บริหาร การจัดการ การตลาด พัฒนาตนเอง พัฒนาความคิด กลยุทธ์ ธรรมะ จักรราศี ฯลฯ
จัดตั้งธุรกิจ ปรับปรุงกิจการ | ไขความลับสมองเงินล้าน | การเขียนแผนธุรกิจ | บริหารคน บริหารงาน | พัฒนาความคิด
พระไตรปิฎกฉบับหลวง | แด่องค์กรที่แสนรัก | สุขใจกับเด็กสมาธิสั้น
Group Blog
 
 
ธันวาคม 2558
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
24 ธันวาคม 2558
 
All Blogs
 
ภัยเงียบชาวออฟฟิศ

ภัยเงียบชาวออฟฟิศ
วิบูลย์ จุง // Wiboon Joong (wbj) // Jung

ชีวิตคนทำงาน นับวันก็ยิ่งมีความสะดวกสบายมาก ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ มือถือ แลปท๊อป แทป สามารถทำประโยชน์ได้สารพัด ทำให้เราต้องใช้เวลาในการนั่งเป็นเวลานาน ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ลักษณะและพฤติกรรมการใช้เครื่องมือที่ทันสมัย ทำให้สุขภาพร่างกายคนทำงานเกิดอาการปวดเมื่อย จนเป็น โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง ที่นำไปสู่ Trigger Point (จุดกดเจ็บ) ได้

โดยปกติแล้ว คนทำงานออฟฟิศนั่งจ้องคอมพิวเตอร์นาน ๆ มักมีอาการปวดกล้ามเนื้อส่วนบน ไล่มาตั้งแต่ คอ บ่า ไหล่ สะบัก หลัง ซึ่งเมื่อเกิดอาการเหล่านี้ขึ้นเราก็มักจะใช้วิธีการนวด ทายาคลายกล้ามเนื้อ หรือรับประทานยา รวมทั้งประคบด้วยความร้อน เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัวแล้วจะรู้สึกดีขึ้น แต่ก็ช่วยได้แค่ชั่วคราวเท่านั้น เพราะ จุดที่เรากดลงไปแล้วรู้สึกปวด เจ็บแปลบ ๆ เหมือนมีก้อนแข็ง ๆ เล็ก ๆ ยังคงไม่สลายไป

คนทำงานออฟฟิศมักมีอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง (MPS – Myofascial Pain Syndrome) ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็งสะสมต่อเนื่องกัน นาน ๆ เข้าจะเกิดเป็นก้อนเล็ก ๆ ขนาด 0.5-1 เซนติเมตร เรียกว่า Trigger Point หรือ จุดกดเจ็บจำนวนมากซ่อนอยู่ในกล้ามเนื้อหรือเยื่อพังพืด พอมีจุดกดเจ็บมากขึ้น ออกซิเจนและเลือดจะส่งไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่เพียงพอ ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นอ่อนแอ เกิดอาการปวด ส่งต่อไปยังบริเวณใกล้เคียงจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรังตามมา

หากเกิด Trigger Point ขึ้น จะมีอาการปวดร้าวลึกของกล้ามเนื้อ อาจจะปวดตลอดเวลา หรือปวดเฉพาะเวลานั่งทำงาน บางคนอาจเป็นหนักจนไม่สามารถขยับกล้ามเนื้อส่วนนั้นได้ หรือบางคนอาจลามไปถึงปวดศีรษะ ไมเกรน นอนไม่หลับ มีอาการชาตามมือและแขน ต่อมาอาจส่งผลให้เกิดปัญหาโครงสร้างของร่างกาย เช่น ไหล่สูงต่ำไม่เท่ากัน หลังงอ ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน นำไปสู่โรคภัยอีกเพียบ

 พฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการปวดเรื้อรัง และจุดกดเจ็บ ได้แก่
  1. ท่าทางการนั่งที่ไม่เหมาะสม
  2. ลักษณะงานที่ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวต่อเนื่อง เช่น การใช้คอมพิวเตอร์
  3. การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อซ้ำ ๆ
  4. การทำงานที่มีการใช้กล้ามเนื้อท่าเดียวกันซ้ำ ๆ อย่างต่อเนื่อง
  5. การทำงานของกล้ามเนื้อมากเกินไป ขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ
  6. ขาดการดูแลและบริหารกล้ามเนื้อ ออกกำลังกาย

