|
ภาษาย่อยในจังหวัดน่าน
ภาษาย่อยในจังหวัดน่าน
สำหรับภาษาในจังหวัดน่าน ถือว่าเป็นภาษาถิ่น (Dialects) ที่มีเขตทางภูมิศาสตร์ที่ผู้อยู่อาศัยเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง โดยจะเรียกว่า ภาษาถิ่นเหนือ และที่ยกเอาภาษาถิ่นเหนือในจังหวัดน่านมาอธิบายนี้ ก็ถือว่าเป็นภาษาถิ่นย่อย (sub-dialects) ด้วยในภาษาถิ่นเหนือ มีอยู่ในหลายจังหวัดและแต่ละจังหวัดมีสำเนียงในการออกเสียงเป็นลักษณะเฉพาะของตน บางครั้งนอกจากจะมีสำเนียงอันเป็นลักษณะพิเศษแล้ว ก็จะมีการสร้างคำอันเป็นคำเฉพาะของคนที่อยู่ในถิ่นนั้น ๆ ด้วย ดังเช่นในจังหวัดน่าน
จังหวัดน่านถูกกั้นออกจากดินแดนจังหวัดอื่น ๆ ในภาคเหนือด้วยเทือกเขาผีปันนั้นตะวันออก ทำให้การไปมาหาสู่และปฏิสัมพันธ์ของคนในจังหวัดน่านกับเมืองอื่น ๆ เป็นไปได้อย่างล่าช้า กอปรกับลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบในหุบเขาและมีภูเขาล้อมรอบทุกด้านจึงทำให้จังหวัดน่านเป็นเมืองที่ปิดกลาย ๆ และลักษณะเช่นนี้เองที่ทำให้จังหวัดน่านสร้างอัตลักษณ์เฉพาะตัวและยังคงอัตลักษณ์นั้นเอาไว้ได้
หากพิจารณาในแง่ของประวัติศาสตร์แล้ว จะพบว่า จังหวัดน่าน มีความเจริญอยู่ภายในอยู่แล้ว อีกทั้งยังเป็นรัฐอิสระตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ จวบจนมาผนวกเข้ากับเมืองล้านนาเชียงใหม่ สมัยพระเจ้าติโลกราช ในปี พ.ศ. ๑๙๙๓ เมืองน่านก็เลยถูกวัฒนธรรมล้านนาครอบงำตลอดมา ทำให้ภาษาของเมืองน่าน มีลักษณะเหมือนกันกับภาษาท้องถิ่นเหนือส่วนใหญ่ (ยกเว้นในเมืองเชียงใหม่) เช่นว่า ไม่มีเสียงสระเอือ แต่จะใช้เสียงสระเอีย แทน เป็นต้น
แม้ว่าปัจจุบัน จะมีการผสมกลมกลืน กับวัฒนธรรมไทลื้อที่อพยพหรือถูกกวาดต้อนมาไปบ้างก็ตาม แต่อัตลักษณ์ที่เป็นแบบฉบับของเมืองน่านก็ยังคงอยู่ในปัจจุบัน
ลักษณะเฉพาะที่มีอยู่ในภาษาของทางเมืองน่านก็จะมีอยู่ คือ สำเนียง และคำศัพท์
สำหรับทางสำเนียงนั้น ทางเมืองน่าน ซึ่งจะรวมถึงเมืองแพร่ พะเยา ที่ติดต่อปฏิสัมพันธ์กันตลอดมาตั้งแต่อดีตนั้น มีความคล้ายคลึงกัน คือเสียงจะขึ้นจมูกมากกว่าที่อื่นในล้านนา บางทีทำให้ออกเสียงคำเดียวกัน แต่เพี้ยนกันไปคนละเสียงวรรณยุกต์ก็มี เช่น คนเมืองน่านจะออกเสียงของคำว่า ง้าว ซึ่งสำเนียงที่ออกไปนั้นจะไปละม้ายกับคำว่า ง่าว ในสำเนียงเชียงใหม่ และมักจะทำให้เกิดการเข้าใจผิดกันบ่อยครั้ง
ส่วนด้านคำศัพท์นั้น ก็มีคำศัพท์ที่หลากหลายที่มีใช้กันในเมืองน่านและใกล้เคียง ซึ่งจะขอยกตัวอย่างคำศัพท์ที่แตกต่างนั้น เพื่อให้เห็นลักษณะเฉพาะภาษาถิ่นจังหวัดน่านได้ดียิ่งขึ้น ดังเช่น
