|
ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา
ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา โดย ธีระ ภู่มณี
รายงานประกอบวิชาศิลปกรรมศาสตร์ปริทรรศน์ (FA101) ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551
งานเขียนที่บันทึกเเรื่องราวของพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของชาติหรือเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับประเทศชาติ เราเรียกว่า พงศาวดาร เช่น พงศาวดารพม่า พงศาวดารมอญ พงศาวดารไทย เป็นต้น เรื่องราชาธิราชเป็นวรรณกรรมที่ชาวรามัญ (มอญ) เชื่อถือว่าเป็นพงศาวดารที่เขียนขึ้นจากเรื่องจริง โดยบันทึกข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวกับบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของชนชาติมอญ ดังนั้น จึงเป็นวรรณกรรมที่มีคุณค่าที่สำคัญสำหรับชาวมอญ
ราชาธิำราชเป็นนิยายร้อยแก้วที่มีการดำเนินเรื่อง ตัวละคร และบทสนทนาเช่นเดียวกับนวนิยายในปัจจุบัน มีผู้แปลราชาธิราชในตอนต้นของรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชแต่ไม่ปรากฎว่าผู้แปลเป็นใคร ทรงมีพระราชปรารภว่า เรื่องราชาธิราชซึ่งแปลมาจากภาษารามัญนั้นแตกต่างไปจากเรื่องเดิมที่เคยได้ทรงฟังมาแต่ก่อน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กวีในราชสำนักแปลเรียบเรียงขึ้นมาใหม่เพื่อเป็นประโยชน์แก่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชบริพาร เจ้าพระยาพระคลัง (หน) พร้อมด้วยกวีในราชสำนักในสมัยนั้นจึงรับสนองพระราชดำริแปลและเรียบเรียงเรื่อง ราชาธิราช ขึ้นใหม่เป็นนวนิยายร้อยแก้วเรื่องยาว
ลักษณะร่วมทางศิลปะของนาฏกรรมและวรรณกรรม
สำหรับนาฏกรรมไทย เรื่อง ราชาธิราช ตอนสมิงพระรามอาสา เป็นตอนที่มีวรรณกรรมแต่งให้มีเรื่องราวสนุกสนานชวนติดตามและมีข้อคิดเป็นคติเตือนใจ เป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่จะเป็นหัวหน้าปกครองผู้คน เนื้อหาของวรรณกรรมเกี่ยวกัับการปกครองบ้านเมืองให้สงบสุขและการต่อสู้เพื่อปราบศัตรู มีข้อคิดจากพฤติกรรมของตัวละครและมีบทสนทนาที่เป็นคติสอนใจ โดยที่รัชกาลที่ 1 ทรงมีพระราชประสงค์จะให้ข้าราชบริพารน้อยใหญ่ในฝ่ายทหารและพลเรือนของพระองค์ จะได้สดับจำไว้เป็นคติบำรุงสติปัญญาไปในภายหน้า
ความงามทางด้านศิลปะ ในด้านวรรณกรรม เรื่องราชาธิราชใช้การบรรยายโวหรที่สวยงาม ในการเล่าเรื่อง รูปประโยคของคำไม่ซับซ้อน ทำให้อ่านเสร็จแล้วเข้าใจง่ายว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน และอย่างไร แต่ถ้อยคำที่ใช้บางคำเป็นภาษาเก่าที่ต่างจากปัจจุบัน ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจความหมายของศัพท์คำนั้นๆ เสียก่อน จึงจะเข้าใจความหมายของคำไทยที่ใช้อยู่ในทุกวันนี้ด้วย ตัวอย่างเช่น คำว่า ต้อง ในวรรณกรรมเรื่องราชาธิราช ใช้ว่า เอามือต้องหลังม้า ซึ่งหมายถึงการเอามือแตะหรือสัมผัสหลังม้า ปัจจุบันคำว่า ต้อง ในความหมายนี้มักใช้กันในคำซ้อนว่า แตะต้อง อย่างนี้เป็นต้น
