ตีความหนัง...ตีความชีวิต
สารบัญภาพยนตร์
จัดอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี 2012
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(แยกตามลัทธิ)
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(ตาม ค.ศ.)
<<
เมษายน 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
26 เมษายน 2555

The Raven (2012)

สารบัญภาพยนตร์

The Raven(2012)


การละเล่นความตายของ เอ็ดการ์ อัลลัน โพ




ในแวบแรกที่ชมภาพยนตร์เรื่อง The Raven จบลง สิ่งแรกที่เข้ามาในสามัญสำนึกของผู้เขียนนั่นคือ ภาพยนตร์เรื่องนี้อาจดัดแปลงบทภาพยนตร์มาจากนิยายสักเรื่องของผู้เขียนสักคนที่เขียนขึ้นด้วยความรักและเทิดทูนในผลงานของ เอ็ดการ์ อัลลัน โพ เพื่อเป็นการบ่งชี้ว่าการตายอันไร้สาเหตุของ โพ เมื่อค.ศ. 1849 นั้นมิได้ไร้ความหมายแต่อย่างใด เพราะโดยสันนิษฐานแห่งความเป็นจริง การตายของ โพ นั้นไม่สามารถคาดเดาและทราบสาเหตุได้อย่างแน่ชัด ไม่ว่าจะจาก แอลกอฮอล์, เลือดคั่งในสมอง, ยาเสพติด, โรคหัวใจ, โรคพิษสุนัขบ้า, อัตวินิบาตกรรม, วัณโรค ฯลฯ ทั้งหมดเป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่าในฐานะของการเป็นนักเขียนเพียงอาชีพเดียวอย่างซื่อสัตย์ตลอดชีวิตนั้น ทำให้สถานะภาพของ โพ ไม่ดีเท่าที่ควร จนถูกขนานนามว่าเป็น นักเขียนไส้แห้ง

แต่การสันนิษฐานข้อข้างต้นต้องมีอันตกไปเพราะ The Raven นั้นมิได้ดัดแปลงมาจากหนังสือนิยายแต่อย่างใด หากถูกเขียนขึ้นเพื่อกระทำการใช้ในการสร้างภาพยนตร์แต่เพียงอย่างเดียว(Original Screenplay) จึงมิใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด ที่บทภาพยนตร์ในแง่ของการสอบสวนและลงรายละเอียดรากลึกนั้นจะทำได้ไม่เลิศเลอเฟอร์เฟ็ค เทียบเท่ากับงานเขียนวรรณกรรม ในระดับที่จะทำให้ผู้ชมครุ่นคิดอย่างหนักหน่วง หรือร่วมระทึกไปกับความยากแค้นของการสืบสวนหาคนร้ายของ โพและเหล่านักสืบ เพื่อร่วมตาหาผู้หญิงอันเป็นที่รัก เอมิลี่ แฮมมิลตัน (Alice Eve) ที่ถูกจับตัวไป



แต่เรื่องราวสำคัญในการสืบเสาะหาคนร้ายนั้น มิได้สร้างรายละเอียดแห่งการค้นหาหรือใช้ความคิดมากมายแต่อย่างใด เพราะมุ่งสู่การเดินทางไปหนทางข้างหน้าเพียงอย่างเดียว(การสร้างให้หนังเดินไปตามทางโครงสร้างของภาพยนตร์ จนละเลยรายละเอียดรายทาง) ไม่ต่างภาพยนตร์ผจญภัยต่างๆมากกว่าการจะเป็นภาพยนตร์สอบสวนเชิงระทึกขวัญ ที่ค่อยๆ ค้นพบแสงสว่างทีละเปลาะ เพื่อไปให้ถึงต้นตอคนร้ายที่ผู้ชมอาจจะตะขิดตะขวงใจ ว่าเหตุใดฆาตกรถึงมีความสามารถเลิศล้ำในการทำการใดๆเพียงผู้เดียว ได้อย่างเกินมนุษย์มนา

และการไล่ตามหาข้อสงสัยของ โพ ก็มิได้แสดงความเก่งกาจของความคิดล้ำเลิศแต่อย่างใด จึงน่าเสียใจ หากภาพยนตร์เรื่องนี้กำลังขมวดปม ว่าการตายอันไร้สาเหตุที่ประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ของ โพนั้น กลับกลายเป็นความตายที่งดงามดั่งพระเอก ที่ขจัดปัญหาอันหนักอึ้ง ในการหาตัวผู้ร้ายที่ได้นำเอา ความคิดอันดำมืดซึ่งแน่นอนว่าเป็นช่วงเวลาที่ โพ เพิ่งได้สูญเสียคนรักคนแรกไป จึงได้บรรเลงความกลัดกลุ้ม ใส่ลงในนิยายแห่งเลือดของเขา เพียงเพื่อที่จะระบาย แต่ไม่ทันคิดใคร่ครวญว่านิยายของเขาเหล่านั้นจะเกิดการสร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวฆาตกรเอง



กระนั้นก็ตามในตอนต้นผู้ชมจะพบเห็นว่า โพ พยายามจะลบเลือนการเขียนนิยายฆาตกรรมให้หมดสิ้นลง และหันมาเริ่มเขียนกวีแห่งความรักขึ้น ซึ่งไม่แน่ชัดว่า เริ่มต้นขึ้นเพียงเพราะการได้พบกับคนรักอย่าง เอมิลี่ แฮมมิลตัน หรือเปล่า แต่ก็พอจะคาดเดาได้ว่า โพ ค่อนข้างผิดหวังตนเองต่อการเขียนนิยายละเลงเลือดเช่นนั้น แม้มันจะมียอดขายสูงก็ตาม ถึงกับยอมบอกกับหัวหน้า บ.ก. เลยว่า หากผมเขียนนิยายเช่นนั้นอีกครั้ง มิเท่ากับว่าผมต้องมอบร่างกายให้ซานตานเลยหรือ เป็นการบ่งบอกถึงความเข้าใจว่า จิตใจของโพในการแต่งนิยายประเภทนี้เป็นเช่นไร

แต่แม้นเงื่อนไขในการกลับมาสนใจกับนิยายประเภทอย่างว่าอีกครั้ง อาจเพราะการต้องกลับมารับผิดชอบในฐานะผู้ประพันธ์ กับภูตผีซาตานที่เขาเคยได้ถวายมอบตน จนไปเข้าสิงตัวต่อผู้อ่านนิยายของเขา(ตัวฆาตกร) หรือแม้นจะเพราะการต้องไปช่วยเหลือแฟนสาว เพราะไม่ต้องการให้เธอตาย เพราะโพกลัวว่า เขาจะต้องกลับไปมอบกายให้กับซาตานอีกครั้ง

ดังนั้นจึงไม่หน้าแปลกแต่อย่างใดที่การตัดสินใจกลับมาเขียนนิยายอีกครั้งหลังจากหมดสิ้นหนทางในการช่วยเหลือแฟนสาว โดยการเขียนจบชีวิตตัวเองลงโดยหวังว่า ฆาตกรรายนั้นจะหันมาทำในแบบเดียวกับที่เขาเขียนไว้ ซึ่งเป็นหนทางสุดท้ายในการหนีจากซานตานที่เคยมาสิ่งสู่ในจิตใจของโพ โดยหากเขาช่วยเหลือ เอมิลี่ ไม่ทันเขาก็จะไม่มีชีวิตอยู่ต่อไป เพราะถ้ามีอยู่ต่อไปชะตากรรมก็วกกลับมาที่เดิม นั่นคือการเขียนนิยายประเภทนั้นหลังจากคนรักตายและต้องเป็นการถวีกายต่อซานตานอีกครั้งหนึ่ง




ดังนั้นถ้าบ่งบอกเช่นนั้นก็แสดงว่า โพ ใช้แรงบันดาลใจในความรักเป็นแหล่งการบรรเลงเขียน จุดนี้ไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด เพราะ นักเขียนหรือนักศิลปินมากมายก็สร้างสรรค์งานโดยใช้ความรักเป็นดั่งแรงบันดาลใจ แต่ถ้าหากย้อนกลับไปสิ่งที่เอ่ยขึ้นข้างต้นในบทความที่ว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้กำลังเบี่ยงเบนการตายของ โพ ในโลกแห่งความเป็นจริง ให้มีค่าน่าจดจำในโลกของศิลปะ แต่สิ่งที่ผู้ชมเห็นกลับได้เห็นแค่ว่า โพ ทำทุกวิถีทางหนีห่างจากด้านมืดในจิตใจตนเอง โดยการมิต้องการให้ความรักจากไป และช่วงปลายเรื่องที่มั่นใจว่ายากจะทำให้แฟนสาวรอดชีวิตแล้วนั้นเขาจึง ตัดสินใจเขียนในนิยายเพื่อให้ ฆาตกร ฆ่าเขาโดยพลัน หากมองด้านดี นั่นคือ การสละยอมเพื่อคนรัก หรือ ทางร้ายมันก็คือการเห็นแก่ตัวของ โพ ในการทำทุกวิถีทางเพื่อตนเองในการไม่กลับไปหาซานตาน ดีๆนี่เอง

