"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2562
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
15 มิถุนายน 2562
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 

21. การปฏิบัติ “ศีล” ให้เป็นปกติ




วัตถุประสงค์หลัก ของการปฏิบัติศีล สมาธิ และ ปัญญา คือ เพื่อขัดเกลา หรือ เพื่อชำระล้าง กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ออกจากจิตใจ
ดังนั้น มรรคผลของการปฏิบัติศีล สมาธิ และ ปัญญา จึงคือ การลดลง การจางคลายลง และ การดับสิ้นไป ของกิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ภายในจิตใจ

***************

เมื่อเราได้กำหนดตั้ง “ศีล” ขึ้นมา เพื่อยึดถือปฏิบัติแล้ว
เราต้องยึดถือปฏิบัติ  โดยใช้ “สมาธิ (สมถภาวนา)” และ “ปัญญา (วิปัสสนาภาวนา)” ร่วมกัน
เพื่อทำให้เกิด “มรรคผลจริง” คือ การลดลง การจางคลายลง และ การดับสิ้นไป ของกิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ที่เป็นมูลเหตุ ที่ทำให้เรา “ละเมิดศีล”

***************

การปฏิบัติศีล “สมาธิ (สมถภาวนา)” และ “ปัญญา (วิปัสสนาภาวนา)” ร่วมกัน
จะทำให้เกิด “ความรู้แจ้งเห็นจริงที่ใจ” ในกิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ที่เป็นมูลเหตุ ที่ทำให้เรา “ละเมิดศีล”

***************

การเกิด “ความรู้แจ้งเห็นจริงที่ใจ” ในกิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ที่เป็นมูลเหตุ ที่ทำให้เรา “ละเมิดศีล”
จะทำให้เกิดมรรคผล ดังนี้  คือ

๑. เกิดการลดลง เกิดการจางคลายลง และ เกิดการดับสิ้นไป ของกิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ที่เป็นมูลเหตุ ที่ทำให้เรา “ละเมิดศีล” (พ้นสีลัพพตปรามาส)

๒. เกิดการหมดสิ้น “ความลังเลสงสัย” ในกิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ที่เป็นมูลเหตุ ที่ทำให้เรา “ละเมิดศีล”  (พ้นวิจิกิจฉา)

๓. เกิดการหมดสิ้น “ความหลงยึดมั่นถือมั่น” ในกิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ที่เป็นมูลเหตุ ที่ทำให้เรา “ละเมิดศีล” (เกิดการปล่อยวางได้ พ้นสักกายทิฏฐิ พ้นอัตตานุทิฏฐิ หรือ พ้นอวิชชา)

***************

เมื่อเกิดการ “ปล่อยวาง” กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ที่เป็นมูลเหตุ ที่ทำให้เรา “ละเมิดศีล” ได้แล้ว
“ศีล” ของเรา ก็จะกลายไปเป็น “ปกติวิสัย” ของเรา (ไม่ต้องยึด ไม่ต้องถือ)

***************


ยกตัวอย่างเช่น

เมื่อเราได้กำหนดตั้ง “การไม่โกรธ” เป็น “ศีล” ของเราแล้ว
เราต้องยึดถือปฏิบัติ โดยใช้ “สมาธิ (สมถภาวนา)” และ “ปัญญา (วิปัสสนาภาวนา)” ร่วมกัน
เพื่อทำให้ “การไม่โกรธ” เป็น “ปกติวิสัย” ของเรา ดังนี้

๑. เมื่อใดก็ตาม ที่มี “อารมณ์โกรธ” เกิดขึ้น ในจิตใจของเรา 
จงเพียรพยายาม ทำความระงับ ดับอารมณ์โกรธ ที่กำลังเกิดขึ้น
โดยพยายาม ทำจิตใจ ให้สงบระงับ ให้ตั้งมั่น ให้เป็น “สมาธิ”
และพยายาม ไม่ปล่อยให้จิตใจ ปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตาม อารมณ์โกรธ ที่กำลังเกิดขึ้น
(ทำความมีสติ เพื่อรับรู้การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ และ การดับไป ของอารมณ์โกรธ โดยไม่ปรุงแต่ง (สังขาร) ตาม)

