kruaun
Location :
สุรินทร์ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




“อาจารย์ของพระอรหันต์ ยังไม่จำเป็นต้องเป็นพระอรหันต์เลย ดังนั้น อย่ากังวลเลย หากเราคิดว่าเราเก่งไม่พอที่สร้างลูกศิษย์เก่งๆ ขอเพียงแต่เรามีกระบวนการพัฒนา ส่งเสริม และให้โอกาสเขาอย่างเหมาะสม และถูกวิธี ให้เขาเติบโตเต็มศักยภาพที่ดี”---รศ. ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จากหนังสือแด่เมล็ดพันธุ์แห่งอนาคต

****************************

No one can make you feel inferior without your consent. by Eleanor Roosevelt.

ไม่มีใครสามารถทำให้คุณรู้สึกต้อยต่ำได้...
ถ้าคุณไม่ยินยอม (เอลานอร์ รูสเวลต์)

**************************

ครูอั๋น สอนคณิตศาสตร์ จังหวัดสุรินทร์
--------------------------------

"ชีวิตนี้ลูกยกให้พวกเขา...แต่ชีวิตหน้าทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาและพวกมันทำไว้กับลูก ลูกขอเอาคืน!"
---วรดา/ด้วยแรงอธิษฐาน/กิ่งฉัตร

รู้นะว่าถ้าเอาความแค้นนำทางมันไม่ดี...
แต่บางทีถ้าตั้งใจว่าจะต้องดีกว่า ดีกว่า...
มันก็เหมือนเป็นแรงขับให้เราก้าวหน้าได้เช่นกัน

แค่ตั้งใจทำดีก็แล้วกัน

+++++++++++++++++++++++++++++

มีคนเคยถามว่า "ทำไมมาเป็นครู"
คำตอบที่ผมภูมิใจและตอบได้อย่างเต็มปากที่สุด คือ
"ผมอยากเป็นครู เลยเลือกมาเป็นครู"


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

"เจ้าเป็นคนพูดเองนะว่า อำนาจมันมาแล้วมันก็ไป แล้วเจ้ายังจะแสวงหามันทำไมเล่า"
---เศกขรเทวี เพลิงพระนาง

๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗

สัจธรรมง่ายๆ ที่ใครๆ ก็พากันทำไม่ได้

ถ้าอยากมีชีวิตที่เลวลงอย่างคิดไม่ถึง
คุณแค่หมั่นทำเลวที่ไม่เคยแม้จะอยู่ใรความคิด

หากปรารถนาชีวิตที่ดีขึ้นอย่างคิดไม่ถึง
คุณต้องทำดีมากกว่าที่คิดว่าตัวเองจะทำได้

มีชีวิตที่คิดไม่ถึง/ดังตฤณ
----------------เริ่มนับ 30 เม.ย.53----------------- free counters ===== Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Thailand License.
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kruaun's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 

ภาค 12: ปราสาทช่างปี่

ช่วงนี้ปราสาทขนาดเล็กหลายๆ แห่งได้รับการบูรณะ
ในฐานะคนรักปราสาทนั้น "ดีใจมากๆ" ที่ปราสาทเล็กๆ เหล่านั้นได้รับการบูรณะ
ที่มีโอกาสได้ผ่านไปชม ก็ ปราสามบ้านสมอ ปราสาทสระกำแพงน้อย และล่าสุดที่ได้ไปมาคือ ปราสาทช่างปี่
ปราสาททั้งสามแห่งนี้ ล้วนเป็นอโรคยศาลา ในจังหวัดศรีสะเกษ (สองแห่งแรก) และจังหวัดสุรินทร์

แม้จะเป็นปราสาทขนาดเล็กต่อก็มีอะไรน่าสนใจอยู่
โดยเฉพาะที่ปราสาทช่างปีที่พึ่งได้รับการขุดค้นและบูรณะล่าสุด



อโรคยศาลา

อโรคยศาลา หรืออโรคยาศาล เป็นโรงพยาบาลโบราณ จำนวน 102 แห่ง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอมโบราณ โปรดให้สร้างขึ้นที่สร้างขี้นทั่วพระราชอาณาจักร์ของพระองค์ สร้างตามศิลปะแบบบาปวน

