bloggang.com mainmenu search


ฉลองวันเกิดปีที่ 20 ให้กล้องโทรทรรศน์อวกาศ Hubble

กระสวยอวกาศดีสคัฟเวอรี่ส่ง Hubble ขึ้นสู่อวกาศ
เมื่อวันที่ 24 เมษายน 1990







ภาพกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลที่ถ่ายจากกระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรี
ระหว่างภารกิจซ่อมบำรุงครั้งที่ 2

ข้อมูลทั่วไป
รหัส NSSDC 1990-037B
องค์กร NASA / ESA / STScI
วันขึ้นสู่อวกาศ 24 เมษายน ค.ศ. 1990
ออกจากวงโคจร ระหว่าง ค.ศ. 2013 และ ค.ศ. 2021[1]
มวล 11,110 กก. (24,250 ปอนด์)
ประเภทวงโคจร วงรี
ความสูงวงโคจร 589 กม. (366 ไมล์)
คาบการโคจร 96–97 นาที
ความเร็วโคจร 7,500 เมตรต่อวินาที
ความเร่งเนื่องจาก
แรงโน้มถ่วง 8.169 เมตร/วินาที² (26.80 ฟุต/วินาที²)
ตำแหน่ง วงโคจรต่ำของโลก
ชนิดกล้องโทรทรรศน์ สะท้อนแสง
ความยาวคลื่น คลื่นที่ตามองเห็น อัลตราไวโอเลต อินฟราเรด
เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.4 เมตร (94 นิ้ว)
พื้นที่ ประมาณ 4.5 ตารางเมตร (46 ตารางฟุต) [2]
ความยาวโฟกัส 57.6 เมตร (189 ฟุต)
เครื่องมือ
NICMOS กล้องถ่ายคลื่นอินฟราเรด
ACS กล้องสำรวจคลื่นที่ตามองเห็น
(เสียเป็นส่วนใหญ่)
WFPC2 กล้องถ่ายคลื่นที่ตามองเห็นมุมกว้าง
STIS กล้องถ่ายคลื่นที่ตามองเห็น
(เสีย)
FGS เซ็นเซอร์นำทาง 3 ตัว

เว็บไซต์
//www.nasa.gov/hubble · //hubble.nasa.gov
//hubblesite.org · //www.spacetelescope.org
บทความนี้ใช้ระบบปีคริสต์ศักราช เพราะเป็นส่วนหนึ่งของบทความอื่นๆ ที่
เกี่ยวข้องกับการใช้ ค.ศ. และ/หรือมีการอ้างอิงไปยังคริสต์ศตวรรษ

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (อังกฤษ: Hubble Space Telescope) คือ
กล้องโทรทรรศน์ในวงโคจรของโลกที่กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรีนำส่งขึ้น
สู่วงโคจรเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1990 ตั้งชื่อตามนักดาราศาสตร์
ชาว
อเมริกันชื่อ เอ็ดวิน ฮับเบิล กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลไม่ได้
เป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศตัวแรกของโลก แต่มันเป็นหนึ่งใน
เครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์การ
ศึกษาดาราศาสตร์ที่ทำให้นักดาราศาสตร์ค้นพบปรากฏการณ์
สำคัญต่าง ๆ อย่างมากมาย กล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลเกิดขึ้นจาก
ความร่วมมือระหว่างองค์การนาซาและองค์การอวกาศยุโรป โดยเป็น
หนึ่งในโครงการหอดูดาวเอกขององค์การนาซาที่ประกอบด้วย กล้อง
โทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล กล้องรังสีแกมมาคอมป์ตัน กล้องรังสีเอกซ์จันทรา
และกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์[3]

การที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลลอยอยู่นอกชั้นบรรยากาศของโลกทำ
ให้มันมีข้อได้เปรียบเหนือกว่ากล้องโทรทรรศน์ที่อยู่บนพื้นโลก นั่นคือ
ภาพไม่ถูกรบกวนจากชั้นบรรยากาศ ไม่มีแสงพื้นหลังท้องฟ้า และ
สามารถสังเกตการณ์คลื่นอัลตราไวโอเลตได้โดยไม่ถูกรบกวนจาก
ชั้นโอโซนบนโลก ตัวอย่างเช่น ภาพอวกาศห้วงลึกมากของฮับเบิล
ที่ถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล คือภาพถ่ายวัตถุใน
ช่วงคลื่นที่ตามองเห็นที่อยู่ไกลที่สุดเท่าที่เคยมีมา

โครงการก่อสร้างกล้องโทรทรรศน์อวกาศเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1923
กล้องฮับเบิลได้รับอนุมัติทุนสร้างในช่วงปี ค.ศ. 1970 แต่เริ่มสร้างได้
ในปี ค.ศ. 1983 การสร้างกล้องฮับเบิลเป็นไปอย่างล่าช้าเนื่องด้วย
ปัญหาด้านงบประมาณ ปัญหาด้านเทคนิค และจากอุบัติเหตุ
กระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์ กล้องได้ขึ้นสู่อวกาศในปี
ค.ศ. 1990 แต่หลังจากที่มีการส่งกล้องฮับเบิลขึ้น
สู่อวกาศไม่นานก็พบว่ากระจกหลักมีความคลาดทรงกลม
อันเกิดจากปัญหาการควบคุมคุณภาพในการผลิต ทำให้ภาพถ่าย
ที่ได้สูญเสียคุณภาพไปอย่างมาก ภายหลังจากการซ่อมแซมในปี ค.ศ.
1993 กล้องก็กลับมามีคุณภาพเหมือนดังที่ตั้งใจไว้ และกลายเป็นเครื่องมือ
ในการวิจัยที่สำคัญและเป็นเสมือนฝ่ายประชาสัมพันธ์ของวงการดาราศาสตร์

