VUW - Victoria University of Wellington, New Zealand
Group Blog
 
All Blogs
 
สมรภูมิ "เดมแยงส์" ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ตอนที่ 1

สมรภูมิ "เดมแยงส์" (Battle of Demyansk)

ตอนที่ 1

จากหนังสือเรื่อง "สมรภูมิของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์"

โดย พันเอกศนิโรจน์ ธรรมยศ

Master of International Relations (with merit)

Victoria University of Wellington, New Zealand

สงวนลิขสิทธ์ตาม พรบ.สิ่งพิมพ์ พ.ศ.2537

ห้ามทำซ้ำเพื่อการพาณิชย์ ให้เผยแพร่เพื่อการศึกษาและค้นคว้าแก่ผู้สนใจเท่านั้น



“โล่ห์แห่งเดมแยงส์” เครื่องหมายเชิดชูเกียรติที่มอบให้กับกำลังพลกว่า 100,000นายที่ผ่านสมรภูมิในวงล้อม "เดมแยงส์"



ในช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง ขณะที่การสู้รบใน "ยุทธการบาร์บารอสซ่า" (Operation  Barbarossa) ของกองทัพเยอรมันตามแนวรบด้านรัสเซีย หรือ "สหภาพโซเวียต" (Soviet  Union) ในขณะนั้น กำลังดำเนินไปอย่างดุเดือด โดยกลุ่มกองทัพเหนือ (Heeresgruppe Nord ในภาษาเยอรมัน หรือ Army Group North ในภาษาอังกฤษมีเป้าหมายเพื่อยึดเมืองเลนินกราด (Leningrad) และกลุ่มกองทัพกลาง (Heeresgruppe Mitte ในภาษาเยอรมันหรือ Army Group Center ในภาษาอังกฤษรุกเข้ายึดกรุงมอสโคว์ (Moscow) เมืองหลวงของสหภาพโซเวียตตามยุทธการ "ไต้ฝุ่น" (Operation Typhoon หรือ Taifun ในภาษาเยอรมันจนกระทั่งฤดูหนาวอันโหดร้ายได้สร้างความเสียหายให้กับกองทัพเยอรมันเป็นอย่างมาก พร้อมๆ กับการตอบโต้อย่างรุนแรงจากกองทัพแดงของรัสเซีย จนกระทั่งกองทัพที่ 16 ของเยอรมันซึ่งประกอบด้วยกำลังทหาร กองพลจำนวนกว่า 100,000 คน สังกัดกองทัพน้อยที่  2 (II Corps) และบางส่วนของกองทัพน้อยที่ 10 (X Corps) ซึ่งประกอบไปด้วยกองพลทหารราบที่ 12, 30,  32,  123,  290  (12th, 30th, 32nd, 123rd, 290th Infantry Divisions)  และกองพล เอส เอส โทเทนคอฟ (SS Division Totenkopf - ภายหลังได้รับการยกระดับเป็นกองพลยานเกราะ เอส เอส ที่ โทเทนคอฟต้องถอยร่นจนตกอยู่ในวงล้อมของกองทัพรัสเซีย ในพื้นที่เมือง "เดมแยงส์" (Demyansk) และพื้นที่ใกล้เคียง ระหว่างวันที กุมภาพันธ์ถึงวันที่ 20 พฤษภาคม ค..1942

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ สั่งการให้กำลังพลในวงล้อมทั้งหมด ทำการต่อสู้กับกองทัพรัสเซียเพื่อรักษาพื้นที่ประมาณ 1,200 ตารางไมล์อย่างทรหด ด้วยการออกคำสั่ง "ห้ามถอยและให้ทหารทุกคนรักษาที่มั่น จนกว่าความช่วยเหลือจากกองทัพใหญ่จะมา ถึงแม้จะต้องตกอยู่ในวงล้อมเป็นเวลานานก็ตาม (บางส่วนของทหารเยอรมันยึดที่มั่นอยู่ จนถึงเดือนมีนาคม ค..1943 หรือเป็นเวลากว่า 12 เดือน)

