หนัง เพลงที่ฟัง หนังสือที่อ่าน และการเมืองด้วยครับ
Group Blog
 
All Blogs
 

Tokyo story - โตเกียวที่เริ่มเปลี่ยน

ว่ากันว่าสังคมยิ่งเจริญมากขึ้นเท่าไร ปัญหาคนชราถูกทอดทิ้งไม่มีคนดูแลก็มากขึ้นเป็นเงาตามตัว



ปกแผ่นดีวีดีของผมเป็นแบบนี้ หนังมีทั้งบทพายท์อังกฤษและญี่ปุ่น มีคำบรรยายอังกฤษ

Tokyo story เป็นงานกำกับของ ยาสุจิโร โอสุ - Yasujiro Ozu ผมมีหนังของท่านแค่ 2 เรื่องซึ่งก็ชอบมากทั้งคู่โดยเฉพาะเรื่องนี้ ที่ไม่ค่อยอยากดูซ้ำเท่าไร เพราะทำได้ดีจนผมหดหู่ หนังออกฉายในปี 1953 แต่ถึงทุกวันนี้ก็ยังเอามาดูได้อย่างร่วมสมัย

เนื้อหากล่าวอย่างรวบรัดคือ - มี 2 ตายายจากเมืองโอซาก้า โทมิ และ ซูคิชิ ต้องการจะไปเยี่ยมลูกที่กรุงโตเกียวพวกเขาอาศัยอยู่กับเคียวโกะลูกสาวคนเล็กที่เป็นครู การเป็นเยือนครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงสังคมเมืองใหม่ที่ลูกๆเริ่มเห็นพ่อ แม่ที่เข้ามาเยี่ยมเป็นภาระ ทั้งหมดแฝงไว้ในประโยคคำพูดเล็กๆน้อยๆ กริยาและการกระทำบางอย่างทั้งต่อหน้าและลับหลัง ภายใต้รังสีน้ำใจที่เย็นยะเยียบ

ภาพหมู่ พ่อกับแม่ผู้ชรา โคอิชิลูกชายที่เป็นหมอกับชิเกะลูกสาวที่เป็นช่างเสริมสวย

"ซาซึมิ ไม่ต้องหรอก แค่สุกี้ยากี้ก็พอแล้ว" เป็นคำตอบของลูกชายที่บอกภรรยาว่าควรทำอะไรให้พ่อ-แม่ กินมื้อแรก - ส่วนลูกสาวก็กินขนมเค้กที่สามีเอามาให้ซะหมด ด้วยเหตุผลที่ว่า "พวกพ่อแม่น่ะ ไม่รู้จักของดีๆแบบนี้หรอก กินขนมปังกรอบน่ะ ดีแล้ว"

ไม่นับว่าผู้สูงวัยทั้งคู่ที่ไม่ได้ไปไหนเลย เพราะทั้งลูกชายและลูกสาวไม่ว่างพาไป

เอาเข้าจริงๆลูกสะใภ้ม่ายของพวกเขาอย่าง นาริโกะ ที่สามีซึ่งเป็นลูกของทั้งคู่เสียชีวิตไปในยามสงคราม กลับดูเต็มใจที่สุดที่จะพาทั้งสองไปดูชมเมือง และช่วยเหลือในหลายๆด้าน ส่วนลูกจริงๆตัดสินใจที่จะส่งทั้งคู่ไปบ้านพักอาบน้ำร้อน เพราะคิดกันแล้วว่าประหยัดที่สุดในการใช้จ่าย

แต่เนื่องจากสถานที่เล็ก และเสียงดัง ผู้เฒ่าทั้งสองทนอยู่ไม่ได้จึงตัดสินใจกลับบ้าน เมื่อมาถึงคำตอบของลูกสาวคือบ้านไม่ว่าง ทั้งคู่ต้องแยกกันในคืนนั้น ซึ่งก็ได้นาริโกะที่รับแม่สามีไปพัก (ที่ห้องพักเล็กๆ ) ด้วยอย่างเต็มใจ

ฉากที่อบอุ่นที่สุดในหนังสำหรับผมก็ภาพนี่แหละครับ นาริโกะนวดให้แม่สามีในห้องแคบๆของเธอซึ่งหนังมาเปิดเผยตอนท้ายเรื่องจากคำพูดของปู่ชูคิชิว่า นั้นเป็นช่วงเวลาที่ภรรยาเขามีความสุขที่สุดในคราวมาเยือนโตเกียว

