ตีความหนัง...ตีความชีวิต
สารบัญภาพยนตร์
จัดอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี 2012
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(แยกตามลัทธิ)
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(ตาม ค.ศ.)
<<
กรกฏาคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
3 กรกฏาคม 2555

Moonrise Kingdom (2012)

สารบัญภาพยนตร์

Moonrise Kingdom (2012)


เด็กๆก็มีหัวใจ




ภาพยนตร์ Moonrise Kingdom ของผู้กำกับ Wes Anderson ได้รับเกียรติให้ฉายในฐานะภาพยนตร์เปิดเทศกาลเมืองคานส์ประจำปี 2012 แม้จะไม่ได้รับรางวัลอันใดก็ตาม แต่นักวิจารณ์ก็ต่างให้คะแนนในระดับน่าประทับใจ และยังเป็นที่น่าชื่นใจสำหรับแฟนหนังชาวไทยที่กระแสเมืองคานส์ยังไม่ทันจางไป ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ได้ลงโรงฉายในเครือ Apex (ลิโด้,สกาล่า) จากการนำเข้ามาของบริษัท M Pictures จึงยิ่งเป็นเรื่องน่าเศร้าใจหากในอนาคตอันใกล้โรงหนังทางเลือก 2 แห่งนี้ต้องหลงเหลือไว้เพียงเศษซากความทรงจำอันสวยงามของนักดูหนังทางเลือกทั้งหลายเพียงเท่านั้น

เข้าสู่ภาพยนตร์ Moonrise Kingdom ที่ก่อร่างสร้างสไตล์ด้วยฝีไม้ลายมือของ Wes Anderson (Fantastic Mr. Fox ,2009) ว่าด้วยเรื่องราวบนเกาะของ New England ในปี ค.ศ. 1965 เด็กหนุ่มสาว วัย 12 ขวบได้ตกหลุมรักกันจนตัดสินใจหนีเข้าป่าเพื่อไปใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน โดยมีผู้ใหญ่แต่ละฝ่ายต่างตามหากันอย่างจ้าละหวั่น

ความโดดเด่นที่น่าจดจำของภาพยนตร์เรื่องนี้คือ องค์ประกอบภาพและศิลป์ของการสร้างบริบท ค.ศ. 1965 ออกมาโดยที่ก้ำกึ่งระหว่างโลกแห่งความจริงกับโลกแฟนตาซี โทนภาพสีเหลืองทำให้ทุกสิ่งดูเจิดจ้า และสว่างไสว อุปกรณ์ประกอบฉากรวมทั้งบ้านเรือนต่างๆ มีความละม้ายคล้ายของเล่นในวัยเด็ก ที่มีสีสันฉูดฉาดและบาดตา การเคลื่อนไหวกล้องในแบบ Tracking Shot ทั้งแนวตั้งและแนวนอนทำให้โลกในภาพยนตร์ของ Wes Anderson ดูลื่นไหล และด้วยสไตล์ที่กล่าวมาเป็นเครื่องส่งสัญญาณให้ผู้ชมรับรู้ตั้งแต่ฉากแรกเลยว่า Moonrise Kingdom มันมีลีลาเจิดจ้าแบบนิทานแฟนตาซีมากกว่าที่จะเป็นโลกที่อุดมไปด้วยความเป็นจริง



ภาพยนตร์เริ่มต้นด้วยการเปิดตัวละครหลักทั้งสองคือ ซูซี่ (Kara Hayward) เด็กสาวหน้าอมทุกข์ กับ แซม (Jared Gilman) ลูกเสือแว่นหนุ่มที่เก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่อยู่ในค่ายก่อนที่จะตัดสินใจออกตาหาความฝันในการใช้ชีวิตอยู่บนเกาะอันห่างไกลผู้คนกับแฟนสาวซูซี่ ถึงแม้เด็กทั้งสองคนจะอยู่ใต้อาณัติของความเป็นผู้เยาว์ ซึ่งเป็นขอบกั้นความอิสรภาพของเด็กทั้งสองก็ตาม

