Group Blog
ล้านนาวาไรตี้
ล้านนาอักขรา
เพลงไท
All Blogs
คร่าวซอสมภมิต บทที่ ๔ ตอนที่ ๓ (จบบทที่ ๔)
คร่าวซอสมภมิต บทที่ ๔ ตอนที่ ๒
คร่าวซอสมภมิต บทที่ ๔ ตอนที่ ๑
คร่าวซอสมภมิต บทที่ ๓ ตอนที่ ๓ (จบบทที่ ๓)
คร่าวซอสมภมิต บทที่ ๓ ตอนที่ ๒
คร่าวซอสมภมิต บทที่ ๓ ตอนที่ ๑
คร่าวซอสมภมิต บทที่ ๒ ตอนที่ ๔ (จบบทที่ ๒)
คร่าวซอสมภมิต บทที่ ๒ ตอนที่ ๓
คร่าวซอสมภมิต บทที่ ๒ ตอนที่ ๒
คร่าวซอสมภมิต บทที่ ๒ ตอนที่ ๑
คร่าวซอสมภมิต บทที่ ๑ ตอนที่ ๔ (จบบทที่ ๑)
คร่าวซอสมภมิต บทที่ ๑ ตอนที่ ๓
คร่าวซอสมภมิต บทที่ ๑ ตอนที่ ๒
คร่าวซอสมภมิต บทที่ ๑ ตอนที่ ๑
คร่าวซอเรื่องธัมม์ สมภมิต
ประกาศสงกรานต์ล้านนา ปีกดยี จ.ศ.๑๓๗๒
เมืองปัวนี้เป็นเมืองดี: ว่าด้วย ปัว หรือ วรนคร
ทำไมต้องต้องเดือนแปดสองหน
ลมหนาวที่เปลี่ยนทิศ กับชึวิตที่เปลี่ยนทาง
ล้านนาคีตา ลีลาขับขาน (ตอนที่ ๓)
ล้านนาคีตา ลีลาขับขาน (ตอนที่ ๒)
ล้านนาคีตา ลีลาขับขาน (ตอนที่ ๑)
กั่นโลง(โคลง) สิบสองสิงหา
นางเทวดาผุ้รับเอาขุนสังขานต์
หนังสือปีใหม่ล้านนา ปี ๑๓๗๑ ปีกัดเป้า
หนังสือปีใหม่ ปีเปิกใจ้ จ.ศ. ๑๓๗๐
ฤๅพระเจ้าติโลกจะไม่ได้สร้างพระเจ้าทองทิพย์ที่น่าน
สุเทวบรรพต...ดอยศักดิ์สิทธิ์เหนือเมืองเชียงใหม่
ตามรอยบูรพกษัตริย์ ณ วัดเชียงยืน
เมิงเจงตุ๋ง - เมืองเชียงตุง
หนังสือปีใหม่ ปีเมืองใค้ (ปีกุญช์นพศก) จ.ศ. ๑๓๖๙ ตัว
ต้อนรับวันแห่งความรักกับ "ด้วยปุพเพ ฤๅผลกัมม์แต่งสร้าง"
"ยวน" ผู้นิราศร้างห่างมาตุภูมิ
เชียงดาว...เทวาลัยบรรพต
ผีหม้อหนึ้ง
อภัยมณีชาดก การเดินทางที่กลับด้าน
ภาษาย่อยในจังหวัดน่าน
งดงามตามแบบวิหารไทลื้อในเมืองน่าน
เลียบปราการแห่งอิสรภาพ
พระอิศวร VS พระพุทธเจ้า
สวัสดีปีใหม่...ปีใหม่ของคุณ ของผม หรือของใคร?
หนังสือปีใหม่เมือง ประจำปีรวายเส็ด จุลศักราช ๑๓๖๘ ตัว
เก็บของเก่า มาเล่าใหม่ : ไหว้สาพระธาตุ ด้วยเบื้องบาทไต่เทียว
แหล่งพำนักสุดท้ายของผู้สร้างนครเชียงใหม่
ได้ฤกษ์ขึ้นบ้านใหม่แล้ว
สวัสดีปีใหม่...ปีใหม่ของคุณ ของผม หรือของใคร?
๕...๔...๓...๒...๑...สวัสดีปีใหม่คร้าบบบบ...
