รำไทย : นาฏศิลป์ไทย ใช่จะไร้ในคุณค่า โดย ธรรมจักร พรหมพ้วย
Group Blog
 
All Blogs
 
นาฏยศิลป์ราชสำนักกัมพูชา



วันที่ 01 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 26 ฉบับที่ 07

สโมสรศิลปวัฒนธรรม

ชัยวัฒน์ เสาทอง chaiwat1969@hotmail.com

นาฏศิลป์กัมพูชา

นาฏศิลป์กัมพูชามีหลักฐานปรากฏตั้งแต่สมัยก่อนพระนคร (ค.ศ. ๕๔๐-๘๐๐) แล้ว เช่น รูปปั้นดินเหนียวสมัยนครบุรี (Angkorborei) เป็นรูปบุคคลร่ายรำ และจารึกที่กล่าวถึง "คนรำ" เป็นภาษาเขมร ในจารึกสมัยพระนคร (ค.ศ. ๘๒๕-ราวคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔) พบคำสันสกฤต "ภาณิ" ซึ่งหมายถึงการแสดงเล่าเรื่อง และหากดูภาพสลักจำนวนมากในปราสาทหินทั้งหลายแหล่ของขอม ไม่ต้องสงสัยเลยว่าในอาณาจักรขอมมีการร่ายรำ การแสดง เป็นเรื่องปรกติธรรมดาสำหรับการบันเทิงในราชสำนักและประชาชน ในจารึกที่กล่าวถึงข้าพระที่ประจำศาสนสถานนั้นมักมี "คนรำ" ประจำอยู่ด้วย นาฏศิลป์กัมพูชาโบราณน่าจะได้รับอิทธิพลอินเดียเป็นพื้น

นาฏศิลป์กัมพูชาน่าจะสืบต่อและพัฒนามาจนรุ่งโรจน์ไม่แพ้ศิลปวิทยาการด้านอื่นๆ ในสมัยพระนคร และน่าจะมีอิทธิพลไม่น้อยต่ออยุธยาหลังจากที่มีการตีเมืองพระนครแตกและกวาดต้อนผู้คนมาสู่กรุงศรีอยุธยา จำนวนหนึ่งในผู้คนเหล่านั้นน่าจะมีนักรำอยู่ด้วย

หลักฐานทางภาษาอย่างหนึ่งก็คือไทยรับคำ "รำ" ในภาษาเขมรมาแทนที่คำ "ฟ้อน" ที่เดิมใช้ในภาษาไทย และไทยก็รับเอามาผสมผสานกับสิ่งที่มีอยู่เดิมและพัฒนานาฏศิลป์สืบเนื่องต่อจากนั้นและสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตนขึ้นมา และเมื่อมาถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ไทยก็ส่งคืนศิลปวิทยาการด้านนี้กลับสู่ประเทศราชกัมพูชา และกัมพูชาก็รับเอามาประยุกต์ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับตัวเองและสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

เอกสารทางฝั่งกัมพูชาไม่ใคร่กล่าวถึงอิทธิพลของนาฏศิลป์ไทยนัก ด้วยเหตุของลัทธิชาตินิยม และความเชื่ออันเป็นบรรทัดฐานว่าไทยนั้นมักรับเอาวิทยาการทุกๆ อย่างไปจากเขมร ดังนั้นนาฏศิลป์กัมพูชาก็เป็นต้นแบบของนาฏศิลป์ไทยด้วย และมักกล่าวกันว่านาฏศิลป์กัมพูชาสืบทอดมานับพันปีตั้งแต่สมัย "อังกอร์" อันเป็นอุดมคติแห่งชาติพันธุ์กัมพูชา ถึงแม้เอกสารของทางฝรั่งเศสจะมีบันทึกว่าในปี ๑๙๐๔ หลังจากพระบาทนโรดมทิวงคตนั้น ในราชสำนักกัมพูชามี "ศิลปการินี" จากสยามเหลืออยู่เกิน ๓๐๐ คนก็ตาม

