Group Blog
 
All Blogs
 
+++++ การซ่อมแซมโบสถ์และโบราณสถาน +++++++

Smiley

บทความโดย : น้อมเศียรเกล้า






โบสถ์
เป็นอาคารที่พระภิกษุใช้กระทำสังฆกรรม แต่เดิมนั้นเมื่อยังมีภิกษุจำนวนน้อย การทำสังฆกรรมแต่ละครั้ง พระภิกษุจะกำหนดเขตขึ้นเป็นการชั่วคราว เมื่อหมดภารกิจแล้วก็ทิ้งร้างไป

ต่อเมื่อการบวชเรียนเป็นที่นิยมจนพระภิกษุมีจำนวนมากขึ้น ดังเช่นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.๑๙๙๑-๒๐๓๑) ซึ่งทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ผู้ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาด้วยความศรัทธา ถึงกับเสด็จออกผนวชชั่วระยะเวลาหนึ่งจนเกิดเป็นธรรมเนียม ให้คนส่วนมากนิยมบวชเรียนตาม

โดยถือกันต่อๆ มาว่า คนที่ได้บวชเรียนเท่านั้นที่จะเป็นผู้มีความรู้เป็น “บัณฑิต” หรือ “ทิด” ตามที่เรียกติดปากมาจนปัจจุบัน และถือเป็นประเพณีว่าผู้ชายไทยควรบวชเมื่อมีอายุครบ ๒๑ ปี นับแต่นั้นมาจึงได้มีการสร้างโบสถ์เป็นอาคารถาวร(ธนาคารกรุงเทพ,2552)



โบสถ์เป็นสถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเหมือนสถาปัตยกรรมอื่นๆ คือ มีการชำรุดเสื่อมโทรมลงไปตามกาลเวลาจากสภาวะอากาศ น้ำฝน น้ำท่วม น้ำจากชั้นใต้ดิน ลม แสงแดด โครงสร้างรากฐานของโบสถ์ซึ่งไม่แข็งแรงเพียงพอ การสั่นสะเทือนจากการจราจร แผ่นดินไหว ฯลฯ

ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ ในเวลาที่เหมาะสม โดยมีการ แก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมส่วนที่ชํารุดให้กลับคืน สู่สภาพเดิม.

ซึ่งการการซ่อมแซมโบสถ์ในยุคแรกๆ ยังไม่ได้มีการคำนึงถึงคุณค่าของรูปแบบดั้งเดิมแต่อย่างใด แตกต่างกับปัจจุบันซึ่งพยายามรักษาไ้ว้ซึ่งคุณค่าของแบบดั้งเิดิมเอาไว้ให้ได้มากที่สุด



สาเหตุที่ต้องทำการบูรณะปฏิสังขรณ์โบสถ์มีดังต่อไปนี้


1.จำเป็นต้องซ่อมแซมเนื่องจากโบสถ์นั้นเป็นอาคารสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ
2. บูรณะปฏิสังขรณ์เพื่อให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง
3. บูรณะปฏิสังขรณ์เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา เช่นการทำวิจัย
4.เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เนื่องจากการบูรณะปฏิสังขรณ์จะช่วยดึงนักท่องเที่ยวให้มาเยี่ยมชมมากขึ้น
5. เพื่ออนุรักษ์พื้นที่ เนื่องจากการบูรณะปฏิสังขรณ์จะช่วยลดการปฏิรูปพื้นที่ใกล้เคียง เช่นอนุรักษ์ไว้เป็นเขตโบราณสถาน การก่อสร้างอาคารอื่นใดที่ไม่เกี่ยวข้องจะทำได้ยากมากขึ้น



ข้อโต้แย้งเรื่องการซ่อมแซมโบสถ์


การซ่อมแซมโบสถ์/โบราณสถานต่างๆ ไม่ได้รับการสนับสนุนเสมอไปเนื่องจากมีความเชื่อจากนักวิชาการว่า

