อ่านเรื่อยๆ มาเรียง ๆ ทุกวันของ หนี่งหน่อง นะครับ
ลืมนั่น ลืมนี่ หรือจะเป็นเพราะยีน

  ลืมนั่น ลืมนี่ หรือจะเป็นเพราะยีน
WRITTEN BY HIPPONERDY ON JUNE 6, 2014. POSTED IN ทั่วไป, วิทยาศาสตร์, สุขภาพ, เทคโนโลยี, โรคภัยไข้เจ็บ


บางครั้งเราจำได้ว่าวางกุญแจไว้ตรงนี้ แต่ทำไมเวลาจะใช้กลับหาไม่เจอ โดยเฉพาะในเวลาที่เร่งรีบไม่ว่าจะหาที่หน้าประตู บนโต๊ะกินข้าว โต๊ะทำงาน หัวเตียง ในกระเป๋าก็หาไม่เจอ เป็นเหตุให้ต้องไปทำงานสายเสมอๆ

จากการสำรวจประชากร 3000 คน โดยบริษัท British insurance พบว่าในหนึ่งวัน คนๆ หนึ่งสามารถลืมสิ่งของได้มากกว่า 9 ชิ้นต่อวัน และจะใช้เวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการหาของเหล่านั้นอยู่ที่ประมาณ 15 นาที สิ่งของที่ลืมเป็นอันดับต้นๆ ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ กุญแจ และเอกสาร แต่อย่างไรก็ตาม อาการหลงๆ ลืมๆ นี้ ไม่ใช่อาการป่วยร้ายแรงแต่อย่างใดหากมิได้ลุกลามไปจนกลายเป็นโรคอัลไซเมอร์สหรือความจำเสื่อม อีกทั่งอาการหลงๆ ลืมๆ นี้ยังสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย

โดยปกติแล้ว ยีนของมนุษย์มักจะมีส่วนที่เป็นตำหนิหรือกลายพันธุ์อันเนื่องจากความผิดพลาด สิ่งที่เป็นสาเหตุของการเกิดการกลายพันธุ์มีหลายอย่างแต่สาเหตุของการแปรผันของยีนจากการใช้ชีวิตเช่น ความเครียด ความเมื่อยล้า และการทำหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน (multitasking) และยังอาจมีสาเหตุจากอาการป่วยอื่นๆ เช่นโรคซึมเศร้า โรคนอนไม่หลับ หรือโรคสมาธิสั้น

ศาสตราจารย์ Daniel L.Schacter แห่งภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าวว่าอาการหลงๆ ลืมๆ นั้นมีสาเหตุที่ทำให้นึกไม่ออกอยู่สองกรณีคือ กรณีแรกเกิดจากความผิดปกติทั้งในด้านการขาดความใส่ใจ และความจำ ยกตัวอย่างหากเราไม่ได้ใส่ใจแต่แรกว่าวางกุญแจรถไว้ที่ไหน เมื่อถึงเวลาจะใช้ เราก็อาจไม่สามารถเรียกคืนความทรงจำกลับมาได้ง่ายๆ ว่ากุญแจนั้นอยู่ที่ไหนกันแน่



ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus)  ฮิปโปแคมพัส เป็นส่วนหนึ่งของสมองที่เกี่ยวข้องกับระบบความจำ และพฤติกรรมต่างๆ

ฮิปโปแคมปัส อยู่ที่สมองส่วนหน้า (Forebrain) ส่วนที่เรียกว่ากลีบขมับ (Temporal lobe) รูปร่างคล้ายกับเขาแกะหรือม้าน้ำ (คำว่า Hippocampus เป็นภาษากรีก มาจากคำว่า Hippos แปลว่า ม้า กับ Kampos แปลว่า ปิศาจทะเล)

ฮิปโปแคมปัส ทำหน้าที่หลักในด้านความจำ เป็นส่วนหนึ่งของวงจรด้านความจำ และหน้าที่อื่นๆ เช่น การมีพฤติกรรมต่างๆ, การบอกทิศทาง

โรค/ภาวะผิดปกติที่พบบ่อยที่เกิดกับสมองส่วนนี้ เช่น โรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์, โรคลมชักชนิดพฤติกรรมผิดปกติ และการชักแบบเฉพาะที่ชนิดรักษายาก, ภาวะสมองขาดออกซิ เจน, และสมองอักเสบจากเชื้อไวรัส (ไวรัสสมองอักเสบ)