พร้อมด้วยเสียงไชโยกึกก้องทั่วลานหน้าสถานีวิทยุชมชน วิทยุล้านนา ๙๗.๕ MHz. และคาดว่า หลาย ๆ ที่หลาย ๆ ทาง ก็คงจะมีลักษณะเดียวกัน คือสังสรรค์กันไป พร้อม ๆ กับเวลาของปีเก่าที่ถอยหลังไปเรื่อย ๆ และเวลาของปีใหม่ก็เดินหน้าเข้ามาประชิดทุกขณะ หากว่าใครได้เปิดวิทยุรับฟังทางคลื่นนี้ในวันนั้น คงจะได้ฟังบรรยากาศการถ่ายทอดการสังสรรค์ พร้อมกับการนับถอยหลังสู่ศักราชใหม่ไปพร้อม ๆ กัน
ผมอยู่ร่วมส่งท้ายปี ๒๐๐๕ และต้อนรับปี ๒๐๐๖ กับเหล่านักจัดรายการวิทยุชมชน ๙๗.๕ MHz. และกลุ่มมิตรแก้วสหายคำคนฟัง ทั้งร่วมสนุกแลกของขวัญ ปาร์ตี้ และจัดรายการไปด้วย นับว่าไม่แปลกอะไรกับภาพลักษณาการแบบนี้ ที่เรามักจะได้พบได้เห็นกันในโอกาสสำคัญต่าง ๆ ทั้งวันสำคัญของไทย ของจีน ของฝรั่ง ไม่ว่างานไหน ๆ เราก็รับมาและปรับให้เข้ากับวิถีทางของเราได้เสมอ (แต่จะมีพลังแค่ไหนนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง)
และเป็นไปในแบบแผนเดียวกันทั้งหมด คือ สังสรรค์ กัน อันเป็นจุดสุดท้ายในแต่ละเทศกาลเสมอ ๆ ฉะนั้นไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็ร่วมสังสรรค์ได้เช่นกัน เพียงแต่ขณะนั้น ที่แห่งนั้นเราร่วมสังคมกับใครก็เท่านั้น
ทำให้หลาย ๆ คนมักจะถามผมว่า ปีใหม่นี้ไปแอ่วที่ไหน? หรือว่า ไม่กลับบ้านหรือ?
ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากวันหยุดยาวติดต่อกันถึง ๔ วันเลยทีเดียวสำหรับเทศกาลปีใหม่ของปีนี้ที่ผ่านมา ทำให้หลายคนเดินทางท่องเที่ยวกันตามสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ กันมากมาย ดังจะเห็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ ที่ว่านักท่องเที่ยวมากางเต็นท์กันที่ดอยอินทนนท์กันแน่นขนัด หรือว่าเกิดรถติดกันอย่างมโหฬารที่ถนนห้วยแก้วขาขึ้นดอยสุเทพ ด้วยผู้คนแห่แย่งกันที่จะไปเที่ยวดอยสุเทพกัน และที่สำคัญป้ายทะเบียนรถส่วนใหญ่เป็น กรุงเทพมหานคร แทบทั้งนั้น
หยุดยาวนี้คงจะเอื้อให้คนกรุง ที่ต้องเผชิญกับการแข่งขันกันทุกเศษเสี้ยววินาที ได้มีโอกาสที่จะแวะพักหายใจและเติมพลังกายพลังใจในการออกมาเที่ยวครั้งนี้ ....แต่แน่นอนก็ย่อมที่จะหลีกไม่พ้นการแก่งแย่งแข่งขันกันอีก คือการ แข่งกันกิน แย่งกันเที่ยว นั่นเอง .... ผมว่าเราพักผ่อนอยู่ที่บ้าน ทำวันหยุดให้เป็นวันหยุดจริง ๆ จัง ๆ ไม่ได้เชียวหรือ ถึงแม้ว่าเราจะไปเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ ก็คงไม่เห็นความสวยงามของธรรมชาติเท่าไรนัก ด้วยว่ามองไปทางไหนก็มีแต่ คน กับ คน ฉะนั้นจึงทำให้ผมไม่ออกไปเที่ยวตามอย่างที่หลาย ๆ คนทำกัน