หนังยาวสองชั่วโมงเศษ ใช้เวลา 90 นาทีแรกในการมาเยือนของผู้เฒ่าทั้งสองและกลับบ้าน 40 กว่านาทีที่เหลือพูดถึง งานศพของผู้เป็นแม่ ที่กว่าทุกคนจะมาก็ไม่ได้ทันดูใจ และผมก็รับรู้ถึงความกระตือรือร้นอย่างน้อยมากของลูกๆทั้งสามจากการพูดและการกระทำ

โอสุ เขียนบท - กำกับ หนังเรื่องนี้ปี 1953 ตอนนั้นรากทุนนิยมเริ่มฝังลงในสังคมญี่ปุ่น เขาคงต้องการจะวิจารญ์แนวโน้มของสังคมในอนาคต เพราะไม่เพียงแค่สื่อชัดๆของสังคมครอบครัวที่เริ่มเปลี่ยนไป บางฉากเหมือนจงใจถ่ายภาพของปล่องควันดำต่างๆ ที่เต็มเมืองโตเกียวในขณะนั้นไปหมด โดยมีชายชรานั่งมองอย่างปลงๆ



ลูกสะใภ้ - เป็นคนเดียวที่เอาใส่พวกเขาทั้งสอง

หนังเดินเรื่องช้าๆ ถ่ายใช้วิธีแช่กล้องในระดับคนนั่ง ( เคยรู้ว่าเขาเรียกแบบ Setting Mat Level)ปล่อยให้ตัวละครเดินเข้าเดินออกมานั่งพูดจากัน ฉากหนึ่งๆยาว 4 - 5 นาที แต่ไม่น่าเบื่อเลยครับ เพราะบรรยากาศมันกดดันดีจริงๆ พยายามเอาใจช่วยปู่แก แต่ไม่รู้ทำไง

"พ่อ แม่ น่ะ มีโอกาสก็ดูแลท่านตอนยังอยู่เถอะ" เป็นอีกประโยคหนึ่งที่เพื่อนคนหนึ่งเตือนชิเกะ แต่ก็ไม่ได้มีผลอะไรต่อเธอเลย

หนังจบหลังงานศพคุณย่าแก ที่ลูกทั้งหลายพากันรีบกลับโตเกียวในคืนนั้นรถไฟเที่ยวดึก โดยลูกสาวเหมากิโมโนของแม่ไปเรียบ คงเหลือแต่นาริโกะลูกสะใภ้ ที่ตัดสินใจอยู่เป็นเพื่อนพ่อสามีอีกซักวัน เคียวโกะถึงกับบอกว่าพี่น้องเธอช่างแล้งน้ำใจเหลือเกิน- โอสุ ให้ตัวละครชราพูดสรุปไว้กับ นาริโกะ อย่างคนเห็นอะไรมามากว่า " เธอไม่ควรยึดกับอดีต มีโอกาสก็แต่งงานใหม่เสียเถิด " - ค่านิยมเก่าๆเป็นอันเริ่มจะจบสิ้น เมื่อการละเลยพ่อแม่ที่ชราซึ่งกลายเป็นคนที่ไม่สำคัญทำอย่างง่ายๆ ปู่แกก็ไม่เห็นควรอันใดที่นาริโกะจะยึดกับอดีตจนไม่อาจก้าวไปข้างหน้า

ครับ ว่ากันว่าสังคมยิ่งเจริญมากขึ้นเท่าไร ปัญหาคนชราถูกทอดทิ้งไม่มีคนดูแลก็มากขึ้น

หนังเรื่องนี้อายุจะว่าไปก็ 57 ปีแล้ว เรียกว่าเป็นคนชราได้แต่หนังยังดูหนุ่มแน่นทันสมัย เพราะสิ่งที่หนังเตือนคนดู มันเกิดขึ้นแล้วและก็รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ไม่ใช่ว่าแค่โตเกียว จะนิวยอร์คก็ดี หรือแม้แต่เมืองไทยเรานี้ ดูเอากันตามท้องถนนทุกวันนี้เถอะ มีคนชรามากมายที่ไร้ที่พึ่งพา และไม่ว่าอย่างไร ปัญหานี้ไม่มีทางแก้ ตราบที่คนส่วนหนึ่งยึดวัตถุเหนือจิตใจ