เพลงบางเพลง เครื่องละครบางชิ้น และเครื่องดนตรีบางชนิดก็มีชื่อเป็นภาษาไทย เนื้อเพลงบางเพลงนั้นก็แต่งล้อเนื้อเพลงไทยสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เค้ารอยอีกหลายๆ ประการที่บ่งบอกว่าได้รับอิทธิพลไทยก็มีอยู่มากพอที่จะกล่าวยืนยันได้ เอกสารที่กล่าวถึงอิทธิพลจากไทยมักเกี่ยวกับเพลงและดนตรี

ผู้อ่าน "โครงกระดูกในตู้" ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ย่อมได้ทราบเรื่องหม่อมเจ้าหญิงฉวีวาดยกโรงละครทั้งโรงขึ้นเรือสำเภาหนีไปเมืองเขมร และเอกสารฝั่งไทยก่อนหน้านั้นก็มีกล่าวถึงไว้ว่าเขมรได้ครูละครไปจากไทย เช่น "นิราศนครวัด" ของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ อิทธิพลของละครไทยส่งผลโดยตรงสู่การละครในราชสำนักกัมพูชา อันเรียกเป็นภาษาเขมรว่า "ระบำพระราชทรัพย์" ที่เรียกเช่นนี้เพราะการแสดงในราชสำนักเป็นราชูปโภคของพระมหากษัตริย์นั่นเอง ขณะที่ระบำพื้นเมือง รำวงรื่นเริงของเขมรมีลักษณะเฉพาะตัวและห่างไกลจากนาฏศิลป์ไทยมากกว่า

เขมรแบ่งนาฏศิลป์ออกเป็น ๓ ประเภท คือ ๑. ระบำพระราชทรัพย์ คือระบำในราชสำนัก ๒. ระบำประเพณีเขมร คือระบำพื้นบ้าน ๓. ระบำประชาปรีย์ คือรำวงในงานรื่นเริงทั่วไป นาฏศิลป์กัมพูชาก็เป็นเช่นดังศิลปวิทยาการด้านอื่นๆ ของกัมพูชา คือขาดช่วงและองค์ความรู้ถูกทำลายไปในช่วงเขมรแดง ดังนั้นจึงหาเอกสาร ผู้รู้ วิทยากรที่เหลืออยู่ได้ยากเต็มทน

ต่อมาระบำพระราชทรัพย์เปิดกว้างขึ้น เนื่องจากสถาบันกษัตริย์เปลี่ยนแปลงไป จึงกลายเป็นระบำชั้นสูงเทียบได้กับกรมศิลปากรของไทย แต่ยังเรียกระบำพระราชทรัพย์อยู่

ครูผู้รู้ฝ่ายไทยมักตั้งข้อสังเกตว่าการแสดงของเขมรนั้นมักรำไม่ครบท่า ไม่ครบเพลง ไม่ครบเครื่อง สัดส่วนมงกุฎไม่งาม เมื่อเทียบกับฝั่งไทย และโดยเฉพาะโขนนั้น ตัวยักษ์ชั้นสูงและลิงชั้นสูงไม่น่าเกรงขาม คงได้ครูยักษ์และลิงชั้นรองจากไทยไปฝึกสอน แต่กระนั้นนาฏศิลป์กัมพูชายังคงมีลักษณะเฉพาะของตัวเองและมีความน่าสนใจเป็นอันมาก ลักษณะเฉพาะที่น่าสนใจประการหนึ่งนั้นก็คือสามารถรักษาลักษณะเก่าแก่บางประการของละครไทยเอาไว้ได้

เมื่อกัมพูชาเปิดประเทศใหม่ๆ ประมาณปี ค.ศ. ๑๙๙๒ นั้นผู้เขียนชมการแสดงของเขมรเจอแต่นางรำรุ่นป้าๆ แต่ตอนนั้นก็พอใจเพราะว่าเชื่อได้ว่าเป็นนางรำรุ่นเก่า หลงรอดจากสงครามมาได้ คนเก่าน่าจะรักษาของเดิมได้ดีกว่าเด็กใหม่ ครั้นหลังจากนั้นมาได้ไม่นานสักกี่ปี กัมพูชาก็ปั้นนางรำเด็กใหม่หน้าละอ่อนอ้อนแอ้นออกมาสำแดงฝีมือ สร้างความปีติยินดีแก่ผู้ชมว่า ครานี้นาฏศิลป์กัมพูชาไม่ถึงกาลอับเฉา ยังมีผู้สืบทอดการแสดงประจำชาติที่พวกเค้าภาคภูมิใจ

