Group Blog
 
All Blogs
 

ขั้นตอนการสร้างโบสถ์ (ฉบับปรับปรุง)- น้อมเศียรเกล้า

ขั้นตอนการสร้างโบสุถ์ -น้อมเศียรเกล้า (ฉบับปรับปรุง)

คำอธิบาย: ภาพโบสถ์หลังเก่าและใหม่วัดชมภูวิเวก จ.นนทบุรี
Copy of DSC_0348.jpg
:b48: ว่าด้วยการสร้างโบสถ์โดยสังเขป

 ช่างภาพ : @Single Mind for Peace
รวบรวมและเรียบเรียงโดย : น้อมเศียรเกล้า


กล่าวกันว่าการสร้างโบสถ์นั้นจะต้องพิถีพิถันเลือกพื้นที่เป็นพิเศษ พื้นที่นั้นจะต้องบริสุทธิ์สะอาดปราศจากมลทินทั้งปวง อันที่จริงนั้นการก่อสร้างใดๆ
ก็ตามในพระพุทธศาสนา มักจะมีการเลือกพื้นที่ที่สะอาดบริสุทธิ์ด้วยกันทั้งสิ้น

แม้แต่องค์พระเจดีย์เองก็ปรากฏกล่าวถึงในตำนานโบราณเสมอว่า ในการเลือกที่สร้างนั้นต้องพิจารณาแม้เนื้อดิน ตลอดจนกลิ่นและสีของดินด้วยซ้ำไป เช่น ที่มีกล่าวไว้ในคัมภีร์ถูปวงศ์ ตำนานว่าด้วยการสร้างพระสถูปเจดีย์ เป็นต้น
Smiley
Smiley
Smiley
คำอธิบาย: โบสถ์ใหม่วัดปรางค์หลวง ภาพโดย @Single Mind for Peace
Copy of DSC_0437.jpg
ที่กล่าวมานี้เป็นการเลือกชนิดดินในทางด้านวัตถุเท่านั้น ดังได้กล่าวมาแล้ว สำหรับการสร้างโบสถ์นั้นต้องพิจารณาถึง ความบริสุทธิ์ของพื้นดินให้ลึกซึ้งยิ่งไปกว่านั้น สถานที่ที่จะสร้างโบสถ์จะต้องมีความบริสุทธิ์ในการใช้สอยก่อนหน้านี้มาด้วย เช่น

-ไม่เคยเป็นสุสานหรือเคยเป็นเชิงตะกอนมาก่อน
-ไม่เคยเป็นที่ประหาร
-หรือไม่เคยเป็นที่ใดๆ ที่มีการใช้งานที่เป็นอัปมงคลมาก่อน

โบสถ์ที่สร้างในน้ำในกรณีที่ต้องการความ บริสุทธิ์ของพื้นที่ปลูกสร้างเป็นพิเศษ ตัวโบสถ์จะต้องอยู่ห่างจากฝั่ง ชั่วระยะวักน้ำสาดไม่ถึง และเมื่อพระภิกษุ ข้ามจากฝั่งมายังโบสถ์แล้ว จะต้อง ชักสะพานออกไม่ให้มีสิ่งเชื่อมต่อระหว่าง ฝั่งกับตัวโบสถ์
Smiley
Smiley
Smiley

คำอธิบาย: งานสร้างโบสถ์วัดปรางค์หลวง นนทบุรี ภาพ :@Single Mind for Peace
DSC_0452.jpg

และในการสร้างโบสถ์ใหม่ทุกครั้ง พระสงฆ์จะต้องประกอบพิธีถอนความไม่บริสุทธ์ิใดๆ ที่อาจมีในพื้นที่นั้นเสียก่อน

ในการสวดถอนของคณะสงฆ์นั้น พระภิกษุจะห่างกันในระยะหัตถบาสจนเต็มพื้นที่ที่จะต้องการสวดถอน ถ้าไม่อาจหาพื้นดินบริสุทธิ์ได้ก็จะกระทำสังฆกรรมกันกลางน้ำ โดยชักสะพานหรือสิ่งที่ทอดข้ามติดต่อระหว่างโบสถ์น้ำหรืออุทกเขปกับฝั่งออก เพื่อตัดความเชื่อมโยงระหว่างพื้นดินที่ไม่บริสุทธิ์กับแพ หรือเรือที่ใช้ทำสังฆกรรม ในกรณีที่ใช้โบสถ์เก่าก็มักจะทำให้บริสุทธิ์ขึ้นมาใหม่ ด้วยการสวดและผูกสีมาทับซ้อนของเดิม ดังนั้นเราจึงเห็นวัดโบราณบางวัด มีหลักสีมาสองหรือสามหลัก
Smiley
Smiley
Smiley

คำอธิบาย: ลูกนิมิตซึ่งถูกเตรียมไว้ ภาพจากวัดขุนสมุทรจีนโดย@Single Minde for Peace
Y8615360-3.jpg

ใบสีมาและ ลูกนิมิต

เมื่อการสร้างโบสถ์ขึ้นเป็นอาคารสำเร็จเรียบร้อยแล้ว สงฆ์ยังจะต้องทำพิธีผูกพัทธสีมา คือตั้ง “ใบสีมา” เป็นเครื่องหมายเขตบริสุทธิ์ล้อมรอบอาคารที่เป็นตัวโบสถ์อีกชั้นหนึ่ง เมื่อเสร็จพิธีผูกพัทธสีมาแล้วจึงถือว่าใช้โบสถ์นั้นทำสังฆกรรมได้ วัตถุที่ใช้กำหนดเขตสีมานั้นเรียกว่า “นิมิต” ซึ่งเป็นวัตถุที่นำมาวางเป็นเครื่องหมายให้คนเห็นเป็นหลักฐาน เช่นเดียวกับการกำหนดหมุดโฉนดที่ดินในปัจจุบัน ในอดีตนั้นเมื่อพระสงฆ์ประกาศเขตอุโบสถและ ไม่มีผู้ค้านกรรมสิทธิ์แล้วจึงฝังลูกนิมิตเป็นที่หมาย และนิมิตนั้นต้องไม่เป็นสิ่งที่เคลื่อนย้ายได้ง่าย ปัจจุบันนี้จึงนิยมฝังลูกหินกลมลงในดิน ตรงที่ที่ต้องการกำหนดเขต
Smiley
Smiley
Smiley

