Group Blog
 
All Blogs
 
พุทธศาสนสุภาษิต ๒๒.วาจาวรรค คือ หมวดวาจา

พุทธศาสนสุภาษิต

เรียบเรียงจาก หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรณาณวโรรส
และ พระมหาทองสืบ จารุวณฺโณ พร้อมด้วยคณะกรรมการ


--------------------------------------------------------------



๒๒. วาจาวรรค คือ หมวดวาจา

หทยสฺส สทิสี วาจา.
วาจาเช่นเดียวกับใจ.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๓๘.

โมกฺโข กลฺยาณิยา สาธุ.
เปล่งวาจางาม ยังประโยชน์ให้สำเร็จ.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๘.

มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิกํ.
คนเปล่งวาจาชั่ว ย่อมเดือดร้อน.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๘.

ทุฏฺฐสฺส ผรุสา วาจา.
คนโกรธมีวาจาหยาบ.
ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๗๓.

อภูตวาที นิรยํ อุเปติ.
คนพูดไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๕.

สํโวหาเรน โสเจยฺยํ เวทิตพฺพํ.
ความสะอาด พึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ.
นัย-ขุ. อุ. ๒๕/๑๗๘.

วาจํ มุญฺเจยฺย กลฺยาณึ.
ควรเปล่งวาจางาม.
สํ. ส. ๑๕/๖๐.

สณฺหํ คิรํ อตฺถวตึ ปมุญฺเจ.
ควรเปล่งวาจาไพเราะที่มีประโยชน์.
ขุ. ชา. เตรส. ๒๗/๓๕๐.

ตเมว วาจํ ภาเสยฺย ยายตฺตานํ น ตาปเย.
ควรกล่าวแต่วาจาที่ไม่ยังตนให้เดือดร้อน.
สํ. ส. ๑๕/๒๗๘. ขุ. สุ. ๒๕/๔๑๑.

มนุญฺญเมว ภาเสยฺย.
ควรกล่าวแต่วาจาที่น่าพอใจ.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๐.

นามนุญฺญํ กุทาจนํ.
ในกาลไหน ๆ ก็ไม่ควรกล่าววาจาไม่น่าพอใจ.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๐.

วาจํ ปมุญฺเจ กุสลํ นาติเวลํ.
ไม่ควรเปล่งวาจาที่ดี ให้เกินกาล.
ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๘๐. ขุ. สุ. ๒๕/๕๒๓. ขุ. มหา. ๒๙/๖๒๒.

น หิ มุญฺเจยฺย ปาปิกํ.
ไม่ควรเปล่งวาจาชั่วเลย.
ขุ. ชา. ๒๗/๒๘.

กลฺยาณิเมว มุญฺเจยฺย
น หิ มุญฺเจยฺย ปาปิกํ
โมกฺโข กลฺยาณิยา สาธุ
มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิกํ.

พึงเปล่งวาจางามเท่านั้น ไม่พึงเปล่งวาจาชั่วเลย
การเปล่งวาจางามยังประโยชน์ให้สำเร็จ คนเปล่าวาจาชั่วย่อมเดือดร้อน.
(พุทฺธ) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๘.

ตเมว วาจํ ภาเสยฺย
ยายตฺตานํ น ตาปเย
ปเร จ น วิหึเสยฺย
สา เว วาจา สุภาสิตา.

บุคคลพึงกล่าววาจาที่ไม่เป็นเหตุยังตนให้เดือดร้อน
และไม่เป็นเหตุเบียดเบียนผู้อื่น, วาจานั้นแล เป็นสุภาษิต.
(วงฺคีสเถร) ขุ. สุ. ๒๕/๔๑๑.

นาติเวลํ ปภาเสยฺย น
ตุณฺหี สพฺพทา สิยา
อวิกิณฺณํ มิตํ วาจํ
ปตฺเต กาเล อุทีริเย.

ไม่ควรพูดจนเกินกาล ไม่ควรนิ่งเสมอไป
เมื่อถึงเวลา ก็ควรพูดพอประมาณ ไม่ฟั่นเฝือ.
(พุทฺธ) ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๓๓๘.