ปราสาทช่างปี่
อยู่ที่บ้านช่างปี่ ตำบลช่างปี่ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 18 มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยนผืนผ้า ก่อด้วยศิลาแลง และหินทราย ปัจจุบัน (มกราคม 2554) กำลังได้รับการบูรณะปฏิสังขรอยู่ พบศิลปะวัตถุหลายชื่อ ไม่ว่าเป็นเทวรูปประธาน พระคเนศวร์ กลีบขนุนที่ยอมปราสาท ซึ่งมีความสมบูรณ์หลายชิ้น ซึ่งไม่น่าจะพบในโบราณสถานปัจจุบัน

ศิลปวัตถุบางส่วนเจ้าหน้าที่ได้นำไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์ (ตามคำบอกเล่าของคนในท้องถิ่น) เช่น เศียรเทวรูปประธาน บางส่วนจัดแสดงชั่วคราวที่ศาลาวัดบ้านช่างปี่ครับ

ว่างไปไปชมกันนะครับ

เอารูปมาฝาก

ก่อนการบูรณะ


โคปุระ หรือซุ้มประตูทางเข้า ถ่ายจากด้านใน


บรรณาลัยของปราสาทช่างปี่


ปราสาทประธานในสภาพปรักหักพัง


บรรณาลัยและโคปุระในภาพจมดิน



ระหว่างการบูรณะ




ทางเข้าด้านหน้าระหว่างที่ช่างทำงาน


ทางด้านใต้ จากซ้ายไปขวาจะเห็นปราสาทประธาน บรรณาลัย และโคปุระ


คนงาน (ท้องถิ่น) กำลังช่วยกันขุดแต่งปราสาทประธาน พอเห็นเป็นรูปเป็นล่างบ้างแล้ว


คนงานกำลังช่วยกันขุดแต่งบรรณาลัย


ภาพจากทิศตะวันตก ผังแบบเดียวกับปราสาทตาเมือนโต๊ดครับ


ก่อน (ซ้าย) และหลัง (ขวา) การบูรณะ
บน โคปุระ หรือซุ้มประตู ล่าง ปราสาทประธาน


ภายในโคปุระที่เมื่อก่อนไม่สามารถเข้าไปได้ แต่ปัจจุบัน (กำลัง) ได้รับการบูรณะ เดินผ่านเข้าออกได้แล้ว



ศิลปวัตถุที่พบในการขุดแต่ง




ส่วนยอด หรือบัวปราสาทที่พบก่อนการบูรณะ ไปครั้งนี้ไม่ทราบเอาเก็บไว้ที่ไหน


ฐานศิวลึงค์ หรืออาจจะเป็นฐานเทวรูป หรือพระพุทธรูปสามฐานที่พบในสภาพสมบูรณ์


เครื่องประดับยอดปราสาท กลีบขนุนที่พบเป็นจำนวนหลายชิ้น
เก็บรักษาและ (น่าจะ) จัดแสดง (ชั่วคราว) ที่วัดบ้านช่างปี่


และพระเอกของการขุดแต่งครั้งนี่จะเป็นเทวรูปองค์นี้
น่าเสียดายที่วันที่ไปชมชาวบ้านคนหนึ่ง (น่าจะเป็นผู้ใหญ่บ้าน) เล่าว่า
เจ้าหน้าที่ได้นำเศียรของเทวรูปนี้ไปเก็บไว้ที่ห้องศิลป์ (น่าจะหมายถึงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์) แล้ว น่าเสียดาย งั้นต้องตามไปชม



เรื่องขำๆ ในวันนั้นก็มีอยู่ว่า...
ในวันนั้น...ผมเองแต่งตัวไปด้วยกางเกงยืน เสื้อยืน สะพายกล้องถ่ายภาพ เดินเข้าไปในสถานที่ขุดแต่งโดยไม่สนใจอะไร และมั่นใจมากด้วย
เข้าไปก็ถ่ายภาพ ดูโน่นดูนี่
เจ้าหน้าที่ที่ทำงานอยู่เป็นช่างหรือคนงานในท้องถิ่น
ตอนแรงที่ผมเข้าไปเขาพูดภาษากลาง คือ ภาษาไทย
พอมองเห็นผมเขาเปลี่ยนเป็นพูดภาษาเขมร
จับความได้ว่าเขาถามกันว่านายช่างหรือเปล่า
คนหนึ่งบอกว่าใช่ อีกคนบอกว่าไม่ใช่
แล้วเขาก็พูดคุยเหมือนเถียงกัน...แต่ผมฟังไม่ค่อยออกหรอกครับ ภาษาเขมรไม่ค่อยแข็งแรง
แต่เหตุผลของคนที่บอกว่าผมไม่ใช่นายช่างก็คือ
"จะเป็นนายช่างได้อย่างไร หน้าตายังกับดารา"

ผมงี้อมยิ้มเลย...