การสู้รบอันดุเดือด จึงเปิดฉากขึ้นระหว่างทหารเยอรมันและทหารรัสเซียเพื่อครอบครองและแย่งชิงพื้นที่รอบเมือง "เดมแยงส์อันเป็นที่มาของการรบครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่สอง นั่นคือการรบใน "วงล้อมเดมแยงส์" (Demyansk Pocket) 

ซึ่งสมรภูมิแห่งนี้ ได้รับการบันทึกว่า เป็นสมรภูมิที่มีความดุเดือดที่สุดแห่งหนึ่ง เพราะกองทัพเยอรมันต้องเปลี่ยนยุทธวิธีจากการรุก ที่ดำเนินมานานนับปี ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองเปิดฉากขึ้นมา เป็นการตั้งรับอยู่ภายในวงล้อม ที่มีระยะเวลายาวนานที่สุด ความสำเร็จในการรักษาที่มั่นที่ “เดมแยงส์” ส่งผลให้ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ อนุมัติในการจัดทำเครื่องหมายเชิดชูเกียรติให้กับกำลังพลที่ผ่านการรบ โดยมีลักษณะเป็นแถบโล่ห์ (shield) ขนาดเล็ก เรียกว่า "โล่ห์แห่งเดมแยงส์" (Demyansk shield) ทำจากโลหะชนิดสังกะสี ที่เป็นสีเงิน ซึ่งการประดับเครื่องหมายดังกล่าวจะประดับไว้ที่แขนเสื้อซ้ายท่อนบนเหนือข้อศอก เพื่อมอบให้แก่กำลังพลกว่า 100,000 นายทั้งสังกัดกองทัพบก หน่วยเอส เอส และกองทัพอากาศที่ผ่านการรบในสมรภูมิแห่งนี้ ไม่ว่าจะเสียชีวิตจากการต่อสู้ในวงล้อมหรือรอดชีวิตกลับมาได้

เมือง "เดมแยงส์หรือที่บางเอกสารออกเสียงว่าเมือง "เดเมียงส์ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเมืองเลนินกราด เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญแห่งหนึ่ง เนื่องจากเป็นทางแยกและเป็นจุดเชื่อมต่อของทางรถไฟ จากเมือง "เดมแยงส์ไปยังเมืองเลนินกราด และเมืองสตารายา รุสซ่า (Staraya Russa) ซึ่งใช้เป็นเส้นทางติดต่อสื่อสารและการส่งกำลังบำรุงของกองทัพที่ 16 และกองทัพที่ 18 สังกัดกลุ่มกองทัพเหนือของเยอรมัน

ลักษณะภูมิประเทศของเมือง "เดมแยงส์เป็นที่ราบสูงขนาดใหญ่ ล้อมรอบไปด้วยป่าทึบสลับกับหนองน้ำจำนวนมากมาย พื้นดินมีลักษณะชื้นแฉะ เพราะถูกปกคลุมไปด้วยหิมะในช่วงฤดูหนาว และแปรสภาพเป็นปลักตมในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ ทำให้ยากต่อการเคลื่อนที่ของทหารราบและยานยนต์

การสู้รบในวงล้อม "เดมแยงส์เปิดฉากขึ้นในวันที่ มกราคม ค..1942 เมื่อพลโท พาเวล คูรอชคิน (Pavel Kurochkin) ของสหภาพโซเวียต สั่งการให้กองทัพจู่โจมจำนวน กองทัพประกอบด้วย กองทัพจู่โจมที่ 1 (1st Shock Army) กองทัพจู่โจมที่ 3 (3rd ShockArmy) และกองทัพจู่โจมที่ 4 (4th Shock Army) เป็นหน่วยหลักในการเข้าตีแนวตั้งรับของทหารเยอรมันทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือในวงล้อม "เดมแยงส์ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของพลโท วอลเธอร์ ฟอน บร็อคดรอฟฟ์ (Walter Von Brockdorff) ผู้บัญชาการกองทัพน้อยที่ ซึ่งขึ้นตรงกับกลุ่มกองทัพเหนือของจอมพล วิลเฮล์ม ริทเธอร์ ฟอน ลีบ (Wilhelm Ritter von Leeb)