แซม เด็กกำพร้าที่ถูกเลี้ยงดูโดยพ่อแม่บุญธรรมที่มีทีท่าการเบื่อหน่าย แซม และไม่ต้องการส่งเสียเลี้ยงดูแซมอีกต่อไป ส่วนซูซี่ แม้ครอบครัวจะอุดมไปด้วยความเป็นรูปธรรมภายนอกที่แสนอบอุ่น มีพ่อแม่ พี่น้อง บ้าน ที่บ่งบอกถึงความมั่งมีศรีสุข แต่ในภาวะภายในจิตใจนั้นกลับเต็มไปด้วยรอยร้าว ทั้งจากตัวซูซี่กับพ่อแม่ , ซูซี่กับน้องชาย,พ่อกับแม่ของซูซี่ นี่จึงเป็นภาพสะท้อนถึงความเป็นสถาบันครอบครัวที่มั่นคงภายนอกแต่ภายในกลับมีปัญหา

การหนีของเด็กทั้งสองจึงเป็นการเติมเต็มกันและกันเพื่อสร้างพื้นที่แห่งหนภายในและภายนอกของกันและกัน แซมค้นหาพื้นที่เกาะที่เขาต้องการเพื่อสร้างสิ่งรูปธรรมภายนอกที่เขาไม่เคยมี(บ้าน ครอบครัว) ซูซี่มีทุกอย่างแต่ต้องการใครก็ตามที่มาเติมพื้นที่ทางจิตใจที่เธอขาดไป แต่โลกของทั้งสองก็ถูกชะงักงันด้วยโลกของผู้ใหญ่ โลกของผู้ใหญ่ใน Moonrise Kingdom จึงเป็นอะไรที่วุ่นวาย ยุ่งเหยิง น่ารำคาญ ซึ่งเป็นภาพสะท้อนของสถาบันต่างๆ ในสังคม สถาบันครอบครัว สถาบันรัฐ สถาบันการศึกษา ซึ่งต่างตามหาไล่ตามเพื่อให้คนในอาณัติของตนเองอยู่ในความดูแลทางสถานะภายนอก เหมือนจะเอาใจใส่ดูแลอย่างดี แต่ลึกๆแล้วสถานะภายในกลับมีปัญหาบาดลึก ซึ่งยากต่อการแก้ไข



แม้การไล่ตามของผู้ใหญ่ จะเป็นการยิ่งทำให้เด็กต้องหนีและถอยห่างออกไปไกล ภาพยนตร์ใช้การเสียดสี ของเกมวิ่งไล่จับระหว่างผู้ใหญ่และเด็กทั้งสองได้อย่างน่าหัวร่อ ซึ่งต่างฝ่ายก็ไม่ยอมกัน แต่หนทางย่อมมีที่สิ้นสุด นั่นคือความตาย ภาพยนตร์ใช้ความตายเป็นหนทางสุดท้ายระหว่างการเล่นเกมวิ่งไล่จับ เชื่อเหลือเกินว่า หากผู้ใหญ่ยังดื้อดึงในการไล่ เด็กก็คงต้องดื้อดึงในการหนีเช่นกัน จนในที่สุดต้องพบกับปลายทางแห่งความตายเป็นแน่แท้ แต่ด้วยความทีเล่นทีจริงในแบบแฟนตาซีภาพยนตร์ไม่ได้หักหน้าผู้ชมด้วยความตายเช่นนั้น แต่เพียงแสดงให้เห็นว่า ปลายทางคือความตายหากยังดื้อดึงไล่ตาม

อย่างไรก็ตามประเด็นที่ Wes Anderson สอดแทรกเข้ามาอย่างเห็นได้ชัดคือโลกของผู้ใหญ่ ที่วุ่นวาย เจ้ากี้เจ้าการ โดยไม่เปิดให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นอย่างเป็นเหตุเป็นผล มีเพียงฉากสูงสุดในองค์ 2 ฉากที่ที่เด็กทั้งสองหนีไปบนค่ายลูกเสือเกาะหนึ่ง เพื่อให้ เบน (Jason Schwartzman) รับหน้าที่บาทหลวงจำเป็นจัดพิธีแต่งงานให้เด็กทั้งสอง ซึ่งเป็นฉากที่บ่งบอกถึงความเคารพการตัดสินใจในความเป็นตัวตนของเด็กได้อย่างดี มีข้อน่าสังเกตคือ Jason Schwartzman รับบทในเรื่องเหมือนไม่ใช่คนท้องถิ่น แต่งหน้าไปทางอาหรับ ซึ่งเป็นข้อสันนิษฐานจากการเชื่อมโยงทำให้เห็นถึงการวิพากษ์สังคมตะวันตก ที่ไม่ยอมให้เด็กมีสิทธิ์มีเสียงเท่าที่ควร(ความจริงเป็นแบบนี้ทั่วโลก แต่อาจไม่ยุติธรรมในมุมมองของเด็กเอง)



