ตีความหนัง...ตีความชีวิต
สารบัญภาพยนตร์
จัดอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี 2012
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(แยกตามลัทธิ)
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(ตาม ค.ศ.)
<<
พฤศจิกายน 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
15 พฤศจิกายน 2554

Source Code(2011)

Source Code (2011)

มนุษย์...จิ๊กซอว์ชิ้นเล็กๆของชะตาลิขิต




เปิดเผยเนื้อหาส่วนสำคัญของภาพยนตร์

ภาพยนตร์ไซไฟเปรียบไปก็ไม่ต่างกับห้องทดลองของนักวิทยาศาสตร์ ที่สามารถแปรเปลี่ยนสิ่งที่มีผู้คิดค้นเป็นทฤษฎีวิชาการแต่ยังมีข้อจำกัดต่างๆนานา ให้เกิดขึ้นจริงได้ในรูปแบบของภาพยนตร์บันเทิง

Source Code ก็เช่นกัน ที่ใช้ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ จะเป็นทฤษฎีสัมพันธภาพ หรือจะเป็นหลักอะไรก็ตามที่ ดร.รัทเล็ดจ์ (Jeffrey Wright) กล่าวไว้ในหนัง เช่น กลศาตร์ควอนตัม พาราโบลิก แคลคูลัส

ซึ่งสามารส่งคนเข้าไปในความทรงจำของคนตายเพื่อหาคนวางระเบิดเพื่อปรับเปลี่ยนอนาคตได้อย่างน่าเหลือเชื่อ แต่การกลับเข้าไปปรับเปลี่ยนนั้น กลับกลายเป็นว่าได้สร้างอนาคตขึ้นมาใหม่ ซึ่งแตกต่างจากสิ่งเป็นจริงที่ควรจะเกิดไปโดยปริยาย

มีความน่าสนใจตรงที่ว่า ในอนาคตมนุษย์มีความเก่งกาจถึงเพียงนี้เชียวหรือ ที่สามารถควบคุมจิต(วิญญาณ) ของคนที่ตายแล้ว ให้ล่องลอยกลับไปกลับมาระหว่างโลกแห่งความเป็นจริงกับโลกคู่ขนานที่ โปรแกรม Source code สั่งการอยู่ โดยละทิ้งถึงคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ของกัปตัน โคลเตอร์ สตีเว่น (Jake Gyllenhaal) นายทหารที่ตายเพื่อชาติในสมรภูมิรบ

ทางการของหน่วยอะไรก็ตามซึ่งแน่นอนว่าเป็นของประเทศสหรัฐฯ ได้ใช้กัปตัน โคลเตอร์ สตีเว่น อีกครั้งเพื่อทดลองโปรแกรมSource Code ซึ่งแน่นอนว่าเขาไม่รับรู้หรือยินยอมในการทดลองนี้ด้วย

โดยใช้อำนาจของความเป็นรัฐในการสั่งการและควบคุมจิตของเขา โดยละทิ้งถึงคุณค่าชีวิตปัจเจกชน(คุณค่าชีวิตของ โคลเตอร์ สตีเว่น) แต่กลับประโคมความเป็นฮีโร่ให้กับโคลเตอร์ เพราะการช่วยหาระเบิดของเขาครั้งนี้อาจช่วยคนได้มากว่า 1-2 ล้านคน

หากย้อนกลับไปดูผลงานเก่าของผู้กำกับ ดันแคน โจนส์ เรื่อง Moon(2009) ก็จะพบความคล้ายคลึงกันในการถูกปิดกั้นความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ของปัจเจกชน และการต่อสู้เพื่อยืนหยัดถึงคุณค่าชีวิตที่ควรได้รับ ซึ่งก็คือการต่อต้านระบบรัฐในการใช้ตัวละครหลักเพรียกหาเสรีภาพที่มนุษย์พึงมี

แม้หนังทั้ง 2 เรื่องของผู้กำกับ โจนส์ จะเป็นหนังไซไฟก็ตาม แต่เขากลับสร้างตัวละครที่มีแนวทางไปทางด้านการต่อต้านไซไฟ หรือ ต่อต้านวิธีการทางวิทยาศาสตร์นั่นเอง โดยมีแก่นของเรื่องในการตามหาหรือเรียกร้องความมีคุณค่าของชีวิตมนุษย์



