บริหาร การจัดการ การตลาด พัฒนาตนเอง พัฒนาความคิด กลยุทธ์ ธรรมะ จักรราศี ฯลฯ
จัดตั้งธุรกิจ ปรับปรุงกิจการ | ไขความลับสมองเงินล้าน | การเขียนแผนธุรกิจ | บริหารคน บริหารงาน | พัฒนาความคิด
พระไตรปิฎกฉบับหลวง | แด่องค์กรที่แสนรัก | สุขใจกับเด็กสมาธิสั้น
Group Blog
 
 
มกราคม 2551
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
11 มกราคม 2551
 
All Blogs
 
สุขใจกับเด็กสมาธิสั้น - ควบคุมอารมณ์ของพ่อแม่ และ เข้าใจอารมณ์ของเด็ก

บทที่ 6 ทักษะอารมณ์


การฝึกการจัดการกับความโกรธ


ความโกรธเป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้เสมอ ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ แต่เด็กต้องมีการเรียนรู้ที่จะจัดการอย่างเหมาะสม ไม่แสดงออก ตอบ โต้ไปด้วยอารมณ์จนเกิดเป็นปัญหาตามมา เด็กสมาธิสั้นมักควบคุมตัวเองไม่ดี เวลาโกรธจึงแสดงออกอย่างรุนแรง ขาดการควบคุม ทำให้คนใกล้ชิดไม่ค่อยชอบ การฝึกทำได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้

การรู้จักอารมณ์ตนเอง และการเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม


เด็กสมาธิสั้นมักมีปัญหาทางอารมณ์ได้ง่าย โดยเฉพาะเวลาโกรธ การฝึกเรื่องนี้ทำได้ดีเมื่อมีการฝึกจิตใจเป็นพื้นฐานอยู่บ้างแล้ว คือการฝึกสติ ทำให้มีการระลึกรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา รู้ตัวว่าเริ่มมีอารมณ์อย่างไร

การสอนเรื่องนี้ ทำได้เมื่อเด็กเกิดอารมณ์โกรธ จากเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน ผู้ใหญ่ควรสะท้อนความรู้สึกเด็กสั้นๆว่า
“หนูรู้สึกโกรธ ที่...............”

“หนูรู้สึกไม่พอใจ ที่.........”

ผู้ใหญ่ควรยอมรับได้ว่าเด็กโกรธได้ แต่การแสดงออกของความโกรธนั้น ต้องเหมาะสม

บางครั้งเด็กเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นมาแล้ว ผู้ใหญ่ช่วยสอนให้เขาเข้าใจอารมณ์ตนเอง ด้วยการสะท้อนความรู้สึกได้ เช่นกัน
“ตอนนั้น หนูคงรู้สึกโกรธ ที่.......”

ให้เด็กเล่าเหตุการณ์ที่ผ่านมา เพื่อระบายความคิดและความรู้สึก เริ่มจากรู้ตัวว่าโกรธน้อยๆ ความโกรธกำลังเพิ่มมากขึ้น จนถึงความโกรธที่มากจนอาจเป็นปัญหา

ถึงตอนนี้ อาจสอนว่าเมื่อเรารู้ตัวว่าโกรธน้อย จะควบคุมตัวเองได้ดีกว่าโกรธมาก การเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมด้วยการพาตัวเองหลุดออกมาจากสถานการณ์ที่ทำให้โกรธนั้น อาจช่วยลดความโกรธและป้องกันความรุนแรงที่อาจตามมาได้

เด็กควรสามารถบอกตัวเองได้ตลอดเวลาว่าอารมณ์ตนเองเป็นอย่างไร การฝึกอาจเริ่มต้นจากการพูดกับตัวเอง (ถึงสภาพอารมณ์)ในขณะนั้นว่า
“ฉันไม่พอใจแล้วนะ...”

“ฉันกำลังเริ่มโกรธ...”

“ฉันโกรธมากขึ้นแล้วนะ...”

“ฉันโกรธมากจนอาจมีเรื่อง ถ้าฉันยังคงเถียงกับเขาต่อไป...”

“ฉันกำลังจะต่อยเขา เพราะฉันโกรธเขามาก...”

“ฉันจะเดินออกไปสงบสติอารมณ์ที่อื่น ก่อนที่ฉันจะทนไม่ได้ไปต่อยเขาดีกว่า...”