กรณีที่สองคือในระหว่างที่สมองกำลังเก็บข้อมูลความทรงจำและเก็บรักษาไว้ที่สมองส่วนฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ซึ่งสามารถถูกกระตุ้นได้ในภายหลังด้วยสิ่งเตือนความจำหรือสัญญานอื่นๆ ถ้าในระหว่างที่สมองกำลังจดจำสิ่งนั้นมีความแตกต่างทางอารมณ์ความรู้สึก หรือสภาวะจิตใจในช่วงเวลาที่วางสิ่งของกับช่วงเวลาที่ต้องการใช้อาจทำให้ไม่สามารถนึกออกได้ว่าวางของเหล่านั้นไว้ที่ไหน เช่น  ในขณะที่กำลังเดินเข้าบ้านด้วยความหิวมากๆ และได้วางกุญแจไว้ หลังจากนั้นเมื่อรับประทานอาหารจนอิ่ม แล้วกลับมาหากุญแจอีกครั้งก็อาจจะหาไม่เจอ เนื่องจากก่อนวางนั้นมีความรู้สึกหิว แต่ตอนกลับมาหานั้นไม่ความรู้สึกหิวแล้ว ทำให้ยากที่จะเข้าถึงความทรงจำในขณะที่วางกุญแจนั่นเอง

นักวิจัยหลายคนพยายามหาวิธีจัดการกับอาการหลงๆ ลืมๆ โดยศาสตราจารย์ Kenneth Norman แห่ง ม. Princeton เชื่อว่่าการใช้สิ่งกระตุ้นเตือนความทรงจำนั้นอาจจะช่วยได้ โดยสิ่งกระตุ้นอาจเป็นได้ทั้งกายภาพหรือจิตใจ เช่น ย้อนกลับไปคิดว่าในช่วงเวลาที่เราวางกุญแจ เราหิวอยู่หรือไม่ เรารู้สึกอย่างไรหรือทำอะไรอยู่ ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสในการค้นพบสิ่งของนั้นได้ง่ายขึ้น

Sebastian Markett หัวหน้าทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Bonn ประเทศเยอรมณีได้ทำการวิจัยและพบว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้คนลืมสิ่งของต่างๆ หรือใจลอย ก็คือเกิดการแปรผันของยีน DRD2 หรือ dopamine D2 receptor อันจะนำไปสู่การหลงลืมที่มากขึ้นเรื่อยๆ จากการศึกษาพบว่า 75% ของประชากรที่มีการแปรผันของยีน DRD2 จะทำให้ประชากรเหล่านั้นมีแนวโน้มที่จะลืมเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ต่างๆ มากขึ้น


dopamine D2 receptor gene (DRD2) มีหน้าที่การทำงานที่สำคัญในการส่งสัญญาณประสาทภายในสมองส่วนหน้า

ดร. Markett ได้ทำการเก็บตัวอย่างจากอาสาสมัครชายและหญิงอย่างละ 500 คน เพื่อทำการวิเคราะห์ดีเอ็นเอในน้ำลาย โดยการตรวจวิเคราะห์ทางอณูชีวโมเลกุล หรือ อณูชีววิทยา (Molecular biology) เนื่องจากมนุษย์ทุกคนต่างก็มียีน DRD2

การแปรผันของยีน DRD2 นั้นเป็นการแปรผันที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนเบสตัวใดตัวหนึ่ง กล่าวคือ บนยีน DRD2 ที่ตำแหน่งหนึ่งเป็นเบสไซโตซีน (cytosine) แต่ที่ตำแหน่งอื่นๆ บนยีน DRD2 จะถูกแทนที่ด้วยไทมีน (Thymine)  ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดการกลายพันธุ์ จากการวิเคราะห์ผลการตรวจดีเอ็นเอจากอาสาสมัครทั้งหมดพบว่า 1 ใน  4 ของยีน DRD2 จะมี cytosine เป็น nucleobases ในขณะที่ 3 ใน 4 ที่เหลือจะต้องมีไทมีนอย่างน้อย 1   ตำแหน่งเป็น nucleobase

nucleobases ได้แก่ cytosine, guanine, adenine (DNA และ RNA), thymine (DNA) และ uracil (RNA) หรือ C, G, A, T และ U ตามลำดับ ถูกเรียกสั้น ๆ ว่า "เบส" ในด้านพันธุศาสตร์




อีกด้านหนึ่งนักวิทยาศาสตร์ต้องการค้นหาว่าการที่มียีนต่างกันจะส่งผลต่อพฤติกรรมในแต่ละวันหรือไม่อย่างไร โดยการสำรวจด้วยการสอบถามว่าในระหว่างวันว่ามีการเกิดเหตุการหลงลืมอะไรบ้าง เช่น การจำอะไรผิดพลาด, การรับรู้ที่ผิดพลาด (การมองไม่เหนป้ายหยุด) และการล้มเหลวของทักษะพิสัย (Psychomotor) เช่นการเดินชนสิ่งของต่างๆ  หรือเดินชนคนบทถนนเป็นต้น

