Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
พฤษภาคม 2567
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
13 พฤษภาคม 2567

พุทธมณฑล : นกแต้วแร้วนางฟ้า


 
ช่วงสงกรานต์อาจะเป็นช่วงของความสนุกสนานของคนส่วนใหญ่
แต่กลับเป็นช่วงเวลาของความลำบากของคนที่ไม่อยากออกไปไหน
วันหยุดก็เยอะเสียด้วยสิ บล็อกก่อนก็เล่าว่าไปที่บางปูกับเดอะเกลือคาเฟ่
แต่วันหยุดนั้นก็ช่างยาวนานจนเบื่อ แต่แล้วก็มีข่าวนกใหม่แทรกเข้ามา
 
นกแต้วแร้วนางฟ้ามาพุทธมณฑล หูผึ่งเลยทันที
เพราะเป็นนกที่เราแห้วมาแล้วสองครั้ง ทั้งที่นี่และสวนรถไฟ
เช้าวันหนึ่งในช่วงสงกรานต์ 2567 ผมก็ออกเดินทางอีกครั้ง
ด้วยความมั่นใจเพราะรู้หมายจากครั้งก่อนว่า นกลงที่ตรงไหน
 
จากที่จอดรถเราเดินดุ่มๆ มุ่งหน้าไปยังป่าไผ่ในพุทธมณฑล
แดดยามสายนั้นไม่ปราณี นี่ขนาดมาเช้าต่างจากครั้งเก่าที่มาบ่าย
เราไม่พบใครเลย ในบริเวณที่เคยมีนกแต้วแร้วมาลง

จากบล็อกนกกระเบื้องคอขาว เราเคยเล่าแล้วว่า
ที่สวนเวฬุวันเป็นที่ๆ พบนกชนิดนี้เป็นครั้งแรกและหายไปนับสิบปี
ก่อนที่พบเจอพวกมันอีกครั้ง เราได้แต่ทำใจ
ถ่ายนกอย่างอื่นไปแก้เซ็ง เป็นการแห้วครั้งที่สาม
 


หลังสงกรานต์ก็เป็นการมาทำงานตามปรกติ
มีคนบอกว่า นกแต้วแร้วนางฟ้ามาพุทธมณฑล
เราก็เลยบอกไปว่า ไปมาแล้วไม่เจอ
เค้าเลยส่งหมายมา พบว่าเป็นในสวนอยู่ข้างองค์พระ
 
วันหยุดสัปดาห์ต่อมา เราก็ต้องออกเดินทางอีกครั้ง
ถึงจุดลงรถมีคนมาถามทาง เราก็บอกไป
แหม่ ที่ตอนเรามาครั้งก่อน ไม่เห็นมีใครให้เราถามบ้างเลย
ไปถึงก็เห็นเป็นมหกรรม ที่มีนักถ่ายภาพนั่งอยู่ราว 20 คน
 
วางกล้องยังไม่ได้นั่ง นกก็บินมาเกาะกิ่งไม้ และโผลงมายังพื้นดิน
เสียงชัตเตอร์ดังสนั่น เรากดภาพนิ่งมาราว 20 ภาพและ 1 วิดีโอ
เป็นมารยาทที่เราจะรอจนนกไป บางคนก็เก็บกล้องกลับเหมือนเรา
แต่คนส่วนใหญ่ก็นั่งต่อไปเพื่อต้องการภาพพิเศษ เช่น ตอนนกบิน
 


นกแต้วแร้วนางฟ้า (fairy pitta) คล้ายกับนกแต้วแร้วธรรมดา
(blue wing pitta) เพียงแต่ว่าแถบปีกสีฟ้านั้นบางกว่า
แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าครั้งแรกที่ถูกพบที่ประเทศไทยนั้น
มันถูกคิดว่าเป็น
นกแต้วแร้วอกเขียว (hooded pitta)

เป็นนกสีสันสดใสในสกุล Pitta ตั้งชื่อโดยนักปักษีวิทยาชาวฝรั่งเศส
Louis Pierre Vieillot ในปี 1816 ให้ชื่อแก่นก African pitta
นกแต้วแร้วนั้นกระจายพันธ์ไปในแนวเส้นศูนย์สูตร
ตั้งแต่เขตแอฟริกามาจนถึงทางตอนเหนือของออสเตรเลีย

หลังจากนั้น ก็มีการค้นพบนกกลุ่มนี้ราว 31 สายพันธ์ 
แต่ในปัจจุบัน ถูกแยกออกไปกลายเป็นสามสกุล
สกุล  Pitta เดิม เหลือเพื่อนอยู่ร่วมกัน 20 ชนิด
 


นกแต้วแร้วนางฟ้าเป็นนกอพยพ ในเดือนเมษายนจนถึงกันยายน
อาศัยทำรังวางไข่ที่ประเทศญี่ปุ่น คาบสมุทรเกาหลี
ประเทศจีนทางตะวันออก  และเกาะไต้หวัน  

หลังจากนั้นจะอพยพลงมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ผ่านฮ่องกง ฟิลิปปินส์ อินโดจีน รวมถึงประเทศไทย
โดยเฉพาะเกาะมันใน ไปยังตอนกลางของเกาะบอเนียว
 
ความสำคัญคือ จำนวนประชากรที่คาดว่ามีน้อยมาก
มีการประมาณการจำนวนนกชนิดนี้ไว้ตั้งแต่ 100-10,000 ตัว
และจำนวนประมาณการจากการอพยพที่ 50-1,000 ตัว เท่านั้น
สถานะในปัจจุบัน คือถูกคุกคามระดับเปราะบาง (vulnerable)



Create Date : 13 พฤษภาคม 2567
Last Update : 14 พฤษภาคม 2567 9:15:30 น. 4 comments
Counter : 351 Pageviews.  
(โหวต blog นี้) 

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณhaiku, คุณหอมกร, คุณtuk-tuk@korat, คุณอุ้มสี, คุณnewyorknurse, คุณดอยสะเก็ด


 
แต้วแร้วนางฟ้านี่เห็นเขาถ่ายมาโชว์กันตรึมจ้า



โดย: หอมกร วันที่: 14 พฤษภาคม 2567 เวลา:8:19:28 น.  

 
สวยจังค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 14 พฤษภาคม 2567 เวลา:12:17:05 น.  

 
นกสวยค่ะพี่


โดย: อุ้มสี วันที่: 16 พฤษภาคม 2567 เวลา:23:03:06 น.  

 
ไม่ได้ไปนานมาก ต้นไม้คงเยอะขึ้น มีนกให้ดู ดีครับ ชอบ


โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 17 พฤษภาคม 2567 เวลา:10:21:46 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]