ปิยวาจเมว ภาเสยฺย
ยา วาจา ปฏินนฺทิตา
ยํ อนาทาย ปาปานิ
ปเรสํ ภาสเต ปิยํ.

ควรกล่าววาจาที่น่ารักอันผู้ฟังยินดีเท่านั้น
เพราะคนดีไม่นำพาคำชั่วของผู้อื่นแล้ว กล่าวแต่คำไพเรา.
(วงฺคีสเถร) ขุ. สุ. ๒๕/๔๑๒.

ปุริสสฺส หิ ชาตสฺส
กุธารี ชายเต มุเข
ยาย ฉินฺทติ อตฺตานํ
พาโล ทุพฺภาสิตํ ภณํ.

คนที่เกิดมา มีผึ่งเกิดอยู่ในปาก
คนโง่กล่าวคำไม่ดี ก็ชื่อว่า เอาผึ่งถากตัวเอง.
(พุทฺธ) องฺ. ทสก. ๒๔/๑๘๕.

ยญฺหิ กยิรา ตญฺหิ วเท
ยํ น กยิรา น ตํ วเท
อกโรนฺตํ ภาสมานํ
ปริชานนฺติ ปณิฑิตา.

บุคคลทำสิ่งใด ควรพูดสิ่งนั้น ไม่ทำสิ่งใด ไม่ควรพูดสิ่งนั้น,
บัณฑิตย่อมกำหนดรู้คนที่ไม่ทำ ได้แต่พูด.
(หาริตเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๓๐๙.

โย อตฺตเหตุ ปรเหตุ
ธนเหตุ จ โย นโร
สกฺขิปุฏฺโฐ มุสา พฺรูติ
ตํ ชญฺญา วสโล อิติ.

คนใด ถูกอ้างเป็นพยาน เบิกความเท็จ
เพราะตนก็ดี เพราะผู้อื่นก็ดี เพราะทรัพย์ก็ดี พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นคนเลว.
(พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/๓๕๐.

โย นินฺทิยํ ปสํสติ
ตํ วา นินฺทติ โย ปสํสิโย
วิจินาติ มุเขน โส กลึ
กลินา เตน สุขํ น วินฺทติ.

ผู้ใดสรรเสริญคนควรติ หรือติคนที่ควรสรรเสริญ,
ผู้นั้นย่อมเก็บโทษด้วยปาก เขาไม่ได้สุขเพราะโทษนั้น.
(พุทธฺ) องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๔.

สหสฺสมปิ เจ วาจา
อนตฺถปทสญฺหิตา
เอกํ อตฺถปทํ เสยฺโย
ยํ สุตฺวา อุปสมฺมติ.

ถ้ามีวาจาที่ประกอบด้วยข้อความซึ่งเป็นประโยชน์แม้ตั้งพัน,
ข้อความที่เป็นประโยชน์ บทเดียว ที่ฟังแล้วสงบระงับได้ ประเสริฐกว่า.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๒๘.

อกกฺกสํ วิญฺญาปนึ
คิรํ สจฺจํ อุทีรเย
ยาย นาภิสเช กญฺจิ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.

ผู้ใด พึงกล่าวถ้อยคำอันไม่เป็นเหตุให้ใคร ๆ ขัดใจ ไม่หยาบคาย
เป็นเครื่องให้รู้ความได้และเป็นคำจริง, เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๗๐.

อกฺโกธโน อสนฺตาสี
อวิกตฺถี อกุกฺกุจฺโจ
มนฺตาภาณี อนุทฺธโต
ส เว วาจายโต มุนิ.

ผู้ใด ไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง ไม่โอ้อวด ไม่รำคาญ พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน
ผู้นั้นแลชื่อว่า เป็นมุนี มีวาจาสำรวมแล้ว.
(พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/๕๐๐. ขุ. มหา. ๒๙/๒๕๗.

อพทฺธา ตตฺถ พชฺฌนฺติ
ยตฺถ พาลา ปภาสเร
พทฺธาปิ ตตฺถ มุจฺจนติ
ยตฺถ ธรีรา ปภาสเร.

คนเขลา ย่อมกล่าวในเรื่องใด ไม่ถูกผูกก็ติดในเรื่องนั้น,
คนฉลาดย่อมกล่าวในเรื่องใด แม้ถูกผูก ก็หลุดในเรื่องนั้น.
(โพธิสตฺต) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๙.