กล้องฮับเบิลเป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศตัวเดียวที่ถูกออกแบบมาให้นักบิน
อวกาศสามารถเข้าไปซ่อมแซมในอวกาศได้ จนถึงวันนี้ได้จัดการภารกิจ
ซ่อมบำรุงครบแล้วทั้งหมดห้าภารกิจ ภารกิจที่ 1 คือการซ่อมแซม
ปัญหาด้านภาพในปี ค.ศ. 1993 ภารกิจที่ 2 คือการติดตั้ง
เครื่องมือสองชิ้นใหม่ในปี ค.ศ. 1997 ภารกิจที่ 3 แบ่งเป็นสอง
ภารกิจย่อยได้แก่ ภารกิจ 3A เป็นการซ่อมแซมเร่งด่วนในปี
ค.ศ. 1999 และภารกิจ 3B เป็นการติดตั้งกล้องสำรวจขั้นสูงใน
เดือนมีนาคม ค.ศ. 2002 อย่างไรก็ตาม หลังจากเกิดโศกนาฏกรรม
กระสวยอวกาศโคลัมเบียในปี ค.ศ. 2003 ภารกิจซ่อมบำรุงที่ห้าซึ่งมี
กำหนดการในปี ค.ศ. 2004 ก็ถูกยกเลิกไปเพราะเรื่องความปลอดภัย
นาซาเห็นว่าภารกิจที่ต้องใช้คนนั้นอันตรายเกินไป แต่ก็ได้ทบทวนเรื่องนี้
อีกครั้ง และในวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2006 ไมค์ กริฟฟิน ผู้บริหารของนาซา
จึงเปิดไฟเขียวให้กับภารกิจซ่อมบำรุงฮับเบิลครั้งสุดท้ายโดยจะใช้
กระสวยอวกาศแอตแลนติสขนส่งลูกเรือ ภารกิจนี้มีกำหนดการในเดือน
ตุลาคม ค.ศ. 2008 ทว่าในเดือนกันยายน ค.ศ. 2008 มีการตรวจพบ
ข้อผิดพลาดบางประการกับตัวกล้อง ทำให้ต้องเลื่อนกำหนดการ
ซ่อมบำรุงออกไปเป็นเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2009 เพื่อเตรียม
การซ่อมแซมเพิ่มเติม กระสวยอวกาศแอตแลนติสนำยาน
ซ่อมบำรุงขึ้นปฏิบัติการครั้งสุดท้ายเมื่อ 11 พฤษภาคม
ค.ศ. 2009 เพื่อทำการซ่อมแซมและติตตั้งอุปกรณ์ใหม่เพิ่มเติม
กล้องฮับเบิลกลับมาใช้งานได้ตามปกติอีกครั้งในเดือนกันยายน ค.ศ. 2009


การซ่อมครั้งนี้จะทำให้กล้องฮับเบิลสามารถใช้งานได้อย่างน้อยจนถึงปี ค.ศ.
2014 ซึ่งเป็นปีที่จะมีการส่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์เพื่อใช้
งานแทนต่อไป กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ มีความสามารถ
สูงกว่ากล้องฮับเบิลมาก แต่มันจะใช้สำรวจคลื่นช่วงอินฟราเรด
เท่านั้น และไม่สามารถทดแทนความสามารถในการสังเกต
สเปกตรัมในช่วงที่ตามองเห็นและช่วงอัลตราไวโอเลตของฮับเบิลได้

ขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม เชิญ ที่นี่

เชิญชมภาพประกอบข้อมูลนี้





กระสวยอวกาศนำกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลขึ้นสู่วงโคจร





นักบินอวกาศกำลังปฏิบัติหน้าที่ในภารกิจซ่อมบำรุงครั้งที่ 1





ภาพที่ได้จากกล้องฮับเบิลก่อนและหลังการปรับปรุง






เสาหลักแห่งการสร้าง หนึ่งในภาพถ่ายที่มีชื่อเสียงที่สุดจากกล้อง
ฮับเบิล แสดงให้เห็นการก่อตัวของดาวฤกษ์ในเนบิวลาอินทรี






ปี ค.ศ. 2001 นาซาทำการสำรวจทางอินเทอร์เน็ตเพื่อสอบถามว่า
อยากให้กล้องฮับเบิลสำรวจอะไร ผลโหวตได้คะแนนท่วมท้น
ให้สำรวจเนบิวลาหัวม้า

**************



ข้างล่างนี้คือตัวอย่างผลงานของ ฮับเบิล
ขอบคุณ NASA/ESA/Hubble Heritage Team
และแนะนำภาพและข้อมูลเพิ่มเติม ที่นี่






Arp 148 Interacting Galaxy มีระยะทางห่างจากโลก 500 ล้าน ปีแสง






AM 0500-620 อยู่ห่างจากโลก 350 ล้าน ปีแสง






Arp 272, spiral galaxy NGC 6050 ปะทะกับ IC 1179



Create Date :26 เมษายน 2553 Last Update :26 เมษายน 2553 15:57:00 น. Counter : Pageviews. Comments :33