ชาวไทยโดยทั่วๆ ไปโดยมากที่ได้ชมนาฏศิลป์กัมพูชามักให้ความเห็นว่ารำแอ่นเกินไป แต่นี่เป็นลักษณะดั้งเดิมของนาฏศิลป์ไทยสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ที่เขมรยังรักษาเอาไว้ ขณะที่ครูรำไทยเห็นว่าเขมรนั้นรำช้า หนัก ขณะที่ของไทยนั้นเร็วและเบากว่า ครูรำเขมรก็ให้ความเห็นเช่นเดียวกัน ครูไทยบางท่านก็ว่าไทยนั้น "รำเก๋" ส่วนเขมรนั้น "รำงาม" การร่ายรำที่เชื่องช้าและมั่นคงของเขมรผนวกกับดนตรีประกอบนั้นเองสร้างมนต์ขลังให้คนดู บังเกิดความศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถสื่อกันได้ระหว่างผู้แสดงและผู้ชม

ความงามทางสุนทรียะเหล่านี้ทำลายกำแพงขวางกั้นทางวัฒนธรรม คนต่างชาติต่างวัฒนธรรมเมื่อได้ชมก็เห็นว่างามหลาย ลักษณะการแสดงออกของตัวละครเขมรนั้นบางทีก็ดูเป็นโบราณกว่าของไทย เนื่องจากสังคมเขมรทุกวันนี้ยังไม่มีความเจริญทางวัตถุมากเหมือนไทยในปัจจุบัน ดังนั้นจึงรักษาอารมณ์คนโบราณได้ดีกว่า

ลักษณะของการร่ายรำที่เชื่องช้าทำให้นางรำเขมรรำได้พร้อมเพรียงกันราวกับมีลมหายใจอันเดียวกัน หากชมระบำหมู่จะพบว่าการตั้งมือตั้งไม้เท่ากันหมดแสดงให้เห็นการฝึกซ้อมด้วยกันเป็นอย่างดี ขณะที่ผู้เขียนไม่พบลักษณะเช่นนี้ในนาฏศิลป์ไทย

เครื่องละครเขมรเมื่อดูบนเวทีอาจดูอับแสงกว่าเครื่องละครไทย เนื่องจากใช้เพชรน้อยและเม็ดเล็กกว่า แต่เมื่อหยิบมาดูใกล้ๆ แล้วจะเห็นฝีมือเชิงช่างที่แสดงความสามารถในการปักเครื่องที่ยังรักษาไว้ได้ดี เราอาจเห็นเค้ารอยบางอย่างในละครเขมรที่เคยเป็นของไทย ขณะที่ไทยเราปัจจุบันไม่ได้รักษาลักษณะเช่นนี้แล้ว ในการสวมเครื่องละครบางชิ้น เช่น ดอกไม้ปลายมือ ปะวะหล่ำกำไลข้อมือข้อเท้าเต็มเครื่องเหมือนละครไทยโบราณ

สมเด็จพระมหากษัตริยานีกุสุมะนารีรัตน์ พระราชมารดาของเจ้าสีหนุ พระนางทรงทำนุบำรุงการละครเขมรให้รุ่งเรือง พระนางจึงทรงเป็นพระมารดาแห่งนาฏศิลป์กัมพูชาก็ว่าได้

ระบำอัปสราเกิดขึ้นด้วยคุณูปการของพระนาง โดยนางอัปสราตัวเอกองค์แรกคือเจ้าหญิงบุพผาเทวี พระราชธิดาในเจ้าสีหนุ เป็นระบำที่กำเนิดขึ้นเพื่อเข้าฉากภาพยนตร์เกี่ยวกับนครวัดที่กำกับโดย Marchel Camus ชื่อเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า L"Oiseau du Paradis ก็คือ The Bird of Paradise หลังจากนั้นระบำอัปสราก็เป็นระบำขวัญใจชาวกัมพูชา ใครได้เป็นตัวเอกในระบำอัปสรานั้นเชื่อได้ว่าเป็นตัวนางชั้นยอดแห่งยุคสมัย