ประโยคสุดท้ายของหนังที่สรุปได้ชัดเจนที่สุดคือ ปู่ซูคิชิพูดกับคนข้างบ้านว่า - ตอนนี้อยู่คนเดียว แต่ละชั่วโมงก็ผ่านอย่างช้านานเหลือเกิน -

หนังที่ดีคือเนื้อหาอยู่เหนือกาลเวลา หนังเรื่องนี้ก็เช่นกัน หนังติดอันดับหนังดีตลอดกาลหลายๆสถาบัน ล่าสุดติด 1 ใน 100 หนังยอดเยี่ยมของนิตยสาร Time เมื่อปีที่แล้ว

- แต่ไม่รู้ว่า ยาสุจิโร โอสุ ปู่แกจะดีใจหรือเสียใจนะครับที่หนังทันสมัยได้ตลอดกาลอย่างนี้




 

Create Date : 13 พฤศจิกายน 2550    
Last Update : 13 พฤศจิกายน 2550 10:37:20 น.
Counter : 939 Pageviews.  

Millions - สังคมเปลี่ยน หรือคนเพี้ยน

หนังของแดนนี่ บอยย์ มีเอกลักษณ์อย่างหนึ่งคือ เขาจะพูดถึงคนที่แปลกแยกจากสังคม



Millions - เป็นหนังเรื่องล่าสุดของเขาที่ผมได้ดู และชอบมากๆเนื้อหาพูดถึงแดเมี่ยน เด็กคนหนึ่งที่อยู่กับพ่อและ แอนโทนี่ย์ พี่ชายอีกคน แดเมี่ยนเป็นเด็กจิตใจดี ชอบศึกษาด้านศาสนาคริสต์นิกายคาธอลิก เก่งถึงขั้นจำชื่อนักบุญ (เซนต์ - Saint ) ต่างๆได้มากมาย

ใน Trainspotting - บอยย์พูดถึงคนกลุ่มหนึ่งที่แปลกแยก และแสดงอาการต่อต้านสังคมโดยไปตั้งแก๊งค์สูบเฮโรอีน

ใน The Beach - บอยย์พูดถึงคนกลุ่มหนึ่งที่แปลกแยก และแสดงอาการต่อต้านสังคมโดยไปตั้งคอมมูนอยู่กันเองในเกาะที่ห่างไกล

แต่เรื่อง Millions - หนักกว่านั้น เพราะบอยย์กำลังตั้งคำถามว่า สังคมตอนนี้ความไม่ปรกติคือความปรกติ เด็กที่จิตใจดีอย่างแดเมี่ยนกลับกลายเป็นคนที่แปลกแยกจากสังคม

เนื้อหาของเรื่องกล่าวโดยรวบรัดคือ พี่น้องทั้งคู่ก็อยู่ไปเรื่อยๆ ออกไปวิ่งเล่นในลาน และวันหนึ่งได้มีกระเป๋าใบหนึ่งกระเด็นตกออกมาจากรถไฟเข้ามาในกล่องกระดาษที่เขานอนเล่นอยู่ ข้างในน่ะมีเงินอยู่เป็นล้านปอนน์ -

ขณะที่แดเมี่ยนเชื่ออย่างจริงใจว่าเป็นของที่พระเจ้าประทานให้เขาเพื่อทำสิ่งดีงาม แต่แอนโธนี่ย์ กลับบอกให้เขาปิดปากเงียบเพราะรู้ว่าอาจมีคนมาตามได้

หนังเสียดสีสังคมปัจจุบันที่เห็นการทำความดีเป้นเรื่องตลก และยังพูดถึงความเสื่อมศรัทธาทางศาสนาอย่างชัดเจน

เอาแค่ต้นเรื่องก็มีบทสนทนาให้ได้คิดกันแล้ว ในห้องเรียนของเด็กๆ ครูเสนอหัวข้อ Now we are talking, today - about people we admire. - พวกเราชื่นชมใครบ้าง ?

