Group Blog
 
All Blogs
 
อิสรภาพเกินโลกสาม (so much,very much Free...)

อิสรภาพและเสรีภาพ กล่าวได้ว่า เป็นสมบัติที่สำคัญอย่างยิ่งอีกประการหนึ่ง ของการดำรงชีวิต เพราะไม่ว่าชีวิตใดล้วนแล้วแต่ต้องการอิสระ และเสรีภาพที่จะกระทำการใดๆ ตามที่ใจตนปรารถนา และไม่มีผู้ใดที่จะสามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุขสมบูรณ์ได้ หาปราศจาก อิสรเสรีภาพ

ตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบันผู้คนทั่วโลกต่างเรียกร้อง สิทธิเสรีภาพ และอิสรภาพ โดยมีการต่อสู้เคลื่อนไหว เรียกร้องคุณค่าและ ความมีศักดิ์ศรีของการเป็นมนุษย์มาเนิ่นนาน เช่นการลุกฮือของทาสทั่วโลก, สนธิสัญญาทวิภาคีมากกว่า 50 ฉบับว่าด้วยการยกเลิกทาส ในภูมิภาคต่างๆทั่วโลก, การปลดปล่อยทาส, การที่ประชาชนลุกฮือต่อสู้กับระบบจักรวรรดิ์นิยมในเอเชียและแอฟริกา, การเคลื่อนไหวขบวนการสิทธิทางการเมืองและการนิรโทษกรรมสากล เป็นต้น

ในหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาเองก็ยังยืนยันว่า อิสรภาพ คือ สิ่งที่มีคุณค่าต่อชีวิตทุกชีวิต ครั้งหนึ่งสมเด็จพระชินสีห์ทรงตรัสกับมหาอุบาสิกา วิสาขาว่า “การอยู่ในอำนาจของคนอื่นทุกอย่างเป็นทุกข์ การเป็นอิสระทุกอย่างเป็นสุข” ,“ไม่ควรเป็นคนของบุคคลอื่น ควรเป็นตัวของตัวเอง”

คำคมภาษิตหลายข้อที่กล่าวถึงอิสรภาพว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่ายิ่ง เช่น
ภาษิตจีนกล่าวว่า “เป็นหมาป่าอิสระในท้องทุ่ง ย่อมดีกว่าเป็นสุนัขไว้เฝ้าบ้าน”,ภาษิตของคนไทยกล่าวว่าถึงแม้จะมีสิ่งทรัพย์สมบัติเลิศหรูเพียงใด แต่หากขาดอิสรภาพเป็นเป็นดั่งแค่ “นกน้อยในกรงทอง”



บุคคลโดยมากอาจพอเข้าใจความหมายของอิสรภาพในแง่มุมที่ยังไม่ลึกซึ้งนัก แต่พระพุทธศาสนามีขุมทรัพย์อันล้ำค่า คือคำสอนเรื่องอิสรภาพที่แท้จริงแบบ so much very much...

ความมีอิสรภาพที่แท้จริงทางพระพุทธศาสนา ไม่ได้หมายถึงอิสระภายนอกเท่านั้น แต่หมายถึงการมีอิสระ ที่จะพ้นไปจากกิเลส และเครื่องร้อยรัดที่ทำให้สัตว์จอมจ่ออยู่กับความทุกข์ และจองจำสัตว์ไว้ในภพทั้งสาม อันได้แก่ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ซึ่งเป็นแดนเกิดแดนตายของสัตว์

เหตุที่เรียก"ภพ"ว่าเป็น “เรือนจำ” ก็เพราะเป็นที่กักขังสัตว์ไว้ มิให้บรรลุถึงพระนิพพาน อันเกษม ต้องเวียนว่ายตายเกิดประสบกับการพลัดพราก และความทุกข์อยู่หาที่สิ้นสุดไม่ได้

นอกจากมีภพเป็นเรือนจำ, นอกจากนี้ยังมี เหล็ก หรือโซ่ตรวนที่ตรึงสัตว์ไว้ไม่ให้หลุดจากเรือนจำไปได้อีก

สมเด็จพระผุ้มีพระภาคทรงตรัสว่า ผุ้คนโดยมากบนโลกนี้ มักพากันปลื้มใจว่าบุคคลอันเป็นที่รัก ทรัพย์สมบัติอันเป็นที่รักนำความสุขใจมาให้, นี่บุตรของเรา ภรรยาของเรา ทาสของเรา เรา…ก็เมื่อตัวเราเองยังไม่มี แล้วบุตร ภรรยาของเราจะมีจากไหน ? (เป็นเรื่องที่น่าคิด)

