Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
ตุลาคม 2567
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
8 ตุลาคม 2567

สวนรถไฟ : กระเต็นหัวดำ



เดือนแห่งนกอพยพ เรามีโปรแกรมทุกสัปดาห์
มาสวนรถไฟบ่อยมาก เริ่มต้นจากไปเฝ้าบ่อกระเต็นหลังห้องน้ำ
นั่งรออยู่นานไม่พบการเคลื่อนไหว ออกเดินวนรอบบ่อ
ถึงตรงที่นกลง พบว่ามีช่างก่อสร้างสองคนนั่งคุยกัน จบข่าว
 
ไปกันต่อที่ดงต้นสนที่เคยมีคนบอกว่า ตรงนี้มี
นกเค้าแมว
เลี้ยวผ่านเข้าไปใจก็ชื้น มีคนกลุ่มหนึ่งตั้งกล้องขึ้นไปบนต้นไม้
เราเข้าไปเงียบๆ ยกกล้องสองตาส่องดู
นกเค้ากู่เรียงกันอยู่ 4 ตัว
อ้าวไหนเคยบอกว่าตรงนี้มีเค้าแมว แห้วนกใหม่ไปอีกหนึ่งกรุบ
 
ไม่ไกลกันนัก ที่เคยเล่าว่าเจอ
นกจาบคาลงเล่นน้ำ ตอนนี้ก็บ่าย
คนกลุ่มหนึ่งตั้งกล้องถ่ายอะไรสักอย่าง น่าจะรอจาบคามั้ง
เราไม่ได้ถามอะไรแต่ก็นั่งรอกับเค้า แห้วมาตลอดทางแล้วนี่
ไม่มีอะไรจะเสียมากไปกว่านี้แล้ว สักพักหลายคนก็ลุกเดินไป

พอดีมีพี่ที่เคยเจอกันเดินมาเลยรู้ว่าเค้ามาเฝ้า
นกกระเต็นน้อยกัน
แต่ว่ามันบินไปทางโน้นแล้ว เราขี้เกียจเดินไป เพราะไม่รู้ว่ามันอยู่ที่ไหน
ระหว่างที่นั่งเงียบเหงาอยู่คนเดียว ก็เห็นนกอะไรบินโฉบลงมา
น่าจะเป็น
นกกระเต็นหัวดำ เราส่องหาแต่ว่าต้นไม้รกมาก

นั่งรอมันลงใหม่ พี่ที่เคยเจอกันก็มาถามว่ามองหาอะไร
เราก็บอกไปว่ากระเต็นหัวดำ หลายคนก็เลยกลับมาเฝ้า
ในที่สุดก็สมหวัง ได้นกใหม่
มาเป็นรางวัลในวันนี้
 

 
กระเต็นหัวดำ (black-capped kingfisher) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า
H. pileata เป็นนกกระเต็นที่อยู่ในสกุล Halcyon ที่มี 12 สายพันธุ์
ในบ้านเราพบอีกชนิดหนึ่งนั้นคือ
กระเต็นแดง (Ruddy kingfisher)
 
กระเต็นหัวดำถูกบันทึกไว้ครั้งแรกโดย
Georges-Louis Leclerc
เคาท์แห่งบูฟอง นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส ในปี 1780
ในหนังสือชื่อ
Histoire Naturelle des Oiseaux



มีการนำคำบรรยายไปเขียนเป็นภาพสีโดย François-Nicolas Martinet 
ในหนังสือชื่อ  Planches Enluminées D'Histoire Naturelle
ได้รับการตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ โดยนักธรรมชาติชาวดัชต์
Pieter Boddaert ในปี 1783 ระบุว่าสถานที่พบคือ ประเทศจีน


เป็นนกกระเต็นขนาดกลาง มีปากขนาดใหญ่สีแดง หลังสีน้ำเงิน
อกสีขาว ลักษณะเด่นตามชื่อคือมีหัวสีดำคล้ายกับคนใส่หมวกแก๊ป
มีถิ่นอาศัยแถบปากแม่น้ำ ป่าโกงกางตามแนวชายฝั่ง
ตั้งแต่อินเดีย ศรีลังกา บังคลาเทศ และข้ามไปที่ชายทะเล
ตะวันออกของจีนแถบกวางตุ้ง ฮ่องกง และไหลำ
 