คำอธิบาย: ตัวอย่างภาพใบสีมา : @Single Mind for Peace
Copy of DSC_0362.jpg

 

ใบสีมา ก็คือเครื่องหมายแสดงให้รู้ว่าใต้ดินตรงนั้นมีลูกนิมิตฝังอยู่ในพุทธบัญญัติเดิมได้กำหนดไว้ว่านิมิตอาจใช้แสดงได้ด้วยวัตถุ ๘ ชนิด คือ ภูเขา ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก หนทาง แม่น้ำ หรือแอ่งน้ำ

แต่ในปัจจุบันนี้ไม่มีความสะดวกที่จะใช้สิ่งเหล่านี้ กำหนดเขตสิ่งปลูกสร้าง เพราะที่ดินสำหรับสร้างวัดมีขนาดเล็ก ต้องการกำหนดจุดที่แน่นอนเพื่อป้องกันกรณีพิพาท จากเจ้าของที่ดินที่มีอาณาเขตติดต่อกัน ในสมัยพุทธกาลนั้นอาจกำหนดจากสิ่งที่ระบุไว้ในพุทธบัญญัติได้เพราะ ที่ดินส่วนใหญ่ยังว่างเปล่าปราศจากเจ้าของครอบครอง การกำหนดเขตอารามก็ชี้เอาสิ่งที่มีขนาดใหญ่เป็นที่หมายได้สะดวก

สำหรับการใช้ใบเสมา ๒ ใบซ้อน ปักเป็นอาณาเขตกระทำสังฆกรรม รอบโบสถ์นั้น มีทางสันนิษฐานว่าโบสถ์เดิมเป็นโบสถ์ ที่ใช้ในการทำสังฆกรรมของนิกายหนึ่ง ต่อมาเมื่อสงฆ์ในวัดนั้นเปลี่ยนเป็นนิกายอื่น จึงได้มีการผูกใบเสมาขึ้นใหม่ซ้อน กับเสมาเดิม หรือในอีกกรณีหนึ่ง วัดเดิมซึ่งเป็นวัดที่ราษฎรสร้างขึ้น ได้รับการอุปถัมภ์เป็นวัดหลวง จึงมีการผูกเสมาหลวงขึ้นใหม่ซ้อน กับเสมาเดิม
Smiley
Smiley
Smiley

คำอธิบาย: สีมาชัยหน้าโบสถ์ ซึ่งจะได้รับการบูชาจากผู้ที่จะเข้าพิธีอุปสมบททุกครั้ง
DSC_0440.jpg

 

ถือกันว่าเขตสีมานี้เป็นเขตที่สำคัญสุดของวัด เพราะในการกระทำสังฆกรรมในบางกรณี คณะภิกษุหรือสงฆ์ผู้ประกอบพิธีเท่านั้นจึงจะเข้าไปในเขตสีมาได้ ผู้อื่นจะย่างกรายล้ำเข้าไปไม่ได้เลย หากมีผู้ละเมิดแล้ว สังฆกรรมนั้นจะไม่สมบูรณ์ จะต้องทำใหม่

ดังนั้นบางวัดที่เข้มงวดในเรื่องนี้จึงนิยมผูกสีมา ไว้ชิดกับตัวโบสถ์ที่ริมผนังด้านนอกเสียทีเดียว เพื่อขจัดปัญหา แต่ก็มีบางวัดที่ทำสีมาติดกับกำแพงรอบนอก ล้อมเอาพุทธาวาสเป็นเขตสีมาไว้ทั้งหมด ดังเช่นวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ในกรุงเทพมหานคร สีมาที่กำหนดเขตไว้กว้างเช่นนี้นิยมเรียกกันว่า “มหาสีมา”

ดังนั้นเมื่อจะกระทำสังฆกรรมกันครั้งใด ก็มักจะปิดประตูเขตพุทธาวาสไว้ทั้งหมดจนกว่าจะเสร็จพิธีสังฆกรรม เขตสีมานั้นกำหนดแนวจากหลักสีมาที่ตั้งไว้ล้อมรอบตัวอาคารที่เป็นโบสถ์ เพราะโดยทั่วไปโบสถ์มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ดังนั้นหลักสีมาจึงจำเป็นจะต้องมีอย่างน้อย ๔ หลัก เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ได้ครบถ้วน แต่ถ้าเป็นโบสถ์ขนาดใหญ่ ก็อาจกำหนดให้มีได้มากกว่า ๔ หลักได้ เช่นอาจมีได้ถึง ๘ หรือ ๑๐ หลักเพื่อให้กำหนดแนวเขตได้ชัด โดยเฉพาะหลักสีมาที่อยู่กลางด้านหน้าของโบสถ์นั้นถือว่า เป็นสีมาสำคัญ นิยมเรียกกันว่า “สีมาชัย” (เสมานี้จะได้รับการบูชาจากผู้ที่จะเข้าพิธีอุปสมบททุกครั้ง)
Smiley
Smiley
Smiley

คำอธิบาย: พระประธานจะทอดพระเนตรลงตรงพื้นโบสถ์ ตำแหน่งที่มีลูกนิมิตฝังไว้
Copy of DSC_0004.jpg

ในบางกรณีนั้น อาจกำหนดหลุมนิมิตเพิ่มขึ้นอีกหลุมหนึ่ง ภายในโบสถ์ที่หน้าพระประธานตรงจุดที่พระพุทธปฏิมาทอดพระเนตรลงสู่พื้นโบสถ์
Smiley
Smiley
Smiley