แต่ด้วยลีลาท่าทางของภาพยนตร์เรื่องนี้นั้น เห็นที จะเป็นการที่ โพ มีทิศทางไปทางการเห็นแก่ตัวเพื่อตนเอง มากกว่าอุทิศตนเพื่อความรัก ซะด้วยซ้ำไป นั่นคือการครอบงำด้วยด้านมืดแห่งความผิดหวังในจิตใจ ด้วยสีท่าหน้าตา ที่มืดมัว คร่ำเคร่ง ขอบตาดำ จนไม่หลงเหลือความเป็นพระเอกที่งดงามหลงเหลืออยู่เลย แม้เขามิได้เข้าใจในตัวตนเขาอย่างแท้จริงก็ตาม ดังนั้นจึงเชื่อว่าผู้ชมจะไม่รู้สึก ยินดี ปรีดา หรือคารวะ ต่อการกระทำในการใช้ชีวิตเข้าแลกแต่อย่างใด มิหนำซ้ำการสร้างสัญญะกับคำพูดบางอย่างเพื่อส่งผลให้ โพ ไปจับคนร้ายได้นั้นช่างเป็นพลังอันเบาหวิวที่ไม่มีทางพลิกกลับให้ โพ เป็นพระเอกได้เลย



และหากจะกล่าวอย่างรวบรัดต่อภาพยนตร์เรื่องนี้ ที่เล่นกับความสงสัยของสาเหตุการตายของ เอ็ดการ์ อัลลัน โพ ที่ได้ต่อยอดเรื่องราวขึ้นมา เพื่อหวังสร้างให้ โพ มีคุณค่าการจดจำมากกว่าการเป็นนักเขียนไส้แห้งและต้องตายอย่างประหลาด โดยหวังว่า ศิลปะภาพยนตร์ดังเช่นในเรื่องนี้ จะช่วยกู้หน้านักเขียนอย่าง โพ ขึ้นมา ให้การตายของเขามีความหมายมากยิ่งขึ้นนั้น แต่เห็นทีภาพที่ปรากฏออกมา จะไม่ได้ช่วยให้ภาพลักษณ์ของเขาไปไกลมากเลย เพราะไม่อาจแน่ชัดว่าสิ่งที่สื่อสารออกมา เล็งเห็นว่าอาจจะเป็นทางทำให้ โพ แลดูไปเป็นการ ตกต่ำเสียมากกว่า

จึงอาจจะกล่าวอย่างไม่แน่ใจว่า The Raven กำลังช่วยกู้หน้า เอ็ดการ์ อัลลัน โพ หรือกำลังตอกย้ำ สิ่งที่เขาทำช่างไร้ความหมายเหมือนการตายอันไร้สาเหตุของเขา และยังไม่อาจแน่ใจว่าอีกว่า นี่คือความจงใจของผู้สร้างภาพยนตร์ หรือเป็นความผิดพลาดของภาพยนตร์เรื่องนี้ ที่เอาฉากจบชีวิตของนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ มาละเลงเล่น เป็นเรื่องสนุก จนไม่เห็นว่า มันจะพัฒนาไปไกลกว่า สิ่งที่เป็นจริงมากขึ้นเท่าไหร่



และถ้าข้อสันนิษฐานของผู้เขียนเป็นจริงที่ว่า ผู้สร้างต้องการเทิดทูน โพ โดยการสร้างการตายให้ โพ ดูมีความหมายมากขึ้น กว่าความเป็นจริง

ผู้เขียน คงก่ายขมับแล้วบอกว่า เสียใจ กับ เอ็ดการ์ อัลลัน โพ ด้วย “ที่คุณไม่ได้รับสิทธิ์นั้นเดี๋ยวนี้”

คะแนน 7/10
เกรด B



อ่านบทความเรื่องอื่นได้ที่:สารบัญภาพยนตร์




Create Date : 26 เมษายน 2555
Last Update : 14 พฤษภาคม 2555 21:08:50 น. 0 comments
Counter : 2594 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

A-Bellamy
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




ย้ายบล็อกแล้วนะครับ ติดตามกันต่อได้ที่ http://www.A-Bellamy.com ครับ

พูดคุยเรื่องหนังกันได้ที่Facebook

สนุกกับการอ่านบล็อกนะครับ


บทความล่าสุด
Jack the Giant Slayer (2013)
The Tree of Life(2011)
Iron Man (2013)
ลัทธิ Constructivism
คู่กรรม(2013)
Stoker(2013)
Amour(2012)
Silver Linings Playbook(2012)
Zero Dark Thirty(2012)
Les Misérables(2012)


บทความแนะนำ
จัดอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี 2012
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(แยกตามลัทธิ)
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(ตาม ค.ศ.)
สารบัญภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

[Add A-Bellamy's blog to your web]