Dminic? - Roy Keane, Sir, Manchester United.
เด็กคนแรกโดมินิก - รอย คีน แห่งแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
What about you Barry? - Van Nistelrooy, sir.
แล้วแบรี่ล่ะ -รุด ฟาน นิสเตอรอย ครับครู
คราวนี้ครูชักเซ็ง - Anyone got any heroes who don't play for United?
ใครมีวีรบุรุษคนอืนที่ไม่ได้เล่นให้แมน-ยูบ้าง
แจ๊คยกมือ - Robbie Fowler, Sir, - รอบบี้ ฟาลเลอร์ครับครู (โดนเพื่อนโห่ทั้งห้อง จนครูต้องปราม - that's enough. พอแล้ว พอแล้ว )

เจ้าหนูเดเมี่ยนลุกขึ้นขอพูด Saint Roch, sir - นักบุญโรชด์ ครับครู
Who's he play for? - เขาเล่นให้ทีมไหนเหรอ - ครูงงๆ
No one sir, he's a Saint. - ไม่ใช่ครับ เขาเป็นนักบุญครับ
He was so worried that he might say something bad.
That he said nothing at all for twenty years.
เขากลัวจะพูดอะไรไม่ดีออกไป จึงไม่ยอมพูดอะไรเลยเป็นเวลา 20 ปี



ทุกคนๆตะลึง - ครูบอกขอบคุณ เดเมี่ยน - แต่ไอ้หนูร่ายต่อ
I like a lot of virgin martyrs too. Like Saint Agatha. She ripped her own eyes out, so she wouldn't have to marry this man.
อย่างเซ้นต์อแจนทร่า - เธอควักตาของเธอออก เพื่อจะได้ไม่ต้องแต่งงาน
ต่อไปอีก 2-3 นักบุญที่ล้วนแต่มีพฤติกรรมที่น่าสงสัยในสายตาคนปัจจุบัน จนครูบอกว่า - ครูบอกเธอว่าขอบใจไง เดเมี่ยน

ก่อนที่ครูจะเอารูป เนลสัน แมนดลาล่า มาอวดว่าคือวีรบุรุษของครู

หนังบอกแบบตรงๆว่า ทุกวันนี้การแสดงความอดทนหรือปาฎิหารณ์ของบุคคลทางศาสนากลายเป็นเรื่องเหลวไหล ล้าสมัย บุคคลที่เรานับถือกันทุกวันนี้กลายเป็นนักการเมืองบ้าง ดาราฟุตบอลบ้าง

ซีนที่เด็กทุกคนโห่ใส่คนที่บอกว่านับถือ ร๊อบบี้ ฟาลเลอร์ น่ะ เป็นการเสียดสีอย่างลึกล้ำ เพราะสมัยที่ฟาลเลอร์รุ่งๆที่ทีมลิเวอร์พลูน่ะเขามีสมญาว่า GOD - พระเจ้า !!!!

หนังมีสไตล์ของ แดนนี่ บอยย์อย่างชัดเจน ตลกร้าย / เสียดสี / ภาพหลอนกึ่งฝันกึ่งจริง / คนที่คิดต่างจากสังคม / การแสวงหา / การล้มสลายของศรัทธา / ทางออกทีมืดมน

หนังเล่นกับอารมณ์คนดูเต็มที่จนผมได้สำรวจตัวเองไปด้วย - ขณะที่แอนโธนี่ย์ใช้เงินซื้อของแพงๆ จ้างเพื่อนๆเป็นบอดี้การ์ด แต่เดเมี่ยนกลับใช้เงินไปซื้อนกมาปล่อย พาคนยากจนไปกินอาหารตามแบบนักบุญทั้งหลายที่เขานับถือ

แต่กลับเป็นว่าแอนโธนี่ย์ดูจะทำเรื่องที่ปรกติที่ใครๆก็ทำ แต่เดเมี่ยนกลับดูกลายเป็นคนประหลาด!!!



เช่นกันกลับทุกวันนี้แหละ ไปดูหน้าหนังสือพิมพ์เถอะครับ ใครเก็บเงินแล้วคืนเจ้าของยิ่งค่าเงินสูงยิ่งเป็นเรื่องประหลาดจนกลายเป็นข่าวพาดหัว

บทสรุปของหนังก็เช่นกันที่บอกเอาไว้ว่า ทุกวันนี้ศรัทธาทางศาสนาที่ควรเป็นเรื่องยกย่อง แต่เด็กอย่างเดเมี่ยนที่ชอบคิดถึงนักบุญต่างๆ (จนพวกนักบุญมาคุยทั้งในฝันและยามตื่น) กลับถูกทั้งการตั้งข้อสงสัยว่าสติไม่ปรกติ / หมกหมุ่น ไม่นับการนำเงินไปบริจากถึงกับถูกหาว่าโง่

บทสรุปของหนังอยู่ที่คืนวัน คริตสมาส อีฟ ที่ บอยย์ยังทิ้งความหวังเล็กๆน้อยๆไว้ให้คนดูอยู่บ้าง โดยเฉพาะเด็กที่มีศรัทธาดีๆ อย่างเดเมี่ยน และทิ้งคำถามชั้นยอดให้กับคนดูไว้เช่นเคย

เพราะถ้าการทำดีเป็นเรื่องที่ดูแปลกแยก - สังคมก็น่าเป็นห่วงอย่างมาก




 

Create Date : 07 พฤศจิกายน 2550    
Last Update : 8 พฤศจิกายน 2550 9:56:04 น.
Counter : 1180 Pageviews.  