นครวัดเป็นอุดมคติแห่งชาติกัมพูชา นางอัปสราในนครวัดก็เป็นอุดมคติแห่งสตรีเขมร ดังนั้นการชุบชีวิตนางอัปสราออกมาเป็นระบำระดับชาตินั้นมีความหมายในเชิงชาติพันธุ์นิยม เพื่อให้เข้าถึงสัญลักษณ์สูงสุดแห่งสตรีแขมร์ ระบำอัปสรามีชื่อเสียงขึ้นมาด้วยการอิงบนความยิ่งใหญ่ของนครวัด และระบำอัปสราก็จำลองภาพสลักที่แน่นิ่งไร้ความเคลื่อนไหวในนครวัดให้หลุดออกมามีชีวิต

ผู้เขียนสันนิษฐานว่าดอกไม้เหนือเศียรนางอัปสราส่วนใหญ่ในปราสาทนครวัดคือดอกฉัตรพระอินทร์ เนื่องจากรูปทรงของดอกชนิดนี้พ้องกันกับภาพสลัก เขมรเรียกดอกไม้ชนิดนี้ว่า "ดอกเสนียดสก" เสนียด คือสิ่งที่เอามาเสียด และสก คือผม ชื่อของดอกไม้บ่งบอกว่าเป็นดอกสำหรับเสียดผม เข้าใจว่าสมัยโบราณสตรีชั้นสูงของเขมรคงประดับศีรษะด้วยดอกไม้หลายชนิด หนึ่งในนั้นคือดอกฉัตรพระอินทร์ ดังหลักฐานภาพสลักนางอัปสราที่พบในปราสาทหินขอม ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจของช่างสลักจากที่ได้เห็นของจริง

นาฏศิลป์ของเขมรนั้นมีดีอยู่อย่าง คือคนที่มารำไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ล้วนต้องได้รับฝึกมาเป็นอย่างดีก่อนขึ้นเวที และมักเป็นนักเรียนนาฏศิลป์โดยตรง หามีซ้อมก่อนออกงานเดือนสองเดือนแล้วขึ้นเวทีไปควักกะปิให้คนดูรำคาญตารำคาญใจอย่างใดไม่

นักเรียนนาฏศิลป์ก็นุ่งผ้าแดงเช่นเดียวกับไทย ตัวพระนุ่งผ้าน้ำเงิน แต่บางภาพก็เห็นนุ่งแดงกันทั้งโรง แต่สวมเสื้อคอกลมรัดตัว แขนสั้น เสื้อรัดตัวนั้นทำให้สังเกตสังกาการดัดและจัดสรีระได้ง่าย ปัจจุบันมีสอนกันที่มหาวิทยาลัยภูมินท์วิจิตรศิลปะที่ข้างพระบรมมหาราชวังกรุงพนมเปญ และสากลวิทยาลัยวิจิตรศิลปะ

เขมรอ้างว่าท่าร่ายรำของเขมรมีถึง ๔,๕๐๐ ท่า เป็นเรื่องสุดวิสัยที่จะมานั่งนับว่ามีเท่านั้นจริงหรือไม่ ท่ารำที่ดูโดดเด่นของเขมรคือท่าพักเท้าไว้บนน่องอีกข้างหนึ่ง โดยรับน้ำหนักตัวไว้บนขาข้างเดียว ซึ่งท่านี้เราก็พบในท่ารำเก่าๆ ของไทย แต่คงไม่ตั้งชันเท่ากับที่ปรากฏในภาพสลักฝาผนังบนปราสาทหินขอมดอก และอีกท่าคือนิยมตั้งส้นเท้าค้างกับพื้นเมื่อก้าวเท้า ซึ่งนับได้ว่าเป็นลักษณะเฉพาะของเขมรอีกประการหนึ่ง

