kruaun
Location :
สุรินทร์ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




“อาจารย์ของพระอรหันต์ ยังไม่จำเป็นต้องเป็นพระอรหันต์เลย ดังนั้น อย่ากังวลเลย หากเราคิดว่าเราเก่งไม่พอที่สร้างลูกศิษย์เก่งๆ ขอเพียงแต่เรามีกระบวนการพัฒนา ส่งเสริม และให้โอกาสเขาอย่างเหมาะสม และถูกวิธี ให้เขาเติบโตเต็มศักยภาพที่ดี”---รศ. ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จากหนังสือแด่เมล็ดพันธุ์แห่งอนาคต

****************************

No one can make you feel inferior without your consent. by Eleanor Roosevelt.

ไม่มีใครสามารถทำให้คุณรู้สึกต้อยต่ำได้...
ถ้าคุณไม่ยินยอม (เอลานอร์ รูสเวลต์)

**************************

ครูอั๋น สอนคณิตศาสตร์ จังหวัดสุรินทร์
--------------------------------

"ชีวิตนี้ลูกยกให้พวกเขา...แต่ชีวิตหน้าทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาและพวกมันทำไว้กับลูก ลูกขอเอาคืน!"
---วรดา/ด้วยแรงอธิษฐาน/กิ่งฉัตร

รู้นะว่าถ้าเอาความแค้นนำทางมันไม่ดี...
แต่บางทีถ้าตั้งใจว่าจะต้องดีกว่า ดีกว่า...
มันก็เหมือนเป็นแรงขับให้เราก้าวหน้าได้เช่นกัน

แค่ตั้งใจทำดีก็แล้วกัน

+++++++++++++++++++++++++++++

มีคนเคยถามว่า "ทำไมมาเป็นครู"
คำตอบที่ผมภูมิใจและตอบได้อย่างเต็มปากที่สุด คือ
"ผมอยากเป็นครู เลยเลือกมาเป็นครู"


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

"เจ้าเป็นคนพูดเองนะว่า อำนาจมันมาแล้วมันก็ไป แล้วเจ้ายังจะแสวงหามันทำไมเล่า"
---เศกขรเทวี เพลิงพระนาง

๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗

สัจธรรมง่ายๆ ที่ใครๆ ก็พากันทำไม่ได้

ถ้าอยากมีชีวิตที่เลวลงอย่างคิดไม่ถึง
คุณแค่หมั่นทำเลวที่ไม่เคยแม้จะอยู่ใรความคิด

หากปรารถนาชีวิตที่ดีขึ้นอย่างคิดไม่ถึง
คุณต้องทำดีมากกว่าที่คิดว่าตัวเองจะทำได้

มีชีวิตที่คิดไม่ถึง/ดังตฤณ
----------------เริ่มนับ 30 เม.ย.53----------------- free counters ===== Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Thailand License.
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kruaun's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 
Miles Stone in the History of Mathematics


0



บทนำ:
การแบ่งยุคสมัยทางคณิตศาสตร์



Milestone มีความหมายตามพจนานุกรม คือ หลักบอกระยะทางเป็นไมล์, หลักไมล์ (ถ้าเป็นในประเทศไทยก็คงจะเป็นหลักกิโลเมตรนั่นเอง) และอีกความหมาย คือ เหตุการณ์สำคัญในชีวิตของคนหรือประวัติศาสตร์ ซึ่งการแบ่งเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ในประวัติศาสตร์ทั้งหลายก็นิยมลำดับเหตุการณ์ตามระยะเวลาที่เกิดจากอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยอาศัยปีศักราชเป็นหลักเวลาในการบอกเล่าเหตุการณ์นั้นๆ โดยยึดตามระบบสากลที่มักจะใช้ปีคริสต์ศักราช หรือ ค.ศ. ในการบอกเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น


ในประวัติและพัฒนาการของคณิตศาสตร์ก็เช่นเดียวกัน มีการแบ่งเหตุการณ์ออกเป็นยุคสมัย และบอกเล่าตามปีที่เกิดด้วย ซึ่งการแบ่งยุคทางคณิตศาสตร์นั้น (www-history.mcs.st-andrews.ac.uk/history.Timelines/index.html) แบ่งตามช่วงที่มีเหตุการณ์สำคัญๆ ทางคณิตศาสตร์ร่วมกัน หรือช่วงที่มีเหตุการณ์สำคัญๆ ซึ่งเปลี่ยนโฉมหน้าของคณิตศาสตร์ ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้