โดยเรื่อง Source Code นั้น เมื่อกัปตัน โคลเตอร์ สตีเว่น ได้รับรู้และเข้าใจถึงภารกิจของเขา ความกระตือรือร้นในการทำภารกิจของเขาไม่ใช่ความถูกยกย่องว่าเป็นฮีโร่อีกต่อไป เพราะเขาได้รับแล้วจากเหตุการณ์ในสมรภูมิ

สิ่งที่หลงเหลือในการทำภารกิจก็คือ การกลับไปช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ถูกละเลยจากระบบรัฐที่ไม่เห็นคุณค่าในการมีชีวิตของพวกเขาอีกต่อไป โดยรัฐมองเห็นความสำคัญที่จะกลับไปแก้ปัญหาที่ปลายเหตุจากการก่อการร้ายในรูปแบบต่างๆมากกว่ากลับไปช่วยคนหลักสิบหลักร้อย

อย่างไรก็ตามสิ่งที่เป็นหัวใจหลักในการกลับไปบนรถไฟของ โคลเตอร์ ก็คือการกลับไปช่วยเหลือหญิงที่เขาเริ่มหลงรัก กับการกลับไปแก้ไขความผิดข้องใจกับผู้เป็นพ่อซึ่งก็เกิดจากการไปรับใช้ประเทศชาติ(ก็คือการที่โคลเตอร์มองตัวชาติหรือรัฐสำคัญมากกว่าจนละเลยความใส่ใจต่อตัวพ่อและต่อตนเอง)

อีกประเด็นที่น่าสนใจก็คือการควบคุมจิต(วิญญาณ) ของปัจเจกชนที่ได้เสียชีวิตไปแล้ว ซึ่งพอจะกล่าวได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่า เป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของชีวิตมนุษย์อย่างสมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะเกิดหรือตาย ซึ่งถือเป็นความน่าปิติยินดีในระบบรัฐแต่มันน่าเศร้าใจในระบบตัวบุคคลตาดำๆ

และทันทีที่ โคลเตอร์ ค้นหาคนร้ายเจอ คนร้ายที่ทางการเรียกว่าผู้ก่อการร้ายในตอนแรกของภารกิจนั่น ซึ่งในความรู้สึกแรกของผู้ชม หรือจะเป็นของโคลเตอร์เอง ก็คือบุคคลมุสลิมจากตะวันออกกลาง อย่างที่โคลเตอร์เข้าใจผิดในการทำภารกิจครั้งต้นๆที่ตามคนที่มีรูปร่างหน้าตาไปทาง Stereotype ของผู้ก่อการร้าย แต่นั่นเป็นการเข้าใจผิดของเขา

ซึ่งผู้ก่อการร้ายตัวจริงกลับเป็น เดเร็ก ฟรอสท์ คนหนุ่มในประเทศอเมริกาซะเอง โดยเป้าหมายของเขาในการก่อวินาศกรรมเพื่อต้องการล้างโลก หรือความหมายเป็นนัยๆว่า สังคมของอเมริกาเริ่มเน่าเฟะ นั่นหมายถึงว่า ด้วยความทะเยอทะยานแบบอเมริกาที่ต้องการเป็นประเทศชั้นนำในระบบสังคมโลก หรือเป็นมหาอำนาจของโลก

แต่กลับละเลยคุณค่าของการมีชีวิตของประชาชนในประเทศซะเอง จนทำให้คนในประเทศเริ่มขาดเสถียรภาพในการใช้ชีวิต จนเป็นเหตุให้ต้องทำลายบางสิ่งเพื่อเรียกร้องความสนใจ

หลังจาก โคลเตอร์ ทำภารกิจสำเร็จ เป็นความปลื้มปิติยินดีของระบบทหารในอเมริกา โคลเตอร์กลับไม่ยินดีปรีดาแต่อย่างใด แต่กลับขอร้อง คอลีน กู้ดวิน (Vera Farmiga) ให้ส่งเขาไปในรถไฟขบวนนั้นครั้งสุดท้าย และปิดระบบชีวิตเขานั่นหมายถึงเขาจะตายในโลกแห่งความจริงโดยทันที

ซึ่งผู้ชมไม่ทราบแน่ชัดว่า โคลเตอร์ จะมั่นใจได้อย่างไร ว่าเขาจะมีชีวิตอยู่ในโลกคู่ขนานได้ หลังจากถูกปิดระบบ แต่นั่นเป็นวิธีเดียวที่เขาจะมีอิสระต่อชีวิตของเขาอย่างแท้จริง