แต่ผมว่านะ...ถ้าวันนั้นให้ผมเลือกระหว่างการเป็นนายช่างกับการเป็นดารา
ผมเลือกการเป็นนายช่างน่าจะดีกว่า
เพราะการเป็น "นักโบราณดี" เป็นนายช่างขุดค้นแบบนี้ งานในฝันผมเลยครับ

ว่าแต่ว่า เที่ยวชมปราสาทมาหลายครั้ง
เจอคนหลายกลุ่ม
บางกลุ่มก็ว่าผมเป็นมัคคุเทศก์
บางกลุ่มก็ว่าผมเป็นเจ้าหน้าที่
บางกลุ่มก็บอกว่าผมเป็นหมอ (เรียกเสียงดังด้วย)
บางกลุ่มก็บอกว่าเป็นนายช่าง (และดารา)

แล้วต่อไปจะได้เป็นอะไรเนี้ยะ...โปรดติดตาม




 

Create Date : 30 มกราคม 2554    
Last Update : 30 มกราคม 2554 23:47:52 น.
Counter : 2275 Pageviews.  

ภาค 11: กลุ่มปราสาทตาเมือน ตอนที่ 2





ที่ตั้งของปราสาททั้งสามบนเส้นทางช่องเขาตาเมียง





กลุ่มปราสาทตาเมือน


ความเดิมตอนที่แล้ว...
กลุ่มปราสาทตาเหมือน ตั้งอยู่ในช่องเขาตาเมือน (หรือช่องเขาตาเมียง) เทือกเขาพนมดงรัก (หรือพนมดงแร็ก) ในเขตบ้านหนองคันนาสามัคคี หมู่ 18 ตำบลบ้านตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ประกอบด้วยโบราณสถาน ๓ แห่ง ได้แก่ ปราสาทตาเมือน ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาเมือนธม โดยปราสาทตาเมือนโต๊ด อยู่ห่างจากปราสาทตาเมือนธม ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 750 เมตร และอยู่ห่างจากปราสาทตาเมือน ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 390 เมตร

หากเดินทางอำเภอปราสาทบ้านไปผม ออกไปตามทางหลวงหมายเลข ๒๔ ไปทางอำเภอประโคนชัย เมื่อถึงนิคมสร้างตนเองปราสาท ให้เลี้ยวซ้ายไปทางอำเภอพนมดงรัก ตามเส้นทาง ๒๓๙๗ จนกระทั่งพอทางหลวงหมายเลข ๒๒๔ ให้เลี้ยวขวา ไปเรื่อย จะพบป้ายบอกทางเป็นระยะ เมื่อถึงบ้านตาเมียง ให้เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข ๒๔๐๗ จนถึงบ้านหนองคันนา เลยบ้านหนองคันนาไปจะพบป่า และจะพบปราสาทตาเมือนอยู่ทางซ้ายมือ

เส้นทางค่อนข้างจะลึกลับ เพราะต้องเข้าไปในเขตชายแดน ผมขับรถไปคนเดียว กลัวมาก จะตัดสินใจกลับหลายครั้ง เพราะมันแทบจะไม่มีรถสวนมาเลย โดยเฉพาะเมื่อเลยบ้านหนองคันนาไปแล้ว พอไปถึงปราสาทตาเมือน ต้องลงแบบกล้าๆ กลัวๆ รถก็ต้องจอดบนทางเดิน เผื่อว่ามีอะไรเกิดขึ้นจะได้รีบไปได้

พอไปถึงปราสาทตาเมือน ก็มีรถทัวร์ทัศนาจรหนึ่งคัน กับนักท่องเที่ยวที่มาจากกาบเชิง อุ่นใจมาก สอบถามได้ความว่าข้าไปข้างในอีกนิดจะเจอปราสาทตาเมือนธม สักพักก็มีรถของนักท่องเที่ยว ๒ คันขับเลยไป...เย้ มีเพื่อนเที่ยวแล้ว

เฮ้ย...คิดว่าจะต้องไปดูคนเดียวซะแล้ว

สรุปว่า "โครงการปราสาททัวร์" ครั้งนี้ ออกแนวกลัวๆ ตื่นเต้นๆ แต่ก็มีความสุขเหมือนทุกครั้งที่ได้ไปทัวร์ปราสาทเลยครับ