อีกส่วนหนึ่งเป็นนกกลุ่มเหนืออาศัยอยู่ในตัวทวีปตามริมแม่น้ำ
ในพม่าตอนเหนือ จีนในเขตยูนนาน กวางโจว หูหนาน หนิงเซี่ย เหอเป่ย
ฟูเจี้ยน ชานตง อานฮุย และคาบสมุทรเกาหลี พอถึงฤดูหนาว
นกกลุ่มนี้ก็จะอพยพลงมายังเกาะญี่ปุ่น และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
รวมถึงประเทศที่เป็นหมู่เกาะต่างๆ 
 
หนังสือของ
Sharpe, R. B. ชื่อ A monograph of the Alcedinidae
: or family of Kingfisher 
ตีพิมพ์ในปี 1871 บรรยายเรื่องถิ่นที่อยู่
 Mr. Blyth กล่าวว่าพบมากที่ปากแม่น้ำของบังคลาเทศฝั่งตะวันออก
และพบบ้างทางทิศตะวันตก คาบสมุทรมาลายา และประเทศจีน
 


https://www.researchgate.net/profile/Andrea-Manica/publication/255959439/figure/fig6/AS:669657107292175@1536670104581/Example-of-the-distribution-of-a-migratory-species-Black-capped-Kingfisher-Halcyon.ppm

Swinhole กล่าวว่าเป็นนกประจำถิ่นพบที่กวางตุ้ง และแม่น้ำแยงซี
และ
กัปตัน Briggs ได้ส่งตัวอย่างนกนี้จากทวายไปให้ Mr. Gould
 Schomburgk กล่าววว่าชาวจีนใช้ขนของนกชนิดนี้ทำพัด
เช่นเดียวกับชาวสยาม และ
กัปตัน Beaven กล่าวว่า
นกชนิดนี้พบมากที่หมู่เกาะอันดามันของอินเดีย
 
ผู้เขียนกล่าวว่า เค้ามีตัวอย่างนกชนิดนี้ 3 ตัว ยิงมาได้จากปีนัง 
และมีตัวอย่างนกอีกตัวหนึ่งจากซาราวักได้มาจาก 
Mr. Wallace
ปากของมันดูสั้นและอ้วนกว่า ลำตัวด้านล่างมีสีเข้มกว่านกจากปีนัง
แต่จากการวัดขนาดลำตัวนั้นพบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน
 
ทั้งหมดนี้บอกอะไรเรา หนังสือเขียนขึ้นในปี พ.ศ. 2414
หรือต้นรัชกาลที่ 5 และอาจจะย้อนเรื่องไปก่อนหน้านั้นเล็กน้อย
ทำให้เห็นว่านกชนิดนี้เคยเป็นนกประจำถิ่นที่อาจพบได้ในไทย
พม่าตอนล่าง ลงไปถึงมะละกา แต่ปัจจุบันพวกมันนั้นหายไป
จะเป็นการล่าเพื่อเอาขนไปทำพัด แบบในหนังสือเล่าไว้หรือเปล่า

ในบันทึกของจีนกล่าวถึงของบรรณาการจากละโว้ว่า
มีทองคำ งาช้าง นกกระเรียน นกแก้วห้าสี นอระมาด
อำพันทอง และขนนกกระเต็น พวกเค้าล่ามันมาได้อย่างไร


https://en.wikipedia.org/wiki/Tian-tsui#/media/File:Chinese_kingfisher_tiara.jpg
 
บันทึกของ
โจวต้ากวนที่เข้ามาเมืองพระนครได้บันทึกไว้ว่า
นกกระเต็นนั้นค่อนข้างจับยากในดงทึบมีบึง
และในบึงมีปลา นกกระเต็นบินออกจากดงเพื่อหาปลาเป็นอาหาร
ชาวพื้นเมืองเอาใบไม้คลุมร่างของตนไว้แล้วนั่งอยู่ริมน้ำ

