Group Blog
 
All Blogs
 
พุทธศาสนสุภาษิต ๑๖.ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล ( ๗ )

พุทธศาสนสุภาษิต

เรียบเรียงจาก หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรณาณวโรรส
และ พระมหาทองสืบ จารุวณฺโณ พร้อมด้วยคณะกรรมการ


--------------------------------------------------------------



๑๖. ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล (ต่อ)

โจรํ หรนฺตํ วาเรนฺติ
หรนฺโต สมโณ ปิโย
สมณํ ปุนปฺปุนายนฺตํ
อภินนฺทนฺติ ปณฺฑิตา.

บัณฑิตขัดขวางโจรผู้นำของไป, ส่วนสมณะนำไป ย่อมเป็นที่รัก
บัณฑิตย่อมยินดีต้อนรับสมณะผู้มาบ่อย ๆ.
(พุทฺธ) สํ. ส. ๒๕/๖๐.

ชยํ เวรํ ปสวติ
ทุกฺขํ เสติ ปราชิโต
อุปสนฺโต สุขํ เสติ
หิตฺวา ชยปราชยํ.

ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมนอนเป็นทุกข์
คนละความชนะและความแพ้ได้แล้ว สงบใจได้ ย่อมนอนเป็นสุข.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

ตสฺมา สตญฺจ อสตญฺจ
นานา โหติ อิโต คติ
อสนฺโต นิรยํ ยนฺติ
สนฺโต สคฺคปรายนา.

(เพราะธรรมของสัตบุรุษยากที่อสัตบุรุษจะประพฤติตาม)
คติที่ไปจากโลกนี้ของสัตบุรุษและอสัตบุรุษจึงต่างกัน,
คืออสัตบุรุษไปนรก, สัตบุรุษไปสวรรค์.
(พุทฺธ) ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๔๓๕.

ตสฺมา หิ ธีโร อิธุปฏฺฐิตาสติ
กาเม จ ปาเป จ อเสวมาโน
สหาปิ ทุกฺเขน ชเหยฺย กาเม
ปฏิโสตคามีติ ตมาหุ ปุคฺคลํ.

เพราะนักปราชญ์มีสติตั้งมั่นในธรรมวินัยนี้ ไม่เสพกามและบาป
พึงละกามพร้อมทั้งทุกข์ได้ ท่านจึงกล่าวบุคคลนั้นว่า ผู้ไปทวนกระแส
(พุทฺธ) องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๗.

ทุทฺททํ ททมานานํ
ทุกฺกรํ กมฺมกุพฺพตํ
อสนฺโต นานุกุพฺพนฺติ
สตฺ ธมฺโม ทุรนฺวโย.

เมื่อสัตบุรุษให้สิ่งที่ให้ยาก ทำกรรมที่ทำได้ยาก,
อสัตบุรุษย่อมทำตามไม่ได้ เพราะธรรมของสัตบุรุษยากที่อสัตบุรุษจะประพฤติตาม
(โพธิสตฺต) ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๖๓.

น ชจฺจา วสโล โหติ
น ชจฺจา โหติ พฺราหฺมโณ
กมฺมุนา วสโล โหติ
กมฺมุนา โหติ พฺรมหฺมโณ.

บุคคลเป็นคนเลวเพราะชาติก็หาไม่ เป็นผู้ประเสริฐเพราะชาติก็หาไม่
(แต่) เป็นคนเลวเพราะการกระทำ เป็นผู้ประเสริฐก็เพราะการกระทำ.
(พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/๓๕๒.

นิฏฺฐํ คโต อสนฺตาสี
วีตตณฺโห อนงฺคโณ
อจฺฉินฺทิ ภวสลฺลานิ
อนฺติโมยํ สมุสฺสโย.

บุคคลถึงความสำเร็จแล้ว (เพราะอรหัตผล ) ไม่สะดุ้ง ปราศจากตัณหา
ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ตัดลูกศรอันจะนำไปสู่ภพได้แล้ว
ร่างกายนี้จึงชื่อว่า มีในที่สุด.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๖๓.