ตัวนางเขมรมักอวบ เหตุผลก็คือตัวนางที่ห่มสไบนั้นจำต้องเปิดหัวไหล่ หากตัวนางผอมโกร่งเวลาห่มสไบจะเห็นกระดูกไหปลาร้า ดูไม่งามตา หากสูงยาวเข่าดีควรต้องไปหัดพระ

ผู้เขียนเคยเห็นนางละครเขมรเก็บขนตาปลอมโดยม้วนไว้กับใบตองแห้ง ก็แปลกตาดี ขนตาที่ถักเองจะงอนไปตามม้วนใบตองแห้งนั้น ทั้งๆ ที่สมัยนี้ก็มีขนตาปลอมจากเมืองไทยวางขายในตลาดแล้ว

ละครโขนยังมีแสดงอยู่บ้าง แน่นอนไม่พ้นตอนสั้นๆ ของเรื่องรามเกียรติ์ ส่วนหนังใหญ่นั้นที่มีชื่อเสียงคือคณะที่จังหวัดเสียมเรียบ นับว่ายังรักษาจังหวะท่าทางเป็นหนังใหญ่อยู่ ขณะที่คณะที่พนมเปญคนแสดงเป็น "นาฏการี" ซึ่งมีพื้นละครโขนและนาฏศิลป์ เล่นได้จับฉ่าย ท่าทางจึงเป็นท่าทางแบบนาฏศิลป์ไม่ใช่ลีลาหนังใหญ่แบบเสียมเรียบ ครูหนังใหญ่รุ่นเก่าของเสียมเรียบเรียกหนังใหญ่ว่า "นัง" ซึ่งก็มาจากคำไทย "หนัง" นั่นเอง แต่ส่วนคณะนาฏศิลป์ที่เสียมเรียบที่นิยมจัดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติดูนั้นฝีมือทรามกว่าคณะที่พนมเปญ ก็เหมือนระบำของไทยที่รำให้นักท่องเที่ยวดูนั้นแล กระไรจะสู้กรมศิลป์

ส่วนระบำพื้นบ้านนั้นมักเป็นระบำที่แสดงวิถีชีวิตชาวบ้าน การทำมาหากิน หรือการเลี้ยงฉลองพิธีกรรมของชนกลุ่มน้อย เช่น ระบำจับปลา ระบำเก็บกระวาน ระบำสวิง ระบำตรุด ระบำนกยูง ระบำกะลา ระบำของชนกลุ่มน้อยต่างๆ ทั้งชาวจาม ชาวส่วย ชาวพนอง และรำวงในงานรื่นเริงนั้นก็เป็นประเพณีที่ดีงาม แต่ลีลาของมือนั้นแตกต่างจากไทย คือหมุนมือเข้าหาตัวขึ้นบนและผายออกนอกตัว ไม่มีการจีบนิ้ว

ผู้เขียนเคยไปเที่ยวจังหวัดกำปงจามและเห็นคนหนุ่มสาวที่นั่นเล่นเพลงปฏิพากย์กัน ร้องรำโต้ตอบกันเองเมื่อพากันมาเที่ยวบนเขา โดยไม่มีผู้ชม นับว่าการละเล่นพื้นบ้านชนิดนี้ของกัมพูชายังสดและมีชีวิตอยู่ แถมยังเล่นกันโดยคนหนุ่มสาว ขณะที่บ้านเราเพลงปฏิพากย์กลายเป็นการแสดงหรือการสาธิตไปหมดแล้ว ก็ยินดีแก่ใจเมื่อได้เห็นของจริง

กัมพูชานั้นจัดการแสดงละเม็งละครให้ได้ชมอยู่เนืองๆ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล เจ้านาย และต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "อัลลิยอง ฟรองเซส์" ศูนย์วัฒนธรรมฝรั่งเศสที่กรุงพนมเปญ ซึ่งมีส่วนช่วยเหลือสนับสนุนศิลปะประจำชาติชนิดนี้ของกัมพูชาเป็นอย่างยิ่ง