นอกจากนี้กองทัพจู่โจมของกองทัพแดงทั้งสามกองทัพ ยังได้รับการสนับสนุนจากกองทัพที่ 11, กองทัพที่34, กองทัพน้อยปืนเล็กยาวที่ และ ร่วมกับ กองพลน้อยส่งทางอากาศอีก กองพลน้อย รวมกำลังรบของฝ่ายรัสเซียทั้งหมดกว่า กองทัพ หรือคิดเป็นจำนวนทหารกว่า 400,000คน เพื่อทำการรุกครั้งใหญ่

แต่อุปสรรคของฝ่ายรัสเซียก็คือ สภาพภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยป่าทึบ สลับกับหนองบึงที่ถูกปกคลุมด้วยหิมะหนาในช่วงปลายฤดูหนาวดังที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้การเคลื่อนที่ของรถถังและทหารราบกองทัพแดงเป็นไปอย่างยากลำบาก อีกทั้งลักษณะภูมิประเทศดังกล่าวยังลดความรวดเร็วและประสิทธิภาพในการเข้าตีลงอย่างมาก แต่ในทางกลับกันป่าทึบและปลักตมเหล่านี้ กลับเอื้ออำนวยต่อการตั้งรับของฝ่ายเยอรมันที่วางแนวตั้งรับโดยขุดสนามเพลาะซ่อนอยู่ในพื้นที่ป่าหนาและรกทึบเหล่านั้น

สำหรับกองทัพจู่โจม หรือ Shock Army นั้น เป็นหน่วยที่กองทัพแดงของรัสเซียจัดตั้งขึ้นจากทหารกองหนุน หรือกองกำลังสำรอง เพื่อใช้เป็นหน่วยในการเข้าตีแนวตั้งรับของเยอรมันในลักษณะคลื่นมนุษย์ขนาดใหญ่ (Massed Human Waves) 

ทั้งนี้เนื่องจากยุทธวิธีของกองทัพสหภาพโซเวียตหรือรัสเซียในช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่สองนั้น ยังเป็นช่วงที่ทหารขาดการฝึกฝน ขาดประสบการณ์ ขาดผู้นำที่มีความสามารถในการวางแผน การเข้าตีจึงมักใช้กำลังทหารจำนวนมาก วิ่งดาหน้าผ่านแนวออกตี โดยมีปืนใหญ่และปืนกลหนักให้การสนับสนุนในการยิงโจมตีข้าศึก เพื่อเปิดโอกาสให้ทหารราบเคลื่อนที่ผ่านพื้นที่โล่งแจ้ง เข้าหาแนวตั้งรับของทหารเยอรมันให้มากที่สุด ก่อนที่จะใช้ระเบิดขว้างและปืนกลประจำกาย สาดกระสุนเข้าใส่ที่มั่นของข้าศึก

ยุทธวิธีนี้ถ้าแนวตั้งรับเปราะบาง ขาดการเตรียมความพร้อม หรือมีกำลังทหารที่มีจำนวนน้อยกว่า ฝ่ายรุกก็จะสามารถเจาะแนวป้องกันได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วแนวตั้งรับของเยอรมันมักจะมีปืนกลหนักหลายกระบอก ยิงประสานสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ทำให้บ่อยครั้งที่การเข้าตีของทหารรัสเซียในลักษณะนี้ลงเอยด้วยความสูญเสียอย่างหนัก