นิลฺโลลุโป นิกฺกุโห นิปฺปิปาโส
นิมฺมกฺโข นิทฺธนฺตกสาวโมโห
นิราสโส สพฺพโลเก ภวิตฺวา
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

ผู้ไม่ละโมภ ไม่อำพราง ไม่กระหาย ไม่ลบหลู่ ขจัดโมหะ ดุจน้ำฝาดแล้ว
ไม่มีความมุ่งหวัง ครอบงำโลกทั้งหมด ควรเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
(พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/๓๓๖. ขุ. จู. ๓๐/๓๗๙.

ปาป น กยิรา วจสา มนสา
กาเยน วา กิญฺจน สพฺพโลเก
กาเม ปหาย สติมา สมฺปชาโน
ทุกฺขํ น เสเวถ อนตฺถสญฺหิตํ.

บุคคลไม่ควรทำบาปซึ่งเป็นเครื่องกังวลในโลกทั้งปวง
ด้วยกาย วาจา หรือด้วยใจ มีสติสัมปชัญญะ ละกามทั้งหลายได้แล้ว
ไม่ควรเสพทุกข์อันประกอบด้วยสิ่งที่ไร้ประโยชน์.
(จุลฺลโกกนทา ปชฺชุนฺนธีตา) สํ. ส. ๑๕/๔๒.

มทนิมฺมทนํ โสกนุทํ
สํสารปริโมจนํ
สพฺพทุกฺขกฺขยํ มคฺคํ
สกฺกจฺจํ ปฏิปชฺชถ.

ท่านทั้งหลายจงดำเนินตามทางที่สร่างความเมา บรรเทาความโศก
เปลื้องสงสาร เป็นที่สิ้นทุกข์ทั้งปวง โดยความเคารพ.
(พุทฺธ) ขุ. พุ. ๓๓/๔๑๕.

มานํ ปหาย สุสมาหิตตฺโต
สุเจตโส สพฺพธิ วิปฺปมุตฺโต
เอโก อรญฺเญ วิหรํ อปฺปมตฺโต
ส มจฺจุเธยฺยสฺส ตเรยฺย ปารํ.

ผู้ใดละมานะ มีตนตั้งมั่นดีแล้ว มีใจดี หลุดพ้นในที่ทั้งปวง
อยู่ในป่าคนเดียว เป็นผู้ไม่ประมาท, ผู้นั้นพึงข้ามฝั่งแห่งแดนมฤตยู
(พุทฺธ) สสํ. ส. ๒๕/๖.

โมสวชฺเช น นิยฺเยถ
รูเป เสฺนหํ น กุพฺพเย
มานญฺจ ปริชาเชยฺย
สาหสา วิรโต จเร.

บุคคลไม่ควรนิยมการกล่าวคำเท็จ ไม่ควรทำความเสน่หาในรูปโฉม
ควรกำหนดรู้มานะ และประพฤติงดเว้นจากความผลุนผลัน.
(พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/๕๑๘. ขุ. มหา. ๒๙/๕๑๗.

มาเนน วญฺจิตา เส
สงฺขาเรสุ สงฺกิลิสฺสมานา เส
ลาภาลาเภน มถิตา
สมาธึ นาธิคจฺฉนฺติ.

ผู้ถูกมานะหลอกลวง เศร้าหมองอยู่ในสังขาร
ถูกลาภและความเสื่อมลาภย่ำยี ย่อมไม่ลุถึงสมาธิ.
(เสตุจฺฉเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๒๘๓.

ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมฺโม จ
อหึสา สญฺญโม ทโม
ส เว วนฺตมโล ธีโร
โส เถโรติ ปวุจฺจติ.

ผู้ใดมีความสัตย์ มีธรรม มีความไม่เบียนดเบียน
มีความสำรวม และมีความข่มใจ ผู้นั้นแล ชื่อว่า ผู้มีปัญญา หมดมลทิน
เขาเรียกท่านว่า เถระ.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๕๐.

ยทา ทุกฺขํ ชรามรณนฺติ ปณฺฑิโต
อวิทฺทสู ยตฺถ สิตา ปุถุชฺชนา
ทุกฺขํ ปริญฺญาย สโต ว ฌายติ
ตโต รตึ ปรมตรํ น วินฺทติ.