การอนุรักษ์โบสถ์เก่า/ซากโบราณสถานไว้เช่นนั้น ทำให้เกิดความสวยงามทางภูมิสถาปัตย์ ที่ส่งเสริมจินตนาการเป็นต้น และประเด็นเรื่องการบูรณะจะมีส่วนทำให้ทำลายคุณค่าทางประวัติศาสตร์ศิลปกรรมและความเป็นโบราณสถานและโบราณวัตถุของสิ่งของนั้น ๆ นอกจากนี้มีความเชื่อว่า การบูรณะซ่อมแซมการอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดทางประวัติศาสตร์ได้เช่นกัน

ทั้งการบูรณะซ่อมแซมโบสถ์อาจมีค่าใช้จ่ายสูง รวมถึงการบูรณะอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างหลังใดหลังหนึ่ง หรือ สองหลัง อาจจะทำให้เกิดความโดดเด่ดจนผู้คนไม่สนใจภูมิทัศน์ หรือซากสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นโดยรอบก็เป็นได้ ฯลฯ (Price N.S, 2009)

หน่วยราชการที่รับผิดชอบในการอนุรักษ์โบราณสถานและโบราณวัตถุในประเทศไทย คือ กรมศิลปากร ซึ่งได้วางระเบียบว่าด้วยการอนุรักษ์โบราณสถาน พ.ศ. ๒๕๒๘



หลักเกณฑ์โดยย่อในการซ่อมแซมโบสถ์ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์/โบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนกรมศิลปากรดังนี้


หากโบราณสถานนั้นมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ การบูรณะซ่อมแซมจะต้องศึกษาจากร่องรอยหลักฐานของโบราณสถานเดิม หรือ โบราณสถานในยุคเดียวกันมีรูปแบบศิลปะและลักษณะสถาปัตยกรรมใกล้เคียงกัน หากมีหลักฐานชัดเจนว่าโบราณสถานนั้นมีรูปร่างลักษณะอย่างไร การบูรณะซ่อมแซมก็สามารถต่อเติมให้กลับคืนเป็นโบราณสถานที่สมบูรณ์ได้โดยชิ้นส่วนที่ต่อเติมใหม่นั้น ต้องทำให้มีลักษณะที่แตกต่างจากชิ้นส่วนเดิมของโบราณสถานอย่างชัดเจน
ในกรณีที่ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด การบูรณะซ่อมแซมก็จะพยายามรักษาสภาพเดิมให้มากที่สุด

ช่างท้องถิ่นสามารถซ่อมแซมโบราณสถานได้เฉพาะการซ่อมแซมเบื้องต้นได้แก่การค้ำยันเพื่อเสริมความมั่นคง หรือการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอเพียงเล็กน้อยโดยไม่กระทบต่อคุณค่าลักษณะเด่นของโบราณสถานนั้น


ในกรณีที่โบสถ์หรือศาสนาสถานไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาตินั้นมักมีการบูรณะซ่อมแซมกันเองโดยช่างท้องถิ่นหรือแม้แต่พระภิกษุภายในวัด



โบสถ์เป็นศาสนสถาน ซึ่งนอกจากต้องให้ความเคารพแล้ว พุทธศาสนิกชนทุกคนถือว่าเป็นเจ้าของร่วมกันจึงต้องช่วยกันดูแลรักษาทำนุบำรุงให้คงอยู่สืบไปรวมทั้งปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับสถานที่อันควรแก่การเคารพสักการะ หรือปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมที่ดีงาม



อ้างอิง

Stanley-Price, N. (2009). The Reconstruction of Ruins: Principles and Practice. Retrieved July 11, 2012.from //www.archaeological.org/pdfs/sitepreservation/N_S-P_Article_Dec_2009.pdf


ธนาคารกรุงเทพ(2552).วัดในประเทศไทย. วันที่ค้นข้อมูล 11 กรกฎาคม 2555,จากลักษณะไทย เว็บไซด์ : //www.laksanathai.com/book2/p378.aspx

สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร.โบราณสถาน.วันที่ค้นข้อมูล 11 กรกฎาคม 2555 จาก (//www.gis.finearts.go.th/MIS/File/File_Knowledge/0002-0003/aw%20book%20P198-233.pdf





Create Date : 12 กรกฎาคม 2555
Last Update : 12 กรกฎาคม 2555 21:37:46 น. 0 comments
Counter : 2259 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

น้อมเศียรเกล้า
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




Friends' blogs
[Add น้อมเศียรเกล้า's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.