ในการฝึกสติ เมื่อรู้ว่าตัวเองโกรธ วิธีหนึ่งที่ช่วยลดความโกรธ คือกำหนดจิตว่า “โกรธหนอ ๆ” ซ้ำๆ ความโกรธจะค่อยๆลดลง การฝึกให้ตนเองรู้เท่าทันอารมณ์แบบนี้เป็นการเพิ่มความสามารถหรือความแข็งแรงของจิตใจ ในการรู้เท่าทันอารมณ์ตนเอง และควบคุมอารมณ์ตนเองได้ เมื่อควบคุมอารมณ์ได้ จะเกิดความมั่นใจในตนเองมากขึ้น

การระบายความโกรธ


เมื่อเด็กโกรธ การได้พูดคุยกับคนที่เข้าใจเป็นการระบายความโกรธที่ดีวิธีหนึ่ง ดังนั้น การส่งเสริมให้เด็กเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นเป็นประโยชน์ต่อเด็กอย่างมาก คนที่รับฟังเด็กได้ดี น่าจะเป็นพ่อแม่ ครู หรือเพื่อน หรือให้เด็กเขียนบรรยายความโกรธของตนเอง ให้คนอื่นอ่าน

วิธีการจัดการกับอารมณ์โกรธแบบอื่นๆ ได้แก่ การระบายความโกรธกับกิจกรรมที่ก้าวร้าวโดยตรง แต่ไม่อันตรายบางอย่าง เช่น การชกกระสอบทราย การเล่นกีฬาที่มีการปะทะกันรุนแรงแต่อยู่ในกติกา เป็นการลดความโกรธอย่างถูกวิธีได้เช่นกัน นอกจากนี้ กิจกรรมที่ช่วยระบายความโกรธ ได้แก่ การฉีกกระดาษ การตัดหญ้า ตัดต้นไม้ การขุดดิน การเผาขยะ การปาเป้า การยิงปืน ยิงธนู การแกะสลัก จะช่วยให้ความโกรธสงบลงได้รวดเร็วเช่นกัน

การเบนความโกรธเป็นกิจกรรม


ความโกรธอาจไม่สามารถระบายได้หมด บางส่วนที่ยังค้างอยู่ในจิตใจอาจสะสม หรือเก็บเป็นความแค้น กิจกรรมที่อาจช่วยเบนความโกรธให้หมดไปได้แก่ กีฬา ศิลปะ ดนตรี การเขียนบันทึก ความเพลิดเพลินจะช่วยให้ความโกรธลดลงได้

พ่อแม่เป็นตัวอย่างที่ดีของการจัดการอารมณ์โกรธ


เด็กเรียนรู้วิธีการจากพฤติกรรมของพ่อแม่เสมอ เมื่อพ่อแม่โกรธ ควรมีวิธีการแสดงออกอย่างถูกต้อง ถ้าโกรธแล้วควบคุมอารมณ์ไม่ได้ แสดงความโกรธรุนแรง เด็กก็เลียนแบบความรุนแรงเหมือนพ่อแม่ด้วย การลงโทษด้วยความรุนแรงและทำไปด้วยความโกรธจึงเป็นการสอนให้เด็กตอบโต้ด้วยความรุนแรงเวลาโกรธเช่นกัน เมื่อพ่อแม่โกรธควรทำดังนี้

บอกเด็กว่าพ่อแม่โกรธ แต่ขอเวลาพ่อแม่ควบคุมอารมณ์ ด้วยการขอตัวไปสงบสติอารมณ์สักครู่ แล้วเดี๋ยวจะกลับมาพูดคุยด้วยหรือกลับมาจัดการปัญหา

“แม่ขอเวลาสงบอารมณ์สักครู่ เดี๋ยวค่อยกลับมาคุยกันใหม่”


วิธีการแบบนี้เด็กจะเรียนรู้ว่า
  • . พ่อแม่โกรธได้ เด็กก็โกรธได้ แต่เวลาโกรธต้องหยุดก่อน ให้อารมณ์สงบก่อน


  • . เวลาโกรธเราไม่ใช้วิธีรุนแรง จะจัดการอย่างสงบ


  • . การปลีกตัวออกจากสถานการณ์นั้นชั่วคราว ช่วยให้อารมณ์สงบได้


  • . ปัญหาไม่ได้ถูกทิ้งไป แต่จะแก้ไขทันทีที่อารมณ์สงบ


  • . การจัดการตอนหลังรับรองได้ว่าพ่อแม่ไม่ได้ทำไปด้วยอารมณ์

เมื่อเด็กได้เห็นพ่อแม่จัดการกับอารมณ์โกรธของตัวเองได้ ต่อไปเด็กจะเลียนแบบวิธีการของพ่อแม่โดยอัตโนมัติ วิธีนี้พ่อแม่ไม่ต้องบอกเด็กว่า ให้ทำตามพ่อแม่ การเลียนแบบพฤติกรรมแบบนี้ จะเกิดได้ผลดี เมื่อความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับพ่อแม่ดี

