Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
พฤศจิกายน 2567
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
25 พฤศจิกายน 2567

สวนรถไฟ : นกกระเต็นใหญ่ธรรมดา



อย่างที่เคยเล่าไว้ว่า เราตามถ่ายนกกระเต็นใหญ่มาเนิ่นนาน
แต่ด้วยสายตาที่ว่องไว ทำให้ถ่ายภาพมันได้ยากมาก
เมื่อทำไม่ได้ เราก็ต้องใช้ช่องทางลัด
ร้านขายกล้องไลน์มา ถามว่าไปถ่ายนกที่สวนรถไฟไหม
เราไม่รู้ว่าไปถ่ายนกอะไร แต่ก็ตอบตกลงไปก่อน
 
24/11/67 ลูกค้ากล้องแคนนอนก็มารวมตัวกัน
เราขอยืม EOS R6 ไว้ รับกล้องเสียบการ์ดแล้วเดินไปบ่อกระเต็น

คุณสมภพ ผู้เชี่ยวชาญการด้านการถ่ายนกสวนรถไฟรออยู่
เราได้ฟังบรีฟมานิดหน่อยว่า speed ต้องไม่ต่ำกว่า 1/2500
และตั้งค่าแสงให้ under ไว้
 
แต่ก็นะ ถ่ายๆ ไปเหอะ เพราะสิ่งที่ยากคือ
จะเอานกเข้าช่องมองภาพยังไง เพราะต้องรอถ่ายช่วงนกบิน
เอาเข้ากล้องว่ายาก แต่จะได้ภาพตัวนกชัดๆ น่าจะยากขึ้นไปอีก
สรุป บ่อแรกนี่แห้วไม่ได้อะไรมา นอกจากถ่ายภาพนกเกาะนิ่งๆ
 
ย้อนกลับไปว่าถ้ามาเดินเอง แค่หานกให้เจอเพื่อถ่ายยังยาก
แต่นี่มากับปรมาจารย์ แกเรียกนกให้บินมาเพื่อให้คนถ่ายรูปได้
เราก็ยังทำไม่ได้เลย ไปกันที่บ่อต่อไป นกกระเต็นหัวดำ
ก็ยังได้แต่ภาพนกเบลอๆ เผลอกดไปไม่นานแค่ 397 ภาพ
การ์ด 4 GB ก็เต็ม โชคดีที่เอา SD card สำรองมา
 
ในที่สุดก็ได้ภาพกระเต็นใหญ่โฉบจับปลาในบ่อที่สามตอนก่อนเที่ยง
เกือบมาเสียเที่ยวแล้ววันนี้ ที่สำคัญคือ โดน EOS R6 ตกไปเต็มๆ
กิจกรรมยังมีต่อไปจนถึงถ่ายนกเค้าจุดในตอนเย็น แต่เรากลับบ้านก่อน
 

 
นกกระเต็นใหญ่ธรรมดา
(Pelargopsis capensis) ตั้งชื่อครั้งแรกโดย
คาร์ล ลินเนียส โดยเชื่อว่าได้ตัวอย่างมาจากแหลมกู๊ดโฮบในแอฟริกา
แต่จริงๆ ที่นั่นไม่มีนกชนิดนี้ ปัจจุบันพบว่าตัวอย่างนั้นได้มาจากชวา

มี 13 ชนิดย่อย กระจายตัวตั้งแต่เนปาล อินเดีย ศรีลังกา นิโคบาร์
พม่า อินโดจีน มาลายา บอร์เนียว สุมาตรา ชวา และฟิลิปปินส์ 
ในประเทศไทย คือชนิดย่อย
P. c. burmanica
พบตั้งแต่พม่า อินโดจีน จนถึงมาลายา

ลักษณะเด่นคือปากที่มีสีแดงขนาดใหญ่ รวมถึงตัว 35 ซม.ที่เด่นชัด
ขนาดนั้นจึงเป็นรองเพียงนกกระเต็นขาวดำใหญ่ที่อยู่ทางภาคเหนือ 
อยู่ในสกุล 
Pelargopsis มาจากภาษาละติน pelargos แปลว่า strok
และ opsis แปลว่า appearance โดยมีนกอยู่ร่วมกัน 3 ชนิด ได้แก่
 

นกกระเต็นใหญ่ธรรมดา (Stork-billed Kingfisher)
Great-billed kingfisher
 พบที่เกาะสุลาเวสี อินโดนีเซีย
และ
นกกระเต็นใหญ่ปีกสีน้ำตาล (Brown-winged kingfisher)
ที่พบตามป่าโกงกางของบังคลาเทศ พม่าและภาคใต้ของไทย
 
ในสกุลนี้นกกระเต็นใหญ่ธรรมดา สามารถพบเห็นได้บ่อยที่สุด
เพราะปรับตัวอาศัยอยู่ในพื้นที่หลากหลายใกล้กับมนุษย์ได้มากที่สุด
เช่น ตามริมแม่น้ำ ลำคลอง บ่อ ทะเลสาบ หรือกระทั่งตามชายฝั่ง
กินปลาเป็นหลัก แต่ก็สามารถกินปู สัตว์เลื้อยคลาน กระทั่งนกขนาดเล็ก
 
ทำรังด้วยการขุดโพรงตามขอบฝั่งปิดด้วยเศษหญ้า ดินเหนียว
วางไข่ครั้งละ 2-5 ใบ และนั่นก็เป็นเรื่องราวของการถ่ายภาพนกบิน
ที่สวนรถไฟของเรากับค่ายแคนนอนในวันนี้



Create Date : 25 พฤศจิกายน 2567
Last Update : 28 พฤศจิกายน 2567 9:59:58 น. 2 comments
Counter : 359 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณกะริโตะคุง, คุณปัญญา Dh, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณหอมกร, คุณดอยสะเก็ด


 
shutter speed 1/2500!!?? ผมยังไม่เคยใช้เกิน 1/2000 เลย ถ่ายนกที่เคยถ่ายแค่ 1/1200 ก็รู้สึกว่าต้องดัน iso เยอะเกินไปแล้ว



แต่นกสีสวยดีนะครับ


โดย: กะริโตะคุง วันที่: 25 พฤศจิกายน 2567 เวลา:16:57:16 น.  

 
แวะมาดูคนจับนกใส่กล้องจ้า



โดย: หอมกร วันที่: 26 พฤศจิกายน 2567 เวลา:6:45:55 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 23 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]