"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
<<
กันยายน 2563
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
20 กันยายน 2563
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 

69. ความเกิดแห่งกองทุกข์ และ ความดับแห่งกองทุกข์ ตอนที่ 10



การทำความดับแห่งกองทุกข์ ที่พระพุทธองค์ทรงให้มุ่งทำ คือ การทำความดับแห่งตัณหา
 
การทำความดับแห่งตัณหา คือ การทำให้เกิด “วิราคะ” หรือ การทำให้เกิด “ความปราศจากราคะ”
 
***************


ราคะ หมายถึง ความกำหนัด ความยินดี ความชอบใจ ที่เกิดขึ้นจาก รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และ ธรรมารมณ์ ประกอบด้วย

1. กามราคะ หมายถึง ความกำหนัดยินดี ที่เกิดขึ้นจาก รูป เสียง กลิ่น รส และ สัมผัส (กามคุณ 5)

2. รูปราคะ หมายถึง ความกำหนัดยินดี ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยรูปในจิต

3. อรูปราคะ หมายถึง กำหนัดยินดี ที่เกิดขึ้นโดยไม่อาศัยรูป
 
***************
 
สิ่งทำให้เกิดราคะ คือ อุปาทานขันธ์ 5
 
อุปาทาน หมายถึง ความยึดมั่นถือมั่นไปตามอำนาจของกิเลส เช่น อย่างนี้สวย เห็นแล้วเป็นสุข ชอบ อยากได้, อย่างนี้อร่อย ได้กินแล้วเป็นสุข ชอบ อยากกิน ฯลฯ
 
ขันธ์ 5 หมายถึง กระบวนการเกิดของอารมณ์สุข (โลกียสุข) ตามอุปาทานที่มีอยู่ หรือ ตามความยึดมั่นถือมั่นที่มีอยู่ ประกอบด้วย

1. รูป หมายถึง สิ่งที่ถูกรับรู้ได้ด้วยอายตนะภายใน 6 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ) ประกอบด้วย รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และ ธรรมารมณ์ (อายตนะภายนอก 6)

2. เวทนา หมายถึง ความรู้สึกสุข (เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดราคะ) ความรู้สึกทุกข์ และ ความรู้สึกไม่ทุกข์ไม่สุข

3. สัญญา หมายถึง ความจำได้ ความหมายรู้ได้ 

4. สังขาร หมายถึง การปรุงแต่ง

5. วิญญาณ หมายถึง ความรับรู้
 
***************
 
การทำให้เกิด “ความปราศจากราคะ” หรือ การทำให้เกิด “วิราคะ” คือ การทำให้เกิด “การละหน่ายคลายในอุปาทานขันธ์ 5" หรือ การทำให้เกิด "การละสักกายทิฏฐิได้” และ การทำให้เกิด “การปล่อยวางอุปาทานขันธ์ 5" หรือ การทำให้เกิด "การละอัตตานุทิฏฐิได้”
 
การทำให้เกิด “การละหน่ายคลายในอุปาทานขันธ์ 5" หรือ การทำให้เกิด "การละสักกายทิฏฐิได้” คือ การเพ่งพิจารณา (วิปัสสนา) ให้เห็นจนชัดแจ้งที่ใจ (โยนิโสมนสิการ) ในความไม่เที่ยง ความไม่ยั่งยืน ความแปรปรวน ความไม่แน่นอน และ ความไม่อาจยึดถือเอาไว้ได้ ของอุปาทานขันธ์ 5 (อนิจจัง)
และ การเพ่งพิจารณา (วิปัสสนา) ให้เห็นจนชัดแจ้งที่ใจ (โยนิโสมนสิการ) ในความเป็นทุกข์ เป็นโทษ และ เป็นภัย ของอุปาทานขันธ์ 5 (ทุกขัง)
 
การทำให้เกิด “การปล่อยวางอุปาทานขันธ์ 5" หรือ การทำให้เกิด "การละอัตตานุทิฏฐิได้” คือ การเพ่งพิจารณา (วิปัสสนา) ให้เห็นจนชัดแจ้งที่ใจ (โยนิโสมนสิการ) ในความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของตน ไม่ใช่ของของตน ของอุปาทานขันธ์ 5 (อนัตตา)
 