คำอธิบาย: ตัวอย่างรูปแบบของโบสถ์และวิหาร
แบบของโบสถ์และวิหาร.jpg

 

คำอธิบาย: หลักสีมา ภาพจาก@Single Mind for Peace
DSC_3262.jpg
โบสถ์ก็เช่นเดียวกับวิหาร ซึ่งมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมซึ่งแตกต่างกันไป ตามภูมิภาคและประเทศ
Smiley
Smiley
Smiley

คำอธิบาย: โบสถ์มหาอุตม์วัดโคกคงสมโภชน์ ภาพจากไทยรัฐ
630.jpg

 

การสร้างโบสถ์บางแบบในอดีตมีลักษณะปิดทึบไม่มีช่องลมและหน้าต่าง มีแต่ประตูเข้าออกเพียงด้านหน้าด้านเดียว โบสถ์แบบนี้เป็นแบบที่อับทึบไม่ถูกสุขลักษณะก็จริง แต่ก็เป็นที่นิยมสร้างกันสำหรับวัดที่มีประวัติขลังทางอาคม ส่วนมากโบสถ์ที่มีลักษณะเช่นนี้มักจะเป็นโบสถ์ของวัดฝ่ายอรัญวาสี โบสถ์ชนิดนี้เรียกว่า “โบสถ์มหาอุตม์” มีวิธีการสร้างโบสถ์ในลักษณะเช่นนี้ ก็เพื่อป้องกันมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดเล็ดลอดเข้าไปในระหว่างกระทำพิธีกรรมได้ และเพื่อช่วยให้พระภิกษุที่ประกอบพิธีมีสมาธิแน่วแน่ เพราะตัวโบสถ์จะป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกได้ดี
Smiley
Smiley
Smiley

คำอธิบาย: กำแพงแก้วล้อมโบสถ์ ภาพโดย@Single Mind for Peace
Copy of DSC_0095.jpg

 

โบสถ์ก็เช่นเดียวกับวิหาร มักนิยมสร้างกำแพงแก้วล้อมรอบนอกสีมา การทำกำแพงแก้วนั้นเข้าใจว่าทำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องประดับเกียรติของอาคาร ในคติเดียวกับการทำกำแพงแก้วล้อมรอบวิหารซึ่งสันนิษฐานว่า มีที่มาจากสุขาวดีสูตรของมหายาน


อ้างอิง : หนังสือลักษณะไทย




 

Create Date : 31 พฤษภาคม 2555    
Last Update : 31 พฤษภาคม 2555 17:17:55 น.
Counter : 1463 Pageviews.  

จิตรกรรมฝาผนังของวัดไทย - น้อมเศียรเกล้า


ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดเตย @single Mind for Peace


งานจิตรกรรมฝาผนังในวัด ของประเทศไทย เขื่อว่าได้รับอิทธิพลมากจากศิลปะ ประเทศอินเดีย โดยเริ่มปรากฏมีแต่สมัยใด ยังไม่มีหลักฐานปรากฏชัดเจนมากนัก แต่สันนิษฐานได้ว่า อาจเริ่มมีในสมัยสุโขทัย ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงลายเส้น และสีเอกรงค์ที่วาดเลียนแบบประติมากรรมในสมัยสุโขทัย เช่น จิตรกรรมที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว ศรีสัชนาลัย เป็นต้น



ภาพจิตรกรรมฝาผนังช่องหน้าต่างวัดเตย


จิตรกรรมฝาผนังในประเทศไทยมีวิวัฒนการเรื่อยมา จนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จึงถือว่าเป็นยุคทองของงานจิตรกรรมไทย เพราะได้วิวัฒนาการจนมีแบบแผนของตนเองอย่างสมบูรณ์ในที่สุด

โดยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้นำ พุทธประวัติ และเรื่องราวจากชาดกมาเขียนบนผนังระหว่างช่องหน้าต่าง ผนังเหนือช่องหน้าต่างเขียนรูปเทพชุมนุม ฯลฯ นิยมให้หลายสี โดยเน้นสีเข้ม ปิดทองแพรวพราว (วิบูลย์, 2549)

หรือบ้างก็เขียนเป็นประเพณีนิยมของไทย เช่นภาพชีวิตชาววัง ภาพชีวิตชาวบ้าน โขน หรือภาพสถาปัตยกรรมต่างๆ

สำหรับงานจิตรกรรมไทยในวัด ศิลปินมักจะให้ความสำคัญกับสุนทริยภาพ และพุทธิปัญญาเป็นหลัก ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อประโบชน์ทางพระพุทธศาสนา มากกว่าตอบสนองความรู้สึกนึกคิดของศิลปินเอง



ภาพนั่งร้านที่ต่อขึ้นสูงเพื่อให้ช่างจิตรกรรมขึ้นไปทำงาน

การศึกษาส่วนประกอบของสีที่ใช้ในภาพจิตรกรรมยุคต้นๆ พบว่าช่างไทย ได้นำส่วนผสมที่ได้ในท้องถิ่นมาใช้เป็นส่วนประกอบของสี เช่น ใบขี้เหล็ก เม็ดมะขาม ยางมะขวิด ลำเจียก ฯลฯ และวาดโดยพู่กันซึ่งทำจากขนวัว หรือ ดอกกระดังงา ก่อนที่จะเริ่มนำผงสีจากจากประเทศจีน เข้ามาใช้ในสมัยที่การค้าขายกับต่างประเทศเริ่มเฟื่องฟูมากยิ่งขึ้น


งานจิตรกรรมฝาผนังเป็นพุทธศิลป์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในวัด

 

ภาพจิตรกรรมฝาผนังในวัด นอกจากจะให้ความสวยงามกับพุทธสถานแล้ว ยังถือว่าเป็นหลักฐานที่สำคัญทางรูปธรรมของประวัติศาสตร์ ทั้งในแง่ความเป็นมาของพระพุทธศาสนา และขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น การแต่งกาย ทรงผม วิถีชีวิตประจำวัน และค่านิยมของผู้คนในสมัยนั้นๆ


อ้างอิง

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2549). 5 นาทีกับศิลปะไทย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คพับลิเคชั่น.
Chareonla , C. (1981). Main Aspect of Buddhist Arts of Thailand. Master of Arts Degree.Magadh University, Gaya.


