Advanced and Caring
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2552
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
26 มิถุนายน 2552
 
All Blogs
 
ป้องกัน 'ไฟดูด' หน้าฝน ก่อนเป็นเหยื่อรายต่อไป

นอกจากโรคภัยไข้เจ็บที่มากับฤดูฝนแล้ว ภัยอันตรายจากไฟฟ้าก็เป็นส่วนหนึ่งที่คร่าชีวิตมนุษย์ในช่วงนี้อยู่เสมอ เนื่องจากฝนเป็นพาหะทำให้เกิดไฟดูดมนุษย์

ผศ.ดร.นพพร ลีปรีชานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ร่างกายคนเสมือนเส้นทางเดินไฟฟ้า มีอานุภาพร้ายแรงเมื่อไฟฟ้าไหลต่อเนื่องอย่างครบวงจร ซึ่ง ผู้หญิงและคนที่มีรูป ร่างอวบมีโอกาสเสี่ยงถูกไฟฟ้าดูดมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากปริมาณน้ำในตัวมีมาก และมีความชื้นในตัวสูงที่จะเป็นตัวนำไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี

ขณะเดียวกันในหน้าฝนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องดูแลเป็นพิเศษส่วนใหญ่เป็นบริเวณที่มีความชื้นมาก เช่น บริเวณบ่อปลา ปั๊มน้ำ เครื่องซักผ้า ตู้กดน้ำ เครื่องทำน้ำอุ่น เป็นต้น ตัวอย่างเช่น เครื่องซักผ้าที่เกิดไฟฟ้ารั่วโดยไม่ติดตั้งสายดิน ขณะเดียวกันผู้ใช้งานไม่สวมใส่รองเท้า ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลครบวงจร โดยไหลผ่านตัวคนลงสู่พื้น ส่งผลต่อการเต้นของหัวใจ และทำให้เสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกวิธี

กรณีเกิดไฟฟ้ารั่วตอนน้ำท่วมฉับพลัน อันดับแรกให้รีบสับสวิตช์ลงเพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้ารั่ว ความเข้มข้นของกระแส ไฟฟ้าขึ้นอยู่กับการกระจายของ กระแสไฟฟ้าถ้าใกล้กับจุดที่ไฟฟ้ารั่วกระแสไฟฟ้าก็จะมีความเข้มข้นมาก ห่างออกไปก็จางลงไปตามลำดับ การที่จะพิสูจน์ว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วหรือไม่นั้นห้ามเอาหน้ามือสัมผัส เพราะโดยธรรมชาติของคนเมื่อโดนไฟฟ้าดูดก็จะกำมือลง ร่างกายจะหดตัวกำแน่น ทางที่ดีควรใช้หลังมือสัมผัส

อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าหลังโดนน้ำท่วมถ้าจะนำมาใช้ควรจะตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าอยู่ในสภาพที่ยังใช้การได้อยู่หรือไม่ สิ่งแรกต้องทำให้แห้งก่อนที่จะเสียบปลั๊ก หากไม่แน่ใจควรให้ช่างผู้ชำนาญมาตรวจสอบก่อน แต่ถ้าอุปกรณ์เหล่านั้นเกิดความเสียหายมาก ก็ไม่ควรเสี่ยงที่จะนำมาใช้งาน

วิธีป้องกันตัวเองเพื่อไม่ให้เกิดไฟฟ้าดูด หากจะเสียบปลั๊กอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ต้องมั่นใจว่าร่างกายแห้งสนิทไม่เปียกชื้น บริเวณเต้ารับควรดูแลรักษาให้แห้งอยู่เสมอ หากไม่แน่ใจก่อนเสียบปลั๊กก็ควรสวมรองเท้า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ด้วยความระมัดระวัง และไม่ประมาท

ก่อนเกิดเหตุ ควรมีการป้องกันไม่ไปสัมผัสกับกระแสไฟฟ้าที่รั่ว และห้ามใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่โดนน้ำท่วมมาแล้ว ถ้าบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อไฟฟ้ารั่วหรือมีโอกาสเกิดไฟรั่วได้ง่ายควรติดตัวเบรกเกอร์ป้องกันไว้ก่อน

