VUW - Victoria University of Wellington, New Zealand
Group Blog
 
All Blogs
 
สมรภูมิ "เดมแยงส์" ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ตอนที่ 5

สมรภูมิ "เดมแยงส์" (Battle of Demyansk)

ตอนที่ 5

จากหนังสือเรื่อง "สมรภูมิของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์"

โดย พันเอกศนิโรจน์ ธรรมยศ

Master of International Relations (with merit)

Victoria University of Wellington, New Zealand

สงวนลิขสิทธ์ตาม พรบ.สิ่งพิมพ์ พ.ศ.2537

ห้ามทำซ้ำเพื่อการพาณิชย์ ให้เผยแพร่เพื่อการศึกษาและค้นคว้าแก่ผู้สนใจเท่านั้น



ยิ่งระยะเวลาการสู้รบยืดเยื้อออกไปจนย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ พื้นดินตลอดจนหนองบึงที่ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งหนาเริ่มละลายกลายเป็นโคลนตม ทำให้เป็นอุปสรรคสำหรับฝ่ายรัสเซียที่บ่อยครั้งเคลื่อนที่อย่างยากลำบากกลางโคลนตม จนตกเป็นเป้านิ่งให้กับทหารเยอรมัน

ในขณะเดียวกัน ธีโอดอร์ ไอค์เคอ ผู้บัญชาการกองพล เอส เอส โทเทนคอฟ ก็ร้องขอการสนับสนุนด้านกำลังพลโดยตรงจากอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เนื่องจากกองพลของเขาได้รับสูญเสียอย่างหนัก มีทหารทั้งบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนถึงกว่า 7,000 นาย ฮิตเลอร์ตอบสนองคำร้องขอของ ธีโอดอร์ ไอค์เคอ ด้วยการส่งกำลังทหารเอสเอส ที่สดชื่นกว่า 5,000 นายเข้าไปในวงล้อมเพื่อตรึงวงล้อมเอาไว้ น้อยกว่าที่ร้องขอไปกว่า 2,000 นาย

ในช่วงกลางเดือนมีนาคม ค..1942 กำลังทหารเยอรมันที่จะเข้าไปปลดปล่อยทหารในวงล้อมได้เริ่มรวมพลอยู่ภายนอกวงล้อม โดยกองกำลังช่วยเหลือนี้ อยู่ภายใต้การนำของพลโท วอลเธอร์  ฟอน ซีดลิทซ์ คูร์บาค (Waltervon Seydlitz-Kurzbach) ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 12 ซึ่งได้เตรียมการเข้าตีเจาะวงล้อมของทหารรัสเซีย และเปิดช่องว่างให้นานที่สุด เพื่อให้ทหารเยอรมันที่อยู่ติดอยู่ในวงล้อม "เดมแยงส์เคลื่อนกำลังออกมา

คูบาคจัดการรวบรวมกำลังพลเพื่อภารกิจนี้โดยจัดกำลังพลจากกองพลเบาที่ และ 18 (5th, 8th Light Divisions) กองพลทหารราบที่ 122, 127 และ 329 (122nd, 127th, 329th Infantry  Divisions) โดยกำลังทหารเยอรมันทั้งหมด จะเข้าตีทหารรัสเซียจากด้านตะวันออกของวงล้อม หรือจากแม่น้ำ "โลวัตพร้อมๆ กันนั้นทหารเยอรมันที่อยู่ภายในวงล้อมก็จะตีฝ่าออกมาบรรจบกับกำลังหลักที่เข้าไปช่วย

รถถังแบบ เควี ของรัสเซียจมลงไปในหนองน้ำที่ปกคลุมด้วยแผ่นน้ำแข็งบางๆ ภูมิประเทศในลักษณะนี้สร้างความเสียหายให้กับรถถังและยานยนต์ทั้งของฝ่ายรัสเซียและฝ่ายเยอรมันเป็นอย่างมาก


วันที่ 21 มีนาคม ค..1942 กำลังทหารเยอรมันที่อยู่ภายนอกวงล้อม ก็เริมเคลื่อนกำลังเข้าไปช่วยเหลือ โดยมีกำลังทางอากาศของกองบินที่ สนับสนุนอย่างเต็มที่ 