ในช่วงปี ค..1943 – 1945 ฝ่ายรัสเซียได้มีการปรับยุทธวิธีการเข้าตีไปสู่รูปแบบใหม่ โดยการเข้าตีของทหารราบ จะได้รับการสนับสนุนอย่างใกล้ชิดจากปืนใหญ่ที่จะระดมยิงใส่แนวหน้าของทหารเยอรมันอย่างรุนแรง และต่อเนื่องนานนับสิบนาที

จากนั้นทหารราบจะเคลื่อนที่ผ่านแนวออกตี พร้อมกับรถถังแบบที 34 ที่ติดอาวุธปืนประจำรถขนาด 76.2 มิลลิเมตรอันทรงอานุภาพ และสามารถทำความเร็วได้ถึง 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีระยะทำการถึง 300 กิโลเมตร จึงปรากฏว่ามีหลายครั้งที่ทหารราบได้อาศัยรถถังเป็นยานพาหนะในการเคลื่อนที่ผ่านแนวออกตี ซึ่งเป็นที่โล่งแจ้งด้วยความเร็วสูงสุด โดยทหารราบจะใช้รถถังเป็นกำบัง และลงจากรถถังเมื่อใกล้ถึงแนวตั้งรับของเยอรมัน ด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้รถถังแบบ ที 34 มีการปรับปรุง โดยการติดตั้งราวเหล็กรอบป้อมปืน สำหรับให้ทหารราบได้ยึดเกาะ ยุทธวิธีแบบใหม่นี้ช่วยรักษาชีวิตของทหารราบรัสเซียได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังทำให้การรุกของฝ่ายรัสเซียเป็นไปอย่างรวดเร็ว จนแนวตั้งรับของเยอรมันไม่สามารถตั้งตัวไม่ทัน

สำหรับการเข้าตีของกองทัพจู่โจมในวงล้อม "เดมแยงส์ดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้น แม้จะเป็นการเข้าตีในยุทธวิธีแบบดั้งเดิมของกองทัพแดง นั่นคือ การใช้คลื่นมนุษย์ แต่ก็ยังนับว่าเป็นการเข้าตีที่เต็มไปด้วยความรวดเร็ว รุนแรง สร้างความประหลาดใจและไม่คาดคิดต่อข้าศึก 

โดยหน่วยหลักในกองทัพจู่โจมนี้ จะประกอบด้วย ทหารราบ ทหารช่าง ทหารปืนใหญ่ และรถถังหนัก เช่น กองทัพจู่โจมที่ เมื่อเข้าสู่สมรภูมิที่ "เดมแยงส์นั้น ประกอบด้วยทหารราบปืนเล็กยาวจำนวน กองพล คือ กองพลปืนเล็กยาวที่ 133 (133rd Rifle Division) และกองพลน้อยปืนเล็กยาวอีกเป็นจำนวนถึง กองพลน้อย ประกอบด้วย กองพลน้อยปืนเล็กยาวที่ 29, 44,  47,  50,  55,  56,  71 และ 84 (29th, 44th, 47th, 50th, 55th, 56th, 71st, 84th Rifle  Brigades) กองพลทหารม้าจำนวน กองพล คือ กองพลทหารม้าที่  17 (17th Cavalry  Division) พร้อมทั้งกองพันรถถังจำนวน กองพันและกรมทหารปืนใหญ่ ให้การสนับสนุนอีก กรม จะเห็นได้ว่ากองทัพจู่โจมนั้นจะมีทหารราบเป็นหลัก ทำหน้าที่ในการรุกเข้าหาที่มั่นของข้าศึก

(โปรดติดตามตอนต่อไป)




Create Date : 14 ธันวาคม 2556
Last Update : 15 ธันวาคม 2556 12:25:10 น. 0 comments
Counter : 2583 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

unmoknight
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 49 คน [?]




ฉันจะบิน ... บินไป ... ไกลแสนไกลไม่หวั่น
เก็บร้อยความฝันที่มันเรียงราย ...
ให้กลายมาเป็นความจริง ...
New Comments
Friends' blogs
[Add unmoknight's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.