การแสดงนาฏศิลป์กัมพูชาที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวไปด้วยคือมหรสพอังกอร์ จัดแสดงรามเกียรติ์นานาชาติที่จัดแสดงที่นครวัดและนครธม ผู้ชมจะได้มีโอกาสเที่ยวนครวัด ปราสาทหินทั้งเมืองเสียมเรียบและชมนาฏศิลป์กัมพูชาที่แสดงโดยนักแสดงฝีมือระดับชาติด้วย เป็นงานที่ไม่ควรพลาด และมีผู้คนจากทั่วโลกรอชมงานนี้

ผู้เขียนก็เป็นผู้หนึ่งที่รอชมและหวังว่าจะได้มีโอกาสไปชมอีกสักครั้งสองครั้ง



นางละครไทยคนสุดท้าย

ในราชสำนักกัมพูชา

"แม่เมือน" ดาราภาพยนตร์เขมรที่ชาวเขมรทุกคนรู้จัก "ยายเป็นคนปากน้ำโพค่ะ" แม่เมือนกล่าวเป็นภาษาไทยชัดถ้อยชัดคำกับผู้เขียนซึ่งพบแม่เมือนในปี ๑๙๙๔ ตอนนั้นเธออายุปาเข้าไป ๗๙ ปีแล้ว "ยายเป็นคนไทยค่ะ" เธอบอกกับผู้เขียนขณะที่ประวัติของเธอในหนังสือพิมพ์มีพ่อเป็นไทยมีแม่เป็นลาว เธอติดตามแม่ซึ่งเป็นนางรำมารำในราชสำนักตั้งแต่อายุ ๑๔ ในปี ๑๙๒๙ ตามคำชักชวนของเจ้าสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ และอยู่ได้ปีเดียวแม่เธอก็ต้องกลับไปดูแลพ่อซึ่งป่วย แต่แล้วแม่ก็เสียชีวิตด้วยกาฬโรคและสิ้นไปก่อนพ่อ เมื่อแม่เสียก็อยู่รำต่อ

สมัยอยู่ในวังนั้นแม่เมือนเล่าว่ากลัวจะต้องถูกเรียกให้ "ถวายตัว" แทบแย่ และต่อมาผันตัวเองมาเป็นดาราภาพยนตร์ เธอผ่านช่วงเขมรแดงมาได้เนื่องจากเธอเป็นดารายอดนิยม พวกเขมรแดงไม่ฆ่าเธอเพราะชอบบทบาทการแสดงของเธอ พวกเขมรแดงชอบให้เธอแสดงนู่นแสดงนี่ให้ชม เธออยู่รอดมาได้จนได้รับรางวัลทางการแสดงเมื่อปี ๑๙๙๖ หลังจากนั้นไม่นานแม่เมือนก็เสียชีวิตลง
หน้า 40






Create Date : 22 เมษายน 2550
Last Update : 22 เมษายน 2550 23:35:36 น. 29 comments
Counter : 28740 Pageviews.

 
ดี
รักนะ
0862257209


โดย: พงศกร IP: 203.113.61.104 วันที่: 25 กันยายน 2550 เวลา:13:11:15 น.  

 
อยากคุยในยามวาง




โดย: เชิดศักดิ์ เรืองรัมย์ IP: 125.24.216.112 วันที่: 30 พฤศจิกายน 2550 เวลา:9:15:10 น.  

 


โดย: 1234 IP: 124.121.236.52 วันที่: 5 ธันวาคม 2550 เวลา:13:52:54 น.  

 
อยากได้เพลงประกอบการรำระบำอัปสร คัฟ จะเอามาสอนเด็ก หาซื้อยากอ่าไค มีอัฟไห้หน่อยะคัฟ


โดย: ครูที IP: 124.121.247.217 วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:17:53:38 น.  

 
อยากรู้ข้อมูลนี้มานาน ขอบคุณค่ะ


โดย: เจ IP: 203.172.169.226 วันที่: 18 มีนาคม 2551 เวลา:21:45:17 น.  