หากไม่เที่ยวกันในช่วงนี้ หลายคนก็จะกลับบ้านกัน แต่สำหรับผมนั้นไม่ได้กลับ... ไม่ใช่ว่าจะไม่เห็นความสำคัญของทางบ้าน แต่ที่ผมไม่ค่อยเห็นความสำคัญนั่นคือ วันขึ้นปีใหม่ วันที่ ๑ มกราคม นี่ต่างหาก
ทำไมผมจึงกล่าวเช่นนั้น ก่อนอื่นของเท้าความถึงความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่ กันเสียก่อน
ตอนแรกเริ่มเดิมทีนั้นไทยเราถือว่า วันแรม ๑ ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย ซึ่งชื่อเดือนก็บ่งบอกอยู่แล้วว่า เป็นเดือนที่หนึ่งตามการนับเดือนทางจันทรคติของไทยแต่เดิม การเริ่มปีใหม่ในเดือนอ้ายนี้ ปัจจุบันก็แทบจะห่างหายไปจากสำนึกของคนไทยส่วนใหญ่ไปแล้ว แต่ประเพณีการเริ่มปีใหม่ในเดือนอ้ายนี้ถูกฟื้นฟูกันมาในกลุ่มไทยใหญ่ แต่ว่าการนับวันที่เริ่มปีใหม่จะต่างกันไป คือปีใหม่ของไทยใหญ่นั้นถือเอาวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนเจ๋ง (หรือเดือนเจี๋ยง...ซึ่งก็คือเดือนอ้าย) นั่นเอง
ต่อมา วันขึ้นปีใหม่ของไทยก็เปลี่ยนอีกครั้ง คือเปลี่ยนมาเป็นวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ตามคติพราหมณ์ และต่อมาก็เลื่อนมาเป็นวันที่พระอาทิตย์ย้ายจากราศีมีน เข้าสู่ราศีเมษ หรือที่รู้จักกันดีคือวันตรุษสงกรานต์ อันเรารับมาจากอินเดียอีกต่อหนึ่งและถือเป็นวันเปลี่ยนศักราชในระบบ จุลศักราช ซึ่งเราได้ใช้กันมานาน ดังจะเห็นได้จากจารึก ตำนาน และพระราชพงศาวดารในอดีต ซึ่งอิทธิพลของวันสงกรานต์มีอยู่สูงมาก ทั้งคนไทย ล้านนา ลาว ตลอดไปถึงไทลื้อที่สิบสองปันนาด้วย ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไปข้างหน้า
ในปีพ.ศ. ๒๔๓๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่มาเป็นวันที่ ๑ เมษายน ซึ่งใช้กันมาถึง พ.ศ. ๒๔๘๔ เพราะมีการประกาศลงไว้ วันที่ ๒๔ ธันวาคม ว่าหลังจากนี้ เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่มาเป็นวันที่ ๑ มกราคม ของทุกปี ให้เหมือนกันกับนานาประเทศ ในสมัยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งใช้สืบเนื่องกันมาถึงปัจจุบัน
และวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ ๑ มกราคม นี่เองที่ทำให้ผมไม่ค่อยให้ความสำคัญกับมันเท่าไรนัก เพราะผมถือว่า ไร้จิตวิญญาณ ในตัวของมันเอง
ด้วยเรารับวัฒนธรรมการขึ้นปีใหม่มาจากตะวันตกมาหกสิบกว่าปีมานี่เอง จึงซึมเข้าไปสู่กระแสธารแห่งวัฒนธรรมที่ไหลล่องมาแต่อดีตอันยาวนานยังไม่ได้ เพราะอาจยังไม่มีรูปแบบของพิธีกรรมที่เข้มข้นเหมือนตอนสงกรานต์ ถึงแม้ว่าปัจจุบัน จะพยายามที่จะสร้างพิธีกรรมในช่วงปีใหม่สากลนี้ขึ้นมา เช่นว่า การทำบุญตักบาตรในเช้าวันที่ ๑ มกราคม การไปไหว้พระ (๙ วัด) เพื่อเป็นสิริมงคล หรืออย่างที่ผ่านมาที่เชียงใหม่ ก็มีการจัดงาน ส่งท้ายปีเก่าวิถีไทย ขึ้นปีใหม่วิถีพุทธ ขึ้นที่วัดพระธาตุดอยสุเทพ หรือที่วัดพระสิงห์ก็ตาม แต่ก็ไม่ค่อยมีพลังทางวัฒนธรรมเท่าไรนัก เพราะผู้คนส่วนใหญ่เน้นอยู่ที่ การกิน และ การเที่ยว อยู่สองประการ
