อ่านเรื่อยๆ มาเรียง ๆ ทุกวันของ หนี่งหน่อง นะครับ
ความเครืยดวัยเด็กทําให้สมองเปลื่ยน

ความเครียดวัยเด็กทำให้สมองเปลี่ยนแปลง

WRITTEN BY NATTY_SCI ON . POSTED IN ชีววิทยา, วิทยาศาสตร์, สุขภาพ, อื่น

09

ความเครียดเรื้อรังในเด็ก ไม่ว่าจะมาจากความยากจน การไม่ได้รับการเอาใจใส่ และการถูกทำร้ายนั้นอาจส่งผลกระทบในแง่ลบในระยะยาวได้เช่นกัน

ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน เผยว่า  ความเครียดประเภทเหล่านี้ในช่วงอายุน้อยๆมักจะทำให้พัฒนาการของสมองเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ การจำ การจัดการความเครียดและอารมณ์ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีผลด้านลบต่อพฤติกรรม สุขภาพ การทำงาน หรือแม้แต่ชีวิตคู่

งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Biological Psychiatry แล้ว โดยมีความสำคัญกับผู้วางแผนนโยบายสาธารณะ นักเศรษฐศาสตร์ นักจิตวิทยาควบคุมโรค และอื่นๆ

"เรายังไม่ได้เข้าใจกันจริงว่า ทำไมเมื่อความเครียดเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อช่วงอายุ 2-3-4 ขวบแล้วมันถึงได้มีผลกระทบอยู่ยาวนาน" ศาสตราจารย์ เซธ พอลลัค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยอารมณ์ในวัยเด็ก มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสันเผย

"ก่อนหน้านี้ เคยมีการค้นพบว่า ความเครียดในวัยเด็กส่งผลต่ออาการซึมเศร้า ความประเหย่า โรคหัวใจ มะเร็ง และไม่สามารถศึกษาหรือทำงานได้อย่างประสบความสำเร็จ"

"เมื่อเรารู้แล้วว่าความเครียดมีผลกระทบต่อสังคมมากขนาดนี้ ถ้าเราไม่เข้าใจว่าสมองส่วนไหนที่เกิดผลกระทบจริงๆแล้ว เราก็ไม่สามารถทำอะไรได้อยู่ดี"

ในการศึกษาครั้งนี้ ทีมวิจัยรับสมัครเด็ก 128 คน อายุประาณ 12 ปีที่เคยมีประวัติถูกทำร้ายร่างกาย ไม่ได้รับความเอาใจ หรือมาจากครอบครัวที่มีฐานะยากจน อย่างใดอย่างหนึ่ง

ทีมวิจัยได้สัมภาษณ์เด็กทุกคนและผู้ปกครองด้วย เพื่อบันทึกปัญหาทางพฤติกรรมและความเครียดสะสมในชีวิต หลังจากนั้นได้มีการศึกษาที่ภาพสมองของเด็ก เน้นที่สมองส่วนฮิปโปแคมปัสและอะมิกดาลา ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับอารมณ์และความเครียด นอกจากนี้ยังมีการถ่ายภาพสมองของเด็กที่มาจากครอบครัวชนชั้นกลางและไม่มีประวัติความเครียด เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบด้วย

ดร.เจมี แฮนสัน และทีมวิจัยได้ดูสมองส่วนฮิปโปแคมปัสและอะมิกดาลาของเด็กแต่ละคนและคำนวณดูปริมาตร สมองทั้งสองนี้มีขนาดเล็กมากอยู่แล้วโดยเฉพาะในเด็ก (อะมิกดาลา เป็นภาษากรีก มีความหมายว่า ถั่วอัลมอนด์) และ ดร.แฮนสันเชื่อว่า การวัดขนาดของสมองส่วนนี้โดยซอฟต์แวร์สำเร็จรูปในการศึกษาที่ผ่านๆมานั้นอาจจะมีค่าความคาดเคลื่อนอยู่เยอะ ครั้งนี้จึงได้ทำการวัดด้วยมือ

ผลจากการวัดด้วยมือพบว่า เด็กที่มีประสบการณ์ความเครียดหนึ่งในสามประเภทนี้จะมีอะมิกดาลาที่เล็กกว่าเด็กที่ไม่เคยเจอกับความเครียด นอกจากนี้ เด็กที่มาจากครอบครัวที่มีฐานะยากจนและเด็กที่ถูกทำร้ายร่างกายจะมีสมองส่วนฮิปโปแคมปัสที่เล็กกว่าปกติ ขณะที่เมื่อทำการวัดด้วยซอฟต์แวร์สำเร็จรูปนั้นไม่สามารถเห็นความแตกต่างนี้ได้

ปัญหาเชิงพฤติกรรมและความเครียดที่สะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆนั้นมีความสัมพันธ์กับปริมาตรของฮิปโปแคมปัสและอะมิกดาลาที่เล็กลง

แม้นักวิจัยยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเหตุใดความเครียดจึงทำได้ปริมาตรดังกล่าวในสมองลดลง แต่ฮิปโปแคมปัสที่เล็กลงนี้หมายถึงผลในด้านลบแน่นอน ส่วนอะมิกดาลาที่เล็กลงนั้นยังต้องมีการศึกษากันเพิ่มเติมต่อไปถึงผลกระทบที่ตามมา

"สำหรับผม งานวิจัยนี้เป็นเครื่องเตือนในสังคมว่าเราจำเป็นจะต้องให้ความสนใจกับประสบการณ์ที่เด็กๆได้รับ" ดร.พอลลัคเน้นย้ำ

อ้างอิง: University of Wisconsin-Madison. (2014, June 27). Early life stress can leave lasting impacts on the brain. ScienceDaily. Retrieved June 29, 2014 from //www.sciencedaily.com/releases/2014/06/140627133107.htm

งานวิจัย: Jamie L. Hanson, Brendon M. Nacewicz, Matthew J. Sutterer, Amelia A. Cayo, Stacey M. Schaefer, Karen D. Rudolph, Elizabeth A. Shirtcliff, Seth D. Pollak, Richard J. Davidson. Behavior Problems After Early Life Stress: Contributions of the Hippocampus and AmygdalaBiological Psychiatry, 2014; DOI:10.1016/j.biopsych.2014.04.020





Create Date : 30 มิถุนายน 2557
Last Update : 30 มิถุนายน 2557 3:59:12 น. 1 comments
Counter : 2071 Pageviews.

 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: สมาชิกหมายเลข 3762148 วันที่: 24 มีนาคม 2560 เวลา:18:13:48 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนี่งหน่อง
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




pub-1485477287124314
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนี่งหน่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.