ขอขอบพระคุณภาพจาก @Single Mind for Peace.Smiley
รวบรวมและเรียบเรียงโดย : น้อมเศียรเกล้า

 




 

Create Date : 27 พฤษภาคม 2555    
Last Update : 28 พฤษภาคม 2555 11:41:12 น.
Counter : 4683 Pageviews.  

“พิธีพุทธาภิเษกพระ”-คืออะไร เพื่ออะไร เป็นพุทธพิธีหรือไม่ เริ่มมีสมัยใด ต่างกับปลุกเสกอย่างไร ?






ถาม: สมัยนี้มีการทำพุทธาภิเษกกันมาก การทำพิธีนี้มีมาแต่สมัยใด ท่านผู้ใดทำก่อน ชื่ออะไร วันเดือนปีเท่าใด กระผมสงสัยว่าเป็นพราหมณ์ หรือพทธ พระท่านสวด ๔ รูป เรียกว่าสวดอะไร พระท่านบริกรรมอะไร การกระทำพุทธาภิเษก กับปลุกเสก ต่างกันอย่างไร เพื่ออะไร ?



ตอบ :


พุทธาภิเษก ในแง่ของเจตนารมณ์ เราจะพบว่า คือการประชุมกันเพื่อตกลงยอมรับวัตถุที่นำเข้าสู่พิธี ให้เป็นวัตถุที่เคารพสักการะ เป็นเครื่องหมายแห่ง ขวัญ กำลังใจ และเพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความเลือมใส ของคนที่ยอมรับถือสมมุติสัจจะเหล่านั้น ทำนองเดียวกับเงื่อนไขต่างๆ เช่น เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ประธานาธิบดีเป็นต้น

ตำแหน่งของท่านเหล่านั้นจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมือ ได้ผ่านกรรมวิธี ขั้นตอนตามหลักการที่กำหนดไว้ ท่านจะเป็นอะไรมาก่อนไม่สำคัญ แต่เมื่อผ่านขั้นตอนต่างๆที่กำหนดขึ้นกันโดยถูกต้องแล้ว ทุกคนจะต้องยอมรับนับถือ ฐานะที่สมมุติแต่งตั้งกันนั้น

พุทธาภิเษก ก็มีลักษณะอย่างนั้น เดิมที่เดียววัตถุนั้นเป็นเพียงทองเหลือง ทองแดง นาค เงิน ทราย เหล็กเป็นต้น นายช่างที่ดีจะทำการหล่อ แกะ สลัก ปั้น จึงถือว่าตอนนั้นไม่เป็นพระพุทธรูป เขาจึงสามารถทำหน้านี้ในการตบแต่งได้ เมื่อผ่านพิธีแล้ว คืออภิเษกวัตถุนั้นเป็นพระพุทธปฏิมา กำหนดหมายว่ารูปแทนพระพุทธเจ้าถูกต้องตามกรรมวิธีที่กำหนด ศาสนิกชนที่ดีต้องยอมรับสมมุติสัจจะเหล่านี้

ประวัติของการทำพิธีพุทธาภิเษก

การทำพิธีพุทธาภิเษกเริ่มต้นเมื่อใด ไม่มีใครทราบ แต่คงเริ่มทำกันมานานแล้ว

พิธีพุทธาภิเษกจะเป็นประเพณี พิธีกรรมของใครมาก่อนก็ตาม แต่ปัจจุบันนั้น เป็นของพุทธไปเรียบร้อยแล้ว แม้จะมีพื้นฐานอะไรเป็นพรามณ์บ้างก็ไม่ควรไปถือว่าเป็นเรื่องเสียหายอะไร แต่การใดก็ตามเมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นประโยชน์แก่คนที่รู้จักใช้อยู่ จะเป็นของใครมาก่อนไม่เห็นสำคัญอะไร

พิธีพุทธาภิเษก

การที่พระ 4 รูปมาสวดนั้นท่านเรียกว่า พุทธาภิเษก อันเป็นการแสดงถึงความรู้สึกศรัทธาเชื่อมั่นในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ของผู้ร่วมพิธี พร้อมกับพรรณาพุทธประวัติ อานุภาพของพระพุทธเจ้า จากนั้นจะเป็นการสวดภาณวาร ก็คือสูตรที่มีประวัติความเป็นมา ในทางขลัง ศักดิ์สิทธิ์ มีอานุภาพในการช่วยเหลือคนให้หลุดพ้น จากทุกข์ ภัย โรค

ท่านที่นั่งบริกรรมนั้น ท่านจะว่าอะไรก็เป็นเรื่องของแต่ละท่าน สรุปแล้วคือท่านนั่งทำความสงบด้วยการบริกรรม สมาธิเพื่อแผ่พลังจิต คาถา มนตร์ ที่ท่านสาธยาย ให้เป็นอานุภาพแก่วัตถุมงคลที่นำมาทำพิธี

ท่านที่บริกรรมอาจเรียกว่า ปลุกเสก ก็ได้ แต่ปลุกเสก ส่วนมากเน้นไปที่ปลุกเสกผลงาน ที่ผ่านการทำพิธีพุทธาภิเษกมาแล้ว สรุปว่า ปลุกเสกบางอย่างมีอยู่ในพุทธาภิเษก แต่พุทธาภิเษกบางอย่างไม่ใช่การปลุกเสก


ที่มา : หนังสือข้อข้องใจผุ้ใผ่ธรรม
โดยพระโสภณคณาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโน)
วัดบวรนิเวศวิหาร



ขอขอบพระคุณภาพจาก @Single Mind for Peace




 

Create Date : 24 พฤษภาคม 2555    
Last Update : 24 พฤษภาคม 2555 18:47:25 น.
Counter : 5157 Pageviews.  