เนื่องจากภาพยนตร์ให้ประวัติภูมิหลังของ โคลเตอร์ มาน้อย จึงกล้าพูดได้ว่า การปิดระบบชีวิตให้เขาตายในโลกแห่งความจริงนั้น เป็นการเรียกร้องต่อคุณค่าชีวิตของเขาอย่างจริงๆจังๆ หลังจากทั้งชีวิตของเขาถูกระบบทหารของรัฐอเมริกา นำไปใช้เพื่อแลกกับคำว่า “ฮีโร่” ตลอดมา



ดังนั้นไม่ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร โลกคู่ขนานจะมีจริงหรือไม่ เขาจะช่วยชีวิตผู้โดยสารรถไฟ รวมทั้ง คริสติน่า (Michelle Monaghan) หญิงสาวที่เขาหลงรักได้หรือไม่ ยังเป็นข้อสงสัยของเขา ณ เวลานั้น แต่เขามั่นใจสิ่งหนึ่งได้ว่าสิ่งที่เขาเลือกนั่นเป็นทางที่มีความน่าตื่นเต้น มากกว่าการถูกสะกดวิญญาณอยู่ในระบบ Source code แน่ๆ

ที่กล่าวมาทั้งหมดอาจสรุปได้ว่า ภาพยนตร์ของ ดันแคน โจนส์ นั้นแม้จะฉาบหน้าด้วยหนังไซไฟขนานแท้ แต่ข้างในกลับลุ่มลึกในแง่การหาความหมายที่แท้จริงในความเป็นมนุษย์ของตัวละครหลัก(หรืออาจเป็นตัว ผู้กำกับเอง) ซึ่งถ้าหากสืบเสาะประวัติของ ดันแคน ดูแล้ว จะพบว่าเขาเรียนจบมาทางด้านปรัชญา จึงไม่น่าแปลกใจที่หนังของเขาจะค้นหาความหมายในลักษณะนี้

สุดท้าย กัปตัน โคลเตอร์ สตีเว่น ได้เขาไปในโลกคู่ขนานอีกครั้ง ที่ซึ่งนักวิทยาศาตร์ของระบบรัฐไม่เข้าใจในการทำหน้าที่ของมันอย่างแจ่มแจ้ง (ไม่เข้าใจโลกคู่ขนาน) และการที่ คอลีน กู้ดวิน ได้ทำการปลดปล่อยจิตของ โคลเตอร์ สตีเว่น ไปสู่สุคติซึ่งเป็นสิ่งที่สมควร

แต่เป็นความผิดมหันต์ของเธอเพราะ โคลเตอร์ ในสายตาของ ดร.รัทเล็ดจ์ ยังเป็นหนูทดลองในระบบ Source code ได้อีกนาน แม้ผู้ชมจะเห็นว่าร่างกายของ โคลเตอร์ จะเหลือเพียงร่างกายที่ขาดครึ่งท่อนเหลือแค่ส่วนบน สมองที่ถูกเปิดเพื่อถูกสายไฟฟ้าโยงเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ หรือเรียกอย่างสามัญได้ว่าน่าอนาถใจ ต่อชีวิตของ โคลเตอร์ ยิ่งนัก

เมื่อจิตของเขาถูกปล่อยเสมือนกลายเป็นคนตาย ทำให้เขาได้เข้าไปอยู่ในโลกคู่ขนานได้อย่างสมบูรณ์ โลกคู่ขนานนี้ทางปรัชญาอาจมีการถกเถียงกันตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ว่า มันมีอยู่จริงหรือเปล่า หากร่างกายตายแล้วดวงวิญญาณจะไปอยู่ที่ใด ซึ่งเป็นสิ่งนามธรรมที่เป็นความเชื่อเฉพาะบุคคลเสียมากกว่า แต่ด้วยวิวัฒนาการของวิทยาศาสตร์ทำให้สิ่งเหล่านี้ตอบสนองเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมได้



และเชื่อเหลือเกินว่าโคลเตอร์หรืออาจหมายถึงตัวผู้กำกับ ดันแคนเอง ที่เชื่อว่าโลกคู่ขนานในความหมายของเขาต้องงดงาม เป็นเหมือนโลกของแบบที่พลาโต้เคยกล่าวไว้ในตำราปรัชญา หรือจะเป็นโลกในอุดมคติก็ตาม ซึ่งเป็นโลกแห่งความแท้จริงแน่นอน

