Group Blog
 
All Blogs
 
พุทธศาสนสุภาษิต ๑๖.ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล ( ๓ )

พุทธศาสนสุภาษิต

เรียบเรียงจาก หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรณาณวโรรส
และ พระมหาทองสืบ จารุวณฺโณ พร้อมด้วยคณะกรรมการ


--------------------------------------------------------------



๑๖. ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล (ต่อ)

อจฺจยํ เทสยนฺตีนํ
โย เจ น ปฏิคณฺหติ
โกปนฺตโร โทสครุ
ส เวรํ ปฏิมุจฺจติ.

เมื่อเขาขอโทษ ถ้าผู้ใดมีความขุ่นเคือง โกรธจัด ไม่ยอมรับ
ผู้นั้นชื่อว่าหมกเวรไว้.
(เทวดา) สํ. ส. ๑๕/๓๔.

อปฺปกา เต มนุสฺเสสุ
เย ชนา ปารคามิโน
อถายํ อิตรา ปชา
ตีรเมวานุธาวติ.

ในหมู่มนุษย์ คนที่ถึงฝั่ง (นิพพาน) มีน้อย,
ส่วนประชานอกนี้ วิ่งอยู่ตามชายฝั่ง.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๒๖.

อสุภาย จิตฺตํ ภาเวหิ
เอกคฺคํ สุสมาหิตํ
สติ กายคตา ตฺยตฺถุ
นิพฺพิทาพหุโล ภว.

จงอบรมจิตให้แน่วแน่มั่นคง ด้วยอสุภสัญญา จงมีสติไปในกาย
จงมีความเบื่อหน่ายมาก (ในสังขารทั้งปวง).
(วงฺคีสเถร) สํ. ส. ๑๕/๒๗๗.

อหึสกา เย มุนโย
นิจฺจํ กาเยน สํวุตา
เต ยนฺติ อจฺจุตํ ฐานํ
ยตฺถ คนฺตฺวา น โสจเร.

มุนีเหล่าใด เป็นผู้ไม่เบียดเบียน สำรวมทางกายเป็นนิตย์
มุนีเหล่านั้น ย่อมไปสู่สถานไม่จุติ ที่ไปแล้วไม่ต้องเศร้าโศก.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๔๕.

เอวํ กิจฺฉาภโต โปโส
ปิตุ อปริจารโก
ปิตริ มิจฺฉา จริตฺวาน
นิรยํ โส อุปปชฺชติ.

ผู้ที่ (มารดา) บิดาเลี้ยงมาโดยยากอย่างนี้ ไม่บำรุง (มารดา) บิดา
ประพฤติผิดใน (มารดา) บิดา ย่อมเข้าถึงนรก.
(โสณโพธิสตฺต) ขุ. ชา. สคฺตติ. ๒๘/๖๖.

เอวํ พุทฺธํ สรนฺตานํ
ธมฺมํ สงฺฆญฺจ ภิกฺขโว
ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา
โลมหํโส น เหสฺสติ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อบุคคลระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
อยู่อย่างนี้ ความกล้า ความครั่นคร้าม ขนพองสยองเกล้า จักไม่มี
(พุทฺธ) สํ. ส. ๑๕/๓๒๓.

เอวํ มนฺทสฺส โปสสฺส
พาลสฺส อวิชานโต
สารมฺภา ชายเต โกโธ
โสปิ เตเนว ฑยฺหติ.

ความโกรธเกิดขึ้นแก่คนโง่เขลาไม่รู้แจ้ง เพราะความแข่งดี
เขาย่อมถูกความโกรธนั้นแลเผา.
(โพธิสตฺต) ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๘๐.

โอโนทโร โย สหเต ชิฆจฺนํ
ทานฺโต ตปสฺสี มิตปานโภชโน
อาหารเหตุ น กโรติ ปาปํ
ตํ เว นรํ สมณมาหุ โลเก.