หอไตร..........."ธรรมเจดีย์" ที่ควรบูชาและรักษา

เรียบเรียงโดย : น้อมเศียรเกล้า

Smiley

ความเป็นมาและความสำคัญของหอไตร

หอไตร คืออาคารที่สร้างขึ้นเพือใช้เป็นทีเก็บพระไตรปิฎกคำว่า "หอ"หมายถึงอาคารประเภทหนึ่งส่วนคำว่า"ไตร"หมายถึงพระไตรปิฎกบางครั้งบางแห่งก็เรียกว่าหอธรรมหรือหอพระธรรมถ้าเป็นหอไตรที่สร้างในเขตพระราชฐานก็จะเรียกว่าหอพระมณเฑียรธรรม

หอไตรไม่ได้ใช้เก็บเฉพาะพระไตรปิฎกเท่านั้นบางแห่งใช้เก็บพระฎีกาพระอรรถกธาจารย์และพระธรรมเทศนาอื่นๆ กฎหมาย และตำรายาเป็นต้น สำหรับบางแห่งหอไตรใช้เป็นที่สำหรับนั่งอ่านหรือคัดลอกพระธรรมหอไตรจึงเปรียบได้กับห้องสมุดของวัดซึ่งใช้เป็นห้องสมุดสำหรับพระสงฆ์

ประโยชน์หลักของหอไตรจึงสามารถแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือ หนึ่งสร้างขึ้นเพื่อเคารพบูชาและใช้เก็บพระไตรปิฏก และสองสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยแต่เนื่องจากปัจจุบันมีการบันทึกพระไตรปิฏกและพระธรรมคำสอนลงในสื่ออิเล็คทรอนิคก์ต่างๆ ซึ่งการเก็บรักษาทำได้ง่ายมาก การใช้สอยหอไตรจึงค่อยๆลดบทบาทลงไป เหลือไว้แต่เพียงประโยชน์เชิงสัญลักษณ์ที่สร้างไว้เพื่อเป็นที่เคารพบูชาเท่านั้น

ตำแหน่งที่ตั้งของหอไตร

หอไตรสมัยสุโขทัย เชื่อว่าโครงสร้างมีขนาดเล็ก และตั้งอยู่กลางสระ เช่นเดียวกับหอไตรสมัยอยุธยา สำหรับยุคต้นรัตนโกสินทร์สร้างขึ้นในเขตพุทธวาส โดยตั้งห่างจากพระอุโบสถไม่ไกลนัก ยกเว้นหอพระมณเฑียรธรรม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม อยู่ในเขตพัทธสีมา

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ได้มีการสร้างหอไตรห่างออกไปจากเขตพุทธาวาส โดยสร้างขึ้นในเขตสังฆาวาสเพื่อให้พระได้ใช้งานได้สะดวก โดยตำแหน่งที่ตั้งของหอไตรไม่มีการวางกฎเกณฑ์ที่ตายตัว สำหรับวัดขนาดใหญ่จะมีการสร้างหอไตรไว้มากกว่าหนึ่งแห่ง เช่นวัดพระเชตุพนฯมีการสร้างหอไตรถึง 4 แห่งประจำมุมของเขตสังฆาวาส

หอไตรเรือนไม้วัดดอยเขาแก้ว
สถาปัตยกรรมของหอไตร


หอไตรมีการสร้างในหลายรูปแบบด้วยวัสดุที่แตกต่างกันต่อไปนี้

1.เครื่องไม้
2.เครื่องก่อ
3.แบบผสมระหว่างเครื่องก่อและเครื่องไม้ (ครึ่งตึกครึ่งไม้)

หอไตรเครื่องไม้มักสร้างไว้กลางสระเพื่อป้องกันแมลงต่างๆเช่นมดปลวก ซึ่งมักจะขึ้นไปกัดกินใบลาน หรือกระดาษ โดยมีสะพานแบบชักเก็บได้ พาดจากฝั่งไปยังหอไตรไม่มีส่วนใดของอาคารที่สัมผัสพื้นดินได้ การสร้างหอไตรกลางน้ำยังเป็นการป้องกันอัคคีภัยไปด้วยในตัว

หอไตรกลางน้ำ
รูปทรงของหอไตร


1.หอไตรทรงคฤห์ ได้แก่หอไตรหลังคาทรงจั่ว แบบเรือนของคฤหัสถ์หรือชาวบ้าน

2. หอไตรทรงโรง ได้แก่ หอไตรหลังคาทรงจั่วมีชายคาปีกนกโดยรอบ

 

 

3.หอไตรทรงจัตุรมุข คือหอไตรที่ทำหลังคาแบบจัตรมุข

4.หอไตรทรงเครื่องยอด คือ หอไตรที่ทำหลังคาแบบมีเครื่องยอด

หอไตรทรงสูง เช่นหอไตรในล้านนาไม่มีบันไดทางขึ้นสู่ชั้นบนทั้งภายนอกและภายใน ส่วนชั้นบนนิยมทำด้วยเครื่องไม้แกะสลักเวลาจะหยิบพระคัมภีร์ไปใช้จะต้องนำบันไดพิเศษมาพาดแล้วปีนเข้าไปทางช่องประตูแคบ ๆ ทั้งนี้เพื่อป้องกันคนเข้ามาหยิบฉวยพระคัมภีร์ออกไปง่ายๆ เช่น หอไตรวัดบ้านหลุก จ.ลำพูน ซึ่งไม่ปรากฏว่ามีการสร้างบันไดทั้งภายในและภายนอกหอไตรแต่อย่างใด

