Advanced and Caring
Group Blog
 
<<
มกราคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
21 มกราคม 2553
 
All Blogs
 
วัคซีน HPV ลดความเสี่ยง จากมะเร็งปากมดลูก

HPV (Human papillomavirus)
เป็นไวรัสที่ไม่มี envellope มีสารพันธุกรรมแบบ DNA ที่เป็นวงกลม สายคู่
ก่อการติดเชื้อทางเดินบุด้วยเยื่อเมือก anogenital tract เช่นปากมดลูก, ช่องคลอด,
อวัยวะเพศชาย และรอบทวารหนัก ติดต่อโดยผ่านทางเพศสัมพันธ์

 


ไวรัส HPV อาจจะแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มที่ทำให้เกิดรอยโรคผิวหนังและกลุ่มที่ทำให้เกิดรอยโรคที่ทวารหนักและอวัยวะสืบพันธุ์ กลุ่มหลังนี้มีไวรัส HPV ประมาณ 30 ชนิด ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็น 3 กลุ่มตามศักยภาพในการก่อให้เกิดมะเร็ง ได้แก่




  1. HPV ชนิดความเสี่ยงต่ำ ไม่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก ส่วนใหญ่จะพบในหูดหงอนไก่แบบงอกจากผิวเยื่อบุ และรอยโรคภายเยื่อบุสเควมัสขั้นต่ำ พบได้น้อยมากในรอยโรคภายในเยื่อบุสเควมัสขั้นสูง โดยไม่พบ HPV ชนิดอื่นร่วมด้วยและไม่พบในมะเร็งระยะลุกลามเลย

  2. HPV ชนิดความเสี่ยงปานกลาง ไม่ค่อยพบในหูดหงอนไก่แบบงอกจากผิวเยื่อบุแต่จะพบในหูดหงอนไก่แบบเรียบ รอยโรคภายในเยื่อบุสเควมัสขั้นต่ำ รอยโรคภายในเยื่อบุสเควมัสขั้นสูง และมะเร็งระยะลุกลาม

  3. HPV ชนิดความเสี่ยงปานกลาง
    และชนิดความเสี่ยงสูง
    จัดว่าเป็นไวรัสที่ก่อมะเร็ง หรือสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง เพราะเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดรอยโรคภายในเยื่อบุสเควมัสขั้นสูงและมะเร็งระยะลุกลาม บางท่านจึงจัดให้ไวรัส HPVชนิดความเสี่ยงปานกลางอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงสูงเหมือนกัน ไวรัส



กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรค



เชื้อ HPV ไม่ได้เป็นปัจจัยเดียวที่ทำให้เป็นมะเร็งปากมดลูก ยังมีปัจจัยอื่นๆ
ร่วมด้วยที่ทำให้การติดเชื้อไวรัส HPV คืบหน้าหรือดำเนินโรคต่อไปจนเป็นมะเร็งปากมดลูก ปัจจัยร่วมเหล่านี้กล่าวได้ว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเป็นมะเร็งปากมดลูก หรือทำให้เป็นมะเร็งปากมดลูกได้สูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับสตรีที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง ดังต่อไปนี้



  1. ปัจจัยเสี่ยงทางนรีเวชวิทยา
    (gynecologic risk factors)


    • การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย ถ้าอายุน้อยกว่า 18 ปี จะมีความเสี่ยงสูงขึ้น 1.3 เท่า

    • การมีคู่นอนหลายคน ความเสี่ยงจะสูงขึ้น 2.5 เท่า และ 7 เท่า ถ้ามีคู่นอน 2 และ 3 คน ตามลำดับ

    • การตั้งครรภ์หรือมีลูกหลายคน


    • มีประวัติเคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์


    • ไม่เคยได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมาก่อนเลย


    • การรับประทานยาคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานาน ๆความเสี่ยงสูงขึ้น 1.5 เท่าและ 2
      เท่า ถ้าใช้ยาคุมกำเนิดนานกว่า 5 ปี และ 10 ปี



  2. ปัจจัยเสี่ยงทางฝ่ายชาย
    (male factors หรือ high-risk husband)


    • สตรีที่มีสามีเป็นมะเร็งอวัยวะเพศ (penile cancer)


