กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
เมษายน 2565
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
space
space
8 เมษายน 2565
space
space
space

...สังฆคุณ (ต่อ) ญายปฏิปันโน


    ญายะปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ “สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว”   ปฏิบัติเพื่ออะไร   ปฏิบัติดีเพื่ออะไร  ปฏิบัติตรงเพื่ออะไร มันอยู่ในข้อ ๓ นี้อีก คือว่า ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์   เราศึกษาเล่าเรียน เพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์ เพราะเรามองเห็นว่าชีวิตมันเป็นทุกข์ การเกิดแล้วเกิดอีกมันก็เป็นทุกข์ มองเห็นความทุกข์ มองเห็นความลำบากของชีวิตอยู่ เราต้องการที่จะออกไปจากทุกข์ เมื่อต้องการที่จะออกไปจากทุกข์ก็ต้องรู้ข้อปฏิบัติ อันจะช่วยให้เราพ้นไปจากความทุกข์
ผู้ที่ปฏิบัติก็เหมือนกัน ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรม เช่น รักษาศีลก็เพื่อรู้ธรรมที่ออกจากทุกข์   ฝึกสมาธิ เจริญภาวนา เพื่อที่จะให้รู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์ เกิดปัญญา ก็เอามาใช้เพื่อจะให้เข้าใจในธรรมะที่เราจะออกไปจากความทุกข์ ความเดือดร้อน อันนี้ เป็นจุดสำคัญ เรียกว่าเป็นกิจที่เราจะต้องรู้ไว้ว่าเพื่ออะไร
ถ้าเราไม่รู้ว่าเพื่ออะไร ก็ลังเลเหมือนกัน เดินๆ ไปหน่อย เอ๊ะ เดินไปทำไม เพื่ออะไร ลังเลเสียแล้ว พอลังเลก็เลยลาเลิกกันเท่านั้นเอง มันก็ไปไม่ได้ อันนี้ จะต้องรู้ว่า เราปฏิบัติกันเพื่อรู้ธรรมะ เมื่อรู้แล้วจะเป็นเหตุให้พ้นจากความทุกข์ ความเดือดร้อน

   ทีนี้  โดยปกติคนเรายังไม่รู้  ยังมีอวิชชาครอบงำอยู่  ยังไม่เข้าใจเรื่องอะไรถูกต้อง คนเราที่กระทำผิดทำเสีย ไม่รู้จักคุณค่าของชีวิตว่าเกิดมาทำไม อยู่เพื่ออะไร สิ่งที่ดีที่เราจะประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันคืออะไรนั้น ก็เนื่องจากไม่รู้ มันมีอวิชชาครอบงำจิตใจอยู่   ที่เราได้หลงใหลได้มัวเมาอะไรต่างๆอยู่   ก็เพราะว่ามีความโง่  ความไม่เข้าใจเป็นพื้นฐาน  แต่ถ้าเมื่อเราศึกษาธรรมะ ปฏิบัติธรรมะ   มันค่อยแจ่มแจ้งขึ้น   สว่างไสวขึ้นในใจ  แล้วก็รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ถูกต้องตามสภาพที่เป็นจริง

ตัวอย่างเห็นง่ายๆ เช่น เราฝึกสมาธิ ก่อนนี้เราไม่รู้ว่าสภาพจิตใจของเราเป็นอย่างไร มันดิ้นรนกลับกลอกรักษายากขนาดไหน เราไม่รู้ เพราะเราไม่เคยสังเกตสภาพจิตใจของเราเอง เราก็ไม่รู้ คล้ายๆ กับคนที่ไม่เคยเลี้ยงเด็ก   วันหนึ่ง เขาบอกว่า วันนี้ ช่วยเลี้ยงเด็กหน่อยเถอะ ฉันจะไปธุระ
เราก็รับภาระเด็กไว้เลี้ยง   ทีนี้   เด็กมีปกติซุกซน  เดี๋ยวไปนั่นไปนี่  คนเลี้ยงก็ไปไหนไม่ได้ ต้องคอยดู คอยเอาใจใส่อยู่ตลอดเวลา ก็เกิดรู้ความรู้สึกว่า เอ้อ งานเลี้ยงเด็ก นี่ไม่ใช่งานย่อยแต่เป็นงานหนัก ต้องใช้ความสังเกตอยู่ตลอด ประจักษ์แก่ใจ  เกิดประสบการณ์ขึ้นมาว่าเลี้ยงเด็กนี่ ไม่ใช่เรื่องง่าย