หอไตรวัดบ้านหลุก จ.ลำพูน
*** ศึกษาแบบมาตรฐานสถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนาได้ที่ //www.thaiarch3d.com
2.
หอไตร...................สถาปัตยกรรมพื้นบ้านกลางน้ำ
เรียบเรียงโดย : ตักบาตรถามพระ Smiley
หอไตรเป็นที่เรือนหรืออาคารที่เก็บรักษา หนังสือผูก ใบลาน จารึกพระไตรปิฎก ปัจจุบันบ้างเป็นพิพิธภัณฑ์เชิงพุทธ และ เป็นอนุสรณ์รำลึกถึง ภูมิปัญญาของบรรพชนที่ตั้งใจเก็บรักษาจารึกพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้


ส่วนใหญ่หอไตรในอดีตนิยมสร้างเป็นลักษณะงานเครื่องไม้ โดยภูมิปัญญาคนโบราณที่ต้องการจะป้องกันปลวกแลงมากัดกิน คัมภีร์, ป้องกันน้ำท่วมและความชื้น เห็นได้ทั่วไปอยู่ 2 แนวทาง คือ การสร้างหอไตรไว้ในกลางสระน้ำ โดยทั่วไป และ การสร้างหอไตรสูง 2 ชั้น

หอไตรเครื่องไม้
การสร้างหอไตรสูง 2 ชั้น ชั้นบนเป็นไม้ ชั้นล่างก่ออิฐฉาบปูน พบในวัดใหญ่ทางภาคเหนือ

หอไตรในล้านนามีแบบแผนที่ไม่แตกต่างจากภาคกลางมากนัก ด้วยเป็นอาคารขนาดเล็ก สร้างขึ้นเพื่อเก็บรักษาพระไตรปิฎกและพระธรรมคัมภีร์ โดยต้องปลอดภัยจากแมลงกินไม้กินกระดาษจำพวกปลวก มอด จะต่างกันเพียงรูปแบบการประดับตกแต่ง และรายละเอียดประกอบอาคาร เป็นอาคารสองชั้น ชั้นบนใช้เก็บคัมภีร์ ชั้นล่างเป็นที่นั่งอ่านธรรม ไม่มีบันไดหรือทางขึ้นที่สะดวกนัก ส่วนใหญ่ใช้พาดขึ้นชั่วคราวและเก็บเมื่อใช้เสร็จ ถ้าเป็นอาคารไม้ก็มักจะสร้างอยู่กลางน้ำ ถ้าอยู่บนบกก็จะสร้างชั้นล่างเป็นเครื่องก่อ ชั้นบนเป็นเครื่องไม้

หอไตรวัดพระสิงห์
หอไตรวัดทุ่งศรีเมือง (อุบลราชธานี)

เป็นหอไตรกลางน้ำ สร้างด้วยไม้ มีลักษณะผสมระหว่างไทย พม่า และลาว ลักษณะอาคารเป็นแบบไทย เป็นเรือนฝาปะกนขนาด 4 ห้อง เก็บตู้พระธรรมลงรักปิดทอง หลังคามีลักษณะเป็นศิลปะไทยผสมพม่า มีช่อฟ้าใบ ระกา แต่หลังคาซ้อนกันหลายชั้น ส่วนลวดลายแกะสลักบนหน้าบันทั้งสองด้าน เป็นลักษณะศิลปะแบบลาว เป็นสถาปัตยกรรม ของอีสานที่สวยงามและสมบูรณ์ที่สุด

ประวัติโดยย่อ : เมื่อพระอริยวงศาจารย์ฯ สร้างหอพระพุทธบาทเสร็จแล้ว ก็ได้สั่งให้ช่าง สร้างหอไตรที่สระกลางน้ำ โดยยมีจุดประสงค์ใช้เป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎกคือ คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา และปรัชญาพื้นบ้าน รวมถึงตำราต่างๆ มากมาย ส่วนมากเป็นหนังสือใบลานจารึกด้วยอักษรธรรมและสมุดข่อย ไม่ให้แห้งและกรอบและเพื่อกันปลวก มิให้ทำลายพระไตรปิกฎให้เสียหาย

หอไตรวัดทุ่งศรีเมือง
“ ชาวบ้านถือว่าหอไตรเป็นตัวแทนของพระธรรมเจดีย์ และถือเป็นของสูงที่ต้องกราบไหว้บูชา เป็นสิ่งศักดิ์ของชาวบ้านเห็นได้จากบุคคลทั่วไปไม่ควรขึ้นไป โดยผู้ที่จะขึ้นไปบนหอไตรนั้น ส่วนใหญ่เป็นพระภิกษุสามเณรหรือผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ”

หอไตร ถือเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นบ้านอย่างแท้จริง ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาและความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของคนในหมู่บ้าน ในการสร้างสิ่งก่อสร้างเพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจชาวพุทธ
ดังนั้น การอนุรักษ์ และ บูรณะ หอไตรในเชิงสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมชาวพุทธจึงควร รักษาไว้คู่พระพุทธศาสนาไทยต่อไป

3.
หอไตรนานาชาติ
เรียบเรียงโดย : น้อมเศียรเกล้า
สถาปัตยกรรมของหอไตรในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม แต่ล้วนสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ในการดำรงไว้ซึ่งพระสัทธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

1. หอไตรวัด Pohyong Temple ประเทศเกาหลีเหนือ

 Buddhist Scripture House.Pohyong Temple, North Korea.

2. หอไตรวัด Honmonji Temple ประเทศญี่ปุ่นสร้างขึ้นในปี ค.ศ.1789

 

Buddhist Scripture House. Honmonji Temple, Japan
3. หอไตรวัด Wanshou Temple ประเทศจีน


Buddhist Scripture House. Wanshou Temple, China.
4.ภาพภายในหอไตร ประเทศเกาหลี

Buddhist Scripture House, Korea.

