Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
ธันวาคม 2567
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
3 ธันวาคม 2567

ปากพลี : black kite



ทุกปีในราวต้นเดือนธันวาคม จะมีเทศกาลชมเหยี่ยวดำอพยพ
ที่จัดโดยคนในชุมชน ต. ท่าเรือ อ. ปากพลี จ. นครนายก
วันที่ 1 ธ.ค. 2567 ยามเช้าเราก็ไปถึงพื้นที่
มีเพียงนิสิตคณะสัตวแพทย์ ม.เกษตร พานักเรียนมาดูนก
 
เพิ่งมาเป็นครั้งแรก ก็เลยเนียนๆ แฝงตัวเข้าไปในกลุ่ม
เห็นเค้าเล่าว่า มีอินทรีย์ปีกลายในกล้อง เราก็ย่องเข้าไปส่องดู
ปรากฏว่าไม่เห็น น่าจะบินไปแล้ว ผู้นำชมก็เล่าถึงนกอื่นๆ
เรามาดูเหยี่ยวเห็นว่าน่าจะไม่เกี่ยวข้องกัน ก็เลยแยกตัวมา

แต่ก็ยังทันได้ความรู้จากน้องที่ทำหน้าที่เป็นไกด์มาว่า
เหยี่ยวหลักๆ ที่นี่คือ black kite โดยมีอยู่ 2 สายพันธุ์
ประกอบไปด้วยเหยี่ยวหูดำหรือเหยี่ยวดำใหญ่ และเหยี่ยวดำไทย
แต่ผมก็แยกไม่ออกอยู่ดี เอาเป็นว่าที่ถ่ายมาเป็นเหยี่ยวหูดำหมดก็แล้วกัน
 
black kite ถูกบันทึกไว้ครั้งแรกโดย Georges-Louis Leclerc
เคาท์แห่งบูฟอง นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส ในหนังสือชื่อ 
Histoire Naturelle des Oiseaux ในปี 1770
ปัจจุบันมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า
Milvus migrans
 
milvus เป็นภาษาละติน หมายถึงเหยี่ยวแดง และ migran หมายถึงการอพยพ
เพราะในยุโรปมีการพบเหยี่ยวแดง และในหน้าหนาวนกนี้มีการอพยพลงใต้
มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ต่ำ ประมาณว่ามีประชากรมากกว่า 5 ล้านตัว
กระจายตัวอย่างกว้างขวางตั้งแต่ยุโรป แอฟริกา เอเชีย ไปถึงออสเตรเลีย


 
 แบ่งออกเป็น 5 ชนิดย่อย แต่ที่พบในบ้านเรามี 2 ชนิดย่อย

เหยี่ยวหูดำหรือเหยี่ยวดำใหญ่ black-eared kite (M. m. lineatus)
และ
เหยี่ยวดำหรือเหยี่ยวดำไทย small Indian kite (M. m. govinda) 
ที่ทุ่งปากพลี เหยี่ยวหูดำทั้งหมดเป็นนกอพยพที่พบได้มากกว่า
ส่วนเหยี่ยวดำบางส่วนเป็นนกประจำถิ่น พบจำนวนน้อยกว่า
 

เหยี่ยวหูดำมีถิ่นอาศัยในทางตอนเหนือของเอเชีย ตั้งแต่
ไซบีเรีย ลุ่มแม่น้ำอามูร์ ญี่ปุ่น จีนตอนใต้ ตอนเหนือของอินโดจีน
แถบเทือกเขาหิมาลัย ลงมายังตอนเหนือของอินเดีย เมื่อถึงหน้าหนาว
จะอพยพลงมายังอ่าวเปอร์เซียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  
โดยเฉพาะอย่างยิ่งไทย มีจำนวนเพียงเล็กน้อยที่ผ่านลงไปถึงมาเลเซีย
 

