Group Blog
 
All Blogs
 
พุทธศาสนสุภาษิต ๑๖.ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล ( ๖ )

พุทธศาสนสุภาษิต

เรียบเรียงจาก หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรณาณวโรรส
และ พระมหาทองสืบ จารุวณฺโณ พร้อมด้วยคณะกรรมการ


--------------------------------------------------------------



๑๖. ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล (ต่อ)

สุปิเนน ยถาปิ สงฺคตํ
ปฏิพุทฺโธ ปุริโส น ปสฺสติ
เอวมฺปิ ปิยายิตํ ชนํ
เปตํ กาลกตํ น ปสฺสติ.

คนผู้ตื่นขึ้นแล้ว ย่อมไม่เห็นอารมณ์อันประจวบด้วยความฝันฉันใด,
คนผู้อยู่ย่อมไม่เห็นชนอันตนรักทำกาละล่วงไปฉันนั้น.
(พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/๔๙๒. ขุ. มหา. ๒๙/๑๕๑,๑๕๒.

เสหิ ทาเรหิ อสนฺตุฏฺโฐ
เวสิยาสุ ปทุสฺสติ
ทุสฺสติ ปรทาเรสุ
ตํ ปราภวโต มุขํ.

ผู้ไม่สันโดษด้วยภริยาของตน ย่อมซุกซนในหญิงแพศยา และ
และประทุษร้ายในภริยาของคนอื่น, นั่นเป็นเหตุแห่งความเสื่อม.
(พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/๓๔๘.

อกฺโกธโน อนุปนาหี
อมกฺขี สุทฺธตํ คโต
สมฺปนฺนทิฏฺฐิ เมธาวี
ตํ ชญฺญา อริโย อิติ.

ผู้ใดไม่โกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่ ถึงความหมดจด
มีทิฏฐิสมบูรณ์ มีปัญญา, พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นอริยะ.
(สารีปุตฺตเถร) ขุ. ปฏิ. ๓๑/๒๔๑.

อกฺโกธสฺส กุโต โกโธ
ทนฺตสฺส สมชีวิโน
สมฺมทญฺญา วิมุตฺตสฺส
อุปสนฺตสฺส ตาทิโน.

ผู้ไม่โกรธ ฝึกตนแล้ว เป็นอยู่สม่ำเสมอ หลุดพ้นเพราะรู้ชอบ
สงบระงับ คงที่ จะมีความโกรธมาแต่ไหน.
(นฺหาตกมุนีเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๓๓๔.

อจฺฉิทฺทวุตฺตึ เมธาวึ
ปญฺญาสีลสมาหิตํ
เนกฺขํ ชมฺโพนทสฺเสว
โก ตํ นินฺทิตุมรหติ.

ใครควรจะติคนฉลาดประพฤติไม่ขาด ตั้งมั่นด้วยปัญญาและศีล
ประดุจแท่งทองชมพูนุท.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๔๕.

อนาคตปฺปชปฺปาย
อตีตสฺสานุโสจนา
เอเตน พาลา สุสฺสนฺติ
นโฬว หริโต ลุโต.

คนเขลาย่อมซูบซีด เพราะคำนึงถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง
เพราะเศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เหมือนต้นอ้อสดที่ถูกตัด.
(พุทฺธ) สํ. ส. ๑๕/๗.

อนุทฺธโต อจปโล
นิปโล สํวุตินฺทฺริโย
กลฺยาณมิตฺโต เมธาวี
ทุกฺขสฺสนฺตกโร สิยา.

คนฉลาด ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่คลอนแคลน มีปัญญา สำรวมอินทรีย์
มีมิตรดี พึงทำที่สุดทุกข์ได้.
(อญฺญาโกณฺฑญฺญเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๓๖๖.

อปฺปสฺสาทา ทุกฺขา กามา
อิติ วิญฺญาย ปณฺฑิโต
อปิ ทิพฺเพสุ กาเมสุ
รตึ โส นาธิคจฺฉติ.

กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก,
บัณฑิตรู้ดังนี้แล้วไม่ใยดีในกามแม้เป็นทิพย์.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๔๐.