5.ภาพโบราณสถานหอไตรเก่าแก่ ณ ประเทศกัมพูชา

Ancient Buddhist Scripture House, Cambodia

6.ภาพหอไตรแห่งหนึ่ง ณ ศรีลังกา

One of  Buddhist Scripture House, Sri Lanka

7. หอไตรวัดสีสะเกษ ประเทศลาว

Buddhist Scripture House. Wat Si Sa Ket, Laos.

 8.หอไตรวัด มิเจาโก ประเทศพม่า

9. หอไตรแห่งหนึ่งในประเทศทิเบต

Buddhist Scripture House, Tibet.

10.โรงพิมพ์ DERGE เป็นโรงพิมพ์พระไตรปิฏกในประเทศทิเบต ซึ่งเป็นงานทำมือเป็นส่วนใหญ่

 

อ้างอิง

ชลทิศ สว่างจิตร.(2535).การศึกษาภาพจิตรกรรมไทยในหอไตร วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร (กรณีศึกษาเฉพาะจิตรกรรมระหว่างช่องหน้าต่าง).สารนิพนธ์ศิลปศาสตร์บันฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร  

สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี. (2553). หอไตร. วันที่ค้นข้อมูล 21 มีนาคม 2555. จาก เวบไซด์รายวิชา อาจารย์สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี: //suebpong.rmutl.ac.th/

 จบบทความเรื่อง "หอไตร"

 




 

Create Date : 25 มีนาคม 2555    
Last Update : 25 มีนาคม 2555 21:54:41 น.
Counter : 4585 Pageviews.  

วิธีการเก็บรักษาคัมภีร์โบราณ

รวบรวม/เรียบเรียงโดย : น้อมเศียรเกล้า
ขอขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต

Smiley



คัมภีร์ใบลาน ภาพโดย NABON PHOTO



หลังจากพุทธปรินิพพาน การสืบทอดพระสัทธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช้วิธีการสืบทอดโดยความทรงจำและการบอกเล่าต่อๆกันมา โดยมิได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งเรียกว่า "มุขปาฐะ”

ซึ่งแม้จะมีการทำสังคายนาคือการรวบรวมพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า เพื่อธำรงรักษาพระธรรมวินัยเอาไว้ไม่ให้สูญหายโดยปากต่อปาก แต่ก็มีอันตรายที่จะคลาดเคลื่อนไปได้มาก ดังนั้นจึงเริ่มมีการจารึกพระพุทธวัจนะเป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีหลักฐานการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกบนใบลาน เมื่อ พ.ศ. 433 ในการสังคายนา ณ อาโลกเลนสถาน ณ มตเลชนบท ในประเทศศรีลังกา

สำหรับชมพูทวีป มีการบันทึกพระพุทธวัจนะเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในการสังคายนา ครั้งที่4 เมื่อ พ.ศ. 643 ลงบนแผ่นทองเหลือง โดยเป็นการผสมผสานลักษณะของศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ถึงแม้ว่าฝ่ายเถรวาทจะไม่บันทึกถึงการสังคายนาครั้งนี้ แต่ประวัติศาสตร์โดยทั่วไปก็จารึกไว้ จึงเป็นสังคายนาที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในหมู่พุทธศาสนิกฝ่ายอุตรนิกาย (วิทยาลัยศาสนศึกษา ม.มหิดล,2552)

คัมภีร์โบราณประเภทใบลาน เป็นการจารลายลักษณ์อักษรลงบนใบของต้นลาน (Corephaumbraculifera) เหตุผลที่นำใบลานถูกนำมาใช้ในการบันทึกคาดว่าเนื่องจาก สามารถจารหนังสือได้เร็ว มีความสวยงาม ทนทาน และพกพาสะดวก ทั้งยังแข็งแรงกว่าหนังสือที่ทำด้วยวัสดุอย่างอื่น (เตือนใจ,2520)


เนื่องจากคัมภีร์ใบลานมีคุณค่าสูงในการสืบทอดพระสัทธรรมของพระพุทธศาสนา ตั้งแต่ในอดีตจึงมีความพยายามเก็บรักษาและถนอมพระคัมภีร์โบราณไว้ให้อยู่ในสภาพดีที่สุด


การรักษาคัมภีร์โบราณภาพโดย NABON PHOTO



การเก็บรักษาพระคัมภีร์ในอดีต จะทำโดยการห่อพระคัมภีร์ใส่ไว้วัสดุอย่างใดอย่างหนึ่งเช่นผ้า หญ้าถัก กล่องไม้ หลังจากนั้นก็จะนำเข้าหีบและเก็บไว้ในตู้ ต่อมาจึงได้มีความพยายามรักษาตู้พระคัมภีร์ไว้ในสถานที่พิเศษ เช่นหอไตร ซึ่งมีออกแบบเพื่อให้มีความปลอดภัยสูง

ในกาลสืบต่อมาพระคัมภีร์จะถูกนำออกมากจากหอไตร และผ่านกระบวนการดูแลรักษาโดยกลุ่มชนรุ่นหลังซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ

ขั้นตอนจะเป็นอย่างไร ติดตามชมบทความชุดวิธีการเก็บรักษาคัมภีร์โบราณ ซึ่งนำวิธี การเก็บรักษาโดยการห่อผ้า มานำเสนอเป็นตอนแรกค่ะ


หอไตร ภาพโดย@Single Mind for Peace



การห่อผ้ารักษาคัมภีร์เป็นขั้นตอนเบื้องต้นในการป้องกันการชำรุดเสื่อมสภาพที่จะเกิดขึ้นกับคัมภีร์ใบลาน