คนใดมีท้องพร่อง ย่อมทนความหิวได้
ผู้ฝึกตนมีความเพียร กินดื่มพอประมาณ ไม่ทำบาปเพราะอาหาร
ท่านเรียกคนนั้นแล ว่า สมณะในโลก.
ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๗๔.

กาเม คิทฺธา กามรตา
กาเมสุ อธิมุจฺฉิตา
นรา ปาปานิ กตฺวาน
อุปปชฺชนฺติ ทุคฺคตึ.

นรชนผู้กำหนัดในกาม ยินดีในกาม หมกมุ่นในกาม
ทำบาปทั้งหลาย ย่อมเข้าถึงทุคติ.
(ปจฺเจกพุทฺธ) ขุ. ชา สฏฺฐิ. ๒๘/๓๓.

คาเม วา ยทิวารญฺเญ
นินฺเน วา ยทิวา ถเล
ยตฺถ อรหนฺโต วิหรนฺติ
ตํ ภูมิรามเณยฺยกํ.

พระอรหันต์ทั้งหลาย อยู่ในที่ใด คือบ้านก็ตาม ป่าก็ตาม
ที่ลุ่มก็ตาม ที่ดอนก็ตาม ที่นั้นย่อมเป็นภูมิน่ารื่นรมย์.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๒๘.

โจทิตา เทวทูเตหิ
เย ปมชฺชนฺติ มาณวา
เต ทีฆรตฺตํ โสจนฺติ
หีนกายูปคา นรา.

คนเหล่าใด อันเทวทูตตักเตือนแล้ว ยังประมาทอยู่,
คนเหล่านั้น เข้าถึงกายอันเลว ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน.
(พุทฺธ) ม. อุป. ๑๔/๓๔๖.

โจโร ยถา สนฺธฺมุเข คหีโต
สกมฺมุนา หญฺญติ ปาปธมฺโม
เอวํ ปชา เปจฺจ ปรมฺหิ โลเก
สกมฺมุนา หญฺญติ ปาปธมฺโม.

โจรผู้มีความชั่ว ถูกเขาจับได้ซึ่งหน้า ย่อมเดือดร้อนเพราะกรรมของตนฉันใด
ประชาผู้มีความชั่ว ละไปแล้ว ย่อมเดือดร้อน เพราะกรรมของตนในโลกหน้าฉันนั้น
(รฏฺฐาลเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๙.

ชาติถทฺโธ ธนถทฺโธ
โคตฺตถทฺโธ จ โย นโร
สญฺญาตึ อติมญฺเญติ
ตํ ปราภวโต มุขํ.

คนใด หยิ่งเพราะชาติ หยิ่งเพราะทรัพย์ หยิ่งเพราะสกุล
ย่อมดูหมิ่นญาติของตน ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งความเสื่อมของคนนั้น.
(พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/๓๔๗.

ตํ พฺรูมิ อุปสนฺโตติ
กาเมสุ อนเปกฺขินํ
คนฺถา ตสฺส น วิชฺชนฺติ
อตาริ โส วิสตฺติกํ.

เราเรียกผู้ไม่เยื่อใยในกามทั้งหลายนั้นว่าผู้สงบ, เครื่องร้อยรัดของเขาไม่มี
เขาจึงข้ามตัณหาว้าวุ่นไปได้.
(พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/๕๐๑. ขุ. มหา. ๒๙/๒๙๕,๒๙๗.

เตชวาปิ หิ นโร วิจกฺขโณ
สกฺกโต พหุชนสฺส ปูชิโต
นารีนํ วสงฺคโต น ภาสติ
ราหุนา อุปหโตว จนฺทิมา.

ถึงเป็นคนมีเดช มีปัญญาเฉียบแหลม อันคนเป็นอันมากสักการบูชา
อยู่ในอำนาจของสตรีเสียแล้ว ย่อมไม่รุ่งเรือง เหมือนพระจันทร์ถูกพระราหูบังฉะนั้น
(พุทฺธ) ขุ. ชา อสีติ. ๒๘/๑๒๗.

ทูเร สนฺโต ปกาเสนฺติ
หิมวนฺโตว ปพฺพโต
อสนฺเตตฺถ น ทิสฺสนฺติ
รตฺติขิตฺตา ยถา สรา.