สองวันแรกของการรุก ฝ่ายเยอรมันทำได้ดีมากพอสมควร แต่หลังจากนั้นการต่อต้านของทหารกองทัพแดงของรัสเซียก็เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ การรุกใช้เวลาเกือบสองอาทิตย์ ท่ามกลางการสูญเสียของทั้งสองฝ่าย จนกระทั่งกลางเดือนเมษายน คูร์บาคก็ส่งสัญญานให้ ธีโอดอร์ ไอค์เคอ นำกำลังทหารเอส เอส ที่อยู่ในวงล้อมตีฝ่าออกมาเพื่อบรรจบกับกำลังส่วนใหญ่

คราวนี้รัสเซียดูเหมือนจะอ่านแผนการของฝ่ายเยอรมันออก จึงทำการต่อต้านอย่างรุนแรงประกอบกับทหาร เอส เอส ของธีโอดอร์ ไอค์เคอ นั้นเหนื่อยล้าจากการรบมาตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ทำให้อัตราการรุกของทหารเยอรมันอยู่ในอัตราเพียง 1.6 กิโลเมตรหรือ ไมล์ต่อวันเท่านั้นเอง

อย่างไรก็ตามในวันที่ 20 เมษายน ค..1942 กองพันต่อสู้รถถังของกองพล เอส เอส โทเทนคอฟ ก็รุกมาพบกับกำลังทหารเยอรมันส่วนใหญ่ ที่ริมฝั่งแม่น้ำโลวัตแล้วทำการจัดตั้งแนวตั้งรับเป็นช่องว่างทั้งสองด้าน มีความกว้างเพียง กิโลเมตรเพื่อเป็นช่องทางให้ทหารเยอรมันที่ติดในวงล้อมทั้งหมดใช้เป็นช่องทางล่าถอย

ภารกิจของกองพล เอส เอส โทเทนคอฟ ยังไม่จบสิ้นลงเพียงเท่านั้น พวกเขาได้รับคำสั่งให้จัดตั้งแนวตั้งรับให้นานที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ เพื่อให้เวลาหน่วยทหารเยอรมันต่างๆ ถอนกำลังออกจากวงล้อมให้หมด

ที่สำคัญก็คือฝ่ายรัสเซียได้เตรียมการรุกครั้งใหม่ เพื่อปิดช่องว่างดังกล่าวให้ได้ ในขณะนี้ทหารเอส เอส ของกองพล เอส เอส โทเทนคอฟ สูญเสียกำลังพลไปมาก จนต้องรวมกำลังกับทหารเยอรมันจากกองทัพบกที่กระจัดกระจายอยู่ในวงล้อม และปรับกำลังใหม่ในลักษณะกองทัพน้อย (Corps) ซึ่งจากความเป็นจริงแล้วกองทัพน้อยนี้ มีกำลังพลเพียงครึ่งหนึ่งของอัตราการจัดในระดับกองพลในยามปกติเท่านั้นเอง

นอกจากนี้ ธีโอดอร์ ไอค์เคอ ผู้บัญชาการกองพลยังร้องขอกำลังเพิ่มเติมอีก 5,000 คนจากอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ซึ่งฮิตเลอร์ก็ส่งมาให้เพิ่มเติมอีกเพียง 3,000 คน พร้อมกับสั่งการให้ธีโอดอร์ ไอค์เคอ กลับไปพักผ่อนที่กรุงเบอร์ลินและมอบการบังคับบัญชาให้กับแม็กซ์ ไซม่อน รองผู้บัญชาการกองพล

เมื่อเดินทางกลับไปถึงกรุงเบอร์ลิน ธีโอดอร์ ไอค์เคอ ก็มีโอกาสเข้าพบ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์อย่างเป็นส่วนตัว และได้ร้องขอให้ถอนกำลังพลของเขาออกจากวงล้อม

แม้อดอล์ฟ ฮิตเลอร์จะสงสารและเห็นใจธีโอดอร์ ไอค์เคอ แต่เขาก็ยืนกรานภารกิจเดิมให้กับทหาร เอส เอส พร้อมทั้งให้คำมั่นสัญญาว่า เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจในวงล้อม "เดมแยงส์แล้ว กองพล เอส เอสโทเทนคอฟ จะได้รับการยกระดับให้เป็นกองพลทหารราบยานเกราะ หรือ "แพนเซอร์เกรเนเดียร์" (Panzergrenadier = Armoured Infantry Division) อีกทั้งยังสำทับว่า ธีโอดอร์ ไอค์เคอ จะต้องพักอยู่ที่กรุงเบอร์ลินต่อไปอีกระยะหนึ่งเพื่อฟื้นฟูสุขภาพร่างกาย

