Group Blog
 
All Blogs
 
พุทธศาสนสุภาษิต ๑๖.ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล ( ๘ )

พุทธศาสนสุภาษิต

เรียบเรียงจาก หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรณาณวโรรส
และ พระมหาทองสืบ จารุวณฺโณ พร้อมด้วยคณะกรรมการ


--------------------------------------------------------------



๑๖. ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล (ต่อ)

เย จ โข พาลา ทุมฺเมธา
ทุกมฺมนฺตี โมหปารุตา
ตาทิสา ตตฺถ รชฺชนฺติ
มารกฺขิตฺตสฺมิ พนฺธเน.

คนเหล่าใดเขลา มีปัญญาทราม มีความคิดเลว ถูกความหลงปกคลุม
คนเช่นนั้น ย่อมติดเครื่องผูกอันมารทอดไว้นั้น.
(นนฺทกเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๓๑๒.

เย จ สีเลน สมฺปนฺนา
ปญฺญายูปสเม รตา
อารกา วิรตา ธีรา
น โหนฺติ ปรปตฺติยา.

ผู้มีปัญญาเหล่าใด ประกอบด้วยศีล ยินดีในความสงบด้วยปัญญา
ผู้มีปัญญาเหล่านั้น เว้นไกลจากความชั่วแล้ว ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น.
(โพธิสตฺต) ขุ. ชา. จตุกฺก. ๒๗/๑๔๓.

เย ฌานปสุตา ธีรา
เนกฺขมฺมูปสเม รตา
เทวาปิ เตสํ ปิหยนฺติ
สมฺพุทฺธานํ สตีมตํ.

ผู้มีปัญญาเหล่าใด ขวนขวายในฌาน ยินดีในความสงบอันเกิดจากเนกขัมมะ
เทวดาทั้งหลายก็พอใจต่อผู้มีปัญญา ผู้รู้ดีแล้ว มีสติเหล่านั้น
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๓๙.

เยสํ ราโค จ โทโส จ
อวิชฺชา จ วิราชิตา
ตาที ตตฺถ น รชฺชนฺติ
ฉินฺนสุตฺตา อพนฺธนา.

ราคะ โทสะ และอวิชชา อันผู้ใดหลุดพ้นแล้ว,
ผู้นั้น เป็นผู้คงที่มีสายล่ามขาดแล้ว ไม่มีเครื่องผูก ย่อมไม่ติดในที่นั้น.
(นนฺทเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๓๑๒.

โย จ คุตฺเตน จิตฺเตน
สุณาติ ชินสาสนํ
เขเปตฺวา อาสเว สพฺเพ
สจฺฉิกตฺวา อกุปฺปตํ
ปปฺปุยฺย ปรมํ สนฺตึ
ปรินิพฺพาติ อนาสโว.

ผู้ใดมีจิตคุ้มครองแล้ว ฟังคำสอนของพระชินเจ้า
ผู้นั้นชื่อว่า ให้อาสวะทั้งปวงสิ้นไป ทำให้แจ้งซึ่งอกุปปธรรม,
บรรลุความสงบอย่างยิ่ง ไม่มีอาสวะ ย่อมดับสนิท.
(ยสทตฺตเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๓๒๓.

โย เตสุ คุตฺโต วิทิตินฺทฺริโย จเร
ธมฺเม ฐิโต อชฺชวมทฺทเว รโต
สงฺคาติโค สพฺพทุกฺขปฺปหีโน
น ลิมฺปตี ทิฏฺฐสุเตสุ ธีโร.

ผู้ใด ระมัดระวังอินทรีย์เหล่านั้น รู้จักอินทรีย์ ๖ ตั้งอยู่ในธรรม
ยินดีในความซื่อตรงและความอ่อนโยน ล่วงกิเลสเครื่องข้องเสียได้
ละทุกข์ได้ทั้งหมดเที่ยวไป, ผู้นั้น เป็นธีรชน ย่อมไม่ติดในสิ่งที่เห็นแล้วและได้ฟังแล้ว
(พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/๓๗๔.

โรสโก กทริโย จ
ปาปิจฺโฉ มจฺฉรี สโฐ
อหิริโก อฺนตฺตปฺปี
ตํ ชญฺญา วสฺโล อิติ.