หลังจากเที่ยวชมปราสาทสองแห่งแล้ว คือ ปราสาทตาเมือน กับปราสาทตาเมือนโต๊ด แล้ว เลยเข้าไปใกล้ชายแดนไทย-กัมพูชา อีกประมาณ 800 เมตร ก็จะพบกับฐานปฏิบัติการตาเมือนธม ซึ่งสุดชายแดนไทยพอดีครับ




ปราสาทตาเมือนธม เป็นปราสาทขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่ม (ธม เป็นภาษาเขมร แปลว่า ใหญ่) ตัวปราสาทอยู่บนเนินเขาสร้างคร่อมโขดหินธรรมชาติที่ศักดิ์สิทธิ์ในรูปของสยัมภูศิวลึงค์ และเป็นที่สำหรับประกอบพิธีกรรม

ตัวปราสาทตาเมือนธม หันหน้าไปทางทิศใต้ ผิดแผกจากแห่งอื่นซึ่งมักจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก รับกับเส้นทางที่มาจากเขมรต่ำผ่านมาทางช่องทางตาเมือนนี้

ปราสาทตาเมือนธมประกอบด้วยปราสาทประธาน มีอาคารอื่น คือปรางค์ก่อด้วยหินทรายสองหลัง อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันตกเฉียงเหนือของปราสาทประธาน มีบรรณาลัยศิลาแลงสองหลัง และนอกระเบียงคดทางทิศเหนือ มีสระน้ำขนาดเล็กสองสระ

ปราสาทแห่งนี้อยู่ใกล้เขตชายแดนเขมร มากที่สุด การเที่ยวชมจึงควรอยู่เฉพาะภายในเขตปราสาทเท่านั้น ไม่ควรเดินออกไปไกลจากแนวต้นไม้รอบปราสาทเพราะพื้นที่นี้ยังไม่ปลอดภัยนัก


บันไดขึ้นจากทิศใต้



ปราสาทบริวาร หรือปรางค์ประกอบ



บางส่วนของปราสาทประธานที่หลงเหลืออยู่


จริงๆ แล้วปราสามตาเมือนธม ดูจะเป็นปราสาทที่มีองค์ประกอบค่อนข้างสมบูรณ์ที่สุดในกลุ่มปราสาทตาเหมือน ลวดลายสลักก็งดงาม แต่เพราะความงดงามนี่เองที่ทำให้ปราสาทถูกทำลายไปมา โดยเฉพาะปราสาทประธาน

ไปครั้งนี้ได้ทราบข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่ง ก็คือ ได้พบนางอัปสราบนแผ่นดินสยามที่นี่ด้วย เพียงแต่เป็นนางอัปสราที่ถูกทำลายจนไม่อาจจะมองไม่เป็นนางอัปสราแล้ว ทวารบาลก็ถูกทำลายไปเสียมาก

นางอัปสราที่ตาเมือนธมที่มีอยู่ 4 จุดด้วยกันครับ
แต่สภาพถูกสกัดใบหน้าบ้าง แตกหักไปตามการพังทลายของปราสาทบ้างครับ


สองนางอัปสราแห่งตาเมือนธม...เหลือแค่นี้เองครับ



ทวารบาลแห่งตาเมือนธม



ส่วนประกอบอย่างทับหลังไม่เหลือให้เห็นสักชิ้น



ส่วนประกอบสำคัญของปราสาทขอมนั้น คือ ทับหลัง ไม่ปรากฏให้เห็นเลย อาจจะเป็นไปได้ว่าสลักไม่เสร็จ แต่ผมว่า น่าจะโดนโจรกรรมไปหมดแล้วล่ะครับ

นี่แหละครับ ความสวยงามก็เป็นโทษเหมือนกัน ไม่ต่างกับสมันที่เขาสวยงาม และเพราะความสวยงามของเขานี่เองที่ทำให้มันสูญพันธุ์

รู้จักจุฬาตรีคูณไหมครับ...สวยงามที่ปฏิเสธความสวยของตัว ไม่อยากให้ตนเองสวย...นอกเรื่องจนได้ครับ

===================================
กลับไปอ่านภาคแรกครับ //www.bloggang.com/viewdiary.php?id=kruaun&month=08-2010&date=14&group=15&gblog=10

และไปชมภาพได้ที่ //www.facebook.com/kruaun




 

Create Date : 18 สิงหาคม 2553    
Last Update : 19 สิงหาคม 2553 0:17:44 น.
Counter : 1481 Pageviews.  