พ่อแม่เป็นตัวอย่างที่ดี เมื่อมีอารมณ์โกรธ




การฝึกให้คิดถึงจิตใจคนอื่น


เด็กสมาธิสั้นมักคิดถึงความต้องการส่วนตัว ไม่ค่อยคิดถึงความต้องการของผู้อื่น การฝึกเรื่องนี้สามารถทำได้ โดยมีกระตุ้นเรื่องนี้อย่างสม่ำเสมอ บางเหตุการณ์ที่เด็กทำให้คนอื่นเดือดร้อน การนำเรื่องนั้นมาคุยกันอย่างสงบ ชวนให้เด็กคิดว่าการที่เด็กทำแบบนั้นมีผลต่อคนอื่นอย่างไรบ้าง โดยให้เด็กคิดเอง ตอบเอง ถ้าเด็กตอบได้ถูกต้องว่าคนอื่นก็คงไม่ชอบ พ่อแม่ก็ชมที่เขาคิดได้ดี ต่อไปชวนเขาคิดต่อว่า ถ้าอย่างนั้นเขาน่าทำอย่างไรดี ที่ทำให้เพื่อนพอใจ หรือถ้าเขาย้อนกลับไปเปลี่ยนแปลงแก้ไขเหตุการณ์ได้ เขาจะทำอย่างไรให้ดีกว่าเดิม บางครั้งเด็กนึกไม่ออกว่าคนอื่นคิดอย่างไร ลองให้เขาสมมุติตัวเองว่า ถ้าเขาเป็นคนนั้น เขาจะคิดอย่างไร รู้สึกอย่างไร

พ่อแม่ควรชวนคุยถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น
“เรื่องนี้ลูกคิดอย่างไร”

“เรื่องเดียวกันนี้ เพื่อนๆคิดอย่างไร”

“เพื่อนๆเขารู้สึกอย่างไร ที่มีคนไปล้อเลียนเขา”

“ลูกคิดว่าคุณครู จะคิดอย่างไร”

“ลูกอยากรู้ไหม ว่าพ่อแม่คิดอะไรอยู่”

“ลองทายดูซิ ว่าครูกำลังคิดอะไรอยู่”

พ่อแม่อย่าลืมชื่นชมที่ลูกแสดงความคิดถึงคนอื่นในทางที่ดี ในทิศทางที่เข้าใจความคิดความรู้สึกคนอื่น ใส่ใจคนอื่น เห็นใจคนอื่น ไม่เอาความเห็นของตนเองเป็นใหญ่ฝ่ายเดียว

ฝึกให้นึกถึงใจคนอื่น จะเกิดความเมตตากรุณา เห็นอกเห็นใจผู้อื่น



Create Date : 11 มกราคม 2551
Last Update : 27 ธันวาคม 2551 21:39:02 น. 2 comments
Counter : 1487 Pageviews.

 
แวะเข้ามาอ่าน ขอบคุณค่ะ


โดย: รัตตมณี (kulratt ) วันที่: 11 มกราคม 2551 เวลา:15:59:52 น.  

 
ขออนุญาตคัดลอก

และส่งอีเมลให้ลูกชายลูกสะไภ้ ให้ฝึกอบรมหลานชายที่สมาธิสั้น(พูดช้า)น่ะค่ะ

ขอบคุณอ.วิบูลย์ จุง มากมายด้วยนะคะ


โดย: ป้านพ IP: 116.206.155.29 วันที่: 20 มกราคม 2554 เวลา:18:33:41 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

wbj
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 210 คน [?]




ต้องการสอบถาม กรุณาติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com หรือ 062 641 5992, 062 826 1544

วิทยากรเชิงกิจกรรม

วิทยากรกระบวนการ

ที่ปรึกษาธุรกิจ

ด้านการบริหารจัดการ

การตลาดและการประชาสัมพันธ์

การบริหารทรัพยากรมนุษย์

การวางแผนกลยุทธ์

วิจัยธุรกิจ

IT Dashboard



ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้...
ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย
และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด



<< Main Menu >>



ดวงถาวร


ดวงตามวันเกิด



ดวงตามปีเกิด






;b[^]pN 06' ไรินนื ่นนืเ "รินนื ๋นนืเ c:j06'

ต้องการสอบถาม โทร 062-641-5992, 062-826-1544
ติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com
Line ID : wbjoong

ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารจัดการ การตลาดและการประชาสัมพันธ์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ การวางแผนกลยุทธ์ วิทยากรเชิงกิจกรรม, วิทยากรกระบวนการ นักวิจัยการดำเนินงานธุรกิจ Executive & Management Coach

ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้... ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด
<< Main Menu >>
Friends' blogs
[Add wbj's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friends


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.