***************
 
๑๑. สักกายทิฏฐิปหานสูตร

ว่าด้วยการละสักกายทิฏฐิ

[๑๖๖] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อรู้เห็นอย่างไร จึงละสักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัว ของตน) ได้”
 
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ บุคคลเมื่อรู้เห็นจักขุ โดยความเป็นทุกข์ จึงละสักกายทิฏฐิได้ เมื่อรู้เห็นรูป โดยความเป็นทุกข์ จึงละสักกายทิฏฐิได้ เมื่อรู้เห็นจักขุวิญญาณ โดยความเป็นทุกข์ จึงละสักกายทิฏฐิได้ เมื่อรู้เห็นจักขุสัมผัส โดยความเป็นทุกข์ จึงละสักกายทิฏฐิได้ ฯลฯ
 
เมื่อรู้เห็น แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข หรือทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นทุกข์ จึงละสักกายทิฏฐิได้

ภิกษุ บุคคลเมื่อรู้ เห็นอย่างนี้ จึงละสักกายทิฏฐิได้


สักกายทิฏฐิปหานสูตรที่ ๑๑ จบ
 
***************
 
๑๒. อัตตานุทิฏฐิปหานสูตร

ว่าด้วยการละอัตตานุทิฏฐิ

[๑๖๗] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อรู้เห็นอย่างไร จึงละอัตตานุทิฏฐิได้”
 
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ บุคคลเมื่อรู้เห็นจักขุ โดยความเป็นอนัตตา จึงละอัตตานุทิฏฐิได้ เมื่อรู้เห็นรูป โดยความเป็นอนัตตา จึงละอัตตานุทิฏฐิได้ เมื่อรู้เห็นจักขุวิญญาณ โดยความเป็นอนัตตา จึงละอัตตานุทิฏฐิได้ เมื่อรู้เห็นจักขุสัมผัส โดยความเป็นอนัตตา จึงละอัตตานุทิฏฐิได้ เมื่อรู้เห็นแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข หรือทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นอนัตตา จึงละอัตตานุทิฏฐิได้ ฯลฯ
 
เมื่อรู้เห็นชิวหา โดยความเป็นอนัตตา จึงละอัตตานุทิฏฐิได้ ฯลฯ
 
เมื่อรู้เห็นมโน โดยความเป็นอนัตตา จึงละอัตตานุทิฏฐิได้ เมื่อรู้เห็นธรรมารมณ์ ... มโนวิญญาณ ... มโนสัมผัส ... เมื่อรู้เห็นแม้ความเสวย อารมณ์ที่เป็นสุข หรือทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นอนัตตา จึงละอัตตานุทิฏฐิได้

ภิกษุ บุคคลเมื่อรู้เห็นอย่างนี้ จึงละอัตตานุทิฏฐิได้”


อัตตานุทิฏฐิปหานสูตรที่ ๑๒ จบ
 
{ที่มา: โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๐๐ – ๒๐๑ }
 
***************
 
ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร
 
ราคะ (มค. ราค) น. ความกำหนัด, ความยินดี, ราคะเป็นกิเลสละเอียด ฝังอยู่ในจิตใจ ได้แก่ความรู้สึก ชอบใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และอารมณ์ กิเลสชนิดนี้ ไม่เป็นบาปกรรมหรือเป็นความชั่วร้าย สำหรับสามัญชนทั่วไป แต่ถ้าไม่ควบคุมจิต ราคะจะกำเริบขึ้นเป็นโลภะ เป็นความตระหนี่ เป็นความริษยา ฯลฯ จนถึง ทำให้ตัดสินใจทำบาปกรรม เพราะลุอำนาจแก่ความอยากได้ และความกำหนัดในกาม บุคคลผู้บรรลุเป็นพระอรหันต์เท่านั้น ที่ละราคะได้เด็ดขาด.
 
ชาญ คำพิมูล

 




 

Create Date : 20 กันยายน 2563
0 comments
Last Update : 27 กันยายน 2563 4:27:02 น.
Counter : 733 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.