   ทีนี้  ในเรื่องการคุ้มครองรักษาจิตก็เหมือนกัน พระพุทธเจ้าตรัสว่า “จิตตัง ทันตัง สุขาวะหัง - จิตที่ฝึกฝนดีแล้วนำสุขมาให้”   “จิตตัง รักเขถ เมธาวี  - ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิต”   แต่เราก็ไม่ได้รักษาไว้    ปล่อยมันตามเรื่องตามอารมณ์ที่มากระทบ  ดีใจบ้าง เสียใจบ้าง หัวเราะบ้าง ร้องไห้บ้าง ขึ้นๆลงๆ ตามสภาพของอารมณ์ ไม่รู้ว่าจิตนั้นเป็นเรื่องห้ามได้ จิตนี้ทำให้อยู่ในอำนาจของความผิดชอบชั่วดีได้ เราไม่รู้ เรามารู้แต่เพียงว่า โอ้ย ไม่ไหว จิตมันอยู่อย่างนั้น ล่อกแล่กๆอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา คล้ายกับลิงที่ไม่มีปกติอยู่นิ่งได้

แต่ว่าลิงเขาจะเอามาเล่นละครได้อย่างไร  ลิงที่เขาเอามาเล่นละครได้ แสดงว่า เขาได้หัดลิงได้ งานวัดภูเขาทองสมัยก่อนมีละครลิงบ่อยๆ เดี๋ยวนี้ท่าจะหมดไปแล้ว  สารถีลิงคงจะไม่มี ละครลิงหายไป  เมื่อลิงเขาฝึกให้แสดงละครได้   แสดงว่า ให้มันหยุดได้  ไม่ใช่ซุกซนอยู่ตลอดเวลา
จิตเรานี้ก็เหมือนกัน   แม้ธรรมชาติของจิตจะเป็นธรรมชาติดิ้นรนกลับกลอกรักษายาก  ห้ามยาก ชอบไปในที่ไกล ไปโน่นไปนี่ เที่ยวคิดฟุ้งไปตามเรื่องตามราว แต่ก็ฝึกให้อยู่ในอำนาจเราได้



    ผู้มีปัญญาย่อมห้ามจิตได้   ห้ามจิตได้ก็ด้วยการมาควบคุม  โดยการที่เราฝึกภาวนานั่นเอง.   ที่ไปฝึกกันทุกๆคืน   จุดหมายก็เพื่อว่า จะได้ห้ามจิตไม่ให้ฟุ้งซ่าน ให้เป็นสมาธิ เกิดความสงบให้เหมาะที่จะเอาไปใช้งานใช้การต่อไป เพราะเรายังจะต้องทำอะไรๆอีกเยอะแยะ ที่จะต้องใช้ความคิด ใช้กำลังจิต เราก็ต้องรวบรวมกำลังมัน ให้มันอยู่เป็นจุดเดียว ให้มันหยุดก่อน เมื่อหยุดแล้วก็เรียกว่ามีความสงบแล้วก็เป็นสมาธิ แล้วมันก็อ่อน เหมาะที่จะใช้งาน คล้ายกับสัตว์ป่าที่เราจับมาฝึก
เหมือนจับช้าง ช้างพอจับได้ไม่ใช่มันเชื่องเลย เอามาถึงต้องมัดกับเสา ๔ เสาเลย แล้วควาญช้างก็เข้าไปจับตรงนั้นจับตรงนี้ เอาหญ้าให้มันกิน เอาน้ำให้มันดื่ม จับตรงนั้นตรงนี้ เขาเข้าใจ หมอนวดช้างเขาเข้าใจว่าจะจี้ตรงไหน จี้ไปจี้มา มันค่อยสงบลงเชื่องแล้ว ปลด ๒ เสา ให้เหลือ ๒ เสา ต่อมาก็ปลดหมด เอาเชือกผูก โซ่ร้อย ขึ้นขี่หลังได้ แล้วก็ขับไปในตลาดได้ เป็นอาชาไนย.