เหยี่ยวดำมีขนาดตัวที่เพียวบางกว่าเหยี่ยวหูดำ มีแฉกหางที่ตื้นกว่า
เดิมมีชื่อภาษาอังกฤษว่า Pariah kite ซึ่งมาจากภาษาทมิฬ
ที่หมายถึง พวกคนชั้นต่ำ ทำให้ปัจจุบันถูกเลิกใช้ไปแล้ว
มีถิ่นอาศัยอยู่ในตะวันออกของปากีสถาน อินเดียตอนกลาง
ศรีลังกา อินโดจีน และคาบสมุทรมาเลย์

เมื่อถึงหน้าหนาวเหยี่ยวดำบางส่วนที่อาศัยในอนุทวีปอินเดีย พม่า
กระทั่งทางตอนเหนือของอินโดจีน จะพากันอพยพมาไทย

ทั้งที่ในพื้นที่เหล่านี้ก็เป็นฤดูกาลที่ตรงกับบ้านเรา
ซึ่งมีอุณหภูมิความหนาวที่ไม่แตกต่างกันนัก

อะไรที่ทำให้เหยี่ยวดำบางตัวต้องเดินทางไกลมาหลายพันกิโลเมตร

  


พื้นที่ใน อ.ปากพลีและ อ. บ้านสร้าง เป็นทุ่งกว้างรับน้ำจากเขาใหญ่
ทำหน้าที่เป็นแก้มลิงตามธรรมชาติ ราษฎรก็ยังมีอาชีพทำนา
จึงเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่สำคัญของภาคกลางด้านทิศตะวันออก
เป็นบ้านหลังสุดท้ายของปลาพื้นบ้านที่หายากหลายสายพันธุ์
 
เฉพาะพื้นที่ป่ายูคาตรงจุดดูเหยี่ยวทุ่งปากพลี มีพื้นที่ราวพันกว่าไร่
เนื่องจากเป็นที่ดินสาธารณะ ทำให้ตรงนี้รกร้างและไม่มีบ้านคน
ทั้งสองสิ่งนี้ประกอบกัน ทำให้มันเป็นบ้านที่เหมาะสม
ของเหยี่ยวหูดำที่หลบลมหนาว มาจากทางตอนเหนือ
และเหยี่ยวดำที่อาศัยอยู่ในอินเดีย พากันอพยพมาที่นี่
 
ตรงกับช่วงเวลาที่เกษตรกรไทย อยู่ในช่วงเก็บเกี่ยวข้าวในนา
การฟาดข้าวให้แยกออกจากรวง ทิ้งให้เมล็ดบางส่วนตกหล่นบนผืนดิน
หนูพุกหรือหนูนา จึงใช้เวลาในช่วงนี้ออกมาหากินอาหารที่อุดมสมบูรณ์
เหยี่ยวอพยพเองก็ออกล่าหนูเหล่านี้ เกิดเป็นวงรอบของชีวิตอันสัมพันธ์กัน
 
แตกต่างกันที่เหยี่ยวหูดำนั้นอพยพลงมาเพียงเพื่อหนีหนาว
เมื่อผ่านพ้นไปพวกมันก็จะไปบินกลับไปทำรังวางไข่ในเอเชียตอนเหนือ
เป็นนกอพยพที่มีสถานะเป็น winter resident
ในขณะที่เหยี่ยวดำจะอาศัยช่วงเวลาที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์นี้ทำรังวางไข่
 เป็นสถานะที่หาได้ยาก เราอาจจะนิยามขึ้นมาใหม่ว่า winter breeding



ในการสำรวจประชากร black kite ในไทย
พบว่ามีแหล่งอาศัยหลายที่ ตั้งแต่ลำพูน นครสวรรค์ ลพบุรี โคราช
ปากพลี รวมถึงเพชรบุรี แต่สถานที่เหล่านี้ มีจำนวนหลักสิบถึงหลักร้อย