อสฺสทฺโธ อกตญฺญู จ
สนฺธิจฺเฉโท จ โย นโร
หตาวกาโส วนฺตาโส
ส เว อุตฺตมโปริโส.

นรชนใด ไม่เชื่อ ( ตามเขาว่า ) รู้จัดพระนิพพาน อันอะไร ๆ ทำไม่ได้
ตัดเงื่อนต่อได้ มีโอกาสอันขจัดแล้ว และคายความหวังแล้ว
ผู้นั้นแล เป็นบุรุษสูงสุด.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๒๘.

อโยเค ยุญฺชมตฺตานํ
โยคสฺมิญฺจ อโยชยํ
อตฺถํ หิตฺวา ปิยคฺคาหี
ปิเหตตฺตานุโยคินํ.

ผู้ประกอบตนในสิ่งที่ไม่ควรประกอบ และไม่ประกอบตนในสิ่งควรประกอบ
ละประโยชน์เสีย ถือตามชอบใจ ย่อมกระหยิ่มต่อ ผู้ประกอบตนเนือง ๆ
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๔๓.

อสตญฺจ สตญฺจ ญตฺวา ธมฺมํ
อชฺฌตฺตํ พหิทฺธา จ สพฺพโลเก
เทวมนุสฺเสหิ จ ปูชิโต โย
โส สงฺคชาลมติจฺจ โส มุนิ.

ผู้ใดรู้ธรรมของอสัตบุรุษและของสัตบุรุษ ทั้งภายใน ทั้งภายนอก
มีเทวดาและมนุษย์บูชาในโลกทั้งปวง ผู้นั้นจึงล่วงข่ายคือเครื่องข้องได้ และเป็นมุนี
(พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/๔๓๒. ขุ. มหา. ๒๙/๔๐๖.

อากาเสว ปทํ นตฺถิ
สมโณ นตฺถิ พาหิโร
สงฺขารา สสฺสตา นตฺถิ
นตฺถิ พุทฺธานมิญฺชิตํ.

สมณะภายนอกไม่มี, สังขารเที่ยงไม่มี,
ความหวั่นไหวของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มี, เหมือนรอยเท้าไม่มีในอากาศ
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๔๙.

อุฏฺฐานวโต สตีมโต
สุจิกมฺมสฺส นิสมฺมการิโน
สญฺญตสฺส จ ธมฺมชีวิโน
อปฺปมตฺตสฺส ยโสภิวฑฺฒติ.

เกียรติยศย่อมเจริญแก่ผู้ขยัน มีสติ มีการงานสะอาด
ใคร่ครวญแล้วจึงทำ สำรวมแล้ว เป็นอยู่โดยธรรม และไม่ประมาท.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๑๘.

อุตฺตมํ ธมฺมตํ ปตฺโต
สพฺพโลเก อนตฺถิโก
อาทิตฺตาว ฆรา มุตฺโต
มรณสฺมึ น โสจติ.

ผู้บรรลุธรรมอย่างสุงสุด ไม่มีความต้องการในโลกทั้งปวง
ย่อมไม่เศร้าโศกในเพราะความตาย เหมือนพ้นจากเรือนถูกไฟไหม้.
(ปาราสริยเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๐.

อุยฺยุญฺชนติ สตีมนฺโต
น นิเกเต รมนฺติ เต
หํสาว ปลฺลลํ หิตฺวา
โอกโมกํ ชหนฺติ เต.

ผู้มีสติย่อมหลีกออก ท่านไม่ยินดีในที่อยู่ ท่านย่อมละที่อยู่ได้
ดุจหงส์ละเปือกตมไปฉะนั้น.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๒๗.

กายมุนึ วาจามุนึ
เจโตมุนิมนาสวํ
มุนึ โมเนยฺยสมฺปนฺนํ
อาหุ สพฺพปหายินํ.

บัณฑิตทั้งหลายกล่าวถึงผู้นิ่งทางกาย นิ่งทางวาจา นิ่งทางใจ
ไม่มีอาสวะ ถึงพร้อมด้วยปัญญา ผู้ละสิ่งทั้งปวงได้ ว่าเป็นมุนี.
(พุทฺธ) องฺ. ติก. ๒๐/๓๕๒.