๒. จงเพ่งพิจารณา ให้เห็นจนชัดแจ้งถึง “ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา (ไตรลักษณ์)” ของอารมณ์โกรธ ที่กำลังเกิดขึ้น หรือ ที่เกิดขึ้นไปแล้ว ดังนี้
   ๒.๑ อารมณ์โกรธ มีความไม่เที่ยง และ มีความไม่ยั่งยืน เป็นธรรมดา (อนิจจัง) ถ้าเราไม่เอาจิตเอาใจ เข้าไปปรุงแต่งร่วม (สังขาร) มันจะดับลงไปเอง ในเวลา ไม่นานนัก
   ๒.๒ อารมณ์โกรธ คือบ่อเกิดของความทุกข์ โทษ และ ภัย ทั้งหลาย (ทุกขัง) ดังนั้น เราจึงไม่ควร “หลงไปยึดมั่นถือมั่น” เอาไว้ (ควรปล่อยวาง)
   ๒.๓ อารมณ์โกรธ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของตน มันเป็นแค่เพียงอุปาทาน ที่เราสามารถทำให้มัน ลดลงได้ จางคลายลงได้ และ ดับสูญสิ้นไปได้ (อนัตตา) ดังนั้น เราจึงไม่ควร “หลงไปยึดมั่นถือมั่น เป็นตัวเป็นตนของตน”
 
๓. จงเพ่งพิจารณา ให้เห็น “ความจริงตามความเป็นจริง” จนเห็นชัดแจ้งว่า “จริงๆแล้ว เราไม่ควรโกรธ” “จริงๆแล้ว เราควรให้อภัย” และ “จริงๆแล้ว เราควรปล่อยวาง” เพื่อชำระล้าง หรือ “เพื่อสลาย” อารมณ์โกรธ ในจิตใจ ดังนี้

   ๓.๑ ทำไม? เขาจึงพูด เขาจึงทำ เช่นนั้น จนทำให้เรา “โกรธ”
        เป็นเพราะ...เขามีความจำเป็น ใช่ไหม?
        เป็นเพราะ...เขามีความเข้าใจผิด คิดไปเอง ใช่ไหม?
        เป็นเพราะ...เราเคยทำให้เขาไม่พอใจ ขัดเคืองใจ หรือ โกรธ ทั้งที่โดยตั้งใจ และ โดยไม่ได้ตั้งใจ ทั้งที่รู้ และ โดยไม่รู้ ใช่ไหม?
        เป็นเพราะ...พฤติกรรม หรือ การกระทำของเรา ไม่เหมาะสม จนทำให้เขา หมั่นไส้เรา ไม่ชอบเรา ไม่พอใจเรา ขัดเคืองเรา โกรธเรา ใช่ไหม?
        หรือ เป็นเพราะ...เขาอิจฉา ริษยาเรา ใช่ไหม?
   
        “ถ้าพฤติกรรม หรือ การกระทำของเรา ไม่เหมาะสมจริง ให้เราพิจารณา ปรับปรุง หรือ ปรับเปลี่ยน  ให้เหมาะสม”

   ๓.๒ ทำไม? เราจึงโกรธเขา
        เป็นเพราะ...เรากำลังอารมณ์ไม่ดีอยู่ ใช่ไหม?
        เป็นเพราะ...เราเข้าใจผิด คิดไปเอง ใช่ไหม?
        เป็นเพราะ...จริงๆแล้ว เขาต้องการทำให้เราพอใจ แต่เราไม่พอใจ เพราะ มันไม่ถูกใจเรา ใช่ไหม?
        หรือ เป็นเพราะ...จริงๆแล้ว เขาปรารถนาดีต่อเรา แต่เราไม่พอใจ เพราะ มันไม่ถูกใจเรา ใช่ไหม?
 
   ๓.๓ จงถามตนเองว่า...เราจะอภัยให้เขา ได้ไหม? เราควรจะอภัยให้เขา ดีกว่าไหม? เราควรจะปล่อยวาง ดีกว่าไหม?