Bram Stoker's Dracula - รักฉันนั้นเพื่อเธอ

หนังที่ผมเห็นว่าโรแมนติกที่สุดเรื่องหนึ่งคือ Bram Stoker's Dracula



แรกเริ่มเดิมที บราม สโตรเกอร์ เขียนนิยายเรื่องแดร็คคูล่า ในรูปแบบของ อนุทินส่วนตัวของตัวละครต่างๆ / จดหมาย / และโทรเลข - โดยนำเค้าโครงมาจากวลาต(เจ้าชาย) แห่งแคว้นโรมาเนียคนตระกูลแดร๊คคูล - ที่ปกป้องคริสต์จักรจากการรุกรานของเหล่ามุสลิมในยุคกลาง ก่อนจะเสียพระสติในช่วงท้ายๆของชีวิต กลายเป็นคนโหดร้าย จับเชลยศึกมาเสียบไม้แล้วนั่งดูเล่น จนได้สมญาว่า "วลาตจอมเสียบ"

ฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปล่า คงเบื่อที่ช่วงหลังๆหนังแดร็คคูลล่าชักเพี้ยนไปเรื่อยๆจึงนำเอาต้นฉบับมาตีความใหม่จนได้เวอร์ชั่นที่ผมชอบที่สุด

หนังเปิดตัวในยุคกลาง เจ้าชายแดร็คคูลล่า นำทัพสู้มุสลิมเตริกต์อย่างกล้าหาญก่อนที่พวกเตริกที่พ่ายแพ้จะดกรธแล้วยิงข่าวเข้าเมืองว่าเจ้าชายเสียชีวิตในศึก อลิซาเบ็ธ - คู่หมั้นหลงเชื่อจึงฆ่าตัวตาย - "บางทีพระเจ้าจะให้เราพบกันในสวรรค์" เธอบันทึกจดหมายลาตายไว้

ในงานศพ บาทหลวงยืนยันว่าเธอจะต้องตกนรกเพราะผิดบัญญัติพระเจ้า!!

"นี่หรือคือรางวัลที่ข้าปกป้องพระคริสต์" - แดร็คคูลล่าตะโกนอย่างคลุ้มคลั่ง -"ข้าขอตัดขาดพระเจ้า และขายวิญญาณให้ซาตาน" เขาประกาศลั่น" โลหิตคือชีวิต มันนี้แหละ จะให้ข้าเป็นอมตะ"

400 ปีผ่านไป - แดร็คคูลล่าเดินทางมาอังกฤษเพื่อตามหา มีนา ไมเยอร์ คู่รักของเขาที่กลับมาเกิดใหม่ เธอคือคู่หมั้นของ โจนาธาน ฮาเกอร์ ที่แดร็คคูลล่าหลอกเอาไปขังไว้ทีโรมาเนีย เธอจำเขาไม่ได้ และเขาต้องทำให้เธอรักเขาอีกครั้ง

หนังเดินเรื่องฉับไว ใช้เทคนิคต่างๆมากมาย เช่น หุ่นกระบอก / ภาพซ้อน / ล้อเล่นเงา / แสงเลื่อม / ไปจนกระทั่งภาพขาวดำแบบข่าวในบางช่วง

ผมรู้สึกว่าทั้งในหนังสือและหนังมีนัยยะเสียดสีสังคมผู้ดีอังกฤษยุควิตตอเรียน ไม่น้อย ตั้งแต่การเก็บกดทางเพศของผู้หญิงจนยอมเป็นทาสแคร็คคลูล่าง่ายๆ ทัศนคติทางทุนนิยมที่เริ่มก่อตัว (การกว้านซื้อที่ดินของแดร็คคูลล่า) โรคติดต่อทางเพศอย่างซิฟิลิส (ที่ตอนนั้นยังไม่มียารักษา - หนังสื่อถึงการรับเลือดถ่ายเลือด) ไปจนความหมายทางศาสนาที่เริ่มคลี่คลายจากยุคกลาง



