"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
มกราคม 2559
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
11 มกราคม 2559
 
All Blogs
 
คบคนญี่ปุ่น (1) - ดร.โฆษิต ทิพย์เทียมพงษ์

 

 

คบคนญี่ปุ่น (1)
       
ดร.โฆษิต ทิพย์เทียมพงษ์
       Tokyo University of Foreign Studies


       
       พวกเดียวกันทางสายเลือด
       
       คนต่างชาติจำนวนไม่น้อยรู้สึกว่าคนญี่ปุ่นเป็นชนชาติที่เข้าใจยาก ไม่รู้จะคบยังไงให้สนิท
       
        ผมเห็นด้วยว่าคนญี่ปุ่นมีลักษณะหลายอย่างที่เข้าใจยากสำหรับคนต่างวัฒนธรรม แต่ตัวเองคงเลยจุดนั้นไปแล้ว ไม่ใช่เพราะเก่ง แต่คงเพราะอยู่ญี่ปุ่นนาน หรือเพราะจับจุดอะไรบางอย่างได้

หรือไม่ก็คงเพราะ ‘เลิกพยายามทำความเข้าใจ แต่ทำใจยอมรับ’ เสียมากกว่า จุดที่ผมบอกว่าจับได้และหาวิธีการคลี่คลายต่อมานั้นจะเรียกว่าง่ายก็ง่าย หรือจะมองว่ายากก็ใช่ และในที่นี้จะนำบางแง่มุมมาเล่าสู่กันฟัง เผื่อจะเป็นประโยชน์สำหรับคนไทยที่มีโอกาสใกล้ชิดหรือร่วมงานกับคนญี่ปุ่น
       
        ลักษณะอย่างหนึ่งของสังคมญี่ปุ่นคือ ตั้งแต่โบราณกาล มีการผสมผสานทางเชื้อชาติน้อย หรือถ้ามองแบบสุดโต่งคือเป็นสังคมที่ปิดสำหรับคนต่างชาติ คนญี่ปุ่นอยู่บนเกาะที่ไม่มีพรมแดนติดกับต่างประเทศ

มีคนต่างชาติเข้ามาเกี่ยวข้องไม่มาก และเคยปิดประเทศสองร้อยกว่าปีในสมัยเอะโดะ (江戸;Edo; พ.ศ. 2143 – 2411) ในทางมานุษยวิทยา ญี่ปุ่นได้ชื่อว่าเป็นสังคมที่มีความเป็นเนื้อเดียวกันสูง ผู้คนยึดมั่นการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มอย่างเหนียวแน่น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดวัฒนธรรมกลุ่ม
       
       สายเลือดถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดในวัฒนธรรมกลุ่ม คนญี่ปุ่นเชื่อว่าคนที่เลือดเหมือนกันจะมีอะไรๆ คล้ายกันและเป็นพวกเดียวกัน ถ้ามองเชิงประวัติศาสตร์ ญี่ปุ่นยึดถือสายเลือดเชิงชนชั้นด้วย

เช่น สายเลือดจักรพรรดิ พ่อค้า ชาวนา ช่าง ซามุไร หรือแม้แต่สายเลือดผู้ดี สิ่งเหล่านี้เชื่อกันมาช้านาน พอวิทยาการก้าวหน้าและโลกเปลี่ยนแปลง แม้แนวคิดแบบนั้นจางหายไป แต่ก็ยังทิ้งร่องรอยไว้ให้เห็น กลายเป็นความเชื่อเรื่องกลุ่มเลือดเชิงการแพทย์
       
       คนญี่ปุ่นปัจจุบันเชื่อเรื่องคุณลักษณะตามกรุ๊ปเลือด ผมเคยถูกคนญี่ปุ่นถามหลายครั้งตั้งแต่มาญี่ปุ่นในช่วงแรกๆ ว่า “เลือดกรุ๊ปอะไร?”
       