ความสามารถในการรับรู้ (Perceptual abilities) การรับรู้ความแตกต่างด้วยการเห็น (Visual discrimination) เช่น ความสามารถในการเห็นความแตกต่าง ของวัตถุที่สังเกตได้ เป็นต้น

ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) เป็นพฤติกรรมทางการด้านการเคลื่อนไหว (Movement) เช่น การวิ่ง การกระโดด การเดิน การขับรถ การเต้นรำ การเปิดประตู เป็นต้น

นักวิจัยใช้การวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างการหลงลืมในชีวิตประจำวันว่ามีความสัมพันธ์กับการแปรผันของยีน DRD2 หรือไม่ จากผลการวิเคราะห์พบว่า ผู้ที่มีการแปรผันของยีน DRD2 (มีการแทนที่เบสไซโตซีนด้วยเบสไทมีน) จะมีความสนใจและความจำด้อยกว่าผู้ที่มีเบสเป็นไซโตซีน บนยีน DRD2

ดร. Markett กล่าวว่า จากการวิเคราะห์นี้ให้ผลที่ชัดเจนว่าอาการหลงๆ ลืมๆ นั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับการแปรผันของยีน DRD2 โดยเฉพาะผู้ที่มีการแปรผันของยีน DRD2 นั้นจะมีความถึ่ที่จะหลงลืม และไม่ค่อยมีสมาธิ ในทางกลับกันผู้ที่ไม่เกิดการแปรผันของยีน DRD2 เหมือนจะไม่ค่อยมีอาการหลงๆ ลืมๆ ซึ่งตรงกับงานวิจัยที่ ดร. Markett ได้ทำการศึกษาไว้

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนแนะนำว่าการวางสิ่งของที่ใดที่หนึ่งเป็นประจำจนติดเป็น นิสัยก็ช่วยได้เช่นกัน เช่นแว่นตาอยู่ตรงหัวเตียง โทรศัพท์อยู่บนโต๊ะ หรือกุญแจอยู่ในตะกร้าหน้าประตู เป็นต้น ด้านศาสตราจารย์ Mark McDaniel แห่ง ม. Washington ผู้เขียนหนังสือ Memory Fitness แนะอีกวิธีหนึ่งคือการเปล่งเสียงออกมาดังๆ เพื่อเตือนตัวเอง เช่นเมื่อวางกุญแจก็พูดออกมาดังๆ ว่า “ฉันวางกุญแจไว้ตรงนี้นะ” หรือถ้าไม่อยากตะโกนก็ใช้วิธีคิดแบบย้ำๆ อยู่ในหัวก็ได้ อีกวิธีหนึ่งคือการนึกให้เป็นภาพ เช่นเมื่อวางกุญแจแล้วก็หลับตานึกภาพกุญแจพวงนั้นอยู่ในตะกร้า หรือก่อนไปซื้อของก็นึกภาพแผนกที่เราต้องการซื้อของนั้นไว้ ก็อาจจะช่วยลดอาการหลงลืมได้เช่นกัน

นักวิจัยระบุไว้ว่า การทำงานของสมองคนเราโดยเฉพาะในด้านเกี่ยวกับความทรงจำนั้น จะมีประสิทธิภาพสูงสุดตอนอายุ 20 ปี จากนั้นก็จะค่อยๆ เสื่อมถอยลงตามวัยที่เพิ่มขึ้น ถึงกระนั้น การฝึกฝนความสามารถในด้านการเรียกคืนความทรงจำให้เฉียบคมอยู่เสมอ ประกอบกับการมีสติใส่ใจกับสิ่งรอบๆ ตัว คือส่วนหนึ่งของเคล็ดไม่ลับที่จะทำให้เราดื่มด่ำกับความทรงจำไปนานๆ  




อ้างอิงจาก
1. uni-bonn.de/Press-releases/genetic-factor-contributes-to-forgetfulness
2. online.wsj.com/news/articles/SB10001424052702304117904579501410168111866



Create Date : 13 มิถุนายน 2557
Last Update : 13 มิถุนายน 2557 5:17:41 น. 3 comments
Counter : 1382 Pageviews.

 

กด Like ให้เป็นคนที่ 1
ขอบคุณที่นำมาฝากให้อ่านค่ะ


โดย: อุ้มสี วันที่: 13 มิถุนายน 2557 เวลา:14:18:36 น.  

 
Hi there, You've done a great job. I will definitely digg it and personally recommend to my friends. I am confident they'll be benefited from this site.
Louis Vuitton Outlet handbags //www.txvision.com/


โดย: Louis Vuitton Outlet handbags IP: 94.23.252.21 วันที่: 4 สิงหาคม 2557 เวลา:0:29:18 น.  

 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: สมาชิกหมายเลข 3762148 วันที่: 24 มีนาคม 2560 เวลา:18:04:03 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนี่งหน่อง
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




pub-1485477287124314
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนี่งหน่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.