มีกรงใส่นกกระเต็นตัวเมียไว้ตัวหนึ่ง
เป็นนางนกต่อ และมือถือร่างแหเล็กๆ ไว้
คอยให้นกมาก็ครอบร่างแหลงไป
วันหนึ่งๆ จับได้ 3 หรือ 5 ตัว บางวันจับไม่ได้เลยก็มี
 
แล้วราชสำนักจีนนำไปใช้อะไร กล่าวกันว่า ชาวจีนนิยมขนสีฟ้า
ของนกกระเต็นมาตั้งแต่เมื่อ 2,000 ปีก่อน ในสมัยราชวงศ์หาน
วิธีการคือ ตัดขนนกกระเต็นออกเป็นชิ้นเล็กๆ
แล้วติดบนเครื่องประดับศีรษะเรียกว่า เทียนซุ่ย

และนิยมเฟื่องฟูเป็นอย่างมากในสมัยราชวงศ์ถังที่มีบันทึกถึง
ขนนกกระเต็นที่เป็นเครื่องบรรณาการของละโว้และเป็นสินค้าจากเมืองพระนคร
ความแพงของมันนั้น มีบทกวีที่กล่าวถึงว่า เครื่องประดับศรีษะที่สตรีสวมใส่นั้น
มีค่าเท่ากับเงินภาษีที่เก็บได้มาจากหลายตำบลเลยทีเดียว

ความนิยมนั้นต่อเนื่องถึงราซวงศ์ชิงจนถึงในช่วงปลายราชวงศ์
ที่อำนาจการปกครองนั้นเริ่มอ่อนแอลง
จากเครื่องประดับที่ใช้ราชสำนัก ที่การครอบครองบังคับเข้มงวด
การเป็นเครื่องประดับของชาวบ้าน และขายให้กับนักท่องเที่ยว
 

https://en.wikipedia.org/wiki/Tian-tsui#/media/File:Tian-tsui_(kingfisher_feather)_hair_pins.jpg

มีโรงงานจำนวนมากในกวางตุ้งที่ตั้งขึ้นเพื่อผลิตสินค้าเช่น ปิ่นปักผม
จนกระทั่งถึงช่วงที่รัฐบาลนั้นมาจากพรรคคอมมิวนิสต์
มีการสั่งห้ามและประกาศให้นกกระเต็นเป็นสัตว์อนุรักษ์
 โรงงานเทียนซุ่ยแห่งสุดท้ายปิดตัวลงในปี 1933

แต่คนที่เคยทำเป็นนั้นก็ยังคงมีความรู้อยู่
จนกระทั่งถึงช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรม
ที่ให้ชาวจีนทุกคนนั้นละทิ้งทุนนิยมไปอย่างสิ้นเชิง 
ศิลปะการทำเทียนซุ่ยจึงถูกลบเลือนออกไปจากประเทศ


แล้วทำไมต้องสีฟ้า ส่วนตัวเชื่อว่ามันเป็นสีที่ทำขึ้นมาได้ยาก
กว่าภาพท้องฟ้าในจิตกรรมไทยจะเป็นสีฟ้าก็เมื่อปลายรัชกาลที่ 3
แม้สีฟ้าที่ผลิตมาจากหินในธรรมชาติ จะถูกค้นพบมาตั้งแต่ในสมัยอียิปต์
แต่มันก็เป็นของที่มีราคาแพงมาก นิยมใช้ในชนชั้นสูงเท่านั้น
 
เมื่อเข้าสู่ยุคเฟื่องฟูวัฒนธรรม ในสมัยเรเนสซองก์
สีฟ้าเป็นที่ต้องการเป็นอย่างมาก ทำให้ฝรั่งเศสประกาศว่า
ใครก็ตามที่สังเคราะห์สีฟ้าขึ้นมาได้ จะมีรางวัล 6,000 ฟรังก์
ในที่สุดในปี 1826 ก็มีคนได้สำเร็จ ชื่อว่าสี Ultramarine
 
กลับมาที่ในตอนท้ายของหนังสือที่กล่าวถึง นกที่แปลกๆ พบในซาราวัก  
ในขณะที่เชื่อกันว่ากระเต็นหัวดำเป็นสายพันธุ์เดี่ยว ไม่มีสายพันธุ์ย่อยนั้น
ในหนังสือของ
Hachisuka ชื่อ The Birds of the Philippine Islands:
with Notes on the Mammal Fauna (1931–1935) หน้าที่ 142
นอกจาก H. pileata, Boddaert 1783 ยังมีการกล่าวถึงนกอีกตัวหนึ่ง
 