"ข้าข้ามมหาสมุทรแห่งเวลามาพบเจ้า" แดร็คคลูล่าบอกมีนา เธอเองเริ่มจำเขาได้"ข้าเคยรู้จักท่านเมื่อนานมาแล้ว" เธอบอก แต่เอาเข้าจริงๆ เขาก็ไม่อาจหักใจให้เธอเป็นอย่างเขาได้ "ข้าทำไม่ได้ มันเป็นชีวิตที่อยู่ในความมืด"

แม้จะรักแดร็คคูลล่าเพียงใดแต่เธอก็ต้องแต่งงานกับคู่หมั้นที่หนีออกมาได้ แดร็คคลูล่าโกรธจนฆ่าลูซี่เพื่อนรักของมีนา คู่หมั้นลูซี่และฮาเกอร์ตาม อับราฮัม แวนแฮลซิ่ง ผู้เชี่ยวชาญศาสตร์มืดมาตามล่าแดร็คคลูล่าไปยังโรมาเนีย พวกเขาต้องสกัดให้ได้ก่อนเขาจะถึงปราสาท

หนังเรียกว่ารวมพลดาราชั้นยอดไว้ครบครัน แอนโธนี่ย์ ฮอปกิ้น เป็น ศจ. แวนแฮลซิ่ง แกรี่ โอล์แมนน์ เป็น แคร็คคลูล่า เคียนู รีฟ เป็น โจนาธาน ฮาเกอร์ และสุดสวย วิโนน่า ไรเดอร์ เป็น มีนา ไมเยอร์

หนังทำให้เราเห้นใจในตัวแดร็คคลูล่า การที่เขาหันหลังให้พระเจ้า / ดื่มกินเลือดคนเพื่อยืนชีวิต / สังหารคนในการไปอังกฤษ ทั้งหมดเพราะเขารักคู่หมั้นของเขาเหนือสิ่งอื่นใด

หนังมาสรุปตรงยามเย็นหน้าปราสาทแดร็คคูล - คณะของแวน แฮลซิ่งตามมาทันศจ.แวลแฮลซิ่งสังหารลูกสมุนสาวของผีดูดเลือดทั้งหมด การปะทะด้านหน้าปราสาททำให้ เพื่อนรักฮาเกอร์ต้องเสียชีวิต มีนาทำท่าจะกลายเป็นผีดูดเลือดไปอีกคน แต่แดร็คคลูล่าก็บาดเจ็บสาหัส มีนาเข้ามาประคองเขาพร้อมกับบอกให้ทุกคนหลีกไป

"งานของพวกเราจบแล้ว ที่เหลือเป็นของมีนา" ฮาเกอร์พูดอย่างปลงๆ

"บางทีพวกเราอาจเป็นคนบ้าของพระเจ้า" แวนแฮลซิ่งมองศพทั้งหลายอย่างถอดใจ

พวกเขาอาจเข้าใจแล้วว่า บางทีความรุนแรงไม่ใช่คำตอบ - รักต่างหากคือบทสรุป



"พระเจ้าของข้า พระองค์อยู่ที่ไหน" แดร็คคลูล่าคร่ำครวญในอ้อมกอดของมีนาก่อนจะร้องขอให้เธอปลดปล่อยความเจ็บปวดนี้ไปเสีย แครู้ว่ามีนารักเขาถึงขั้นเอาตัวเข้าปกป้อง เขาก็ดีใจที่สุดแล้ว

มีนาแข็งใจตัดหัวท่านเค้าท์ ทันทีนั้นก้อมีแสงประกายจากเพดาน เขี้ยวของมีนาที่กำลังงอกก็หายไป คำสาปทั้งหมดจบสิ้น

ความรักจนล้นเกินทำให้เกิดโทสะ ถึงขั้นหันหลังให้พระเจ้า แต่ถึงวันหนึ่งท่านเค้าท์แดร็คคลูล่าก็รู้ว่า การปล่อยวางต่างหากคือคำตอบ

และความรักของพระเจ้าจะให้โอกาสแก่ทุกคนเสมอเมื่อกลับใจ




 

Create Date : 03 พฤศจิกายน 2550    
Last Update : 3 พฤศจิกายน 2550 11:37:49 น.
Counter : 5430 Pageviews.  