ตัณหาและความห่วงอาลัยนี่เองเป็นเครื่องจองจำในหลักความเชื่อของพระพุทธศาสนาดั่งที่มาจากพุทธวจนะว่า

“ภิกษุทั้งหลาย เครื่องจองจำที่ทำด้วยเชือก เหล็กหรือโซ่ตรวนใดๆ เราไม่กล่าวว่าเป็นเครื่องจองจำที่แข็งแรงทนทานเลย แต่เครื่องจองจำคือบุตร ภรรยา(สามี) และทรัพย์สมบัตินี่แล ตรึงรัดผูกสัตว์ทั้งหลาย ให้ติดอยู่ในภพ อันไม่มีที่สิ้นสุด เครื่องผูกที่ผูกหย่อนๆ แต่แก้ได้ยาก คือ บุตร ภรรยา(สามี) และทรัพย์สมบัตินี่เอง”

ดังนั้นหากยังมีความพอใจ ข้อขัดอยู่ในเครื่องผูกเหล่านี้ ใยจะกล่าวได้ว่ามีอิสรภาพอย่างแท้จริง....

...ทุกคนในโลกนี้ โดยเฉพาะยุคประชาธิปไตยรุ่นใหม่ อาจมีอิสรเสรีภาพในการกระทำใดๆ มากว่ายุคที่มีการค้าทาส ซึ่งนับว่าเป็นความโชดดีประการหนึ่ง เพราะหากบุคคลถูกตรวน ถูกจำ ไม่มีเสรีภาพที่จะกระทำการใดๆ พูดใดๆคงหาความสุขได้ยาก

แต่กระนั้นก็มีเพียงน้อยคนนักในโลกนี้ที่จะมีความสุขจากการได้อิสรภาพทางดวงใจเพราะคนทั้งหลายต่างข้องติด และมีความทุกข์อยู่ในสิ่งที่เป็นที่รักที่ปรารถนา เนื่องจากความต้องการที่จะครอบครอง เมื่อไม่ได้มาก็ทุกข์ใจ เมื่อได้มาก็ทุกข์ใจเพราะต้องพยายามรักษาสิ่งนั้นไว้ให้ได้อีก ถึงเมื่อรักษาไว้ได้ก็ยังทุกข์ใจอีก เพราะสิ่งเหล่านั้นล้วนไม่คงสภาพเดิมอยู่ได้ มีความแปiเปลี่ยนไปตามกาลเวลา

เหมือนดังเด็กชายเด็กหญิงที่เล่นอยู่กับเรือนน้อยทำด้วยดิน ตราบใดที่พวกเขายังไม่สิ้นความยินดี ยังไม่สิ้นความพอใจ ยังไม่สิ้นความรัก ยังไม่สิ้นความกระหาย ยังไม่สิ้นความดิ้นรน ยังไม่สิ้นความทะยานอยากในเรือนน้อยทำด้วยดิน ตราบนั้นพวกเขาย่อมอาลัย ย่อมมัวเล่นย่อมหวงแหน ย่อมยึดถือเรือนน้อยทำด้วยดิน

แต่ว่าเมื่อใดพวกเด็กชายเด็กหญิงเหล่านั้นสิ้นความยินดี สิ้นความพอใจ ในเรือนน้อยทำด้วยดินเหล่านั้นเมื่อนั้นแลพวกเขาย่อมรื้อ ย่อมยื้อแย่ง ย่อมกำจัด เรือนน้อยทำด้วยเหล่านั้นด้วยมือและเท้า

ดังนั้นอิสรภาพที่แท้จริงของมนุษย์ ก็คือทำลายเรือนอันกักขังหน่วงเหนี่ยวปวงสัตว์ไว้ให้สิ้น ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก

สรุปความได้ว่าอิสรภาพภายนอกยังเป็นของน้อย อิสรภาพภายในคือการเป็นอิสระจากกิเลสและเครื่องร้อยรัดทั้งปวง นี่คือสิ่งที่สูงสุดและมีคุณค่าที่สุดที่มนุษย์ควรแสวงหา..เรียกตามภาษาสมัยใหม่ที่กำลังนิยมอยู่ได้ว่า อิสรภาพแบบ so much very much



ขอขอบพระคุณภาพจาก @Single Mind for Peace
ถ้อยคำโดย : น้อมเศียรเกล้า


Create Date : 19 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 20 สิงหาคม 2554 14:23:31 น. 0 comments
Counter : 3105 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

น้อมเศียรเกล้า
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




Friends' blogs
[Add น้อมเศียรเกล้า's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.