        อยู่เมืองไทย ถ้าไม่นับตอนทำบัตรประชาชน แทบไม่เคยมีคนถาม แม้แต่ครอบครัวตัวเองก็อาจจะยังไม่ทราบด้วยซ้ำว่าผมเลือดกรุ๊ปอะไร ในเมืองไทยเมื่อสมัยก่อน การตรวจกรุ๊ปเลือดก็ไม่แพร่หลายเท่าปัจจุบัน

พอไปอยู่ญี่ปุ่น เจอคำถามเรื่องนี้บ่อยมาก บ่อยมากๆ จนตกใจ จึงต้องเชื่ออีกครั้งหลังจากเลิกเชื่อไปแล้วว่าแนวคิดเรื่องสายเลือดยังคงมีอยู่ในสังคมญี่ปุ่น
       
        “ผมเลือดกรุ๊ป B” ยังดีที่ตอบได้ ไม่งั้นคนญี่ปุ่นคงรู้สึกผิดหวังระคนแปลกใจว่าทำไมคนไทยไม่รู้กรุ๊ปเลือดตัวเอง
       
        “เหมือนกันเลย เหมือนกันเลย” ปฏิกิริยาตอบรับที่มีคำว่า ‘เหมือน’ นั้นส่อความเป็นมิตรอย่างที่สุด
       
       คนญี่ปุ่นที่ถามผมเรื่องกรุ๊ปเลือดคนแรกคือครอบครัวอุปถัมภ์ ด้วยความบังเอิญที่สมาชิกทั้งสี่มีเลือดกรุ๊ป B พอมีผมซึ่งเป็นคนที่ห้าแปลกหน้าเข้าไปแล้วบอกว่าตัวเองก็ B เหมือนกัน

คนทั้งบ้านจึงรู้สึกว่ามีคน ‘แบบเดียวกัน’ เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งชีวิต แต่ผมไม่ได้คิดอะไรลึกซึ้งกับเรื่องนี้ นอกจากรู้สึกว่าหน้าตาไม่น่าจะเกี่ยวกับกรุ๊ปเลือด มิฉะนั้นโลกนี้คงมีหน้าแค่สี่ห้าแบบ
       
       ญี่ปุ่นมีคนเลือดกรุ๊ป A มากที่สุดคือร้อยละ 39, รองลงมาคือ กรุ๊ป O ร้อยละ 30, กรุ๊ป B ร้อยละ 21, และกรุ๊ป AB ร้อยละ 10 คนญี่ปุ่นเชื่อว่าคนที่มีเลือดกรุ๊ปเดียวกันจะมีนิสัยใจคอคล้ายกัน

เมื่อนิสัยคล้ายกันย่อมเข้ากันได้ง่าย สำหรับผม ถือว่าโชคดีที่กรุ๊ปเลือดตรงกับของทุกคนในครอบครัวอุปถัมภ์ เป็นข้อได้เปรียบโดยบังเอิญสำหรับการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับคนญี่ปุ่น
       
        แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า สมัยนี้คนญี่ปุ่นเลือกคบคนด้วยการตั้งหน้าตั้งตาสืบหากรุ๊ปเลือดไปเสียหมด เพียงแต่เชื่อว่าถ้าเหมือนกันย่อมทำให้เข้าใจและเรียนรู้ฝ่ายตรงข้ามได้เร็ว

และถ้าจะให้ดี ใครที่อยากมีเรื่องคุยกับคนญี่ปุ่น การทราบกรุ๊ปเลือดของตัวเองไว้ย่อมเป็นประโยชน์ เพราะเมื่อเวลาผ่านไปและคุ้นเคยกันมากขึ้น ก็มักจะมีบทสนทนาเรื่องกรุ๊ปเลือดออกมา
       
       พวกเดียวกันทำเหมือนกัน
       
        คนญี่ปุ่นแบ่งแยกความเป็นพวกเดียวกันกับความเป็นคนละพวกค่อนข้างชัดเจน และปรากฏออกมาทางภาษาตลอดจนการปฏิบัติต่อผู้อื่นที่ถูกถือว่าเป็นคนละพวกด้วย แนวคิดเช่นนี้สืบทอดกันมาช้านาน มีคำทางวัฒนธรรมที่ใช้อธิบายเป็นเอกเทศ

คือ “อุชิ” (内;uchi) หรือ “(คน) ใน” กับ “โซะโตะ” (外;soto) หรือ “ (คน) นอก” ใครที่เป็นคนต่างชาติ คนญี่ปุ่นมักจัดว่าอยู่ในข่ายนี้ และจะได้รับการปฏิบัติในฐานะคนนอกกลุ่ม แต่การเปลี่ยนสถานะจากคนนอกกลุ่มเป็นคนในกลุ่มก็ไม่ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้ แต่กว่าจะทำได้ต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน
       