ระหว่างที่เกิดเหตุ บุคคลที่มาช่วยไม่ควรจะไปสัมผัสร่างกายผู้เคราะห์ร้ายโดยตรง ควรหาฉนวน เชือกแห้ง เสื้อแห้ง ๆ ดึง หรือ ผลักออกไป และ สิ่งสำคัญควรรู้จักการ ปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่เหมาะสม โดยปกติผู้ที่ถูกไฟฟ้าดูดจะหมดสติ กล้ามเนื้อเกร็ง เราต้องปั๊มหัวใจ หรือผายปอด โดยการเป่าปาก ชุมชนส่วนใหญ่ ควรที่จะมีการอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้ความรู้แก่ ชาวบ้านเกี่ยวกับการช่วยผู้ป่วย และตู้โทรศัพท์สาธารณะก็มีสิทธิ ที่จะไฟฟ้ารั่วได้เช่นกัน ตู้โทรศัพท์สาธารณะส่วนใหญ่จะเป็นโลหะ ตอนติดตั้งควรจะต้องต่อสายลงดิน ตามเสาไฟฟ้าที่มีใบไม้พาดรกรุงรังก็อาจทำให้เกิดกระแสไฟฟ้ารั่วได้เช่นกัน ตรงนี้องค์การไฟฟ้าต้องสังเกตการณ์ ณ จุดนี้ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความเสี่ยงสูงควรที่จะติดตั้งสายดิน เมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่วแทนที่จะวิ่งไปสู่คน กระแส ไฟก็จะวิ่งลงดินไปเลย สายดินมีความต้านทานน้อยกว่าเรา กระแส ไฟฟ้ามักจะวิ่งไปในสิ่งที่ที่มีความต้านทานน้อยกว่า สายดินที่มีความใหญ่จะยิ่งดี ถ้าติดตั้งสายดินความลึกต้องไม่ต่ำกว่า 2 เมตร ดินตรงนั้นต้องมีความต้านทานต่ำด้วย ถ้าดินตรงนั้นมีความต้านทานสูงก็ควรปักลึกลงไปอีก หรือมีทางแก้คือ ต้องโรยด่างบริเวณที่จะปักสายดินเพื่อเพิ่มความต้านทานของดิน

วิธีป้องกันที่ดีที่สุดก่อนหน้าฝนควรตรวจสอบระบบไฟฟ้าภายในบ้านและสายไฟ หากบ้านเก่ากว่า 10 ปีขึ้นไป อุปกรณ์เหล่านี้มีอายุการใช้งานนาน ฉนวน ก็มักเสื่อมสภาพตามกาลเวลา ส่วนบ้านที่มีการติดตั้งปั๊มน้ำถ้า ปลั๊กเสียบอยู่ต่ำยิ่งจะมีความเสี่ยงมากหากพื้นบริเวณดังกล่าวเปียกก็อาจเกิดไฟดูดได้ ขณะเดียวกันเต้าเสียบภายในบ้านควรอยู่ห่างจากพื้นประมาณ 10 ซม.

“การเสียชีวิตที่เกิดจาก กระแสไฟฟ้าส่วนใหญ่เกิดจาก ไฟฟ้าช็อตตายอย่างฉับพลัน และไฟฟ้ารั่วปริมาณกระแสไฟฟ้าวิ่งเข้าสู่หัวใจเกินค่ามาตรฐาน”

การช่วยเหลือผู้เคราะห์ร้ายจากการถูกไฟฟ้าดูด คือเมื่อมีผู้ถูกไฟฟ้าดูดห้ามเอามือไปสัมผัสโดยตรง ให้สวมรองเท้าแล้วนำวัสดุที่เป็นฉนวนป้องกันไฟฟ้า เช่น ผ้าแห้งกระชากหรือดันตัวผู้ถูกไฟฟ้าดูดออกไป ถ้าเราสัมผัสตัวผู้ประสบภัยโดยตรงไม่มีเครื่องป้องกันกระแสไฟฟ้าก็จะวิ่งเข้าสู่ตัวเราอีกคน ลักษณะแบบนี้ทางเทคนิคเรียกว่า แบบขนาน ทำให้ทั้งสองคนเสียชีวิตเร็วขึ้น เหมือนเป็นการแบ่งความแรงของไฟฟ้ากันคนละครึ่ง เพราะความต้านทานรวมลดลง กระแสไฟฟ้าจะแบ่งไหล วิธีการช่วยชีวิตแบบเร็วที่สุด คือการสับสวิตช์เบรก เกอร์ หรือสับตัวต้นทางทิ้งไป โดยปกติทางการแพทย์ศึกษามาแล้วว่าคนที่ถูกไฟฟ้าดูดประมาณ 0.01-0.04 วินาที แล้วสับสวิตช์เบรกเกอร์ทันจะปลอดภัย ถ้าเกินกว่านั้นจะทำให้เสียชีวิตทันที แต่ละคนระยะเวลาการเสียชีวิตจะเฉลี่ยกันไป คนอ้วนมีโอกาสเสียชีวิตเร็วกว่าปกติ

ปัจจุบันมีเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดที่มีคุณสมบัติทนต่อน้ำท่วม โดยจะมีค่ามาตรฐานสากล สังเกตได้จากรหัส IP ที่ติดไว้ด้านข้างเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยแสดงด้วยตัวเลขสองหลัก ตัวเลขหลักแรก บอกการป้องกันการกระแทกจากของแข็ง ตัวเลขหลักที่สองบอกการป้องกันของเหลว เช่น น้ำ หากตัวเลขสองหลักมีค่าสูงสามารถ ป้องกันฝุ่นละอองได้

ตัวอย่างเช่น IP56 สามารถ ป้องกันของแข็งได้ระดับ 5 และสามารถป้องกันน้ำได้ระดับ 6 ซึ่งเป็นค่ามากที่สุด ทนทานต่อความเค็มของน้ำทะเล

นพ.อรรถ นิติพน ศัลยแพทย์ทั่วไป โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า คนไข้ที่ถูกไฟดูดส่วนใหญ่มีอยู่ 2 กรณีคือ 1. มีอาการหมดสติ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นควรตรวจดูว่ายังมีลมหายใจหรือไม่ โดยการจับชีพจรหรือ ฟังการหายใจ หากคนไข้ถูกไฟดูด นานกว่า 5 นาที มีโอกาสเสียชีวิตสูง ซึ่งควรปฐมพยาบาลเบื้องต้นควรตรวจดูในช่องปากและจมูก ไม่ให้สิ่งใดตกค้างและทำการผายปอดและปั๊มหัวใจ และต้องนำส่งโรงพยาบาลทันที

กรณีที่ 2 คนไข้ที่มีสติ อาจมีกล้ามเนื้อภายในสุก โดยควรตรวจดูบริเวณข้อพับต่าง ๆ ซึ่งหากมีการผิดปกติพับงอไม่ได้ต้องไปพบแพทย์ทันที

“หมอมักพบคนไข้ที่ถูกไฟดูดเกิดอาการหัวใจขาดเลือด โดยคนไข้เจ็บหน้าอกและมีอาการหายใจไม่เต็มที่ อาการเหล่านี้อย่าประมาทควรไปพบแพทย์ทันที”

นพ.อรรถ ทิ้งท้ายว่า ในช่วงฤดูฝนนี้ผู้ปกครองควรหมั่นดูแลลูกหลานเพราะบางครั้งเด็กอาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งจะส่งผลให้เสียชีวิตและทรัพย์สินได้

อย่างไรก็ตาม การป้อง กันที่ดีที่สุดคือ การไม่ประมาท เพราะนั่นอาจหมายถึงอีกหลายชีวิตที่ต้องเสียไป.

บทความโดย ศราวุธ ดีหมื่นไวย์/ศรัณญา ดำรงพิริยะพงศ์
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
วันพฤหัสบดี ที่ 25 มิถุนายน 2552



Create Date : 26 มิถุนายน 2552
Last Update : 26 มิถุนายน 2552 16:51:47 น. 1 comments
Counter : 774 Pageviews.

 
ขอบคุณนะคะที่แวะไปเยี่ยม หุ หุ


โดย: แม่น้องฟิวส์ (BUILD & FILL ) วันที่: 26 มิถุนายน 2552 เวลา:20:48:32 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

bangkokhospital
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add bangkokhospital's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.