กายสุจึ วาจาสุจึ
เจโตสุจิมนาสวํ
สุจึ โสเจยฺยสมฺปนฺนํ
อาหุ นินฺหาตปาปกํ.

บัณฑิตกล่าวถึงผู้มีกายสะอาด มีวาจาสะอาด มีใจสะอาด ไม่มีอาสวะ
ถึงพร้อมด้วยความสะอาด ล้างบาปแล้ว ว่าเป็นผู้สะอาด.
(พุทฺธ) องฺ. ติก. ๒๐/๓๕๒.

โกธโน อุปนาหี จ
ปาปมกฺขี จ โย นโร
วิปนฺนทิฏฺฐิ มายาวี
ตํ ชญฺญา วสฺล อิติ.

ผู้ใดมักโกรธ ผูกโกรธไว้ ลบหลู่เขาด้วยความชั่ว
มีความเห็นวิบัติ มีมายา พึงรู้ว่าคนนั้น เป็นคนเลว.
(พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/๓๔๙.

ขตฺติยา พฺราหฺมณา เวสฺสา
สุทฺทา จณฺฑาลปุกฺกุสา
สพฺเพว โสรตา ทนฺตา
สพฺเพว ปรินิพฺพุตา.

กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร จัณฑาล และคนงานชั้นต่ำทั้งปวง
สงบเสงี่ยมแล้ว ฝึกตนแล้ว ก็ปรินิพพานเหมือนกันหมด
(พฺราหฺมณ อุทฺทาลก) ขุ. ชา. ปกิณฺณก. ๒๗/๓๗๖.

-------------------------------------------------------------

หมายเหตุ
บทความ พุทธศาสนสุภาษิต นี้มาจากการเรียบเรียงสุภาษิตในหมวดเดียวกันให้มารวมกัน จากหนังสือ พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ ที่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงเรียบเรียง และหนังสือพุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๒ และเล่ม ๓ ที่ พระมหาทองสืบ จารุวณฺโณ พร้อมด้วยคณะกรรมการ ได้รวบรวมและเรียบเรียงไว้
ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประสงค์จะทราบได้อ่านสุภาษิตในหมวดเดียวกันจากหนังสือทั้ง ๓ ต่อเนื่องกันในครั้งเดียว

เนื่องจากบทความนี้ ผู้เขียนได้เรียบเรียงโดยคัดลอกเนื้อความมาจากเวปของวัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน โดยมิได้ตรวจทานความครบถ้วนถูกต้องจากหนังสือต้นฉบับที่ถูกกล่าวถึง ผู้ที่ประสงค์จะนำไปใช้อ้างอิง กรุณาตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง

คัดลอกจาก เวป //www.doisaengdham.org




Create Date : 30 กรกฎาคม 2556
Last Update : 30 กรกฎาคม 2556 22:37:12 น. 0 comments
Counter : 1409 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

sirivajj
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]




บทความในกลุ่ม ข้อคิด-ธรรมะ ได้ถูกเรียบเรียงขึ้น โดยบางบทความได้คัดลอกและสำเนาภาพมาถ่ายทอดจากหนังสือธรรมะต่างๆ หรือหนังสืออื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ด้วยเจตนาประสงค์จะให้ธรรมะอันเป็นสัจจะและมงคลของพระพุทธศาสนาได้รับการเผยแพร่และเข้าถึงพุทธศาสนิกชนหรือผู้ที่สนใจให้ได้มากที่สุด รวมทั้งให้บทความธรรมะได้ถูกรวบรวมไว้ในรูปแบบที่จะสะดวกแก่การสืบค้นและเข้าถึงในภายหลัง

ผู้ที่ประสงค์จะคัดลอกไปเพื่อประโยชน์ทางพาณิชย์ กรุณาตรวจสอบกับต้นฉบับหรือเจ้าของลิขสิทธิ์ ด้วยครับ
Friends' blogs
[Add sirivajj's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.