เมื่อมองกลับไปดูวันขึ้นปีใหม่ในวันสงกรานต์นั้น มันล้วนเต็มไปด้วยพิธีกรรม ซึ่งทางไทยสยามนั้นอาจมองไม่ชัดเท่าวัฒนธรรมทางล้านนา ถึงแม้ว่าจะรับเอาวัฒนธรรมอันมีแบบแผนมาจากทางพราหมณ์ก็ตามที ดังเช่นเรื่องราวตำนานวันสงกรานต์จากเรื่องของธรรมบาลกุมาร และนางสงกรานต์ทั้งเจ็ด และการทำนายทายทักต่าง ๆ จากหนังสือประกาศสงกรานต์
ส่วนทางวัฒนธรรมล้านนา ได้สร้างองค์ความรู้ขึ้นใหม่โดยไม่มีนางสงกรานต์ทั้งเจ็ด แต่มี ขุนสังกรานต์ (หรือ ขุนสังขานต์) พร้อมทั้งมีการทำนายทายทักไปตามลักษณะขุนสังขาน ว่าผีเสื้ออยู่ที่ไหน อะไรเป็นพระญาแก่อะไร ซึ่งทั้งหมดล้วนแต่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต เช่นเอาไม้ที่ขวัญข้าวสถิตอยู่ไปทำไม้คันแรกข้าวในนา เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีพิธีกรรมต่าง ๆ มากมายตั้งแต่วันสังขานต์ล่องหรือวันตรุษของไทยกลาง ที่จะต้องทำความสะอาดบ้านเรือนและตนเอง ซึ่งใน
หนังสือปีใหม่
หรือหนังสือประกาศสงกรานต์บอกแม้กระทั่งว่า ให้สระผมหันหน้าไปทิศไหน ศรีอยู่ตำแหน่งไหน จัญไรอยู่ตำแหน่งไหนในร่างกาย จะได้เสริมและชำระได้ถูกเลยทีเดียว วันเน่าก็จะเป็นวันที่ระมัดระวังในเรื่องการกระทำ และวันพระญาวันหรือวันเถลิงศก อันถือว่าเป็นวันที่สำคัญที่สุด พิธีต่าง ๆ จะทำกันในวันนี้ โดยไปวัดทำบุญ ถวายเจดีย์ทราย ทานทุง ทานไม้ค้ำโพธิ์ ฯลฯ ถัดนั้นก็จะเป็นวันปากปี ซึ่งก็มีการทำบุญสะเดาะเคราะห์ ทั้งคนในครอบครัว และหมู่บ้าน เป็นต้น ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าในวันสงกรานต์ประกอบไปด้วยความเชื่อและพิธีกรรมมากมาย มีความหมายในฐานของตัวปัจเจกเองด้วย และมีความหมายในฐานของคนทั้งสังคมอีกด้วย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงพลังทางวัฒนธรรมที่ได้สั่งสมกันมาจนถึงปัจจุบัน วันสงกรานต์หรือปีใหม่ไทยหรือปีใหม่เมือง ก็แล้วแต่ จึงเป็นวันที่สำคัญที่สุดในรอบปี
เมื่อมีความหมายถึงผู้คนในสังคมแล้ว ในวันสงกรานต์นี้จึงทำให้คนส่วนใหญ่เดินทางกลับบ้าน ไปอยู่ร่วมกันกับพ่อแม่ ปู่ย่าตายายที่บ้าน เพราะมีกิจกรรมที่ทำร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมข้าวของไปวัดไปวา การดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่ ที่บางทีก็ไม่ได้หมายถึงเฉพาะเพียงญาติตนเองเท่านั้น แต่จะรวมถึงผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ครูบาอาจารย์ ฉะนั้นจึงเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนที่อยู่ในสังคมทั้งหมดให้เข้มแข็งไปในตัว สิ่งนี้เป็นสิ่งที่วันที่ ๑ มกราคมนั้นยังไม่สามารถที่จะเข้าไปถึงจุดนั้นได้เลย