ในขณะที่ทุ่งปากพลี มีจำนวนพบมากที่สุดถึง 1,500 ถึง 2,000 ตัว
ส่วนมากเป็นเหยี่ยวหูดำ และมีเหยี่ยวดำปะปนอยู่ในราวหลักร้อย
 รวมกันแต่ละปีจะมีเหยี่ยวสองชนิดนี้ ในประเทศไทยราว 5,000 ตัว

และนั่นก็เป็นครั้งแรกของเรา ในการได้เห็นเหยี่ยวดำ
นอกจากทุ่งปากพลี ยังมีสถานที่ยอดนิยม
ในการดูเหยี่ยวและนกอินทรีย์อีก 2 แห่ง

หนึ่งคือ ต หนองปลาไหล จ. เพชรบุรี 
สองคือ เขาดินสอที่ชุมพร ซึ่งเป็นช่องแคบเส้นทางอพยพของนกนักล่า
มีข่าวว่าจะมีการสร้างกังหันลมเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าในบริเวณใกล้เคียง
เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะรบกวนการเดินทางของนกอพยพ

ประเทศไทยมีภูมิศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางของการสัญจรในย่านนี้
การสร้างสิ่งก่อสร้างสมัยใหม่ก็ดี การทำลายพื้นที่ชุ่มน้ำก็ดี
ล้วนส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของนกอพยพในระดับสากลอย่างแน่นอน
น่าเสียดายที่เสียงของนักอนุรักษ์นั้นคงจะเบาเกินกว่าที่ผู้มีอำนาจจะได้ยิน



Create Date : 03 ธันวาคม 2567
Last Update : 7 ธันวาคม 2567 8:35:28 น. 6 comments
Counter : 262 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณหอมกร, คุณSweet_pills, คุณtuk-tuk@korat, คุณกะริโตะคุง, คุณThe Kop Civil, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณhaiku, คุณปัญญา Dh, คุณนายแว่นขยันเที่ยว


 
ขอบคุณที่นำมาฝากกันจ้า



โดย: หอมกร วันที่: 3 ธันวาคม 2567 เวลา:11:29:35 น.  

 
ได้ชมภาพสวยๆและได้ความรู้
ขอบคุณค่ะ


โดย: Sweet_pills วันที่: 3 ธันวาคม 2567 เวลา:12:27:39 น.  

 
ตอนอยู่โคราชมีเหยี่ยวชนิดหนึ่ง ชอบบินอยู่กับที่
พี่ ๆ บอกว่าชื่อนกปักหลัก - ฺBlack Shouldered Kite ค่ะ



โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 3 ธันวาคม 2567 เวลา:12:51:11 น.  

 
สวัสดีครับ
อ่อออ Milvus ที่เคยเป็นชื่อเลนส์นี่มีความหมายว่าเหยี่ยวนี่เอง แต่บินไกลจัง มาจากอินเดียแน่ะ



โดย: กะริโตะคุง วันที่: 3 ธันวาคม 2567 เวลา:14:06:29 น.  

 
แสดงว่าบ้านเราภูมิศาสตร์เป็นศูนย์กลางของการเดินทางของเหยี่ยวเลยใช่มั๊ยครับ แต่แอบเสียดายถ้ามีการก่อสร้างแล้วทำระบบนิเวศน์ของพวกมันต้องเปลี่ยนไป
จากบล็อก
โอวว แสดงว่าเป็นนักวิ่งเหมือนกันใช่มั๊ยครับ


โดย: The Kop Civil วันที่: 3 ธันวาคม 2567 เวลา:15:57:00 น.  

 
Black Shouldered Kite เหยี่ยวขาว
เป็น commond resident ในพื้นที่ทำการเพาะปลูก ทั่วไทย
ที่โคราชเห็นบ่อยมาก เขาจะบินนิ่ง ๆ เดาว่ากำลังเห็นเหยี่ออยู่ค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 3 ธันวาคม 2567 เวลา:21:30:48 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 23 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]