Tim Burton - Roy the Toxic Boy

ไม่ใช่เป็นแค่ผู้กำกับภาพยนตร์ จริงๆแล้ว ทิม เบอร์ตัน เป็นนักเขียนการ์ตูนและกลอนเปล่าที่ผมชอบมากคนหนึ่ง

ทุกวันนี้กระแส"รักษ์โลก"กำลังมาแรง ใครๆต่างก็พูดเรื่องนี้ แต่ละคนก็มีแนวทางต่างๆกันไป แต่มีมุมมองของศิลปินคนโปรดผมเขาเขียนเสียดสีผู้คนในสังคมเมืองได้อย่างตลกร้ายตามสไตล์พี่แก ผมเพิ่งมาสังเกตเจอทั้งๆที่อ่านหนังสือเล่มนี้มา 4-5 ปีแล้ว



The Melancholy Death of Oyster Boy and Other Stories เป็นหนังสือการ์ตูนประกอบบทกวีของ ทิม เบอร์ตัน เป็นตอนสั้นๆ ภาพประกอบเพี้ยนๆแต่แฝงนัยยะเสียดสี สังคม / ความรัก /sex / และ สภาพสิ่งแวดล้อม ภายใต้ตัวละครที่หลุดโลก เช่น Staring Girl - เด็กตาโปนที่วันๆเอาแต่จ้องโน่น จ้องนี่ /Match Girl - ที่สุดจะเร่าร้อน (จนเผาแฟนทิ้งได้เลย) /Oyster Boy - ที่สุดท้ายถูกพ่อตัวเองกินซะเพราะอยากเพิ่มพลังทางเพศ !!!

แต่เรื่องที่ผมอ่านแล้วชอบมากที่สุดคือ Roy the Toxic Boy เรื่องย่อมีดังนี้

ทิม บอกว่า รอยเป็นเด็กที่ชอบสารพิษ เขาสูดกลิ่นไอเสีย สเปร์ฉีดผม ควันบุหรี่ ฯลฯ ได้อย่างมีความสุขและวันหนึ่งเมื่อเขาออกมาเจออากาศบริสุทธิ์ เขาถึงกับขาดใจตาย....



He loved ammonia and asbestos, and lots of cigarette smoke.
What he breathed in for air would make other people choke!

His very favorite toy was a can of aerosol spray
he'd sit quietly and shake it, and spray it all the day.

The final gasp of his short lifewas sickly with despair.
Whoever thought that you could die from breathing outdoor air?

ใช่หรือไม่ว่า ทิม กำลังเสียดสีผู้คนในสังคมเมืองที่เอาแต่พูดนั่นพูดนี้ ไม่ทำอะไรจริงๆ แถมยังเป็นตัวการเสพและใช้สิ่งต่างๆที่มีผลต่อสภาพบรรยากาศของโลกทั้งนั้น - เขาระบุถึงขั้นว่าพอเจ้ารอยมันตายแล้วนั้นน่ะ วิญญาณก็ดันไปทะลุโอโซนโลกซะอีก

As Roys soul left his body we all said a silent prayer.
It drifted up to heaven and left a hole in the ozone layer.

ทิม เบอร์ตัน แอบด่าว่าพวกเรานี่แหละ ตัวป่วนทำลายบรรยากาศโลก !!!

เอาแต่ใกล้ตัวที่สุด คนบางคนแค่ผมบอกว่าจะไปนอนเต้นต์ในป่าก็ทำท่าราวกับผมจะไปตาย / เพื่อนผมบางคนใช้สเปรย์ไม่รู้ต่อกี่กระป๋องฉีดตั้งแต่หัวไปจรดเท้า (ตัวทำลายโอโซนเลยนะ) / บางคนสูบบุหรี่ควันขโมงทั้งวัน / บางคนไม่ยอมอยู่ในสภาพอากาศอื่นนอกจากติดแอร์ / นานๆเข้าก็เลยชินชา หาทางออกจากระบบได้ยากเต็มทน- อย่าว่าแต่คนอื่นเลย (สารภาพบาปซะหน่อย ) ผมเองทุกวันนี้ไปไหนก็ใช้รถส่วนตัว ไม่ค่อยยอมใช้รถบริการสาธารณะเท่าที่ควร

มีโอกาสลองหามาอ่านนะครับ สนุกมากๆ ของไทยก็มีแปลแล้ว โดย ปราย พันแสง

เจ้ารอย ของ ทิม เบอร์ตัน คงจะพยายามบอกเราว่า รักษ์โลก ต้องเริ่มจากตัวเอง - ทุกวันนี้ผมเลิกใช้ทุกอย่างที่มันต้องพ่นออกมาจากกระป๋อง / พยายามถ้าไม่ร้อนจนจะขาดใจก็ไม่เปิดแอร์ / เลิกดื่มกินทุกๆอย่างจากพลาสติก / ยังติดก็แต่รถนี่แหละครับ ยังไงก็ต้องขับเลยเลี่ยงบาลีเติม 95 เอา หวังว่าคงพอบรรเทาได้ (หรือไม่ได้?) - ทำไงดีนะเรา.......