ภาค 10: กลุ่มปราสาทตาเมือน





ที่ตั้งของปราสาททั้งสามบนเส้นทางช่องเขาตาเมียง





กลุ่มปราสาทตาเมือน


กลุ่มปราสาทตาเหมือน ตั้งอยู่ในช่องเขาตาเมือน (หรือช่องเขาตาเมียง) เทือกเขาพนมดงรัก (หรือพนมดงแร็ก) ในเขตบ้านหนองคันนาสามัคคี หมู่ 18 ตำบลบ้านตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ประกอบด้วยโบราณสถาน ๓ แห่ง ได้แก่ ปราสาทตาเมือน ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาเมือนธม โดยปราสาทตาเมือนโต๊ด อยู่ห่างจากปราสาทตาเมือนธม ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 750 เมตร และอยู่ห่างจากปราสาทตาเมือน ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 390 เมตร

หากเดินทางอำเภอปราสาทบ้านไปผม ออกไปตามทางหลวงหมายเลข ๒๔ ไปทางอำเภอประโคนชัย เมื่อถึงนิคมสร้างตนเองปราสาท ให้เลี้ยวซ้ายไปทางอำเภอพนมดงรัก ตามเส้นทาง ๒๓๙๗ จนกระทั่งพอทางหลวงหมายเลข ๒๒๔ ให้เลี้ยวขวา ไปเรื่อย จะพบป้ายบอกทางเป็นระยะ เมื่อถึงบ้านตาเมียง ให้เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข ๒๔๐๗ จนถึงบ้านหนองคันนา เลยบ้านหนองคันนาไปจะพบป่า และจะพบปราสาทตาเมือนอยู่ทางซ้ายมือ

เส้นทางค่อนข้างจะลึกลับ เพราะต้องเข้าไปในเขตชายแดน ผมขับรถไปคนเดียว กลัวมาก จะตัดสินใจกลับหลายครั้ง เพราะมันแทบจะไม่มีรถสวนมาเลย โดยเฉพาะเมื่อเลยบ้านหนองคันนาไปแล้ว พอไปถึงปราสาทตาเมือน ต้องลงแบบกล้าๆ กลัวๆ รถก็ต้องจอดบนทางเดิน เผื่อว่ามีอะไรเกิดขึ้นจะได้รีบไปได้

พอไปถึงปราสาทตาเมือน ก็มีรถทัวร์ทัศนาจรหนึ่งคัน กับนักท่องเที่ยวที่มาจากกาบเชิง อุ่นใจมาก สอบถามได้ความว่าข้าไปข้างในอีกนิดจะเจอปราสาทตาเมือนธม สักพักก็มีรถของนักท่องเที่ยว ๒ คันขับเลยไป...เย้ มีเพื่อนเที่ยวแล้ว

เฮ้ย...คิดว่าจะต้องไปดูคนเดียวซะแล้ว

สรุปว่า "โครงการปราสาททัวร์" ครั้งนี้ ออกแนวกลัวๆ ตื่นเต้นๆ แต่ก็มีความสุขเหมือนทุกครั้งที่ได้ไปทัวร์ปราสาทเลยครับ

ที่แรกที่ไปก็คือ...

ปราสาทตามเมือน หรือ ปราสาทบายกรีม เป็นธรรมศาลา หรือบ้านพักที่มีไฟ เป็นที่พักคนเดินทางที่สร้างขึ้นตามเส้นทางสายราชมรรคา จากเมืองพระนคร ถึงเมืองพิมาย เป็นธรรมศาลาแห่งแรกบนแผ่นดินไทย และเป็นธรรมศาลาที่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย



ปราสาทตาเมือน ธรรมศาลาแห่งแรกตามเส้นทางราชมรรคาบนแผ่นดินไทย



ทับหลังของปราสาทตาเมือน



ภายในปราสาทตาเมือน


เลยจากปราสาทตาเมือนไปอีกประมาณ ๓๐๐ เมตร ก็จะพบปราสาทตาเมือนโต๊ด หรือปราสาทตาเมือนเล็ก ก่อด้วยศิลาแลง มีกำแพงล้อมรอบและมีสระน้ำขนาดเล็กอยู่ทางทิศเหนือหนึ่งสระ เชื่อกันว่าปราสาทแห่งนี้เป็นอโรคยาศาล หรือ สถานรักษาพยาบาลของชุมชน หรือตามรายทางที่เป็นเส้นทางคมนาคม ซึ่งนิยมสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7


ภาพจากด้านนอกของปราสาทตาเมือนโต๊ด (ในวันที่ไปนั้นมีทหารลาดตระเวนมาดูด้วย)



