YaLoveAum Services เพราะชีวิตคือการเรียนรู้....
space
space
space
space

ภาวะขาดโปรตีนในผู้สูงอายุ

ภาวะขาดโปรตีนในผู้สูงอายุ

โปรตีนมีอยู่ในอาหารหลากหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อสัตว์ นม และไข่ ซึ่งเป็นแหล่งอาหารหลักที่ให้โปรตีน ผู้สูงอายุจะมีปัญหาในการเคี้ยวเนื้อสัตว์มีลักษณะเหนียวและเคี้ยวยาก ผู้สูงอายุจึงหลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ ทำให้การบริโภคเนื้อสัตว์มีปริมาณลดลง จึงมีโอกาสได้รับโปรตีลดลงไปด้วย หากไม่ได้บริโภคแหล่งอาหารโปรตีนอื่นๆเป็นประจำ เช่น ไข่ นม หรือเต้าหู้ ด้วยแล้ว พบว่าปริมาณโปรตีนที่ผู้สูงอายุได้รับมักจะมีแนวโน้มที่ลดลง และในบางคนอาจจะได้รับไม่เพียงพอ ส่งผลต่อการทำงานของร่างกายหลายๆด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ทำให้สูญเสียมวลกล้ามเนื้อและการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายลดลง

โดยธรรมชาติร่างกายของผู้สูงอายุจะมีการฝ่อของกล้ามเนื้อไปตามอายุ แต่หากกินโปรตีนไม่เพียงพอ และมีสมดุลโปรตีนในร่างกายติดลบ ร่วมกับการมีกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายที่ลดลง ก็จะทำให้อัตราการฝ่อของกล้ามเนื้อมีแนวโน้มที่จะเร็วขึ้น ทำให้ความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันลดลงอย่างรวดเร็ว โดยทั่วไปผู้ใหญ่จะต้องการโปรตีนประมาณวันละ 0.8 – 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อวัน เช่น ผู้ใหญ่หนัก 60 กิโลกรัม ก็จะต้องการ 48 – 60 กรัม แต่ในผู้สูงอายุมีงานวิจัยใหม่ ๆ ที่เริ่มชี้ให้เห็นว่า ผู้สูงอายุควรได้รับโปรตีน 1.0 – 1.2 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อวัน (หากไม่มีโรคประจำตัวที่ทำให้ความต้องการโปรตีนเปลี่ยนแปลงไป เช่น โรคตับ โรคไต โรคมะเร็ง ที่ต้องปรึกษานักกำหนดอาหารเพื่อกำหนดปริมาณโปรตีนเป็นรายบุคคล) ดังนั้นถ้าผู้สูงอายุหนัก 60 กิโลกรัม ก็จะต้องการโปรตีน 60 – 72 กรัม
 

สำหรับปริมาณโปรตีนในอาหาร เพื่อให้คำนวณได้ง่ายๆดังนี้
ชนิดอาหาร ปริมาณ 1 หน่วยบริโภค ปริมาณโปรตีนต่อ 1 หน่วยบริโภค

  • เนื้อสัตว์สุก 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม) 7 กรัม
  • ไข่ไก่ 1 ฟอง (50 กรัม) 7 กรัม
  • นมถั่วเหลือง 1 แก้ว (240 มิลลิลิตร) 8 กรัม
  • นมวัว โยเกิร์ต 1 แก้ว (240 มิลลิตร) 8 กรัม
  • เต้าหู้ขาวอ่อน 2/3 หลอด (180 กรัม) 7 กรัม
  • เต้าหู้แข็ง ½ แผ่น (60 กรัม) 7 กรัม

ดังนั้นจะเห็นว่าการจัดอาหารให้ได้โปรตีนเพียงพอสำหรับผู้สูงอายุนั้นไม่ได้ยากเกิน สิ่งสำคัญคือจะเลือกอาหารอย่างไรให้ผู้สูงอายุรับประทานได้มากกว่า ถ้าผู้สูงอายุมีปัญหาในเรื่องของการเคี้ยว ก็อาจจะต้องเลือกอาหารที่มีเนื้อสัมผัสนุ่มลง โจ๊กหรือข้าวต้ม แต่ต้องเลือกกับข้าวที่เป็นเนื้อสัตว์ให้เพียงพอด้วย ปกติแล้วเนื้อปลาจะเป็นเนื้อสัตว์ที่มีลักษณะอ่อนนุ่มรับประทานง่าย ถ้าเป็นเนื้อสัตว์อื่นๆ เช่นเนื้อไก่หรือเนื้อหมู ก็อาจจะต้องเลือกส่วนที่มีลักษณะที่นุ่ม นำมาปรุงอาหารในลักษณะที่ทำให้เคี้ยวได้ง่าย หรืออาจจะเลือกรับประทานไข่ ไม่เกินวันละ 1 ฟอง สลับกับเต้าหู้ ก็น่าจะทำให้ตัวเลือกอาหารมีมากขึ้น ร่วมกับดื่มนมวัว, นมถั่วเหลือง หรืออาหารทางการแพทย์ ก็น่าจะทำให้ได้รับโปรตีนเพียงพอแล้ว

บ้านพักผู้สูงวัย,บ้านพักผู้สูงอายุ,ศูนย์ดูแลผู้สูงวัย,ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ,สถานพักฟื้นคนชรา,สถานพักฟื้นผู้ป่วย


ที่มา : https://www.baansrisuk.net/




Create Date : 26 พฤศจิกายน 2562
Last Update : 9 ธันวาคม 2562 11:47:18 น. 0 comments
Counter : 673 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 4029452
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 4029452's blog to your web]
space
space
space
space
space