        เมื่อแบ่งกลุ่มขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น “คนใน” ของระดับใหญ่สุดซึ่งก็คือญี่ปุ่นทั้งประเทศ หรือ “คนใน” ของระดับย่อยลงไปอย่างสมาชิกในครอบครัว ชมรมเดียวกัน บริษัทเดียวกัน คนญี่ปุ่นจะยึดมั่นความกลมกลืน ภายในกลุ่มเป็นส่วนใหญ่

การทำอะไรไม่เข้าพวกมักถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ไม่น่ายอมรับ คิดว่าเมื่อเป็นพวกเดียวกัน ว่าไงควรว่าตามกันเพื่อไม่ให้เกิดความแปลกแยก เช่น การใช้ของแบบเดียวกัน การไม่แสดงความเห็นคัดง้าง การไม่ทำตัวฉีกออกไปจากสิ่งที่ทุกคนคาด
       
       ความไม่อยากเป็นแกะดำที่ต่างจากฝูงแบบนี้ถึงกับมีเรื่องล้อเลียนว่า [1] หากเมื่อเรือใหญ่หรูหรากำลังจะจมสู่ก้นทะเล แล้วกัปตันจะบอกให้ทุกคนกระโดดลงทะเล คำพูดที่กัปตันต้องสรรหามากระตุ้นคนชาติต่างๆ ที่อยู่บนเรือคือ
       
       สำหรับคนอเมริกัน - โดดลงไป คุณจะกลายเป็นฮีโร่
        คนอังกฤษ - โดดลงไป คุณคือสุภาพบุรุษนะ
       คนเยอรมัน - โดดลงไปซะ เพราะนี่เป็นกฎของเรือ
        คนญี่ปุ่น - โดดลงไปเดี๋ยวนี้! ทุกคนกำลังโดดนะ!
       
        การคบกับคนญี่ปุ่นให้สนิท หมายถึงการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มหรือเป็น “คนใน” และปฏิบัติตามมาตรฐานอันที่เป็นยอมรับของกลุ่ม ซึ่งแม้แต่คนญี่ปุ่นเอง บางครั้งก็ยังรู้สึกว่ายาก สำหรับคนต่างชาติซึ่งมีความเป็นคนนอกโดยกำเนิดแล้วนั้น จึงอาจต้องใช้พยายามมากหน่อยกว่าจะทะลวงกำแพงเข้าไปได้

คบคนญี่ปุ่น (1)

        คนญี่ปุ่นสนิทยาก
       
       คนไทยกลุ่มหลักๆ ที่มีชีวิตเกี่ยวพันกับคนญี่ปุ่น ได้แก่ นักศึกษาไทยที่มาเรียนในญี่ปุ่น และ คนไทยที่ทำงานในบริษัทญี่ปุ่นในเมืองไทย มีคนจำนวนไม่น้อยในทั้งสองกลุ่มนี้รู้สึกว่า “เข้าไม่ถึงคนญี่ปุ่น”

อันที่จริง ถ้าคบในระดับชีวิตประจำวัน คนไทยกับคนญี่ปุ่นเข้ากันได้ดีและมีความเป็นมิตรต่อกันสูง แต่ถ้าจะลงลึกถึงขั้นสนิท หลายคนมักชนกำแพงและเด้งกลับมาพร้อมกับความคิดทำนองว่า “ทำไมเพื่อนญี่ปุ่นคนนี้ถึงได้มีความลับเยอะ?” หรือ “สนิทกันขนาดนนี้ ทำไมไม่บอก?”
       
       คนสนิทกันน่าจะรู้เรื่องส่วนตัวกันมากกว่าระดับปกติ ถ้าใช้เกณฑ์นี้วัด จะพบว่าคนญี่ปุ่นอาจไม่สนิทกับคนไทยเลย เมื่ออยู่ในสถานที่ที่มีกิจกรรมร่วมกัน คนต่างชาติอาจเป็นคนในสำหรับคนญี่ปุ่นคนนั้น

แต่เมื่อลงลึกยิ่งขึ้น คนต่างชาติก็ยังคงมีแนวโน้มเป็นคนนอกอยู่นั่นเอง เพราะแบบนี้ผมถึงได้เห็นนักศึกษาไทยจำนวนไม่น้อยมาเรียนที่ญี่ปุ่นแล้วต้องผิดหวังกลับไปเพราะหาเพื่อนญี่ปุ่นไม่ได้