***************

ในความเป็นจริงแล้ว
บุคคลทั้งหลาย ล้วนต้องการให้ผู้อื่นรัก ไม่ได้ต้องการให้ผู้อื่นเกลียดชัง เป็นธรรมดา
ดังนั้น ถ้ามีผู้ใด มากระทำให้เราโกรธ ขัดเคืองใจ หรือ ไม่พอใจ
มันต้องมีเหตุผล อันสมควร อย่างแน่นอน

***************

ไม่ว่าจะอย่างไร? ไม่ว่าจะเพราะเหตุใด? เราก็ไม่ควรโกรธ
ไม่ว่าจะอย่างไร? ไม่ว่าจะเพราะเหตุใด? เราก็ควรให้อภัย
ไม่ว่าจะอย่างไร? ไม่ว่าจะเพราะเหตุใด? เราก็ควรปล่อยวาง
เพราะ “อารมณ์โกรธ” คือ บ่อเกิดของความทุกข์ โทษ และ ภัย ทั้งหลาย
 
***************

สิ่งที่มีความสำคัญ สำหรับ การทำให้ “การไม่โกรธ” กลายเป็นปกติของเรา (ทำ “ศีล” ให้เป็นปกติ) คือ

๑. ต้องมีผัสสะ เป็นปัจจัย

     “ถ้าไม่มีผู้ใด มากระทำให้เรา “โกรธ” เราคงไม่มีโอกาส ได้ขัดเกลาจิต”
     “ถ้าไม่มีผู้ใด มากระทำให้เรา “โกรธ” เราคงไม่มีโอกาส ได้ทำ...อภัยทาน”
     “ถ้าไม่มีผู้ใด มากระทำให้เรา “โกรธ” เราคงไม่รู้ว่า เราสอบผ่านหรือไม่?”

๒. ต้องเพียรหมั่นอบรมจิต (สมถภาวนา) และ ต้องเพียรหมั่นอบรมปัญญา (วิปัสสนาภาวนา) ให้ติดเป็นนิสัย เพื่อทำความปล่อยวาง “อารมณ์โกรธ”

     เมื่อใดก็ตาม ที่มี “อารมณ์โกรธ” เกิดขึ้นมา ภายในจิตใจของเรา
     ไม่ว่าเรา จะสามารถระงับดับได้ทัน หรือ ไม่สามารถจะระงับดับได้ทัน
     ขอให้เรา จงเพียรหมั่น เพ่งพิจารณา หรือ วิปัสสนา ล้างออกจากจิตใจของเรา (อย่าปล่อยให้มัน ค้างคาอยู่ในจิตใจ)
     ถ้าเราไม่เพียรหมั่น เพ่งพิจารณา หรือ วิปัสสนา ล้างออกจากจิตใจของเรา 
     มันจะสั่งสมพอกพูนเพิ่มขึ้น จนกลายไปเป็น อารมณ์โทสะ อารมณ์พยาบาท อาฆาตแค้น จองเวร

๓. ต้องมองให้เห็นมรรคผล แม้มีประมาณน้อย หรือ ต้องมองให้เห็น ความชนะในความแพ้ คือ ต้องมองให้เห็น การลดลง การจางคลายลง ของ “อารมณ์โกรธ” ในจิตใจ โดยลำดับ เพื่อทำให้เรา “มีพลัง” ในการต่อสู้ เพื่อเอาชนะ “อารมณ์โกรธ”

     การขัดเกลา หรือ การชำระล้าง อารมณ์โกรธ ออกจากจิตใจของเรา
     ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ
     เราต้องใช้ความเพียรพยายาม ค่อนข้างสูง และ ต้องใช้ระยะเวลา ยาวนานพอสมควร
     ถ้าหากเรา มองไม่เห็นมรรคผล แม้มีประมาณน้อย หรือ มองไม่เห็น ความชนะในความแพ้
     เราจะไม่มีพลัง ในการต่อสู้ เพื่อเอาชนะ “อารมณ์โกรธ”

***************

เมื่อเราได้เพ่งพิจารณา จนเห็นชัดแจ้งที่ใจ ในความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา (ไตรลักษณ์) ของ "อารมณ์โกรธ" แล้ว
ก็จะเกิด การปล่อยวาง "อารมณ์โกรธ" ได้ ตามมา (เกิดปัญญา ล้างอวิชชา)
และ จะทำให้ “การไม่โกรธ” กลายไปเป็น “ปกติวิสัย” ของเรา (ทำให้ “ศีล” กลายเป็นปกติ)

ชาญ คำพิมูล

 




 

Create Date : 15 มิถุนายน 2562
0 comments
Last Update : 12 พฤศจิกายน 2562 7:30:12 น.
Counter : 1622 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.