ปราสาทประธานของปราสาทตาเมือนโต๊ดถ่ายจากประตูของโคปุระด้านทิศตะวันออก



ปราสาทประธานจากด้านตะวันตกเฉียงเหนือ จะเป็นว่าปราสาทยังไม่ได้สลักลวดลาย แต่สภาพค่อยข้างสมบูรณ์



กลุ่มโบราณสถานปราสาทตาเมือน จากซ้าย ปราสาทประธาน ประตูกลาง โคปุระด้านตะวันออก ขวาบรรณาลัย



บรรณาลัย ของปราสาทตาเมือนโต๊ด


ไปอ่านตอนที่สองที่นี่เลยครับ //www.bloggang.com/viewdiary.php?id=kruaun&month=08-2010&date=18&group=15&gblog=11




 

Create Date : 14 สิงหาคม 2553    
Last Update : 19 สิงหาคม 2553 0:08:00 น.
Counter : 2235 Pageviews.  

ภาค 9: ปราสาทสระกำแพงใหญ่






เที่ยวปราสามขอมวันนี้ขออกนอกจังหวัดสุรินทร์ไปเล็กน้อยนะครับ
ไปกันที่อุทุมพรพิสัย ศรีสะเกษ ไม่ไกลจากที่ทำงานผมสักเท่าไหร่ครับ
เราจะได้พบกับปราสาทหินที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของไทย (ถ้าจำไม่พลาดนะครับ)
เรียงลำดับคือ พิมาย พนมรุ้ง เมืองต่ำ ปรางค์สามยอด และสระกำแพงใหญ่

ปราสาทหินทรายสีชมพู ที่มีคนเล่าเรื่องโรแมนติกไว้ใน เนะขแมร์อินไทยแลนด์
ลองหาอ่านดูนะนครับ



ข้อมูลเชิงวิชาการ
ปราสาทสระกำแพงใหญ่ หรือ ปราสาทศรีพฤทเธศวร ตั้งอยู่ในบริเวณวัดสระกำแพงใหญ่ ถนนประดิษฐ์ประชาราษฎร์ หมู่ 1 ตำบลสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ใกล้กับสถานีรถไฟอุทุมพรพิสัย และห่างจากที่ว่าการอำเภออุทุมพรพิสัยไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 2 กิโลเมตร

ความสำคัญ
ปราสาทสระกำแพงใหญ่สร้างขึ้นในศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธแบบมหายานเพื่อเป็นที่ประดิษฐานเทวรูป จากการขุดแต่บูรณปราสาทแห่งนี้ ของกรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ. 2532 ได้ค้นพบปฏิมากรรมสำริดขนาดใหญ่เฉพาะองค์สูง 140 เซนติเมตร และรวมความสูงทั้งฐาน 180 เซนติเมตร ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ให้ความเห็นว่าเป็นรูปของนันทิเกศวร หรือ นันทีศวร ลักษณะพิเศษ คือเป็นสำริดกะไหล่ทอง เดิมอาจจะตั้งอยู่หน้าปราสาทหลังกลางภายในมุขหน้าปราสาท เพราะโดยปกติจะประจำอยู่กับเทวาลัยของพระอิศวร ปฏิมากรรมชิ้นนี้เป็นศิลปะขอมแบบบาปวนตอนปลาย สำคัญมากนับเป็มปฏิมากรรมชิ้นเอกชิ้นหนึ่งที่พบในประเทศไทย ปัจจุบันจัดแสดงพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