หรือหาได้แต่ก็เป็นเพื่อนกันแบบผิวเผิน หรือถึงขั้นไม่ชอบคนญี่ปุ่นไปเลยเมื่อนำมาตรฐานการคบคนแบบไทยๆ ไปประเมินคนญี่ปุ่น คนไทยสนิทกันง่าย แต่คนญี่ปุ่นไม่ใช่อย่างนั้น
       
       เมื่อประมวลคร่าวๆ สันนิษฐานได้ว่า การที่คนญี่ปุ่นสนิทสนมกับคนต่างชาติได้ยากอาจเป็นเพราะในทางประวัติศาสตร์และบรรยากาศ คนญี่ปุ่นไม่ชินกับการคบหาชาวต่างชาติ จึงไม่รู้ว่าว่าจะปฏิบัติตัวอย่างไรดี

ประการต่อมา คือ เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับคนต่างชาติ จำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษ คนญี่ปุ่นจำนวนมากพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ การที่คนญี่ปุ่นไม่พูดภาษาอังกฤษ ไม่ใช่ไม่อยากพูด แต่พูดไม่ได้หรือไม่ก็ขาดความเชื่อมั่นมากกว่า

และอีกข้อคือ คนญี่ปุ่นยึดมั่นความเป็นส่วนตัวสูง ไม่ใช่เฉพาะกับคนต่างชาติ แต่กับคนญี่ปุ่นด้วยกันเองก็เช่นกัน มีโลกส่วนตัวทั้งในระดับกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ มีเส้นแบ่งเพื่อกันคนภายนอกไว้ค่อนข้างชัดเจนว่า

 ‘ถ้าฉันไม่อนุญาต จงอย่าได้ล่วงล้ำเข้ามานะ’ ดังนั้น บางครั้งเมื่อถูกถามว่า “ทำไมอย่างนั้น ทำไมอย่างโน้น” คนญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยจะตอบว่า “อิโระ อิโระ อัตตะ” (いろいろあった;Iro iro atta) แปลว่า “มีอะไรๆ หลายอย่าง”

แต่ไม่ได้ตอบเลยว่าหลายอย่างที่ว่านั่นคืออะไร ซึ่งก็คือการเลี่ยงที่จะเปิดเผยความเป็นส่วนตัว และกว่าใครคนหนึ่งจะไว้ใจและ ‘เปิดโลก’ ของตัวเองให้คนอื่นเห็น ก็เป็นเรื่องที่ใช้เวลานานพอดู เมื่อเป็นแบบนี้ ความสนิทสนมจึงก่อเกิดได้ช้า
       
       แต่การสร้างความสนิทสนมกับคนญี่ปุ่นก็เป็นไปได้ เพราะคนญี่ปุ่นก็มี ‘เครื่องรับ’ ที่คล้ายกับคนไทยเพียงแต่ระดับการเปิดรับอาจจะน้อยกว่า คนญี่ปุ่นปัจจุบันสนใจเรียนรู้เกี่ยวกับต่างประเทศ

และมีความเชื่ออยู่แล้วว่าการได้พบกันคือจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ครั้งสำคัญ นั่นหมายความว่าคนญี่ปุ่นมีความเป็นมิตรโดยพื้นฐาน แต่อาจไม่ใช่ผู้สานต่อที่ดี ใครที่อยากจะสนิทกับคนญี่ปุ่นจึงควรจะชวนเขาคุยก่อน

 และแน่นอนว่าไม่มีสิ่งใดจะทำให้คนไว้ใจกันได้เร็วเท่ากับการพูดภาษาเดียวกัน ฉะนั้น ถ้าพูดญี่ปุ่นได้ ก็ถือว่าเริ่มกลายเป็นพวกเดียวกับคนญี่ปุ่นแล้ว

คบคนญี่ปุ่น (1)
        หมายเหตุ :
       [1] เรื่องชวนหัวล้อเลียนลักษณะนี้เรียกว่า เรื่องขำขันเชิงชาติพันธุ์ (ethnic joke) ซึ่งเป็นเรื่องเล่าที่นำลักษณะเด่นหรือลักษณะประจำตัวของคนชาติใดชาติหนึ่งมาสะท้อนผ่านพฤติกรรม

       

ขอบคุณ MGR Online  

ดร.โฆษิต ทิพย์เทียมพงษ์

จันทรวารสิริสวัสดิ์ค่ะ    




Create Date : 11 มกราคม 2559
Last Update : 11 มกราคม 2559 14:07:50 น. 0 comments
Counter : 1448 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.