"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
<<
เมษายน 2563
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
26 เมษายน 2563
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 

47. การปฏิบัติธรรม...เพื่อบรรลุพระโสดาบัน



การปฏิบัติธรรม เพื่อบรรลุพระโสดาบัน มีลำดับวิธีการดังนี้

ลำดับที่ ๑ ต้องทำตนให้พ้นจาก “ภัยเวร ๕ ประการ” ให้ได้ เป็นลำดับแรกก่อน โดยการปฏิบัติศีล ๕ ให้บริบูรณ์ หรือ ให้เป็นปกติของตน (ไม่ต้องยึด ไม่ต้องถือ)

ลำดับที่ ๒ เมื่อมีศีล ๕ เป็นปกติของตนแล้ว ให้นำเอากิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ที่ทำให้ตนเป็นทุกข์ เดือดร้อนกาย และ เดือดร้อนใจ หรือ ที่ก่อให้เกิดโทษภัยแก่ตน แก่ผู้อื่น และ แก่สัตว์อื่น มากำหนดตั้งให้เป็นศีล (อธิศีล) เพื่อยึดถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ หรือ เพื่อยึดถือปฏิบัติให้เป็นปกติของตน ได้แก่

๑. ความทุกข์ใจ ความเครียด และ ความวิตกกังวลใจ
๒. ความอยากได้ ความอยากมี และ ความอยากเป็น ในสิ่งที่เกินความจำเป็นของชีวิต
๓. ความโกรธ ความเกลียดชัง ความพยาบาทอาฆาตแค้น ความอิจฉาริษยา
ฯลฯ...กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ที่ทำให้เกิด กายทุจริต วจีทุจริต และ มโนทุจริต ทั้งหลาย (กิเลสหยาบ หรือ วีติกกมกิเลส)

ตัวอย่างเช่น

๑. ไม่ทุกข์ใจ ไม่เครียด และ ไม่วิตกกังวลใจ
๒. ไม่อยากได้ ไม่อยากมี และ ไม่อยากเป็น ในสิ่งที่เกินความจำเป็นของชีวิต
๓. ไม่โกรธ ไม่เกลียดชัง ไม่พยาบาทอาฆาตแค้น ไม่อิจฉาริษยา
ฯลฯ

ลำดับที่ ๓ เมื่อได้กำหนดตั้งศีลเอาไว้แล้ว ให้เรายึดถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ โดยใช้หลักธรรมโพชฌงค์ ๗ ขับเคลื่อน ดังนี้

๑. ทำความมีสติ (สติสัมโพชฌงค์) ระลึกรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่เสมอ เพื่อรับรู้ การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ และ การดับไป ของ ความทุกข์ใจ ความเครียด และ ความวิตกกังวลใจ, หรือ ความอยากได้ ความอยากมี และ ความอยากเป็น ในสิ่งที่เกินความจำเป็นของชีวิต, หรือ ความโกรธ ความเกลียดชัง ความพยาบาทอาฆาตแค้น ความอิจฉาริษยา ฯลฯ (สิ่งที่เรากำหนดตั้งเอาไว้ ให้เป็นศีล)

๒. เมื่อใดก็ตาม ที่มี ความทุกข์ใจ ความเครียด และ ความวิตกกังวลใจ, หรือ ความอยากได้ ความอยากมี และ ความอยากเป็น ในสิ่งที่เกินความจำเป็นของชีวิต, หรือ ความโกรธ ความเกลียดชัง ความพยาบาทอาฆาตแค้น ความอิจฉาริษยา ฯลฯ เกิดขึ้น ภายในจิตใจ จงเพียรพยายาม (วิริยสัมโพชฌงค์) ทำจิตใจ ให้ตั้งมั่น ให้ไม่หวั่นไหว ให้เป็นสมาธิ เพื่อระงับจิต ไม่ให้ปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตาม ความทุกข์ใจ ความเครียด และ ความวิตกกังวลใจ, หรือ ความอยากได้ ความอยากมี และ ความอยากเป็น ในสิ่งที่เกินความจำเป็นของชีวิต, หรือ ความโกรธ ความเกลียดชัง ความพยาบาทอาฆาตแค้น ความอิจฉาริษยา ฯลฯ

๓. ทำความมีสติ (สติสัมโพชฌงค์) เพียร (วิริยสัมโพชฌงค์) เพ่งพิจารณา (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ หรือ วิปัสสนา) เพื่อให้เห็นจนชัดแจ้งที่ใจ (โยนิโสมนสิการ) ในความเป็น อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา (ไตรลักษณ์) ของ ความทุกข์ใจ ความเครียด และ ความวิตกกังวลใจ, หรือ ความอยากได้ ความอยากมี และ ความอยากเป็น ในสิ่งที่เกินความจำเป็นของชีวิต, หรือ ความโกรธ ความเกลียดชัง ความพยาบาทอาฆาตแค้น ความอิจฉาริษยา ฯลฯ ดังนี้