สัตบุรุษย่อมปรากฏได้ในที่ไกล เหมือนภูเขาหิมพานต์
อสัตบุรุษถึงนั่งอยู่ในที่นี้ก็ไม่ปรากฏ เหมือนลูกศรที่ยิงไปกลางคืน.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๕๕.

ธีโร โภเค อธิคมฺเม
สงฺคณฺหาติ จ ญาตเก
เตน โส กิตฺตึ ปปฺโปติ
เปจฺจ สคฺเค ปโมทติ.

ผู้มีปรีชาได้โภคะแล้ว ย่อมสงเคราะห์หมู่ญาติ,
เพราะการสงเคราะห์นั้น เขาย่อมได้เกียรติ ละไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์.
(โพธิสตฺต) ขุ. ชา. ฉกฺก. ๒๗/๒๐๕.

น ปณฺฑิตา อตฺตสุขสฺส เหตุ
ปาปานิ กมฺมานิ สมาจรนฺติ
ทุกฺเขน ผุฏฺฐา ขลิตาปิ สนฺตา
ฉนฺทา จ โทสา น ชหนฺติ ธมฺมํ.

บัณฑิต ย่อมไม่ประพฤติกรรมชั่ว เพราะเหตุแห่งสุขเพื่อตน,
สัตบุรุษอันทุกข์ถูกต้อง แม้พลาดพลั้งไป ก็ไม่ยอมละธรรม เพราะฉันทาคติและโทสาคติ
(สรภงฺคโพธิสตฺต) ชาตกฏฺฐกถา. ๗/๓๘๘.

-------------------------------------------------------------

หมายเหตุ
บทความ พุทธศาสนสุภาษิต นี้มาจากการเรียบเรียงสุภาษิตในหมวดเดียวกันให้มารวมกัน จากหนังสือ พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ ที่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงเรียบเรียง และหนังสือพุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๒ และเล่ม ๓ ที่ พระมหาทองสืบ จารุวณฺโณ พร้อมด้วยคณะกรรมการ ได้รวบรวมและเรียบเรียงไว้
ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประสงค์จะทราบได้อ่านสุภาษิตในหมวดเดียวกันจากหนังสือทั้ง ๓ ต่อเนื่องกันในครั้งเดียว

เนื่องจากบทความนี้ ผู้เขียนได้เรียบเรียงโดยคัดลอกเนื้อความมาจากเวปของวัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน โดยมิได้ตรวจทานความครบถ้วนถูกต้องจากหนังสือต้นฉบับที่ถูกกล่าวถึง ผู้ที่ประสงค์จะนำไปใช้อ้างอิง กรุณาตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง

คัดลอกจาก เวป //www.doisaengdham.org




Create Date : 07 กรกฎาคม 2556
Last Update : 7 กรกฎาคม 2556 9:16:01 น. 0 comments
Counter : 1461 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

sirivajj
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]




บทความในกลุ่ม ข้อคิด-ธรรมะ ได้ถูกเรียบเรียงขึ้น โดยบางบทความได้คัดลอกและสำเนาภาพมาถ่ายทอดจากหนังสือธรรมะต่างๆ หรือหนังสืออื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ด้วยเจตนาประสงค์จะให้ธรรมะอันเป็นสัจจะและมงคลของพระพุทธศาสนาได้รับการเผยแพร่และเข้าถึงพุทธศาสนิกชนหรือผู้ที่สนใจให้ได้มากที่สุด รวมทั้งให้บทความธรรมะได้ถูกรวบรวมไว้ในรูปแบบที่จะสะดวกแก่การสืบค้นและเข้าถึงในภายหลัง

ผู้ที่ประสงค์จะคัดลอกไปเพื่อประโยชน์ทางพาณิชย์ กรุณาตรวจสอบกับต้นฉบับหรือเจ้าของลิขสิทธิ์ ด้วยครับ
Friends' blogs
[Add sirivajj's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.