Advanced and Caring
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
15 มีนาคม 2553
 
All Blogs
 
ระบบคอมพิวเตอร์นำวิถี วิวัฒนาการใหม่ผ่าตัดผู้ป่วยข้อเสื่อม



โรคกระดูก” ทั้งปัญหากระดูกพรุน หรือความเสื่อมของกระดูกกลายเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของผู้สูงอายุ

ผศ.นพ.สมบัติ โรจน์วิโรจน์ ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลกรุงเท
พ เตือน ผู้สูงอายุกระดูกจะเสื่อมสภาพ จากการสำรวจพบว่าร้อยละ 50 ของผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปเริ่มมีปัญหาข้อเสื่อม โดยเฉพาะข้อเข่า และกระดูกสันหลัง รองลงมาเป็นข้อสะโพก พบมากในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เนื่องจากเพศหญิงทำงานหนักกว่าเพศชาย รวมทั้งระดับฮอร์โมนก็มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในวัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน คือ อายุ 50 ปีขึ้นไป เพราะระดับฮอร์โมนลดลง ความเสื่อมของข้อจะเกิดขึ้น และโรคกระดูกพรุนจะตามมา ซึ่งพบว่าโรคกระดูกพรุนเป็นปัจจัยสำคัญของกระดูกเสื่อม

 

อาการที่เห็นได้ชัดของผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเสื่อม จะมีอาการปวดเกร็งที่สะโพกไปจนถึงขา และ เท้า เดินไม่ค่อยไหว ไม่มีแรง เกิดการกดทับเส้นประสาท การรักษาในปัจจุบัน หากความเสื่อมไม่มากนัก แพทย์จะให้ยา เพื่อช่วยปรับสภาพของกระดูกอ่อนผิวข้อ ชะลอความเสื่อมได้ แต่ในรายที่มีความเสื่อมของข้อกระดูกมากๆ การผ่าตัดถือเป็นวิธีที่ดีที่สุด สำหรับการผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์ เป็นการผ่าตัดที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใส่เข้าไปใน ตัวผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นการใส่โลหะดามกระดูกที่หักให้เข้าที่ การใส่สกรูยึดกระดูกสันหลัง หรือการใส่อุปกรณ์ทดแทน อาทิ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม




การวางแผนผ่าตัดบนระบบคอมพิวเตอร์


ที่ผ่านมาแพทย์จะทำการผ่าตัดแบบมาตรฐานเพียงอย่างเดียว โดยอาศัยความชำนาญของแพทย์เป็นหลัก ซึ่ง อาจเกิดการคลาดเคลื่อนระหว่างใส่ข้อเทียมได้ ทำให้ข้อไม่ตรงแนว ส่งผลให้ข้อกระดูกทรุดตัวได้ภายหลัง ทำให้อายุการใช้งานสั้นลง จากปกติการใส่ข้อเทียมควรมีอายุการใช้งานประมาณ 10-15 ปีอาจเหลือเพียง 7-8 ปีเท่านั้น ทั้งนี้ ปัจจุบัน มีเทคโนโลยีช่วยเสริมการผ่าตัด ที่เรียกว่า คอมพิวเตอร์ช่วยในการผ่าตัดข้อ หรือคอมพิวเตอร์ระบบนำวิถี (Navigation system) เป็นระบบช่วยวางแผนในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อกระดูก ช่วย ในการกำหนดขนาดของข้อเสื่อมที่สมดุลกับกระดูกข้อจริง รวมถึงตำแหน่งในการวางจะมีความแม่นยำ เหมือนกับการวางแผนไว้ในฟิล์มเอ็กซเรย์ก่อนผ่าตัด ความคลาดเคลื่อนจะน้อยมาก


สำหรับขั้นตอนการผ่าตัดด้วยระบบนำวิถี แพทย์ จะทำการติดตั้งอุปกรณ์รับส่งสัญญาณเข้ากับกระดูกของผู้ป่วยส่วนที่จะผ่าตัด เพื่อทำการส่งสัญญาณภาพไปยังจอคอมพิวเตอร์ด้วยระบบแสงอินฟราเรด หรือระบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยหรือแพทย์ผู้รักษา จากนั้นแพทย์จะทำการหาตำแหน่งของข้อที่ต้องการผ่าตัด และเมื่อได้ตำแหน่งที่เหมาะสม ระบบจะทำการสร้างภาพเสมือนจริงแบบ 3 มิติ ซึ่งแพทย์สามารถวางแผนการผ่าตัดหรือทดลองผ่าตัดบนจอคอมพิวเตอร์ก่อนการผ่า ตัดจริง เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการผ่าตัดจริง สำหรับการผ่าตัดที่ใช้ระบบนำวิถีเป็นตัวเสริมจะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง 20 นาที ซึ่งนานกว่าการผ่าตัดแบบมาตรฐาน เนื่องจากระบบนี้ต้องใช้เวลาในการตรวจค่าความแม่นยำสูง ทั้งนี้ ข้อเสีย คือ มีค่าใช้จ่ายสูง


ข้อดีของระบบนี้ ช่วย ลดความผิดพลาดระหว่างการผ่าตัดได้ เพราะแพทย์สามารถดูรายละเอียดระหว่างการผ่าตัดบนจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งจากเดิมต้องใช้ตาเปล่าเท่านั้น การใช้ระบบนี้จึงเพิ่มความแม่นยำขึ้น เห็นได้จากที่ผ่านมาการเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในผู้ป่วย พบว่า แนวการใส่ข้อเข่าเทียมตรงตามที่คาดไว้ ขณะที่การผ่าตัดที่ไม่ใช้ระบบดังกล่าว จะใส่ข้อเข่าเทียมออกนอกแนวเกือบร้อยละ 2 นอกจากนี้ ยังช่วยลดอันตรายจากการรับรังสีระหว่างผ่าตัด โดยเฉพาะการผ่าตัดใส่โลหะดามกระดูก ปกติแพทย์ต้องฉายรังสีเอ็กซเรย์จากเครื่อง Fluoroscope หากรับรังสีในปริมาณมากและยาวนานย่อมส่งผลต่อร่างกายในระยะยาว โดยเฉพาะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง และที่สำคัญต้องอาศัยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ หากคำนวณมุมผ่าตัดคลาดเคลื่อน ย่อมทำให้การใส่ข้อเทียมคลาดเคลื่อนด้วย ถือเป็นอีกทางเลือกในการนำเทคโนโลยีอันทันสมัยมาเป็นตัวช่วยในผู้ป่วยโรคกระดูกเสื่อม



สำหรับท่านที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อม ขณะนี้ รพ.กรุงเทพ มีโครงการข้อเข่าเข้มแข็ง TKR (Total Knee Replacement) ท่านสามารถติดตามรายละเอียดได้ที่นี่




Create Date : 15 มีนาคม 2553
Last Update : 15 มีนาคม 2553 11:08:45 น. 0 comments
Counter : 634 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

bangkokhospital
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add bangkokhospital's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.