สิ่งแรกที่เขาปรับเปลี่ยนโลกคู่ขนานก็คือ การทำให้โลกแห่งนั้นมีแต่รอยยิ้ม (รอยยิ้ม=ความสุข) และการสร้างโลกคู่ขนานที่ให้เป็นดั่งโลกจริง นั่นหมายถึงว่า โลกแห่งความจริง ก็ไม่ใช่โลกที่ยั่งยืนแท้จริง เสมอไป

เมื่อมาถึงฉากสุดท้ายของภาพยนตร์ ณ ที่ใดสักแห่งในเมืองนิวยอร์ค สิ่งก่อสร้างที่เป็นเหมือนกระจกสะท้อน ทำให้ โคลเตอร์ จำได้ในทุกครั้งที่ตัวเขาถูกส่งจิตไปในโลกคู่ขนาน มันเป็นภาพความทรงจำซ้ำๆ เหมือนอาการระลึกชาติได้ และอาการเหล่านั้นมันเป็นภาพจริงที่เกิดขึ้นกับสิ่งที่เขาเห็นตรงหน้า

เหตุการณ์นี้มันชัดเจนหรือเกิน ว่าภาพยนตร์ Source Code ของดันแคน โจนส์ ไม่ได้สรรเสริญการค้นหาสิ่งนามธรรมด้วยหลักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เพราะจริงๆแล้วคนที่ใช้มันซึ่งก็คือระบบรัฐ ไม่ได้เก่งกาจถึงขนาดที่สามารถเปลี่ยนชะตาชีวิตสัจธรรมสิ่งต่างๆของโลกและมนุษย์ได้

ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า ไม่ใช่ Source Codeหรอกที่ได้ส่ง กัปตัน โคลเตอร์ สตีเว่น มาสู่โลกคู่ขนาน เพราะSource Code ก็อยู่ในระบบที่ไม่ได้แตกต่างจากมนุษย์ปุถุชนสักเท่าไหร่ และยังถูกบางสิ่งเปลี่ยนแปลงไปตามกฎนามธรรมของโลกที่เราไม่สมารถเข้าใจ อดีตเปลี่ยน Source Code ไม่ได้เกิด หากมนุษย์เก่งจริง อดีตเปลี่ยน Source Code ต้องอยู่เพื่อแสดงว่าเป็นสิ่งยั่งยืน

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม สุดท้ายนั้นมันก็อยู่ที่คำตอบของผู้ชมเองแล้วว่า จะมีทัศนะในการมองโลกเป็นเช่นไร เพื่อตอบคำถาม ที่ กัปตัน โคลเตอร์ สตีเว่นถามไว้ว่า “คุณเชื่อในชะตาลิขิตหรือเปล่า”

คะแนน 8.25/10
เกรด A








Create Date : 15 พฤศจิกายน 2554
Last Update : 20 กุมภาพันธ์ 2555 23:44:02 น. 2 comments
Counter : 2717 Pageviews.  

 
ชอบหนังเรื่องนี้ค่ะ
เคยดูเรื่อง moon เพิ่งรุ้ว่าผู้กำกับคนเดียวกัน
วิจารณ์ได้ดีมากเลยค่ะ จะตามมาอ่านเรื่อย ๆ นะคะ


โดย: goodsometimebad วันที่: 15 พฤศจิกายน 2554 เวลา:19:56:36 น.  

 
ชอบมากครับ เป็นอีกเรื่องของปีนี้ที่ดูแล้วไม่ผิดหวังเลย


โดย: Nanatakara วันที่: 16 พฤศจิกายน 2554 เวลา:11:45:20 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

A-Bellamy
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




ย้ายบล็อกแล้วนะครับ ติดตามกันต่อได้ที่ http://www.A-Bellamy.com ครับ

พูดคุยเรื่องหนังกันได้ที่Facebook

สนุกกับการอ่านบล็อกนะครับ


บทความล่าสุด
Jack the Giant Slayer (2013)
The Tree of Life(2011)
Iron Man (2013)
ลัทธิ Constructivism
คู่กรรม(2013)
Stoker(2013)
Amour(2012)
Silver Linings Playbook(2012)
Zero Dark Thirty(2012)
Les Misérables(2012)


บทความแนะนำ
จัดอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี 2012
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(แยกตามลัทธิ)
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(ตาม ค.ศ.)
สารบัญภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

[Add A-Bellamy's blog to your web]