ประวัติ
ความเป็นมาของปราสาทสระกำแพงใหญ่ ยังไม่สามารถยืนยันได้แน่ชัดว่าสร้างขึ้นมาในสมัยใดหรือศักราชใด ถึงแม้จะพบจารึกที่โบราณสถานแห่งนี้ ข้อความในจารึกกล่าวถึงการซื้อที่ดินถวายแก่เจ้านายผู้ล่วงลับคือ "กมรเตง ชคตศรีพฤทเธศวร" ไม่ได้กล่าวถึงการสร้างปี พ.ศ. 1585 ที่ปรากฏในจารึกไม่ใช่ปีที่สร้างปราสาท ระยะดังกล่าวในกัมพูชาเป็นสม้ยที่พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ครองราชย์ แต่มิได้หมายถึงพระองค์เป็นผู้สร้าง จากการศึกษาลาดลายต่างๆทางด้านศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม ปราสาทสระกำแพงใหญ่ น่าจะมีอายุอยู่ในศิลปะเขมรแบบคลังต่อบาปวน หรือประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 16 ถึงพุทธศตวรรษที่ 16 ตอนปลาย
ปราสาทสระกำแพงใหญ่เป็นศาสนสถานแบบเขมร ทั้งในด้านศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม รวมทั้งความเชื่อในการนับถือศาสนาจากหลักฐานที่ปรากฏสันนิษฐานว่าเดิมเป็น ศาสนสถานในศาสนาฮินดู โดยดูจากทับหลังที่สลักภาพบุคคลเล่าเรื่องราวต่างๆเกี่ยวข้องกับความเชื่อใน ศาสนาฮินดู ภายหลังเมื่อพระพุทธศาสนาเข้ามามีอิทธิพลในดินแดนแถบนี้จึงเปลี่ยนเป็นศาสน สถานของศาสนาพุทธโดยได้ขุดพบพระพุทธรูปนาคปรกปางสมาธิ สูง 1.33 เมตร

องค์ประกอบของปราสาท
1.บาราย บารายคือสระน้ำ นับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของศาสนสถานประเภทปราสาทหิน เนื่องจากจะต้องใช้นำในการประกอบศาสนพิธี ปกติบารายจะอยู่รอบ หรือทางทิศตะวันออกของศาสนสถาน บารายที่อยู่รอบศาสนสถานนั้นเป็นการจำลองเขาพระสุเมรุที่ล้อมรอบด้วย มหาสมุทรทั้ง 4 ด้านตะวันออกเป็นด้านที่ศาสนิกชนเข้าเฝ้าเทพเจ้า ซึ่งมักจะต้องตักน้ำเพื่อไปสรงศิวลึงค์หรือชำระพระบาทเทพเจ้า บารายที่ปราสาทสระกำแพงใหญ่นี้อยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันออกประมาณ 500 เมตร ปัจจุบันไม่เหลือสภาพแล้ว


2.ระเบียงคต ระเบียงคตเป็นกำแพงของศาสนสถานที่ล้อมรอบอาคารศาสนสถานไว้ภายใน ระเบียงคตนี้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 49 เมตร ยาว 67 เมตร ระเบียงคตมีซุ้มประตูโคปุระ (ซุ้มประตู) ทั้ง 4 ด้าน คือ ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ฐานและผนังก่อด้วยศิลาแลงกรอบประตูหน้าต่างทำด้วยหินทรายภายในมีช่องทางเดิน กว้าง 3 เมตร สภาพส่วนใหญ่คงเหลือแต่ฐานและผนังบางส่วนเท่นั้น ส่วนที่เป็นหลังคาพังทลายเสื่มสภาพไปแล้ว


3.บรรณาลัยหรือวิหาร ภายในระเบียงคตเมื่อผ่านซุ้มโคปุระด้านทิศตะวันออกเข้าไปจะพบอาคาร 2 หลัง หันหน้าไปทางทิศตะวันตก อาคาร ทั้งสองก่อด้วยอิฐไม่สอปูน ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีมุขยื้นออกมาด้านหน้า ด้านข้างและด้านหลังก่อเป็นอิฐทึบแต่แซะร่องให้มีลักษณะเป็นประตูปลอมเลียน แบบประตูจริง อาคาร 2 หลังนี้เรียกว่าวิหารหรือบรรณาลัย เปรียบได้กับหอตรัยของพุทธศาสนา คือใช้เป็นที่เก็บคัมภีร์ทางศาสนา ซึ่งถือว่ามีความสำคัญไม่น้อยกว่ารูปเคารพ


4.ปรางค์ ปรางค์หรือปราสาท เป็นศูนย์กลางของศาสนสถาน เป็นที่ประดิษฐานของรูปเคารพ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ประกอบด้วยปรางค์ 4 หลัง คือ ปรางค์หลังทิศเหนือ ทิศใต้ โดยมีปรางค์ประธานอยู่ตรงกลาง ปรางค์ทั้ง 3 หลังนี้ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน

นอกจากนี้ยังมีปรางค์เดี่ยวอีกหนึ่งหลังอยู่ทางทิศตะวันตกค่อนไปทางทิศ ใต้ภายในระเบียงคต (ที่มีปรางค์หลายหลังเนื่องจากศาสนาฮฺนดูนับถือพระเจ้าหลายองค์ จึงต้องมีที่ประดิษฐานรูปเคารพหลายหลัง) ปรางค์ทั้งหมดมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสขนาด 4 x 4 เมตร สำหรับปรางค์ประธานมีมุขยื่นออกมาด้านหน้า ปรางค์ทุกหลังหันหน้าไปทางทิศตะวันออก และมีประตูเข้าออกเพียงด้านเดียว นอกนั้นทำเป็นประตูปลอม





















 

Create Date : 08 มิถุนายน 2553    
Last Update : 8 มิถุนายน 2553 11:42:32 น.
Counter : 2734 Pageviews.  