ประมาณ 800 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ.700       ยุคกรีก (The Greek period)
        
ค.ศ.600 – 1500  ยุคอาหรับ หรืออารบิก (The Arabic Period)
        ค.ศ.1450 – 1700        ยุคคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 (the 16th and 17th Centuries)
        
ค.ศ.1650 – 1800        ยุคคริสต์ศตวรรษที่ 18 (The 18th century)
        
ค.ศ.1750 – 1850        ยุคก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19 (The early 19th century)
        
ค.ศ.1825 – 1900        ยุคคริสต์ศตวรรษที่ 19 ตอนปลาย (The late 19th century)
        
ค.ศ.1875 – 1960        ยุคคริสต์ศตวรรษที่ 20 (The 20th century)


ส่วน Eves (200…) ได้แบ่งยุคสมัยทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Periods) ไว้อย่างน่าสนใจ พร้อมทั้งบอกเล่าถึงเหตุการณ์และนักคณิตศาสตร์คนสำคัญๆ ไว้อีกด้วย ซึ่งได้แบ่งเป็นยุคต่างๆ ดังนี้


3000 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ.260           อียิปต์และบาบีโลน
        
1030 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ.1644         จีน
        
600 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ.450             กรีก
        
200 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ.1250           ฮินดู
        
ค.ศ.450 – 1120                           ยุคมืด
        
ค.ศ.650 – 1200                           อาหรับ
        
ค.ศ.950 – 1500                           ช่วงเวลาแห่งการปฏิรูป
        
ค.ศ.1450 – 1700                         ยุคใหม่ช่วงแรก
        
ค.ศ.1700 – ปัจจุบัน                      ยุคใหม่ช่วงที่สอง   


จะเห็นได้ว่าการแบ่งช่วงเวลาหรือยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของคณิตศาสตร์นั้น มีการคาบเกี่ยวกับของช่วงเวลาบ้าง โดย Eves ได้ให้ความสำคัญของพัฒนาการทางคณิตศาสตร์ในทวีปเอเชียด้วย คือ จีน อินเดีย และอาหรับ ซึ่งในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า แนวคิดทางคณิตศาสตร์หลายประการซึ่งเป็นที่รู้จักกันในโลกปัจจุบันนี้ นักคณิตศาสตร์ชาวจีน และอินเดีย คิดค้นได้ก่อนนักคณิตศาสตร์ชาวตะวันตกหลายร้อยปีทีเดียว ส่วนชาวอาหรับนั้นก็มีความสำคัญต่อวิทยาการของโลก คือ เป็นผู้เก็บรักษาความรู้ต่างๆ ของกรีก และอียิปต์โบราณไว้ไม่ให้สูญหายไปจากโลก ในยุคสมัยที่ยุโรปตกในยุคมืด


นอกจากการแบ่งเป็นยุคตามที่มีเหตุการณ์สำคัญต่างๆ แล้ว ยังมีการบอกเล่าเหตุการณ์ในแต่ละปีว่ามีเหตุการณ์ที่น่าสนใจอะไรเกิดขึ้นบ้าง บางเหตุการณ์ก็เป็นเหตุการณ์ที่เปลี่ยนโฉมหน้าคณิตศาสตร์เช่นกัน เช่น การค้นพบเรขาคณิตนอกระบบยูคลิด การค้นพบแคลคูลัส เป็นต้น


บทความต่อไปนี้นี้ ผู้เรียบเรียงได้แบ่งการนำเสนอออกเป็น 5 ส่วนตามลำดับเหตุการณ์ต่างๆ ตามปีคริสต์ศักราช ดังนี้


1.      ยุคโบราณ กรีก และอียิปต์ (ประมาณ 50,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชถึงประมาณ ค.ศ.450)
        
2.      ยุคมืด และยุคอาหรับ (ค.ศ.450 – ค.ศ.1200)
        
3.      ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (ค.ศ.950 – ค.ศ.1500)
        
4.      ยุคใหม่ช่วงแรก (ค.ศ.1450 – ค.ศ.1700)
        
5.      ยุคใหม่ช่วงหลัง (ค.ศ.1700 – ปัจจุบัน)








Create Date : 30 มกราคม 2553
Last Update : 30 มีนาคม 2553 13:19:42 น. 0 comments
Counter : 987 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.