เมื่อใด บัณฑิตรู้ว่า ชราและมรณะเป็นทุกข์
กำหนดรู้ทุกข์ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งปุถุชน มีสติเพ่งพินิจอยู่
เมื่อนั้น ย่อมไม่ประสบความยินดีที่ยิ่งกว่านั้น.
(ภูตเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๓๔๔.

ยสฺส ราโค จ โทโส จ
มาโน มกฺโข จ ปาติโต
สาสโปริว อารคฺคา
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.

ผู้ใดทำ ราคะ โทสะ มานะ และมักขะ ให้ตกไป
เหมือนทำให้เมล็ดผักกาดตกจากปลายเหล็กแหลม, เราเรียกผู้นั้นว่า พราหมณ์
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๖๙.

ยสฺสาลยา น วิชฺชนฺต
อญฺญาย อกถงฺกถี
อมโตคธํ อนุปฺปตฺตํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.

ผู้ใดไม่มีความอาลัย รู้แล้วหาความสงสัยมิได้
เราเรียกผู้หยั่งลงสู่อมตะ บรรลุประโยชน์แล้วนั้นว่าเป็นพราหมณ์.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๗๐.

เย เกจิ กาเมสุ อสญฺญตา ชนา
อวีตราคา อิธ กามโภคิโน
ปุนปฺปุนํ ชาติชรูปคา หิ เต.
ตณฺหาธิปนฺนา อนุโสตคามิโน.

คนบางพวกเหล่าใด ไม่สำรวมในกาม ยังไม่ปราศจากราคะ เป็นผู้บริโภคกามในโลกนี้
คนเหล่านั้นถูกตัณหาครอบงำ ลอยไปตามกระแส (ตัณหา) ต้องเป็นผู้เข้าถึงชาติชราร่ำไป
(พุทฺธ) องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๗.

-------------------------------------------------------------

หมายเหตุ
บทความ พุทธศาสนสุภาษิต นี้มาจากการเรียบเรียงสุภาษิตในหมวดเดียวกันให้มารวมกัน จากหนังสือ พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ ที่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงเรียบเรียง และหนังสือพุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๒ และเล่ม ๓ ที่ พระมหาทองสืบ จารุวณฺโณ พร้อมด้วยคณะกรรมการ ได้รวบรวมและเรียบเรียงไว้
ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประสงค์จะทราบได้อ่านสุภาษิตในหมวดเดียวกันจากหนังสือทั้ง ๓ ต่อเนื่องกันในครั้งเดียว

เนื่องจากบทความนี้ ผู้เขียนได้เรียบเรียงโดยคัดลอกเนื้อความมาจากเวปของวัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน โดยมิได้ตรวจทานความครบถ้วนถูกต้องจากหนังสือต้นฉบับที่ถูกกล่าวถึง ผู้ที่ประสงค์จะนำไปใช้อ้างอิง กรุณาตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง

คัดลอกจาก เวป //www.doisaengdham.org


Create Date : 06 สิงหาคม 2556
Last Update : 6 สิงหาคม 2556 5:38:06 น. 0 comments
Counter : 1106 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

sirivajj
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]




บทความในกลุ่ม ข้อคิด-ธรรมะ ได้ถูกเรียบเรียงขึ้น โดยบางบทความได้คัดลอกและสำเนาภาพมาถ่ายทอดจากหนังสือธรรมะต่างๆ หรือหนังสืออื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ด้วยเจตนาประสงค์จะให้ธรรมะอันเป็นสัจจะและมงคลของพระพุทธศาสนาได้รับการเผยแพร่และเข้าถึงพุทธศาสนิกชนหรือผู้ที่สนใจให้ได้มากที่สุด รวมทั้งให้บทความธรรมะได้ถูกรวบรวมไว้ในรูปแบบที่จะสะดวกแก่การสืบค้นและเข้าถึงในภายหลัง

ผู้ที่ประสงค์จะคัดลอกไปเพื่อประโยชน์ทางพาณิชย์ กรุณาตรวจสอบกับต้นฉบับหรือเจ้าของลิขสิทธิ์ ด้วยครับ
Friends' blogs
[Add sirivajj's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.