 

Create Date : 29 ตุลาคม 2550    
Last Update : 30 ตุลาคม 2550 0:38:33 น.
Counter : 1209 Pageviews.  

Superstar - โรคบ้าดารา

ผมชอบฟังงานที่วงร๊อคยุคใหม่เอาเพลงศิลปินในตำนานมาคัฟเวอร์ หรือ ทริบิวท์ (tribute - การอุทิศ)

และหนึ่งในอัลบั่มที่ผมชอบที่สุดคือ If I Were A Carpenter ซึ่งเป็นงานของวงอัลเทอร์เนทีฟร๊อคยุคใหม่ เอาเพลงของคาร์เพนเตอร์มาตีความตามแบบฉบับของแต่ละวง



ในอัลบั่มนี้ผมชอบที่สุดคือเพลง Superstar ที่เอามาตีความโดยวง Sonic Youth

บอกไว้ก่อนเผื่อไม่รู้ว่า คาร์เรน คาร์เพนเตอร์ นักร้องเพลงนี้เสียชีวิตไปแล้ว โดยโรคประหลาดทางจิตที่กลัวอ้วนจนร่างกายไม่รับอาหาร

เพลง Superstar นี้ผมเคยแปลเล่นๆและบอกเพื่อนว่า มันเป็นเพลงของคนโรคจิตนี่หว่า

สำหรับผมเพลงนี้แสดงถึงความคลั่งและหลงไหลอะไรบางอย่างจนเกินควร

Long ago, and, oh, so far away
I fell in love with you before the second show.
Your guitar, it sounds so sweet and clear, but you're not really here.
It's just the radio.
ท่อนนี้บอกว่า มันนานมาแล้ว ฉันหลงรักคุณตั้งแต่การแสดงรอบแรก รักเสียงกีต้าร์ของคุณ - แต่คุณไม่อยู่นี่หรอกนะ มันแค่วิทยุเท่านั้น

Don't you remember you told me you loved me baby?
You said you'd be coming back this way again baby.
Baby, baby, baby, baby, oh, baby.
I love you, I really do.
คุณจำไม่ได้หรือว่คุณบอกฉันว่าคุณรักฉัน (น่าจะหมายถึงเพลงที่นักร้องเขาร้อง) คุณบอกว่าจะกลับมาอีกครั้ง - โอ้ ที่รัก ที่รัก ฉันรักคุณ รักจริงๆนะ (เริ่มมีอาการจิตๆล่ะเห็นไหมครับ)

Loneliness is such a sad affair, and I can hardly wait to be with you again. What to say, to make you come again?
Come back to me again, and play your sad guitar.
ความเหงาและเศร้าข้างเดียว ฉันทนรอไม่ไหวแล้วที่จะอยู่กับคุณอีกครั้ง
จะให้ฉันพูดอย่างไร - คุณถึงจะกลับมา
กลับมาหาฉัน - เล่นกีต้าร์เศร้าให้ฟังอีกที

คือเขาสับสนระหว่าโลกจริงที่นักร้องก็ต้องร้องแบบนั้นกับแฟนเพลงทุกคนอยู่แล้วกับโลกฝันของเขาเองที่คิดว่านักร้องจะร้องให้เขาแค่คนเดียวไงครับ

Sonic Youth - เล่นเพลงนี้ได้หลอน - วังเวง - เศร้า - และดุดันลึกๆ ถูกใจผมมาก

ไม่เชื่อก็ไปหาฟังดู...................

ปล. งานนี้เพื่อนบล๊อคคนหนึ่งขอให้แปลง่ะ......



ปล.แต่เพลงที่ลงนี้เป็นเวอร์ชั่นต้นฉบับฮะ




 

Create Date : 26 ตุลาคม 2550    
Last Update : 26 ตุลาคม 2550 13:45:35 น.
Counter : 2047 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  

mr.cozy
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Is everybody in? Is everybody in?
The ceremony is about to begin
Friends' blogs
[Add mr.cozy's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.