คำลงท้ายประโยคคำถาม มักจะมีการลงท้ายด้วยเสียงสระแอ แทนเสียงสระไอ เช่น ไปที่แหน่? หรือว่า ยะจะแด? แทนที่จะพูดว่า ไปที่ไหน? หรือ ยะจะใด? เหมือนภาษาล้านนาในจังหวัดอื่น ๆ ส่วนคำอื่น ๆ ก็จะเช่นคำว่า
เข้าหนมเหนียบ ซึ่งทางล้านนาส่วนใหญ่จะเรียกว่า เข้าหนมจ็อก อันหมายถึง ขนมเทียน
ยาม ซึ่งไม่ได้แปลว่าคราว, ครั้ง, เวลา ไม่ได้แปลว่าฤดูกาล ไม่ได้แปลว่าพังผืด ไมได้แปลว่าฆ้องเหมือนภาษาไทลื้อ ไม่ได้แปลว่าดินปืนเหมือนภาษาไทยใหญ่ ไม่ได้แปลว่า ยาม ที่เป็นคนเฝ้าสถานที่หรือระวังภัยเหมือนภาษาไทย แต่ทางเมืองน่านจะหมายถึง สักครู่ หรือ คำเดียว (อ่าน กำเดว) ในภาษาล้านนาทั่วไป
เตี้ย ในที่นี้ก็ไม่ได้หมายถึงต่ำเตี้ย แต่จะหมายถึงเยื่อไม้ไผ่ที่ติดกับข้าวหลาม ซึ่งทางเชียงใหม่หรือล้านนาทั่วไปจะเรียกว่า เจี้ย
ทำให้เห็นว่า แหล่งที่อยู่อาศัย ทำให้เกิดความเป็นท้องถิ่นที่มีลักษณะเฉพาะเกิดขึ้น และนั่นก็เป็นตัวแปรหนึ่งในการทำให้เกิดภาษาย่อยขึ้นได้ ดังภาษาของชาวน่าน ในจังหวัดน่าน๚๛
Create Date : 01 มิถุนายน 2549 |
Last Update : 16 กุมภาพันธ์ 2550 23:30:43 น. |
|
14 comments
|
Counter : 8103 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: ป้อจาย วันที่: 1 มิถุนายน 2549 เวลา:18:06:51 น. |
|
|
|
โดย: ศศิศ วันที่: 1 มิถุนายน 2549 เวลา:20:14:38 น. |
|
|
|
โดย: ณ เชียงลาบ IP: 125.27.5.164 วันที่: 25 มีนาคม 2550 เวลา:17:44:45 น. |
|
|
|
โดย: เอ (ac.account ) วันที่: 11 กันยายน 2550 เวลา:15:31:17 น. |
|
|
|
โดย: ดเดกเ IP: 124.120.205.132 วันที่: 9 พฤศจิกายน 2550 เวลา:9:03:55 น. |
|
|
|
โดย: คนเมืองเพชร IP: 122.154.4.254 วันที่: 27 ธันวาคม 2550 เวลา:15:32:35 น. |
|
|
|
โดย: แดง IP: 58.9.39.201 วันที่: 8 มกราคม 2551 เวลา:16:26:01 น. |
|
|
|
โดย: สา IP: 125.25.213.77 วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:10:02:48 น. |
|
|
|
โดย: พิว IP: 124.157.220.116 วันที่: 18 สิงหาคม 2551 เวลา:13:42:52 น. |
|
|
|
โดย: พิว5079 IP: 124.157.220.116 วันที่: 18 สิงหาคม 2551 เวลา:13:45:40 น. |
|
|
|
โดย: BIG MANGO IP: 124.121.110.187 วันที่: 20 พฤศจิกายน 2551 เวลา:11:04:38 น. |
|
|
|
โดย: อยากรู้ IP: 182.53.241.197 วันที่: 31 ธันวาคม 2554 เวลา:11:28:26 น. |
|
|
|
โดย: Bank IP: 58.10.82.185 วันที่: 5 ธันวาคม 2556 เวลา:22:47:07 น. |
|
|
|
โดย: พรรษาเอง IP: 118.172.14.3 วันที่: 30 กรกฎาคม 2561 เวลา:14:07:36 น. |
|
|
|
| |
|
|