สาเหตุแห่งการเสื่อมสภาพคัมภีร์ใบลานมีดังต่อไปนี้

1. สิ่งแวดล้อม
- อากาศที่แห้งเกินไปทำให้หนังสือแห้งกรอบ เปราะ กระด้าง ขาดความยืดหยุ่น และขาดความแข็งแรง
- ความชื้นและน้ำ เป็นสาเหตุสำคัญในการเสื่อมสภาพของคัมภีร์ใบลาน อาจทำปฏิกิริยาโดยตรงกับคัมภีร์ใบลาน หรือช่วยให้ปฏิกิริยาระหว่างคัมภีร์ใบลานกับสิ่งแวดล้อมอื่นๆ
- แสงสว่าง ทั้งแสงจากธรรมชาติและแสงสว่างจากไฟฟ้า ทำให้เอกสารชำรุดเสียหายได้เช่นเดียวกัน แต่แสงแดดอาจรุนแรงมากกว่า ทำให้คัมภีร์ใบลานเปราะ หักง่าย

2. เชื้อจุลินทรีย์และรา
เกิดจากอากาศมีความชื้น ราจะเจริญเติบโตที่ที่มีความชื้นสูง ความเสียหายที่เกิดจากเชื้อราจะปรากฎรอยผุกร่อน และมีสีต่างๆ ทิ้งไว้ทำให้คัมภีร์ใบลานขาดความแข็งแรง เปื่อยยุ่ย ฉีกขาดง่าย

3. แมลง
แมลงที่เป็นศัตรูทำลายผิวใบลานมีหลายชนิด เช่น แมลงสาบ ปลวก รวมทั้งหนูด้วย ซึ่งทำความเสียหายในลักษณะเป็นรอยเว้าแหว่ง ฉีกขาด ใบลานทะลุ รูพรุน เป็นรอยเปื้อนและครบทางเดินปลวก

4. มนุษย์
มนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดการชำรุดเสื่อมสภาพ ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ เช่นเกิดจากความไม่ระมัดระวังในการใช้คัมภีร์ ละเลยไม่ดูแลรักษา ไม่ระมัดระวังในการหยิบยก จับ ถือ เคลื่อนย้าย เมื่อเกิดชำรุดทำการซ่อมที่ไม่ถูกต้อง เช่นใช้เทปกาวซ่อมคัมภีร์ใบลานที่ฉีกขาด ซึ่งนานไปเทปกาวนั้นจะทำให้เกิดรอยเปื้อนและทิ้งคราบกาวบนกระดาษ แล้วขจัดออกได้ยาก และการลอกเทปกาวออกทำให้เกิดการชำรุดเสียหายมากขึ้น (อธิราชและสัญญา,2553)


คัมภีร์ที่เสียหาย ภาพจากwww.welovemuseum.wordpress.com



หนังสือใบลานที่จารครบชุดจะมีไม้ประกับทั้ง 2 ข้าง และมัดเรียบร้อยดีแล้ว เมื่อจะเก็บไว้ต้องใช้ผ้าห่อให้เรียบร้อย ผ้าห่อคัมภีร์ใบลานนี้มีอยู่มากมายหลายชนิดต่างกันไป สำหรับในประเทศไทยพบว่าใช้ทั้งผ้าธรรมดา ผ้าทอ ยกดอก ผ้าทอยกดิ้น ผ้าพิมพ์ลายสีต่างๆ ผ้าไหม และผ้าต่วน ฯลฯ


ผ้าห่อคัมภีร์



โดยมากผ้าที่ห่อคัมภีร์จะเลือกชนิดที่มีความวิจิตรงดงาม และทนทานเพื่อปกป้อง “ของสูงของศักดิ์สิทธิ์” ให้พ้นจากการเปื้อนเปรอะจากฝุ่นละอองมดกัดหรือแมลงทำลายโดยง่าย


ใบลานที่จารเสร็จแล้วจะต้องมีเครื่องหมายบอกลำดับหน้าลาน







แต่ละคัมภีร์มีไม้ประกบหน้าหลังแล้วใช้เชือกมัดหัวท้าย



ใช้ผ้าห่อคัมภีร์ใบลาน แล้วมัดโดยรอบด้วยเชือกเส้นเดียวยาวติดต่อกัน แบ่งเป็น ๕เปลาะ มีฉลากบอกชื่อคัมภีร์เสียบอยู่หน้าห่อคัมภีร์ด้วย




ผ้าห่อคัมภีร์



“ผ้าห่อคัมภีร์โดยมากทอโดยหญิงสาว โดยมีความเชื่อจากสมัยโบราณว่าการถักผ้าห่อคัมภีร์จะได้บุญมาก เพราะสิ่งที่ได้ทำได้อยู่ใกล้ๆ กับคัมภีร์ที่บรรจุพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า”(ชุติมา,2554)





อ้างอิง

วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.นานาสาระเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา.วันที่ค้นข้อมูล 20 กุมภาพันธ์ 2555, จาก วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล เว็บไซด์: //www.crs.mahidol.ac.th/thai/theravade26.htm

เตือนใจ สินทะเกิด. 2520. วรรณคดีชาวบ้านจาก “วัดเกาะ”. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพฯ 223 น.

นายอธิราชย์ นันขันตี ,นายสัญญา วุฒิสาร.(2553).การอนุรักษ์ใบลาน.วันที่ค้นข้อมูล 20 กุมภาพันธ์ 2555,จากธรรมใบลานเว็ปไซด์ : //www.thambailan.com/main/read.php?tid=243

ชุติมา สิริทิพากุล.(24 กันยายน 2554.) งานบุญชาวยองแห่งเมืองลำพูน ควันหลง...’สลากภัต-สลากย้อม’.หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน.



Smiley


โปรดติดตาม"วิธีการเก็บรักษาพระคัมภีร์"ตอนต่อไปค่ะ




 

Create Date : 21 กุมภาพันธ์ 2555    
Last Update : 22 กุมภาพันธ์ 2555 11:10:28 น.
Counter : 5177 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  

น้อมเศียรเกล้า
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




Friends' blogs
[Add น้อมเศียรเกล้า's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.