ในด้านนาฏกรรม การแสดงนาฏกรรมเรื่องราชาธิราชนั้น ผู้ที่ประพันธ์บทจะต้องมีความซาบซึ้งและรู้พฤติกรรมของตัวละครตัวนั้นๆ อย่างดี เพื่อที่จะถ่ายทอดความรู้สึกและบทบาทในวรรณกรรมให้ออกมา กิริยา ท่าทาง ตามบทและโวหารของวรรณกรรม ยกตัวอยา่งเช่ย ในบทตอนที่ พระราชธิดาเสียพระทัยที่จะต้องอภิเษกกับสมิงพระราม ซึ่งนางทูลพระมารดาว่า อนึ่ง ถ้าได้สวามีเป็นลูกกษัตริย์ มีชาติตระกูลเสมอกันเล่าก็ตาม นี่จะได้ผัวมอญต่างภาษา เป็นเพียงนายทหาร อุปมาดังหงส์ตกลงในฝูงกา ราชสีห์เข้าไปปนกับหมู่เสือ พระราชมารดาตอบว่า ซึ่งลูกเปรียบชาติเขาเหมือนกานั้นก็ชอบอยู่ แต่เขาประกอบศิลปศาสตร์วิชาการทหาร ก็เปรียบเหมือนกาขาวมิใช่กาดำ พระราชบิดาจะทรงชุบเลี้ยงแล้วก็จะเป็นดังหงส์ ซึ่งเปรียบเหมือนเสือนั้น ถ้าพระราชบิดาชุบย้อมแล้วก็คงจะกลับเป็นราชสีห์ ในความงามด้านวรรณกรรมตอนนี้ยังไม่มีการแสดงออกมาให้เห็นในปัจจุบัน เพราะมักจะข้ามไปตอนแต่งงานกันเลย ดังนั้นจึงอยากที่จะเห็นนักแสดงของนิสิตสาขานาฏกรรม ม.รามคำแหง จัดทำบทและจัดแสดงในโอกาสต่างๆ ด้วย ก็จะเป็นประโยชน์ต่อนิสิตและวงการนาฏกรรมไทยต่อไป
ตัวบ่งชี้ความงามทางศิลปะด้านนาฏกรรมและวรรณอีกด้านหนึ่งก็คือแนวความคิดหรือแก่นความหมายของบเรื่อง นั่นก็คือ แม้จะมีอุปสรรคหรือข้อด้อย แต่ความสำเร็จก็เกิดขึ้นได้ด้วยฝีมือและปัญญา ดังจะเห็นได้จากตัวละครของเรื่องไม่ว่าจะเป็นพระเจ้าราชาธิราช พระเจ้าฟ้ารั่วในตอนต้นเรืื่อง มาจนกระทั่งนายทหารอย่างสมิงพระราม
การเป็นข้ารับใช้เจ้านายสองฝ่ายในเวลาเดียวกันก็ทำให้ดีได้ยาก และถือว่าไมเหมาะสมเพราะมิได้อุทิศตัวตนด้วยความจงรักภักดีต่อเจ้านายแต่ผู้เดียว คนโบราณจึงมีคำสอนเปรียบเทียบว่า หาบสองบ่า อาสาสองเจ้า หาควรไม่
เวลาเราหาบของบนบ่า เราจะหาบได้ทีละข้าง เพราะต้องตอยระมัดระวังมิให้ของที่หาบไว้นั้นตกลงมา สังเกตได้จกาคนที่หาบของเร่ขาย มือข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างจะต้องจับยึดไม้คานที่แขวนหาบไว้ให้มั่น การหาบของสองบ่าในเวลาเดียวกันนั้น ย่อมทำให้เกิดคความลำบากกและทำให้ดีได้ยากมาก
ความสัมพันธ์ของนาฏกรรมและวรรณกรรมเรื่องราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสามิได้เป็นเพียงบันทึกและการแสดงเหตุการณ์เชิงประวัติศาสตร์เหมือนกับพงศาวดารเรื่องอื่นๆ เท่านั้น แต่เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นเพราะลักษณะนิสัยของมนุษย์ปุถุชน เหตุการณ์ในเรื่องและลักษณะนิสัยของตัวละครต่างก็เกื้อหนุนและสอดคล้องประสานกันอยา่งกลมกลืน มีการดำเนินเรื่องอย่างจูงใจ ชวนให้น่าติดตามไม่ว่าจะเป็นทางด้านวรรณกรรมหรือการแสดงนาฏกรรม อีกทั้งยังให้ข้อคิดจากพฤติกรรมของตัวละครในแง่มุมต่างๆ กันอย่างชัดเจนอีกด้วย ดังนั้น วรรณกรรมเรื่องราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสาที่มีผู้นำมาทำเป็นาฏกรรมแล้วจัดแสดงขึ้น จึงเป็นวรรณกรรมและนาฏกรรมชิ้นเอกของเมืองไทยเรื่องหนึ่งที่เราคนไทยทุกคนต้องศึกษาและรักษาไว้ อย่างเป็นรูปธรรมให้คงอยู่และเป็นที่นิยมตลอดไป
Create Date : 13 ตุลาคม 2551 |
Last Update : 13 ตุลาคม 2551 20:35:41 น. |
|
0 comments
|
Counter : 22662 Pageviews. |
 |
|
|
| |
|
|