        จะเห็นว่า ปัจจัยเสี่ยงที่กล่าวมาทั้งหมด มักเกิดกับหนุ่มสาวออฟฟิศเป็นส่วนใหญ่  หลายคนเข้าใจว่า หากปล่อยอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อนี้ไว้ หรือนวดบ่อย ๆ น่าจะหายได้เอง แต่ความจริงแล้วเพียงแค่ช่วยบรรเทา หลังจากนั้นไม่นานอาการปวดเมื่อยสามารถกลับมาเป็นได้อีก เพราจุด Trigger Point ยังอยู่ ซึ่งจะกลายเป็นโรคเรื้อรัง และหากปล่อยไว้นาน ๆ โดยไม่รักษาจะทำให้Trigger Point ใหญ่ขึ้นและแน่นขึ้น จนไปกดทับเส้นเลือด และเส้นประสาท อาจนำมาสู่อาการปวดศีรษะ ไมเกรน หากไปกดทับเส้นเลือดที่ส่งไปเลี้ยงสมอง นอกจากนั้นยังอาจมีอาการชา ความดันโลหิตสูง นอนไม่หลับ ได้ด้วย เพราะเลือดไหลเวียนไม่สะดวก

แพทย์แผนไทยประยุกต์ ได้แนะนำวิธีรักษาTrigger Point โดยใช้วิธีการนวดกดจุด โดยจะเริ่มจากการสอบถามค้นหา Trigger Point ที่ซ่อนอยู่ในกล้ามเนื้อและเยื่อพังพืด แล้วทำการนวดบริเวณหนือ Trigger Point ที่มีการหดเกร็ง จะทำเพื่อลดอาการปวดที่เกิดจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ให้คลายตัวลง มีเลือดไปหล่อเลี้ยง เพื่อลดอาการปวด เมื่อกล้ามเนื้อรอบบริเวณคลายตัวแล้ว จึงจะเริ่มกดไปยัง Trigger Point นั้นให้คลายตัว เพื่อให้เลือดและออกซิเจน สามารถมาหล่อเลี้ยงยังจุดที่มีปัญหาได้ ทำให้อาการปวดหายไป 

สลาย Trigger Point ซึ่งเป็นต้นเหตุของอาการปวดเรื้อรัง ด้วยการกดจุดต่อครั้งละประมาณ 45 นาที – 1 ชั่วโมง สัปดาห์ละครั้ง ต่อเนื่อง  4 - 6 ครั้ง จะทำให้ Trigger Point คลายตัวลงเป็นกล้ามเนื้อปกติ และหายจากอาการปวดเรื้อรังได้ เพราะสลาย Trigger Point ซึ่งเป็นต้นเหตุของอาการปวดเรื้อรัง เป็นการรักษาที่ต้นเหตุอย่างแท้จริง

หากไม่ต้องการเป็นโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง จนเกิดเป็น Trigger Point ต้องมีการบริหารกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ เช่น ฝึกยืดกล้ามเนื้อบริเวณลำตัวบนต้นแขนและคอ โดยประสานมือเข้าด้วยกัน แล้วยืดมือออกไปด้านหน้า จากนั้นค่อยยกขึ้นด้านบน และโยกไปด้านซ้ายและขวา

นอกจากนี้ ยังควรยืดกล้ามเนื้อด้านข้างลำตัวหลังต้นขาและกล้ามเนื้องอ เช่น ประสานมือเข้าด้วยกัน แล้วยืดมือออกไปด้านบน จากนั้นค่อย ๆ โยกลำตัวไปด้านข้างจนเอวรู้สึกตึง สลับไปอีกข้าง 

วิบูลย์ จุง // Wiboon Joong (wbj) // Jung
อ้างอิงจากเมล์ที่ได้รับ



Create Date : 24 ธันวาคม 2558
Last Update : 24 ธันวาคม 2558 14:43:09 น. 0 comments
Counter : 1710 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

wbj
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 210 คน [?]




ต้องการสอบถาม กรุณาติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com หรือ 062 641 5992, 062 826 1544

วิทยากรเชิงกิจกรรม

วิทยากรกระบวนการ

ที่ปรึกษาธุรกิจ

ด้านการบริหารจัดการ

การตลาดและการประชาสัมพันธ์

การบริหารทรัพยากรมนุษย์

การวางแผนกลยุทธ์

วิจัยธุรกิจ

IT Dashboard



ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้...
ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย
และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด



<< Main Menu >>



ดวงถาวร


ดวงตามวันเกิด



ดวงตามปีเกิด






;b[^]pN 06' ไรินนื ่นนืเ "รินนื ๋นนืเ c:j06'

ต้องการสอบถาม โทร 062-641-5992, 062-826-1544
ติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com
Line ID : wbjoong

ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารจัดการ การตลาดและการประชาสัมพันธ์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ การวางแผนกลยุทธ์ วิทยากรเชิงกิจกรรม, วิทยากรกระบวนการ นักวิจัยการดำเนินงานธุรกิจ Executive & Management Coach

ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้... ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด
<< Main Menu >>
Friends' blogs
[Add wbj's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friends


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.