"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2563
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
 
15 กุมภาพันธ์ 2563
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 

42. โสดาบัน...ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ



หลักธรรมที่ชื่อว่า แว่นธรรม
 
[๑๕๘] อานนท์ ข้อที่บุคคลเกิดเป็นมนุษย์แล้วดับชีพนั้น ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่เมื่อผู้นั้นๆ ดับชีพแล้ว พวกเธอเข้ามาหาตถาคต ถามเรื่องนั้น นั่นเป็นการรบกวนตถาคต

ฉะนั้น เราจะแสดงหลักธรรม ที่ชื่อว่า แว่นธรรม เป็นเครื่องมือให้อริยสาวกมีไว้ เมื่อประสงค์ ก็จะพึงพยากรณ์ตนได้ด้วยตนเองว่า ‘เราหมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในนรก หมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในแดนเปรต หมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในอบาย ทุคติ และวินิบาตแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ ในวันข้างหน้า’
 
[๑๕๙] หลักธรรมที่ชื่อว่า แว่นธรรม เป็นเครื่องมือให้อริยสาวกมีไว้ เมื่อประสงค์ ก็จะพึงพยากรณ์ตนได้ด้วยตนเองว่า ‘เราหมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในนรก หมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในแดนเปรต หมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในอบาย ทุคติ และวินิบาตแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำ เร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า‘ คือ อะไร
 
คือ พระอริยสาวกในธรรมวินัยนี้
 
๑. ประกอบด้วย ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า “แม้ เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้ อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค”
 
๒. ประกอบด้วย ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า “พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้า มาในตน อันวิญญูชน พึงรู้เฉพาะตน”
 
๓. ประกอบด้วย ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า “พระสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกต้อง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก”
 
๔. ประกอบด้วย ศีลที่พระอริยะชอบใจ ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ
 
อานนท์ นี้แล คือหลักธรรมที่ชื่อว่า แว่นธรรม เป็นเครื่องมือให้อริยสาวกมีไว้ เมื่อประสงค์ ก็จะพึงพยากรณ์ตนได้ด้วยตนเองว่า ‘เราหมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในนรก หมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในแดนเปรต หมดสิ้นเหตุที่ให้ไปเกิดในอบาย ทุคติ และวินิบาตแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’
 

จาก พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร] หลักธรรมที่ชื่อว่าแว่นธรรม พระไตรปิฏก ฉบับมหาจุฬา

***************

ผู้ที่ปฏิบัติศีล สมาธิ และ ปัญญา โดยใช้ สติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ และ วิริยสัมโพชฌงค์ ขับเคลื่อน จนพ้นสักกายทิฏฐิ พ้นวิจิกิจฉา และ พ้นสีลัพพตปรามาส (พ้นสังโยชน์ ๓) ชื่อว่า ผู้ทำศีลให้บริบูรณ์ได้แล้ว

ผู้ที่ทำศีลให้บริบูรณ์ได้แล้ว ชื่อว่า พระโสดาบัน

ศีลที่บริบูรณ์ หมายถึง ศีลที่พระอริยะชอบใจ ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ

***************

ผู้ที่ทำศีลให้บริบูรณ์ได้แล้ว จะได้รับมรรคผลเป็น

๑. ความอิ่มใจ ความดื่มด่ำใจ (ปีติสัมโพชฌงค์)

๒. ความสงบกายและสงบใจ (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์)

๓. ความมีจิตใจที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว มีจิตแน่วในอารมณ์ (สมาธิสัมโพชฌงค์)

๔. ความมีจิตใจที่เป็นกลาง วางเฉย สุขสงบ (อุเบกขาสัมโพชฌงค์)
 
***************

ผู้ที่ทำศีลให้บริบูรณ์ได้แล้ว

จะเป็นผู้ที่มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า

มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม

และ มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์

***************

พระสงฆ์ หมายถึง พระอริยสงฆ์ หรือ ความเป็นอริยสงฆ์ ที่มีในตน

พระอริยสงฆ์ หมายถึง อริยบุคคล ๔ คู่ ๘ บุคคล  คือ

อริยบุคคลคู่ที่ ๑ พระโสดาปัตติมรรค และ พระโสดาปัตติผล

อริยบุคคลคู่ที่ ๒ พระสกิทาคามีมรรค และ พระสกิทาคามีผล

อริยบุคคลคู่ที่ ๓ พระอนาคามีมรรค และ พระอนาคามีผล

อริยบุคคลคู่ที่ ๔ พระอรหัตตมรรค และ พระอรหัตตผล
 
ชาญ คำพิมูล

 




 

Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2563
0 comments
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2563 7:54:06 น.
Counter : 1823 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณnewyorknurse

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.