ทางด้านแมกซ์ ไซม่อน ซึ่งเข้าควบคุมบังคับบัญชากำลังพล เอส เอส โทเทนคอฟ ในการเปิดช่องว่างของวงล้อม "เดมแยงส์ก็เริ่มไม่มั่นใจในศักยภาพของกำลังพล ที่ทั้งอิดโรย บาดเจ็บ อ่อนล้า จากการโจมตีครั้งแล้วครั้งเล่าของทหารรัสเซีย แม้จะได้รับการเสริมกำลังทดแทนเข้ามาบางส่วนก็ตาม

เขาส่งจดหมายถึงธีโอดอร์ ไอค์เคอ เพื่อขอคำสั่งถอนกำลังออกจากพื้นที่การสู้รบ ก่อนที่กองพล เอส เอส โทเทนคอฟ จะถูกบดขยี้จนกลายเป็นตำนานไปเสียก่อน และเป็นอีกครั้งที่ธีโอดอร์ ไอค์เคอ ร้องขอต่อฮิตเลอร์อีกครั้ง ซึ่งคำตอบก็ยังคงเป็นเหมือนเดิม นั่นคือให้ยึดที่มั่นไว้ให้นานที่สุด ทหารเอส เอส ต้านทานการเข้าตีของทหารรัสเซียอย่างทรหด เพื่อเปิดแนวช่องว่างอยู่นานจนถึงเดือนกรกฏาคม ค..1942 

ในช่วงนี้ท้องฟ้าเปิดโล่งปราศจากเมฆหมอกทำให้ฝูงบินของรัสเซีย เปิดฉากเข้าโจมตีแนวตั้งรับของเยอรมันพร้อมๆ กับการเข้าตีของกำลังทหารรัสเซียภาคพื้นดินที่สดชื่น รวมทั้งกระสุนปืนใหญ่ที่กระหน่ำเข้าใส่ทหาร เอส เอส อย่างไม่หยุดยั้ง


พลประจำเครื่องยิงลูกระเบิดของเยอรมันทั้ง นายที่ต่อสู้จนกระสุนนัดสุดท้าย


อย่างไรก็ตามทหาร เอส เอส ของกองพล เอส เอส โทเทนคอฟ ก็ได้พิสูจน์ให้โลกเห็นว่า พวกเขาคือนักรบที่แข็งแกร่ง ที่ยืนหยัดต่อสู้อย่างกล้าหาญ ท่ามกลางความสูญเสียอย่างหนัก จนกระทั่งแนวหน้าของทหาร เอส เอส ต้องใช้ทหารที่ไม่ใช่หน่วยรบ เช่น พ่อครัว เสมียน พลพยาบาล พลขับรถ เข้าประจำแนวตั้งรับ ร่วมกับทหารราบ

ในช่วงนี้ฝนได้ตกลงมาอย่างหนักราวกับฟ้ารั่วเป็นเวลานานถึงสองวัน ทำให้กำลังพลทั้งสองฝ่ายไม่สามารถปฏิบัติการทางทหารด้ กองพล เอส เอส โทเทนคอฟ จึงใช้ระยะเวลานี้ ปรับแนวตั้งรับใหม่ ทำการติดอาวุธให้กับกำลังพลให้มีความแข็งแกร่งพร้อมรับการเข้าตีของข้าศึก

จนกระทั่งวันที่ 25 สิงหาคม ค..1942 ทหารรัสเซียจากกองพลป้องกันที่ 7 (7th Guards  Division) กองพลทหารราบที่ 129, 130,  364,  391 (129th, 130th, 364th, 391st Infantry  Division) ก็เปิดฉากเข้าตีทหาร เอส เอส อย่างรุนแรงที่สุดเท่าที่เคยมีมา

ในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง กองพล เอส เอส โทเทนคอฟ ต้องสูญเสียกำลังทหารไปถึงกว่า 1,000 นาย แต่ก็ยังคงรักษาแนวตั้งรับอย่างเหนียวแน่น และในที่สุดกองพล เอส เอส โทเทนคอฟ ก็ได้รับอนุมัติให้ถอนกำลังออกจากวงล้อม "เดมแยงส์ในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน เพื่อปรับกำลังใหม่ในประเทศฝรั่งเศส

