเยอะมากเกรงใจเขาด้วย

 

โดย: ณ มน 30 กรกฎาคม 2552 10:51:17 น.  

 

เก็บกวาดสวนเสร็จ จะย้อนกลับมาอ่านให้ครบทุกตอนเลย จะได้ไม่ต้องไปเอง ฮิฮิ เพราะรู้สึกกลิ่นแขกจะอบอวลมาก..ครือว่าข้อยเป็นโรคแพ้กลิ่นแรงผิดปรกติ.ฮี่ๆ

 

โดย: แมลงจ่อย (Bug in the garden ) 31 กรกฎาคม 2552 7:49:33 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Cookie Nim
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 71 คน [?]




ขอสงวนสิทธิ์ภาพถ่ายทุกภาพในบล็อคนี้

มีหลายๆคนสงสัยว่าทำไมต้อง Cookie Nim (คุกกี้นิ่ม)
ที่มาของชื่อนี้มาจากชอบกิน soft cookie มาก หัดทำขนมใหม่ๆก็เริ่มจากเจ้านี่แหละ พอมาเล่นเนทนึกชื่อไม่ออก ก็เลยใช้ คุกกี้นิ่ม ตั้งแต่นั้น

หลุดพ้นจากการเป็นมนุษย์เงินเดือน ทำให้มีเวลาว่างทำอะไรๆที่ชอบมากขึ้น ทำขนม ทำสบู่ และทำงานฝีมือ ถึงแม้ว่าสิ่งที่ชอบนั้นจะไม่ก่อให้เกิดรายได้เท่ากับเงินเดือนที่เคยได้ แต่ก็มีความสุขที่ได้ทำ
ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณผู้มีอุปการะคุณคนเดียวของเรา ซึ่งก็คือ"คุณพ่อบ้าน" นั่นเอง

สำหรับเพื่อนๆที่อยากได้ภาพ หรือบทความในบล็อกนี้ไปใช้ในทางบริสุทธิ์ใจ เช่น อยากนำไปตกแต่งบล็อคของคุณ หรือสูตรขนมไปทำแล้วเผยแพร่ต่อโดยไม่ได้หาผลประโยชน์ส่วนตน จขบ.ยินดีค่ะ รบกวนแค่อ้างอิงแหล่งที่มาสักหน่อยเท่านั้น
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
28 กรกฏาคม 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add Cookie Nim's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.