 
อยากทราบที่มาของข้อมูลค่ะี่
มีโอกาสได้ไปเรียนนาฏศิลป์ที่มหาวิทยาลัยภูมินท์วิจิตรศิลปะค่ะ
ได้ทราบว่ามีคนไทยที่เข้าไปเรียนและเป็นอาจารย์สอนคือแม่เมือน อยากทราบประวัติค่ะ
เพราะครูที่สอนรำท่านบอกว่า แม่เมือนรำสวยมากหรือถ้ามีภาพถ่ายก็เอามาลงบ้างนะค่ะ
อยากเห็น


โดย: ปณิสรา IP: 124.120.143.73 วันที่: 3 เมษายน 2551 เวลา:3:06:47 น.  

 
ทำไมบ่มีเนื้อเพลง


โดย: แนน IP: 117.47.9.31 วันที่: 25 พฤษภาคม 2551 เวลา:11:53:31 น.  

 
อยากได้เนื้อเพลงนาฎยศัพท์


โดย: แนน IP: 117.47.9.31 วันที่: 25 พฤษภาคม 2551 เวลา:11:55:23 น.  

 


โดย: แนน IP: 117.47.9.31 วันที่: 25 พฤษภาคม 2551 เวลา:11:56:53 น.  

 
คุณแนน ติดต่อมานะครับ teded_ed@hotmail.com


โดย: เอก IP: 61.19.152.186 วันที่: 29 มิถุนายน 2551 เวลา:17:55:42 น.  

 
ขอบคุณคะที่เอาเรื่องนี้มาลง จะเอาไปทำรายงาน กำลังหาอยู่พอดี


โดย: ใยไหม IP: 202.29.14.241 วันที่: 21 สิงหาคม 2551 เวลา:10:08:49 น.  

 
ขอบคุณมากคับ


โดย: Film IP: 114.128.60.16 วันที่: 5 กันยายน 2551 เวลา:19:56:31 น.  

 
มีเพลงในราชสำนักขอมเยอะค่ะ
เพลงช้า-เพลงเร็ว
ระบำอัปสราก็มีค่ะ เป็นของกรมศิลปะ
แต่น่าเสียดายค่ะที่เพลงค่อนข้างเบา ถ้าอยากได้ทิ้ง E-mail
ไว้ นะคะจะจัดส่งให้หรือถ้าสงสัยเรื่องท่ารำ
คำร้องก็จะจัดส่งให้ค่ะ
ปล.ดีใจจังที่ได้ใช้วิชาที่เรียนให้มีประโยชน์สักที่


โดย: ปณิสรา IP: 124.120.146.147 วันที่: 26 กันยายน 2551 เวลา:2:26:20 น.  

 
อยากรู้ข้อมูลอีกอ่ะคะ และสนใจอยากศึกษาการรำของเขมรมากๆตอนนี้เรียนรำไทยคะแต่อยากไปศึกษาที่นั่นได้ไหมคะต้องทำอย่างไรแนะนำด้วยนะคะ
ติดต่ออีเมล์ก็ได้คะ
nuy87@hotmail.com


โดย: กนิษฐา IP: 202.28.62.245 วันที่: 6 พฤศจิกายน 2551 เวลา:9:44:49 น.  

 
อยากได้ประวัติเกี่ยวกับนาฏศิลป์เขมรบ้างจังใครมีก็เผื่อแผ่กันหน่อยนะค่ะ


โดย: รสสุคนธ์ IP: 110.49.112.35 วันที่: 18 สิงหาคม 2552 เวลา:17:04:52 น.  

 
หวัดดีครับ
ผมอยากได้เพลงและเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ครับ
พอดีจะเรียนต่อโทนาฏศิลป์ครับ
ster_ball@hotmail.com


โดย: บอล IP: 172.22.25.49, 202.29.50.40 วันที่: 19 พฤศจิกายน 2552 เวลา:14:27:20 น.  

 
สวัสดีครับ คือผมต้องการภาพลายน้ำนาฎยศัพท์เพื่อใช้ทำรายงานครับ
liean_yanms@hotmail.com


โดย: จิณณ์ IP: 124.121.223.88 วันที่: 21 พฤศจิกายน 2552 เวลา:8:56:56 น.  