ปีใหม่เมืองหรือสงกรานต์ จึงมีความหมายมากกว่าปีใหม่สากลอย่างที่เทียบกันไม่ติด และทำให้ปีใหม่ที่ผ่านมาจึงรู้สึกเพียงแค่ เป็นวันหยุดอีกวันหนึ่งที่เพิ่มขึ้นมาจากเสาร์ อาทิตย์ เท่านั้นเอง ส่งผลทำให้ผมจึงสนุกสนานกับการสังสรรค์ไปตามฐานอันควรแก่วันหยุดทั่ว ๆ ไป ไม่มีกิจกรรมอะไรที่เป็นพิเศษไปจากวันหยุดประจำสัปดาห์เลยแม้แต่น้อย
๑ มกราคมที่ผ่านมาสำหรับผม คือวันแรกที่จะต้องเปลี่ยนเลข พุทธศักราช และคริสต์ศักราช เป็น ๒๕๔๙ และ ๒๐๐๖ ในเอกสารต่าง ๆ ก็เท่านั้นเอง
แล้วคุณล่ะ เห็นว่าอย่างไรกับคำว่า ปีใหม่? ๚๛
Create Date : 20 มกราคม 2549
Last Update : 20 มกราคม 2549 1:38:22 น.
20 comments
Counter : 840 Pageviews.
Share
Tweet
แวะมาทักทายตอนดึกๆ คะ
โดย:
ตะวันสีชมพู
วันที่: 20 มกราคม 2549 เวลา:0:17:16 น.
มาแอบดูค่ะ
โดย:
โอน่าจอมซ่าส์
วันที่: 20 มกราคม 2549 เวลา:0:19:53 น.
ชอบสำนวนมากครับ
โดย: Nawatip IP: 203.188.61.156 วันที่: 20 มกราคม 2549 เวลา:0:20:11 น.
อ่านๆๆๆๆจ้า..
โดย:
VSr.
วันที่: 20 มกราคม 2549 เวลา:0:23:58 น.
วันขึ้นปีใหม่ในวันที่ ๑ มกราคม นี่เองที่ทำให้ผมไม่ค่อยให้ความสำคัญกับมันเท่าไรนัก เพราะผมถือว่า ไร้จิตวิญญาณ ในตัวของมันเอง
................
ชอบค่ะประโยคนี้
โดย:
p_tham
วันที่: 20 มกราคม 2549 เวลา:0:27:12 น.
ปีใหม่เหรอ ถ้าให้นึกถึงคำว่าปีใหม่ รู้สึกว่าสดชื่นดีใจที่จะได้พบหน้าพบตาญาติพี่น้องผองเพื่อน มานั่งล้อมวงสังสรรค์กัน เป็นบรรยากาศของความครึกครื้น และยังเป็นวันพักพ่อน ที่ไม่ต้องเครียดกับเรื่องการงาน ซึ่งผิดกับวันหยุดธรรมทั่วไป ที่ไม่ค่อยได้เห็นบรรยากาศของความครึกครื้นสักเท่าไหร่ บรรยากาศของกลางฤดูหนาวที่ไปที่ไหนก็จะมีคนออกไปจับจ่ายซื้อของได้ยินเสียงเพลงปีใหม่แสงไฟยามค่ำคืนที่สว่างไสว ทำให้รู้สึกสบายใจอย่างบอกไม่ถูก.....แค่นี้ก่อนละกันนะคิดไม่ออกแล้ว อิอิอิอิ
โดย: โอ IP: 58.10.143.101 วันที่: 20 มกราคม 2549 เวลา:0:52:38 น.
หนุ่มที่ไหนเขามาชุมนุ่มกันเน้อนี้ จะร้องเพลงหรือจะกินไมค์กันค่ะ
โดย: นุ๊ก ไอซ์แลนด์ จ้า IP: 85.197.206.90 วันที่: 20 มกราคม 2549 เวลา:1:44:01 น.
รูปร้องเพลงกันอย่างเมา (เหล้า) มันส์ กันจริงๆเลยค่ะ หุหุ
โดย:
jaa_aey
วันที่: 20 มกราคม 2549 เวลา:1:45:13 น.