ปรสฺส วา อตฺตโน วาปิ เหตุ
น ภาสติ อลิกํ ภูริปญฺโญ
โส ปูชิโต โหติ สภาย มชฺเฌ
ปจฺฉาปิ โส สุคติคามิ โหติ.

ผู้มีภูมิปัญญา ย่อมไม่พูดพล่อย ๆ เพราะเหตุแห่งคนอื่นหรือตนเอง
ผู้นั้นย่อมมีผู้บูชาในท่ามกลางชุมชน แม้ภายหลังเขาย่อมไปสู่สุคติ
(มโหสธโพธิสตฺต) ขุ. ชา. วีสติ. ๒๗/๔๒๗.

ยํ พุทฺโธ ภาสตี วาจํ
เขมํ นิพฺพานปตฺติยา
ทุกฺขสฺสนฺตกิริยาย
สา เว วาจานมุตฺตมา.

พระพุทธเจ้าตรัสพระวาจาใด เป็นคำปลอดภัย เพื่อบรรลุพระนิพพาน
และเพื่อทำที่สุดทุกข์, พระวาจานั้นแล เป็นสูงสุดแห่งวาจาทั้งหลาย
(วงฺคีสเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๔๓๔.

สจฺจํ เว อมตา วาจา
เอส ธมฺโธ สนนฺตโน
สจฺเจ อตฺเถ จ ธมฺเม จ
อหุ สนฺโต ปติฏฺฐิตา.

คำสัตย์แล เป็นวาจาไม่ตาย นั่นเป็นธรรมเก่า
สัตบุรุษทั้งหลายเป็นผู้ตั้งมั่นในคำสัตย์ที่เป็นอรรถและเป็นธรรม.
(วงฺคีสเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๔๓๔.

-------------------------------------------------------------

หมายเหตุ
บทความ พุทธศาสนสุภาษิต นี้มาจากการเรียบเรียงสุภาษิตในหมวดเดียวกันให้มารวมกัน จากหนังสือ พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ ที่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงเรียบเรียง และหนังสือพุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๒ และเล่ม ๓ ที่ พระมหาทองสืบ จารุวณฺโณ พร้อมด้วยคณะกรรมการ ได้รวบรวมและเรียบเรียงไว้
ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประสงค์จะทราบได้อ่านสุภาษิตในหมวดเดียวกันจากหนังสือทั้ง ๓ ต่อเนื่องกันในครั้งเดียว

เนื่องจากบทความนี้ ผู้เขียนได้เรียบเรียงโดยคัดลอกเนื้อความมาจากเวปของวัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน โดยมิได้ตรวจทานความครบถ้วนถูกต้องจากหนังสือต้นฉบับที่ถูกกล่าวถึง ผู้ที่ประสงค์จะนำไปใช้อ้างอิง กรุณาตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง

คัดลอกจาก เวป //www.doisaengdham.org



Create Date : 27 กันยายน 2556
Last Update : 27 กันยายน 2556 7:51:51 น. 0 comments
Counter : 5166 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

sirivajj
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]




บทความในกลุ่ม ข้อคิด-ธรรมะ ได้ถูกเรียบเรียงขึ้น โดยบางบทความได้คัดลอกและสำเนาภาพมาถ่ายทอดจากหนังสือธรรมะต่างๆ หรือหนังสืออื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ด้วยเจตนาประสงค์จะให้ธรรมะอันเป็นสัจจะและมงคลของพระพุทธศาสนาได้รับการเผยแพร่และเข้าถึงพุทธศาสนิกชนหรือผู้ที่สนใจให้ได้มากที่สุด รวมทั้งให้บทความธรรมะได้ถูกรวบรวมไว้ในรูปแบบที่จะสะดวกแก่การสืบค้นและเข้าถึงในภายหลัง

ผู้ที่ประสงค์จะคัดลอกไปเพื่อประโยชน์ทางพาณิชย์ กรุณาตรวจสอบกับต้นฉบับหรือเจ้าของลิขสิทธิ์ ด้วยครับ
Friends' blogs
[Add sirivajj's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.