 
น่าสนใจดีคะ
สืบสานวัฒนธรรมกันให้มากๆๆ


โดย: วัล IP: 124.157.147.30 วันที่: 28 ธันวาคม 2552 เวลา:15:27:39 น.  

 
พี่ ปณิสรา นู๋อยากได้เพลง อยากได้ท่ารำด้วยข่ะ
ribbitking_02@hotmail.com
จะเอาไปทำการแสดงที่ รร
จะทำให้อลังการเลยข่ะ
อยากได้ๆๆๆๆๆจิงๆๆนะ มใครมีเพลง มีวิธีการรำไร มีเนื้อหาไร ช่วยน่อยนะข๊ะ เปนการแสดงที่ห้องนู๋ทุ่มกันจิงๆ
ขอความกรุณาด้วยนะข๊ะ
พี่ปณิสรา


โดย: แมคกี้ IP: 58.9.131.80 วันที่: 25 มิถุนายน 2553 เวลา:23:22:43 น.  

 
อยากได้วิดีโอระบำอัปสรา และเพลงประกอบการรำ
ก่อนวันอังคาร
adviser_friend5@hotmail.co.th


โดย: แจ๋ม IP: 110.49.205.69 วันที่: 3 กรกฎาคม 2553 เวลา:8:07:02 น.  

 
คือ ผม อยากได้ เพลงประเภท รำอัปสรา และ ท่ารำประกอบเพลง กับ รำอย่างอืนฯที่ยาก เพื่อจะทำงานส่ง อาจารย์ ผม ขอความกรุณา ช่วยผมที นะครับ ส่งอีเมลล์ มาได้ที่ pinyo_77@hotmail.com นะครับ ขอบพระคุณอย่างสูง


โดย: รัก ครับส IP: 125.27.10.83 วันที่: 15 กันยายน 2553 เวลา:20:37:33 น.  

 
ดีคับ ผมขอด้วยนะครับ รบกวนด้วยนะครับ
ทั้งเพลง และก็ท่ารำด้วยครับkittisak192um@hotmail.com
ขอบคุณมากครับ


โดย: อั้ม IP: 1.46.89.158 วันที่: 4 ตุลาคม 2553 เวลา:10:26:35 น.  

 
อยากได้เช่นกันค่ะ
เพลงและท่ารำ
เพราะจะนำไปประกอบการทำรายงานและนำเสนอ
รบกวนด้วยนะคะ
ja_pegazine@hotmail.com



โดย: จ๋า IP: 10.0.83.49, 10.0.0.2, 202.28.25.124 วันที่: 8 กรกฎาคม 2554 เวลา:12:52:24 น.  

 
เป็น blog เขมร และแปลภาษาเขมรได้ดีจริงๆครับ


โดย: ต้าโก่ว วันที่: 12 กรกฎาคม 2554 เวลา:9:59:44 น.  

 
รั๊กที่สุดเลย


โดย: นิว IP: 58.9.95.140 วันที่: 31 กรกฎาคม 2554 เวลา:12:48:44 น.  

 
โคตร


โดย: ฟิว IP: 101.108.175.117 วันที่: 12 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:14:23:42 น.  

 
ดี


โดย: เม IP: 171.100.82.45 วันที่: 2 สิงหาคม 2555 เวลา:16:02:15 น.  

 
ดีมากเลยครับ ให้ความรู้เยอะมากกกกกกก


โดย: นายพัทธ จอยจ้อย IP: 180.180.174.57 วันที่: 19 มกราคม 2566 เวลา:13:04:59 น.  

 
ปัจจุบันนี้นาฏศิลป์ไทยดังกว่า งดงามกว่า ขลังกว่า
(ส่วนตัวผมนะ)


โดย: ติณณภพ IP: 185.78.167.48 วันที่: 13 มิถุนายน 2566 เวลา:23:21:40 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

จินตะหราวาตี
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




สำนักละครอนุรักษ์นัจยากร
Friends' blogs
[Add จินตะหราวาตี's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.