    • สตรีที่แต่งงานกับชายที่เคยมีภรรยาเป็นมะเร็งปากมดลูก


    • ผู้ชายที่เคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์


    • ผู้ชายที่มีประสบการณ์ทางเพศตั้งแต่อายุน้อย

    • ผู้ชายที่มีคู่นอนหลายคน



  3. ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ (nongynecologic
    risk factors)


    • สตรีที่มีเศรษฐฐานะทางสังคมต่ำมีความเสี่ยงสูงขึ้นประมาณ 5 เท่า

    • การสูบบุหรี่
      มีความเสี่ยงสูงขึ้น 2 เท่า ขึ้นกับปริมาณและระยะเวลาที่สูบ

    • ภาวะภูมิต้านทานต่ำ
      ในประเทศไทยปัจจัยเสี่ยงหนึ่งที่สำคัญคือ การติดเชื้อไวรัสเอดส์ หรือ HIV
      นอกจากนั้นเป็นสตรีที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกันเป็นเวลานานๆ





เนื่องจากระยะเวลาดำเนินโรคตั้งแต่ติดเชื้อ HPV จนกระทั่งเป็นมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามใช้เวลานาน 5-15 ปี ในช่วงนี้เซลล์ที่ปากมดลูกจะมีการเปลี่ยนแปลงรุนแรงขึ้นตามลำดับ ขึ้นกับความรุนแรงของการติดเชื้อ ชนิดของไวรัส HPV และภูมิต้านทานของผู้ป่วย ไวรัส HPV ที่เป็นสาเหตุสำคัญของมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทยคือ HPV type 16 และHPV type 18 ด้วยระยะเวลาการดำเนินโรคกว่าจะเป็นมะเร็งปากมดลูกเนิ่นนานนี่เอง สตรีที่มีความเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองเป็นระยะๆ ก็จะสามารถตรวจพบความผิดปกติของเซลล์ได ้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ซึ่งสามารถรักษาให้หายขาดได้ เป็นการตัดตอนไม่ให้โรคคืบหน้าเป็นมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม




ควรเริ่มตรวจคัดกรองเมื่อไรและบ่อยแค่ไหน ?



ผู้หญิงที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูก
ควรจะเริ่มมารับการตรวจคัดกรองหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกไปแล้วอย่างน้อย 3-5 ปี โดยพิจารณาจากระยะเวลาเฉลี่ยที่ปากมดลูกเริ่มเปลี่ยนแปลงจากเซลล์ปกติจนเป็น carcinoma in situ จะใช้เวลาประมาณ 4.5 ปี หลังจากที่สัมผัสไวรัส HPV สำหรับความถี่ห่างในการตรวจนั้น อย่างน้อยก็ควรจะตรวจทุก 5 ปี เนื่องจากระยะเวลาจาก CIS คืบหน้าไปเป็นมะเร็งระยะลุกลามจะใช้เวลาประมาณ 5-10 ปี ความถี่ในการตรวจระยะแรกควรตรวจปีละครั้ง ถ้าได้ผลลบซึ่งหมายความว่าผลปกติ 3 ปีติดต่อกันก็อาจจะตรวจทุกๆ 3 ปีได้ แต่การตรวจทุกๆปีก็ยังมีข้อดีในการช่วยค้นหามะเร็งของมดลูก รังไข่
รวมถึงการตรวจหามะเร็งของเต้านมด้วย ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ของท่านด้วย




แพคเกจวัคซีน HPV




Create Date : 21 มกราคม 2553
Last Update : 21 มกราคม 2553 14:09:32 น. 2 comments
Counter : 717 Pageviews.

 
สวัสดีตอนบ่ายครับ หนังท้องตึง หนังตาย่อน เจ้านายก็ไม่อยู่ หลับดีฝ่า z Zz ZZ


โดย: ผมชอบกินข้าวมันไก่ วันที่: 21 มกราคม 2553 เวลา:14:17:58 น.  

 
ช่วยแสดงความคิดเห็น ตอบแบบสอบออนไลน์เพื่อการศึกษา ของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หน่อยค่ะ
ตาม link
//spreadsheets.google.com/viewform?formkey=dFBZSVJOeks5QUJxeHVGNy1ISlplMnc6MA

ปล. หากเป็นการรบกวนต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
ขอบคุณค่ะ


โดย: kaewnumsai วันที่: 21 มกราคม 2553 เวลา:14:48:34 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

bangkokhospital
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add bangkokhospital's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.