     ๓.๑ เพียร (วิริยสัมโพชฌงค์) เพ่งพิจารณา (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ หรือ วิปัสสนา) เพื่อให้เห็นถึง ความไม่เที่ยง ความไม่ยั่งยืน ความแปรปรวน ความไม่แน่นอน ความไม่อาจยึดถือเอาไว้ได้ (อนิจจัง) ของ ความทุกข์ใจ ความเครียด และ ความวิตกกังวลใจ, หรือ ความอยากได้ ความอยากมี และ ความอยากเป็น ในสิ่งที่เกินความจำเป็นของชีวิต, หรือ ความโกรธ ความเกลียดชัง ความพยาบาทอาฆาตแค้น ความอิจฉาริษยา ฯลฯ

(ถ้าเราไม่เอาจิตเอาใจ เข้าไปปรุงแต่ง (สังขาร) ร่วม มันจะดับลงไปเอง ในเวลาไม่นานนัก)

     ๓.๒ เพียร (วิริยสัมโพชฌงค์) เพ่งพิจารณา (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ หรือ วิปัสสนา) เพื่อให้เห็นจนชัดแจ้งว่า จริงๆแล้ว เราไม่ควรทุกข์ใจ ไม่ควรเครียด และ ไม่ควรวิตกกังวลใจ, หรือ เราไม่ควรอยากได้ ไม่ควรอยากมี และ ไม่ควรอยากเป็น ในสิ่งที่เกินความจำเป็นของชีวิต, หรือ เราไม่ควรโกรธ ไม่ควรเกลียดชัง ไม่ควรพยาบาทอาฆาตแค้น ไม่ควรอิจฉาริษยา ฯลฯ เพราะ มันคือ มูลเหตุของความทุกข์ โทษ และ ภัย ทั้งหลาย (ทุกขัง)

     ๓.๓ เพียร (วิริยสัมโพชฌงค์) เพ่งพิจารณา (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ หรือ วิปัสสนา) เพื่อให้เห็นจนชัดแจ้งว่า ความทุกข์ใจ ความเครียด และ ความวิตกกังวลใจ, หรือ ความอยากได้ ความอยากมี และ ความอยากเป็น ในสิ่งที่เกินความจำเป็นของชีวิต, หรือ ความโกรธ ความเกลียดชัง ความพยาบาทอาฆาตแค้น ความอิจฉาริษยา ฯลฯ นี้ มันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของตน ไม่ใช่ของของตน (ไม่อาจจะกำหนดได้) มันเป็นแค่เพียงอุปาทาน ที่คนเรามีอยู่แตกต่างกัน เท่านั้นเอง และ มันเป็นสิ่งที่ สามารถจะทำให้ ลดลงได้ จางคลายลงได้ และ ดับสูญสิ้นไปจากจิตใจได้ (อนัตตา)

๔. เมื่อเราได้เห็น จนชัดแจ้งที่ใจ ในความเป็น อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา (ไตรลักษณ์) ของ ความทุกข์ใจ ความเครียด และ ความวิตกกังวลใจ, หรือ ความอยากได้ ความอยากมี และ ความอยากเป็น ในสิ่งที่เกินความจำเป็นของชีวิต, หรือ ความโกรธ ความเกลียดชัง ความพยาบาทอาฆาตแค้น ความอิจฉาริษยา ฯลฯ แล้ว ก็จะเกิดการสิ้นความลังเลสงสัย (พ้นวิจิกิจฉา) และ เกิดการละหน่ายคลาย และ การปล่อยวางได้ (เกิดปัญญา ละสักกายทิฏฐิได้ หรือ พ้นสักกายทิฏฐิ) ทำให้ “ศีล” ที่เราได้กำหนดตั้งเอาไว้ “บริบูรณ์” หรือ เป็นปกติของตน (ได้มรรคผล พ้นสีลัพพตปรามาส)

๕. เมื่อศีลบริบูรณ์แล้ว หรือ เป็นปกติของตนแล้ว ก็จะเกิด “ปิติ” ขึ้นในจิตใจ (ปีติสัมโพชฌงค์) เกิดความสงบกายและสงบใจ (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) เกิดความมีจิตใจที่ตั้งมั่น เป็นสมาธิ (สมาธิสัมโพชฌงค์) และ เกิดความมีจิตใจที่เป็นกลาง วางเฉย เพราะมีปัญญารู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง ไม่หลงยึดมั่นถือมั่น ไปตามอำนาจของกิเลส (อุเบกขาสัมโพชฌงค์)

ชาญ คำพิมูล

 




 

Create Date : 26 เมษายน 2563
0 comments
Last Update : 26 เมษายน 2563 5:51:33 น.
Counter : 729 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.