อ่านเรื่อยๆ มาเรียง ๆ ทุกวันของ หนี่งหน่อง นะครับ
เทคนิดใหม่ที่ทําให้การรักษามะเร็ง ฯ


การเข้าไปได้ลึกกว่าพื้นผิว: เทคนิคใหม่ที่ทำให้การรักษามะเร็งด้วยการฉายรังสีสามารถเข้าไปได้ลึกในร่างกาย

Written by piyawanee on May 18, 2014. Posted in วิทยาศาสตร์, วิทย์ทั่วไป, สุขภาพ, อื่น, อื่นๆ, เทคโนโลยี

การฉายรังสี (Photodynamic therapy หรือ PDT) เป็นหนทางหนึ่งในการรักษาเนื้องอกที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมันง่ายที่จะเข้าถึงเนื้อร้ายอย่างเช่น มะเร็งในช่องปากและมะเร็งผิวหนัง

อย่างไรก็ตามหนทางที่ใช้รังสีในการไปกระตุ้นการทำงานของตัวยาพิเศษที่มีสมบัติไวต่อแสงที่ถูกฉีดเข้าไปก่อนการฉายแสง (Photosensitizing agents) นั้นไม่สามารถปรับใช้ได้กับการต่อสู้กับมะเร็งที่อยู่ลึกเข้าไปในร่างกาย ต้องขอบคุณเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังจะเปลี่ยนขีดความสามารถในการฉายรังสี เทคโนโลยีใหม่นี้ทำให้การฉายรังสีสามารถเข้าไปถึงพื้นที่ในร่างกายอย่างที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน

ภายในกรอบสีขาวคือบริเวณที่ถูกฉายรังสี จุดสีเขียวคือเซลล์มะเร็งตับและจุดสีแดงคือเซลล์มะเร็งที่ตายแล้ว

ที่มาของภาพ: Image Courtesy of University at Buffalo



ตามที่ได้อธิบายไว้ในวารสาร Nature Photonics เมื่อ 11 พฤษภาคมที่ผ่านมา พวกเขาได้อาศัยแสงในช่วงความยาวคลื่นที่ตามองเห็นได้มากระตุ้นให้ตัวยาทำหน้าที่ทำลายเนื้อร้าย ซึ่งได้จากการฉายรังสีของแสงในช่วงความยาวคลื่นใกล้อินฟราเรดซึ่งถูกเปลี่ยนให้เป็นแสงในช่วงที่ตามองเห็นในระหว่างที่แสงกำลังแทรกซึมลึกเข้าสู่ร่างกาย

ดร. Tymish Ohulchanskyy ผู้เขียนร่วมและรองศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยที่บัฟโฟโล และท่านยังเป็นรองผู้อำนวยการของ photomedicine ที่สถาบัน Institute for Lasers, Photonics, and Biophotonics (ILPB) ของมหาวิทยาลัยอีกด้วย ได้กล่าวว่า “พวกเราหวังที่จะพัฒนาเทคนิคนี้ต่อไปจนสามารถนำไปใช้ได้และมีประสิทธิภาพพอที่จะสามารถรักษามะเร็งได้อย่างที่ใช้กันในปัจจุบัน”

หมอหลายท่านได้อาศัยการฉายรังสีในการรักษามะเร็งมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ โดยเซลล์มะเร็งจะดูดซับยาที่ถูกนำส่งมาที่เนื้องอกผ่านทางกระแสเลือด หลังจากนั้นแสงที่ความยาวคลื่นที่ตามองเห็นได้จะถูกฉายเข้าไปที่บริเวณเนื้องอก ทำให้ตัวยาทำปฏิกิริยากับออกซิเจนและปลดปล่อยสารอนุมูลอิสระที่ทำลายก้อนเนื้อได้

แต่โชคร้ายที่แสงที่ความยาวคลื่นที่ตามองเห็นได้ไม่สามารถแทรกซึมเข้าสู่เนื้อเยื่อของร่างกายได้ดีนัก ซึ่งในทางกลับกันแสงที่มีความยาวคลื่นอยู่ในช่วงใกล้อินฟราเรดนั้นสามารถแทรกซึมสู่เนื้อเยื่อได้ดีแต่ไม่สามารถกระตุ้นการทำงานของตัวยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เพื่อแก้ปัญหานี้ให้หมดไป นักวิจัยหลายท่านกำลังพัฒนาตัวยาที่สามารถดูดซับแสงที่มีความยาวคลื่นอยู่ในช่วงใกล้อินฟราเรดขึ้นมา อย่างไรก็ตามหนทางนี้มีข้อจำกัด เพราะการสังเคราะห์ตัวยาสำหรับเป็น Photosensitizing agents ที่สามารถดูดซับแสงที่ช่วงใกล้อินฟราเรดได้ ให้มีความเสถียรคงตัวและมีประสิทธิภาพในการรักษาเหมือนเดิมนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก

ในขณะที่นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยบัฟโฟโลได้ใช้วิธีการที่แตกต่างออกไป กล่าวคือพวกเขาได้อาศัยสิ่งแวดล้อมรอบๆเนื้องอกในการที่จะเปลี่ยนความยาวคลื่นแสงให้มีความยาวคลื่นที่เหมาะสมตามความต้องการ

ยกตัวอย่างเช่น รังสีที่ความยาวคลื่นอยู่ในช่วงใกล้อินฟราเรดทำปฏิกิริยากับโคลลาเจนที่เป็นโปรตีนตามธรรมชาติที่พบในเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ปฏิกิริยาที่ว่านี้จะเปลี่ยนความยาวคลื่นแสงจากช่วงใกล้อินฟราเรดให้อยู่ในช่วงที่ตามองเห็นได้ กระบวนการนี้เรียกว่า การเกิดฮาร์มอนิคที่สอง Second harmonic generation ซึ่งก็เหมือนกับโปรตีนและไขมันภายในเซลล์ได้ทำปฏิกิริยากับแสงช่วงใกล้อินฟราเรดและเปลี่ยนเป็นแสงช่วงที่มองเห็นได้ โดยผ่านอีกกระบวนการหนึ่งที่เรียกว่า ความไม่เป็นเชิงเส้นในเส้นใยแก้วนําแสง หรือ four-wave mixing

ดังนั้นแสงในช่วงที่มองเห็นได้ก็จะสามารถถูกสร้างขึ้นได้ในเนื้องอกลึกลงไปในร่างกาย และตัวยาสามารถดูดซับแสงช่วงที่มองเห็นเอาไว้ได้ ซึ่งจะไปกระตุ้นการทำงานของตัวยาและทำลายเซลล์มะเร็งในที่สุด

ดร. Paras Prasad หัวหน้าทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยบัฟโฟโล ศาสตราจารย์พิศิษฐ์ในสาขาเคมี ฟิสิกส์ วิศวกรรมไฟฟ้าและการแพทย์ที่มหาวิทยาลัยบัฟโฟโล (SUNY Distinguished Professor) และยังเป็นผู้อำนวยการหน่วย ILPB ได้กล่าวว่า “หนทางนี้มีประโยชน์อย่างมหาศาล มันไม่มีผลข้างเคียงสำหรับการฉายรังสี PDT มันเป็นวิธีที่ทำให้เกิดการลุกลามได้น้อยกว่าการผ่าตัดและเราสามารถเจาะจงเซลล์มะเร็งเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ และด้วยวิธีการของเรา การฉายรังสีก็เป็นอีกหนทางที่คุณหมอสามารถใช้เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดจากมะเร็งของผู้คนเป็นล้านๆได้”

มหาวิทยาลัยบัฟโฟโลได้ทำการจดสิทธิบัตรสิ่งที่ได้ค้นพบนี้แล้ว และหน่วยงาน Office of Science, Technology Transfer and Economic Outreach (UB STOR) ของมหาวิทยลัยกำลังหาข้อสรุปเกี่ยวกับการทำข้อตกลงทางกฎหมายกับบริษัทที่มีความสนใจอยากจะพัฒนางานชิ้นนี้ให้ใช้รักษาได้จริงในทางการแพทย์



ที่มา: //www.sciencedaily.com/releases/2014/05/140515142841.htm

เอกสารอ้างอิง

A. V. Kachynski, A. Pliss, A. N. Kuzmin, T. Y. Ohulchanskyy, A. Baev, J. Qu, P. N. Prasad. Photodynamic
therapy by in situ nonlinear photon conversion. Nature Photonics, 2014; DOI: 10.1038/nphoton.2014.90



Create Date : 22 พฤษภาคม 2557
Last Update : 22 พฤษภาคม 2557 5:15:53 น. 1 comments
Counter : 1322 Pageviews.

 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: สมาชิกหมายเลข 3762148 วันที่: 24 มีนาคม 2560 เวลา:17:46:51 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนี่งหน่อง
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




pub-1485477287124314
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนี่งหน่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.