ถึงแม้ประเด็นการวิพากษ์สังคมไม่ว่าจะอยู่ในมิติไหนก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ชี้ชัดประเด็น จนที่สามารถทำให้ผู้ชมเล็งเห็นได้ถึงปัญหา เป็นเพียงประเด็นพื้นผิวให้ผู้ชมรับรู้เพียงเท่านั้น

แต่ก็ไม่น่าแปลกใจเพราะ Wes Anderson จะทำให้ประเด็นเด่นเกินหน้าเกินตาสไตล์ของเขาได้อย่างไร เพราะที่สุดแล้ว สิ่งที่เป็นสิ่งพิเศษและมหัศจรรย์ในภาพยนตร์เรื่องนี้มันคือโลกแฟนตาซีของเด็กๆ ที่เห็นผู้ใหญ่เป็นสิ่งแปลกปลอม พวกเด็กๆต่างหากเล่าที่ครองจักรวาลในโลกของภาพยนตร์เรื่องนี้



ในที่สุดจึงกล่าวได้ว่า ผลงานของ Wes Anderson เรื่องนี้มีความพิเศษที่ทำให้สไตล์ตัวเองเด่นเป็นออร่าออกมา จนอาจเรียกได้ว่าใครพลาดท่าชอบภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าแล้ว ต้องไปขวนขวายภาพยนตร์เรื่องอื่นของ Wes มาเสพสมให้รู้แล้วรู้รอดกันไปเลยทีเดียว เพราะหายากนักสำหรับผู้กำกับที่ยังคงสร้างสรรค์ผลงานตัวเองด้วยใจรักได้ดั่งศิลปิน ที่ยังคงหยัดยืนอยู่บนความเป็นมหาชนได้อย่างเชิดหน้าชูตา

และหากเอื้อนเอ่ยถึงโลกใน Moonrise Kingdom มันคือโลกแฟนตาซีของเด็กๆ ที่ผู้ใหญ่ควรต้องชม ไม่ว่ามันจะเจ็บแสบต่อตัวเองแค่ไหนก็ตาม

สุดท้ายก็ยังไม่แน่ชัดว่า Wes Anderson โตแล้วหรือยัง ?

คะแนน 9/10
เกรด A++



อ่านบทความเรื่องอื่นได้ที่:สารบัญภาพยนตร์


ภาพยนตร์ที่ผู้เขียนให้คะแนนมากที่สุดประจำปี 2012

The Cabin in the Woods 8.5
The Avengers 8.25
From up on Poppy Hill 8
Prometheus 8




Create Date : 03 กรกฎาคม 2555
Last Update : 27 สิงหาคม 2555 11:35:40 น. 3 comments
Counter : 6066 Pageviews.  

 
ชอบเพลงประกอบเครดิตท้ายเรื่องค่ะ คาร่า เฮย์เวิร์ด น่ารักมาก
หนังเด็ก แต่ว่าเสียดสีเรื่องยุ่งๆของผู้ใหญ่


โดย: เชอรี่สะพรั่ง วันที่: 17 กรกฎาคม 2555 เวลา:11:33:09 น.  

 
เหนป้ายหนังเรื่องนี้ที่ลิโด้ แต่ยังไม่ได้ดู


โดย: แฟนlinKinPark วันที่: 14 สิงหาคม 2555 เวลา:0:41:19 น.  

 
^
^
น่าเสียดายครับ เป็นหนังที่น่ารักเรื่องนึงเลย


โดย: A-Bellamy วันที่: 14 สิงหาคม 2555 เวลา:9:36:56 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

A-Bellamy
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




ย้ายบล็อกแล้วนะครับ ติดตามกันต่อได้ที่ http://www.A-Bellamy.com ครับ

พูดคุยเรื่องหนังกันได้ที่Facebook

สนุกกับการอ่านบล็อกนะครับ


บทความล่าสุด
Jack the Giant Slayer (2013)
The Tree of Life(2011)
Iron Man (2013)
ลัทธิ Constructivism
คู่กรรม(2013)
Stoker(2013)
Amour(2012)
Silver Linings Playbook(2012)
Zero Dark Thirty(2012)
Les Misérables(2012)


บทความแนะนำ
จัดอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี 2012
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(แยกตามลัทธิ)
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(ตาม ค.ศ.)
สารบัญภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

[Add A-Bellamy's blog to your web]