ช้างอาชาไนย คือช้างที่เชื่องแล้ว
ม้าอาชาไนย ก็ม้าที่เชื่องแล้ว
บุรุษอาชาไนย ก็คือ ผู้ที่หยุดซุกซนแล้ว ถ้ายังซุกซนอยู่ ก็เรียกว่า ไม่ใช่อาชาไนย ยังไม่เป็นบุรุษอาชาไนย

   ทีนี้ จิตใจคนเรา  มันก็ต้องเอาฝึกอย่างนั้น  ขั้นแรก   ก็ต้องมีเป้าหมายให้มันคิดตรง ให้มันจอดไว้ที่ตรงไหน สมมติว่า ให้มันอยู่กับ ลมเข้า ลมออก หายใจเข้าก็ให้นึกตามลมไป หายใจออกก็ให้นึกตามลมไป   หายใจเข้านึกตามไป   หายใจออกก็นึกตามลมออก ให้มันนึกที่นั่น ให้จิตอยู่ที่นั่น ไม่ให้ไปที่อื่น   ให้อยู่ที่ลมเข้าลมออก
ลมเข้าท้องพอง ลมออกท้องยุบ  ก็ทำนองเดียวกัน คืออยู่กับอาการพอง อาการยุบของมัน หรือมิฉะนั้น เราไปเพ่งอะไรสักอย่าง   เช่นว่า เพ่งกสิณ   เอาดินมานั่งพิจารณา ปฐวีๆ ว่าไป ตาดูไป ใจอยู่ที่ดิน   มันก็จุดหมายอันเดียวกัน
จุดหมายว่าให้มันอยู่จุดใดจุดหนึ่ง   ไม่ให้เพ่นพ่าน   ให้อยู่ตรงนั้น แล้วนานๆเข้า มันก็อยู่ตรงนั้น ไม่ไปไหน อยู่ได้ ๕ นาที ๑๐ นาที อยู่ได้นานๆ เมื่อมันอยู่ได้นาน ก็เรียกว่า มีสมาธิ เพราะตรึกอยู่ในเรื่องนั้น มีสมาธิอยู่ในเรื่องนั้น  ต่อจากนั้น เราก็เอากำลังสมาธินั้น ไปคิดไปค้นในเรื่องอะไรต่อไป เรียกว่า มีกำลังแล้วก็เอาไปคิดตีปัญหา  เรื่องอะไรต่างๆ  ที่เขาพูดกันว่ากำลังภายใน เอาไปใช้ได้ผลดี

คนมีสมาธิมันได้เปรียบ   อ่านหนังสือรู้ไว  คิดอะไรก็ทะลุไว  ทำอะไรก็รวดเร็ว ในสังคมที่เต็มไปด้วยความวุ่นวายนี้ ต้องแข่งขันกันตลอดเวลา
ถ้าเราไม่มีกำลังจิตเป็นสมาธิเพียงพอ เราสู้เขาไม่ได้ อันนั้น แง่หนึ่ง ที่สำคัญก็คือเราเป็นสุขพักผ่อนทางใจ เป็นสุขสบายได้ทุกโอกาสที่ต้องการพักผ่อน ผลมันก็เกิดขึ้นที่การปฏิบัติ คือเพื่อจุดหมายว่าได้ธรรมะ ได้สมาธิ ได้ปัญญา เมื่อได้แล้วจะได้รู้ว่า อะไรเป็นอะไรถูกต้อง เราก็จะได้พ้นไปจากความทุกข์ ความเดือดร้อน นี่เป็นจุดหมายอีกอันหนึ่ง.


Create Date : 08 เมษายน 2565
Last Update : 8 เมษายน 2565 13:47:49 น. 0 comments
Counter : 351 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space