Palawan Black–caped kingfisher (H. p. palawanensis)
ตัวอย่างเป็นของ
Lord Rotchchild ได้จากเมือง Balabac เกาะปาลาวัน
เก็บอยู่ที่ American museum of National History เมือง New York
มีการบรรยายลักษณะไว้ พบว่าไม่ได้แตกต่างจากสายพันธ์หลัก

แต่ขนาดตัวนั้นเล็กกว่า  ปีก 127 หาง 77 ปาก 56 ขา 14 นิ้วกลาง 26
ขณะทีกลุ่มหลัก ปีก 127-133 หาง 83-88 ปาก 57-65 ขา 15 นิ้วกลาง 27
ในหนังสือนี้ยังกล่าวว่า นกที่บอร์เนียวและสุมาตราไม่มีแตกต่างเช่นกัน
 
แต่นกจากเกาะไหหลำ เก็บโดย
Katsumatra มีขนาดตัวใหญ่กว่า
โดยมีขนาดของปีก 137 นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างที่อยู่ในของสะสม
ของ Lord Rotchchild อีก 8 ตัวที่เก็บมาจากเกาะไหหลำ
พบว่าปีกนั้นมีขนาดใหญ่เช่นกัน (137) และสีของปากนั้นเข้มกว่า
 
แต่จนถึงปัจจุบัน ก็ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่า
นกชนิดนี้มีความแตกต่างกัน จนสามารถตั้งขึ้นได้เป็นสายพันธุ์ย่อย
แต่ที่แน่ๆ เราสามารถกล่าวได้ว่า พวกมันเคยเป็นนกประจำถิ่น
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาก่อน ก่อนที่จะถูกล่าอย่างหนัก
เพื่อนำขนไปทำเครื่องประดับ จนไม่พบการทำรังวางไข่อีกเลย
 
มีการประมาณว่าทั่วโลกมีนกกระเต็นหัวดำเต็มวัยอยู่ประมาณ 10,000 ตัว
และมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จากการเปลี่ยนแปลงของภูมิประเทศ
ในสถานที่อยู่อาศัยและสถานที่ทำรังในประเทศจีนและคาบสมุทรเกาหลี
 
ความเสี่ยง จัดอยู่ในสถานะถูกคุกคามระดับ 1  (vulnerable)
ระดับเดียวกับแต้วแร้วนางฟ้า ที่เราเขียนไปก่อนหน้านี้แล้ว  



Create Date : 08 ตุลาคม 2567
Last Update : 19 ตุลาคม 2567 10:09:44 น. 3 comments
Counter : 241 Pageviews.  
(โหวต blog นี้) 

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณหอมกร, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณปัญญา Dh, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณสมาชิกหมายเลข 3902534, คุณดอยสะเก็ด, คุณnewyorknurse, คุณ**mp5**


 
เคยไปส่องดูด้วยตาเปล่า
ไม่เคยเจอตัวเลย ตัวมันเล็กแน่ๆ



โดย: หอมกร วันที่: 8 ตุลาคม 2567 เวลา:17:28:18 น.  

 
เคยอ่านหนังสือประวัติศาสตร์เขมร มงกุฎแบบเขมรที่อลังๆ สูง นักวิชาการบอกว่าทำขึ้นมาทีหลังเลียนแบบภาพสลักในปราสาทหิน


สมัยก่อนเค้าจะใช้ผมจริงบ้าง ดอกไม้บ้าง และขนนกสีต่างๆมาประดับครับ นึกไปถึงเครื่องประดับพวกอินคา แอสเทกซ์ เลยครับ


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 10 ตุลาคม 2567 เวลา:19:04:00 น.  

 
แวะมาเยี่ยมและส่งกำลังใจครับ


โดย: **mp5** วันที่: 11 ตุลาคม 2567 เวลา:13:02:36 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

BlogGang Popular Award#20


 
ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 22 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]