ผู้ใดเป็นคนขัดเคือง เหนียวแน่น ปรารถนาลามก ตระหนี่
โอ้อวด ไม่ละอาย และไม่เกรงกลัวบาป พึงรู้ว่า ผู้นั้นเป็นคนเลว.
(พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/๓๕๑.

ลาภกมฺยา น สิกฺขติ
อลาเภ จ น กุปฺปติ
อวิรุทฺโธ จ ตณฺหาย
รเส จ นานุคิชฺฌติ.

บัณฑิตไม่ศึกษา เพราะอยากได้ลาภ, ไม่ขุ่นเคือง เพราะเสื่อมลาภ
ไม่ยินดียินร้ายเพราะตัณหา และไม่ติดในรส.
(พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/๕๐๑. ขุ. มหา. ๒๙/๒๘๔.

สงฺขาย โลกสฺมิ ปโรปรานิ
ยสฺสิญฺชตํ ขตฺถิ กุหิญฺจิ โลเก
สนฺโต วิธูโม อนีโฆ นิราโส
อตาริ โส ชาติชรนฺติ พฺรูมิ.

ผู้ใดพิจารณาเห็นความยิ่งและหย่อนในโลกแล้ว
ไม่มีความหวั่นไหวในอารมณ์ไหน ๆ ในโลก, เรากล่าวว่า ผู้นั้นเป็นผู้สงบ
ไม่มีกิเลสดุจควันไฟ ไม่มีทุกข์ ปราศจากตัณหา ข้ามชาติชราได้.
(พุทฺธ) องฺ. ติก. ๒๐/๑๖๙.

สพฺพทา เว สุขํ เสติ
พฺราหฺมโณ ปรินิพฺพุโต
โย น ลิมฺปติ กาเมสุ
สีติภูโต นิรูปธิ.

ผู้ใดเป็นผู้เยือกเย็น ไม่มีอุปธิ ไม่ติดในกาม,
ผู้นั้นเป็นพราหมณ์ เป็นผู้ดับแล้ว อยู่เป็นสุขทุกเมื่อ.
(พุทฺธ) สํ. ส. ๑๕/๓๑๒.

สพฺพโส นามรูปสฺมึ
ยสฺส นตฺถิ มมายิตํ
อสตา จ น โสจติ
ส เว ภิกฺขูติ วุจฺจติ.

ผู้ใดไม่มีความยึดถือว่าของเราในนามรูปโดยประการทั้งปวง
และผู้ใดย่อมไม่เศร้าโศกเพราะนามรูปที่ไม่มีอยู่, ผู้นั้นแลท่านเรียกว่าภิกษุ
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๖๕.

สพฺพา อาสตฺติโย เฉตฺวา
วิเนยฺย หทเย ทรํ
อุปสนฺโต สุขํ เสติ
สนฺตึ ปปฺปุยฺย เจตโส.

ผู้ใดตัดความข้องทั้งปวงแล้ว บรรเทาความกระวนกระวายใจได้
ผู้นั้น ถึงความสงบใจ เป็นผู้สงบระงับอยู่เป็นสุข.
(พุทฺธ) องฺ. ติก. ๒๐/๑๗๕.

สพฺเพสุ กาเมสุ โย วีตราโค
อากิญฺจญฺญํ นิสฺสิโต หิตฺวมญฺญํ
สญฺญาวิโมกฺเข ปรเมธิมุตฺโต
ติฏฺเฐยฺย โส ตตฺถ อนานุยายี.

ผู้ใดปราศจากความติดในกามทั้งปวง ล่วงฌานอื่นได้แล้ว
อาศัยอากิญจัญญายตนฌาน น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์อันประเสริฐ,
ผู้นั้นจะพึงในอากิญจัญญายตนฌานนั้น ไม่มีเสื่อม.
(พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/๕๓๘. ขุ. จู. ๓๐/๑๓๓.

ส วีตราโค ส วิเนยฺย โทสํ
เมตฺตจิตฺตํ ภาวเยฺย อปฺปมาณํ
สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย ทณฺฑํ
อนินฺทิโต พฺรหฺมมุเปติ ฐานํ.

ผู้ปราศจากราคะ และกำจัดโทสะได้แล้วนั้น พึงเจริญเมตตาจิตไม่มีประมาณ
ผู้นั้น งดอาชญาในสัตว์ทั้งปวงแล้ว ไม่ถูกติเตียน ย่อมเข้าถึงสถานอันประเสริฐ
(สรภงฺคโพธิสตฺต) ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ๒๗/๕๔๒.