ณ เวลานี้ กองพล เอส เอส โทเทนคอฟ เหลือกำลังพลอยู่เพียง 6,000 นายเท่านั้น ส่วนกำลังพลกว่า 24,000 นาย หรือร้อยละ 80 ของหน่วยเสียชีวิตหรือบาดเจ็บจากการสู้รบในครั้งนี้ 

แม้ทหาร เอส เอส จะถอนกำลังไปแล้ว แต่ฮิตเลอร์ยังคงสั่งการให้กำลังทหารเยอรมันบางส่วนตั้งมั่นในวงล้อมต่อไป เพื่อหวังยึดพื้นที่ให้นานที่สุด พร้อมกับส่งกำลังพลชุดใหม่เข้าสู่เมือง "เดมแยงส์" จนกระทั่งเดือนกุมภาพันธ์ ค..1943 รัสเซียก็ทำการรุกครั้งใหญ่อีกครั้งและสามารถทำลายกำลังทหารเยอรมันในวงล้อม "เดมแยงส์ลงได้อย่างราบคาบ

การรบในวงล้อม "เดมแยงส์จบลงด้วยความสูญเสียของทั้งสองฝ่าย

ฝ่ายเยอรมันสูญเสียทหารไปถึง 48,000 นาย บาดเจ็บอีก 140,000 นาย (กำลังทหารเยอรมันครั้งแรกเมื่อเริ่มการรบ มี 100,000 นายรวมกับ กำลังเสริมและกำลังพลชุดใหญ่ที่ฝ่าวงล้อมเข้าไปช่วยทหารที่ติดในวงล้อมนับเป็นการรบในวงล้อมที่ยาวนานที่สุดของกองทัพเยอรมัน และเป็นการส่งกำลังบำรุงทางอากาศที่ใหญ่ที่สุดของกองทัพอากาศเยอรมันมีน้ำหนักในการขนส่งทั้งหมด 59,000 ตัน นำทหารเข้าไปเสริมในวงล้อม 31,000 นายส่งกลับผู้บาดเจ็บจากภายในวงล้อมจำนวน 36,000 นาย

อีกทั้งยังนับเป็นการสู้รบที่หนักหน่วงที่สุด จนหน่วย เอส เอส โทเทนคอฟ แทบจะสิ้นสภาพกองพล และส่งผลให้ ธีโอดอร์ ไอค์เคอ ผู้บัญชาการของกองพล เอส เอส โทเทนคอฟ กลายเป็นทหารเยอรมันคนที่ 88 ที่ได้รับเหรียญกล้าหาญกางเขนชั้นอัศวินประดับใบโอ็ค (Knight's Cross  of the Iron Cross wih Oak Leaves) อีกด้วย

สำหรับฝ่ายรัสเซียนั้นสูญเสียอย่างหนักเช่นกัน โดยมีการคาดการณ์ว่ามีทหารเสียชีวิตถึงกว่า 200,000 นายและบาดเจ็บอีกกว่า 400,000 นาย


นอกจากนี้ความสำเร็จในการส่งกำลังบำรุงของกองทัพอากาศเยอรมันต่อกำลังพลที่ตกอยู่ในวงล้อมในสมรภูมิที่ 
"เดมแยงส์ยังถูกใช้เป็นแบบแผนในการส่งกำลังบำรุงทางอากาศให้กับกองทัพที่ 6 (6thArmy) ของเยอรมันที่ตกอยู่ในวงล้อมที่เมืองสตาลินกราด (Stalingrad) แต่ด้วยการประเมินขีดความสามารถในการส่งกำลังบำรุงของกองทัพอากาศเยอรมัน ตลอดจนองค์ประกอบต่างๆ ของกองทัพรัสเซียที่ผิดพลาด ทำให้ผลลัพธ์ที่ออกมาในสมรภูมิ "เดมแยงส์และสมรภูมิที่เมืองสตาลินกราด มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง




Create Date : 14 ธันวาคม 2556
Last Update : 15 ธันวาคม 2556 12:26:26 น. 0 comments
Counter : 2097 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

unmoknight
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 49 คน [?]




ฉันจะบิน ... บินไป ... ไกลแสนไกลไม่หวั่น
เก็บร้อยความฝันที่มันเรียงราย ...
ให้กลายมาเป็นความจริง ...
New Comments
Friends' blogs
[Add unmoknight's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.