ความจริงแย่งกัน "คุย" ต่างหาก ไม่ได้ร้องสักกะเพลง คิคิ .... แต่ไมค์สามตัวยังไม่พอเล้ยยย....
โดย:
ศศิศ
วันที่: 20 มกราคม 2549 เวลา:1:56:02 น.
โดย:
เ ม ฆ ค รึ่ ง ฟ้ า
วันที่: 20 มกราคม 2549 เวลา:11:46:51 น.
อิอิอิ ไผ่นิ อะหยังหน้าเหมือนเกยหันไหนนิเจ้า..อิอิอิ อะหยังมมามักไมค์แต๊ว่าเจ้า อิอิอ
โดย: น้องแพร์ IP: 61.111.244.67 วันที่: 20 มกราคม 2549 เวลา:18:33:53 น.
ปีใหม่ กาเจ้านึกถึง การสังสรรค์ เฮฮา ปาจิงโกะ ตามสถานที่ต่างๆ การไปวัด การได้กิ๋นขนมจ๊อก ขนมเข้าต้ม(ข้าวต้มมัด) และอีกหลายๆอย่าง ก๋านได้ เปลี่ยนปีใหม่ หมายถึงหล่ะอ่อน ทำการบ้านต้องเขียนวันที่ บนสมุด (มักจะลืมเขียนปี๋เก่าเป๋นประจ๋ำ เฮอๆ)
โดย: สาวจ๋อมตอง IP: 203.151.141.194 วันที่: 20 มกราคม 2549 เวลา:22:19:54 น.
สุดยอดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด
โดย: หลาวเปิง IP: 203.113.37.8 วันที่: 20 มกราคม 2549 เวลา:22:46:05 น.
ยังไม่มีเวลาอ่าน วันหลังจะอ่าน
โดย: กำปอ IP: 125.24.27.151 วันที่: 21 มกราคม 2549 เวลา:17:26:31 น.
โค๊ะ....ฮ้องเพลงละมะจวนเฮา อิอิ ท่าจะม่วนแต้น้อคับ
โดย: มะเบส คับ IP: 203.151.140.118 วันที่: 24 มกราคม 2549 เวลา:19:27:26 น.
โฮ๊ะ ๆ ๆ ผมถ่ายเองฮูปนี้
โดย: สูก็ฮู้ว่าไผ? IP: 202.28.47.11 วันที่: 26 มกราคม 2549 เวลา:19:03:57 น.
มาเยี่ยมเฟ้ย....ย
ไม่ยอมบอกว่าเล่นที่นี่เลยนะ
อิอิ
โดย: ไมค์ (
michael_h
) วันที่: 14 มีนาคม 2549 เวลา:16:26:40 น.
บ่จ้ายคนเหนือแต๊ๆล่ะอ้ายแต่ว่ามีแฟนเป็นคนเหนือล่ะกา
กิ๊ตเติงนักขนาด
โดย: บ่ฮู้ IP: 203.209.127.92 วันที่: 19 พฤศจิกายน 2550 เวลา:22:27:49 น.
อะไรสุดย่อด ของหลาวเปิงอะ
โดย: พี IP: 125.27.160.18 วันที่: 12 สิงหาคม 2551 เวลา:16:05:45 น.
ไม่มีใคร เงียบจังเลย มัวแต่หินเหล้ากันทั้งวัน รึป่าว
โดย: พี IP: 124.157.220.116 วันที่: 18 สิงหาคม 2551 เวลา:13:55:59 น.
ชื่อ :
Comment :
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
ศศิศ
Location :
เชียงใหม่ Thailand
[Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [
?
]
Friends' blogs
buaravong
Angleevil
ศศิศ
WIWANDA
นายช่างปลูกเรือน
ผู้สาวเมืองยศ
piccy
ไวรัลยา
คนชื่นชอบนิยาย ^^
[NostalgiA]
เมฆชรา
A_Mong
proctorray
Webmaster - BlogGang
[Add ศศิศ's blog to your web]
Links
CM77 วิทยุอินเตอร์เน็ตล้านนา
โลกล้านนา
oatbook
สกุลไทย
นครน่าน
สวัสดีน่าน
ฤๅดอกไม้จักลาร่วง
หอมรดกไทย
BlogGang.com
Pantip.com
|
PantipMarket.com
|
Pantown.com
| © 2004
BlogGang.com
allrights reserved.