โส อุภนฺตมภิญฺญาย
มชฺเฌ มนฺตา น ลิมฺปติ
ตํ พฺรูมิ มหาปุริโสติ
โส อิธ สิพฺพนิมจฺจคา.

ผู้ (ดับกิเลสได้แล้วหมดความหวั่นไหว) นั้น รู้ที่สุดทั้ง ๒ แล้ว
ย่อมไม่ติดในท่ามกลางด้วยปัญญา, เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นมหาบุรุษ
ผู้นั้นละตัณหาเครื่องเย็บร้อยใจในโลกนี้ได้แล้ว.
(พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/๕๓๒. ขุ. จู. ๓๐/๓๕.

โสกปริเทวมจฺฉรํ
น ชหนฺติ คิทฺธา มมายิเต
ตสฺมา มุนโย ปริคฺคหํ
หิตฺวา อจรึสุ เขมทสฺสิโน.

ผู้ติดในสิ่งที่ยึดถือว่าของเรา ย่อมละความโศกเศร้า ความรำพันและความตระหนี่ไม่ได้
เพราะฉะนั้น มุนีทั้งหลายผู้เห็นความปลอดภัย จึงละความยึดถือไปได้
(พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/๑๙๓. ขุ. มหา. ๒๙/๑๕๔.

โสจติ ปุตฺเตหิ ปุตฺติมา
โคมิโก โคหิ ตเถว โสจติ
อุปธีหิ นรสฺส โสจนา
น หิ โส โสจติ โย นิรูปธิ.

ผู้มีบุตรย่อมเศร้าโศกเพราะบุตร, ผู้มีโคย่อมเศร้าโศกเพราะโคเหมือนกัน
นรชนมีความเศร้าโศกเพราะอุปธิ, ผู้ใด ไม่มีอุปธิ ผู้นั้นไม่ต้องเศร้าโศกเลย
(พุทฺธ) สํ. ส. ๑๕/๙.

-------------------------------------------------------------

หมายเหตุ
บทความ พุทธศาสนสุภาษิต นี้มาจากการเรียบเรียงสุภาษิตในหมวดเดียวกันให้มารวมกัน จากหนังสือ พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ ที่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงเรียบเรียง และหนังสือพุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๒ และเล่ม ๓ ที่ พระมหาทองสืบ จารุวณฺโณ พร้อมด้วยคณะกรรมการ ได้รวบรวมและเรียบเรียงไว้
ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประสงค์จะทราบได้อ่านสุภาษิตในหมวดเดียวกันจากหนังสือทั้ง ๓ ต่อเนื่องกันในครั้งเดียว

เนื่องจากบทความนี้ ผู้เขียนได้เรียบเรียงโดยคัดลอกเนื้อความมาจากเวปของวัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน โดยมิได้ตรวจทานความครบถ้วนถูกต้องจากหนังสือต้นฉบับที่ถูกกล่าวถึง ผู้ที่ประสงค์จะนำไปใช้อ้างอิง กรุณาตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง

คัดลอกจาก เวป //www.doisaengdham.org



Create Date : 14 สิงหาคม 2556
Last Update : 14 สิงหาคม 2556 5:22:24 น. 0 comments
Counter : 1447 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

sirivajj
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]




บทความในกลุ่ม ข้อคิด-ธรรมะ ได้ถูกเรียบเรียงขึ้น โดยบางบทความได้คัดลอกและสำเนาภาพมาถ่ายทอดจากหนังสือธรรมะต่างๆ หรือหนังสืออื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ด้วยเจตนาประสงค์จะให้ธรรมะอันเป็นสัจจะและมงคลของพระพุทธศาสนาได้รับการเผยแพร่และเข้าถึงพุทธศาสนิกชนหรือผู้ที่สนใจให้ได้มากที่สุด รวมทั้งให้บทความธรรมะได้ถูกรวบรวมไว้ในรูปแบบที่จะสะดวกแก่การสืบค้นและเข้าถึงในภายหลัง

ผู้ที่ประสงค์จะคัดลอกไปเพื่อประโยชน์ทางพาณิชย์ กรุณาตรวจสอบกับต้นฉบับหรือเจ้าของลิขสิทธิ์ ด้วยครับ
Friends' blogs
[Add sirivajj's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.