ภาค 8: ปราสาทยายเหงา








ไปเที่ยวปราสาทยายเหงากันครับ


ไม่ต้องถามปราสาทตาเหงา...เพราะผมก็ยังหาไม่เจอ
อิอิ




ข้อมูลเชิงวิชาการ
ปราสาทยายเหงา ตั้งอยู่ที่ตำบลสังขะ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทก่อด้วยอิฐจำนวน 2 องค์ (สันนิษฐานว่ามี 3 องค์ แต่อีกองค์ได้ชำรุดไปตามกาลเวลา) มีลักษณะเหมือนกันทั้งสององค์ คือ มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีประตูทางเข้าออกทางด้านหน้าเพียงประตูเดียว ส่วนยอดทำเป้นชั้นหลังคาซ้อนกันขึ้นไป มีคูน้ำรูปตัวยูล้อมรอบ



ช่วงนี้ปราสาทหลายแห่งในสุรินทร์กับศรีสะเกษ (เท่าที่ผมไปถึง) กำลังได้รับการบูรณะ
ในฐานะคนรักปราสาท ผมดีใจมากที่มีการบูรณะ บางแห่งกลับไปเห็นสภาพเปลี่ยนไปเลย
เหมือนกับไม่ได้กลับไปที่เดิมยังไงยังงั้น

ส่วนยายเหงา...ผมไปครั้งแรก ก็เห็นว่าได้รับการขุดแต่งไปเรียบร้อยแล้ว



ด้านข้างๆ จะเห็นว่ากำแพงถูกขุดลงไปอีกราวเกือบเมตร


ถ่ายจากด้านหลัง ย้อนแสงเล็กน้อย


ปรางค์องค์ที่สมบูรณ์ที่สุดปัจจุบันประดิษฐสถานพระนอนด้านใน




เศษชิ้นส่วนของส่วนประกอบของปราสาทยายเหงาที่ตกลงมาจากเรือนยอด
นำมากองรวมกันไว้ที่ศาลาอเนกประสงค์ใกล้ๆปราสาท


ตอนถึงปราสาทก็ดีใจที่ได้เห็นปราสาท
สักพักก็มีเด็กประถามคนหนึ่งมายกมือไหว้ คิดว่าจะมาแนะนำปราสาท
ประมาณว่าเป็นมัคคุเทศก์น้อยแบบที่ปราสาทพิมาย หรือพนมรุ้ง
ไอ้เราก็ยิ้มรับ แต่พอพูดออกมาว่า "พี่มีเงินไหมครับ" ทำเอาหมดอารมณ์

ไม่ได้ขี้เหนียวหรอกนะครับ เงินสิบ ยี่สิบน่ะ...
เพียงแต่รู้สึกว่าเด็กเขาคิดอะไรอยู่ หรือได้ตัวอย่างมาจากไหน
ถ้าถามว่าพี่มาทำอะไรครับ มาดูตรงนี้ครับ หรือแนะนำอะไร หรือพูดอะไรนิดหน่อยที่ไม่ใช่ขอตังค์
เรายินดีจะให้สักร้อยก็ยังได้
รู้สึกเหมือนไปเขมรเลยที่เด็กเขมรแห่มาขอตังค์

เงินฉันหามาได้ด้วยความยากลำบาก จะมาขอกันง่ายๆ ได้ไง
555+
สุดท้ายก็เหนียวนั่นแหละ
อิอิ


ว่างๆ เชิญไปเที่ยวกันนะครับ
ยายเหงา ภูมิโปน สังศิลป์ชัย และอีกหลายๆ ปราสาทแถบสังขะ กาบเชิง บัวเชด พนมดงรัก จ.สุรินทร์

มาเที่ยวชวนผมด้วยก็ได้นะครับ


แถมอีกรูปละกันครับ






 

Create Date : 05 มิถุนายน 2553    
Last Update : 5 มิถุนายน 2553 10:39:00 น.
Counter : 2558 Pageviews.  

1  2  3  
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.