กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
มกราคม 2565
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
space
space
12 มกราคม 2565
space
space
space

เนื้อความในทำวัตรเช้า-เย็น (๓)


   ความหมายของพระคุณ ๓ ประการ  มีดังนี้  เราจึงต้องสร้างพระคุณนี้ให้เกิดขึ้นในใจตลอดเวลาสร้างปัญญา สร้างความกรุณา สร้างความบริสุทธิ์ การสร้างความบริสุทธิ์ ความจริงไม่ต้องสร้างดอก เพียงแต่สำรวมกาย วาจา ใจให้ดีเสมอ เพราะสภาพของจิตดั่งเดิมบริสุทธิ์อยู่แล้ว ที่มีจิตเศร้าหมองเพราะมีสิ่งอื่นมากระทำ เหมือนขี้ฝุ่นเข้ามาทางหน้าต่าง ทำให้บ้านสกปรกเศร้าหมอง ฉะนั้น เราจึงต้องระวัง  ระวังที่ไหน ?   ต้องระวังที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ   มันเกิดขึ้นได้อย่างไร ?   ก็เพราะมีตา มีรูป เมื่อตากับรูปกระทบกัน  เกิดความรู้สึกทางตา  รวมกันเกิดผัสสะ  เมื่อผัสสะเกิดแล้ว ก็เกิดเวทนา  ความยินดี ไม่ยินดี เป็นสุข เป็นทุกข์ ชอบใจ ไม่ชอบใจ อยากได้ ไม่อยากได้ เราจึงต้องระวังอย่างนี้ ระวังที่ผัสสะ อย่าให้เกิดมีเวทนาขึ้นได้   ถ้าไม่มีเวทนา มันก็ไม่มีความทุกข์ เพราะเวทนาเป็นต้นเหตุทำให้เกิดทุกข์ต่อไป
เราระวังผัสสะจุดเดียวทำให้ไม่เกิดเวทนา  เพียงรู้สุขหรือทุกข์  ก็ให้หยุดอยู่แค่นั้น ขอให้กำหนดรู้ทันท่วงที หยุดตรงจุดนี้  อย่าให้เกิดเลยต่อไปเป็นตัณหา  เป็นอุปาทาน  จนสร้างอะไรต่ออะไรขึ้นมา   นี้เป็นการสกัดกั้น สกัดกั้นสิ่งภายนอกไม่ให้เข้ามาถึงข้างใน เพราะที่จิตใจของเราบริสุทธิ์อยู่แล้ว จึงต้องคอยสกัดกั้นสิ่งภายนอกไม่ให้เข้าไปข้างในได้


    การระวังไม่ให้เกิดเวทนาขึ้นตรงจุดผัสสะ เป็นการปฏิบัติที่ถูกต้อง ตรงจุดนั้น ความทุกข์มันก็ไม่เกิด เราก็คงมีจิตเหมือนเดิม คือมีจิตบริสุทธิ์อยู่ ความทุกข์ไม่มี ความสุขไม่มี อะไรๆก็ไม่มี เป็นอย่างนี้ เราจึงควรสร้างสภาพอย่างไว้ในใจของเรา  ด้วยความระมัดระวัง  ไม่เผลอ ไม่ประมาท จิตเราเผลอไม่ได้ เผลอทีไรเป็นจับอะไรเข้ามา ยินดียินร้ายในรูปต่างๆ เพราะเราเผลอ เราประมาท ทีนี้อย่าเผลอ   การที่เราฝึกจิตทุกคืนก็เพื่อไม่ให้เผลอ  ไม่ให้ประมาท  เป็นการสกัดกั้นสิ่งภายนอกไม่ให้เข้ามา
การฝึกจิตไว้ก็เหมือนคอยตื่นอยู่เสมอ  ถ้าเผลอก็เหมือนหลับ ปล่อยให้โจรเข้าในบ้าน ขโมยเงินทองเอาข้าวของไป   จิตใจเรานี้ก็เหมือนกัน ถ้าเผลอหลับไป ความรู้สึกที่ไม่บริสุทธิ์ก็จะเกิดขึ้น เช่น ความรัก ความชัง ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความริษยาพยาบาท มันเกิดขึ้นเพราะเราเผลอ
ถ้าเราไม่เผลอสิ่งเหล่านั้นไม่เกิด  จิตเรายังคงมีสภาพปกติ  เราเรียกว่าหน้าตาดั่งเดิม ตามภาษามหายาน
ส่วนเถรวาทเราไม่ค่อยพูดอย่างนั้น   แต่ยังพูดว่าหน้าตาดั่งเดิมอยู่เหมือนกัน ซึ่งมาจากนิกายเซ็น มีเรื่องที่น่าฟังอยู่เหมือนกันเป็นเรื่องดี เป็นเรื่องที่เรียกว่าฉับพลันทันทีเพื่อสกัดกิเลสไม่ให้เกิดขึ้นในใจ ถ้าคิดได้ก็เรียกว่าดับเพลิงกิเลสได้  เพลิงทุกข์ก็ดับได้ด้วยเหมือนกัน

 


Create Date : 12 มกราคม 2565
Last Update : 12 มกราคม 2565 7:54:51 น. 1 comments
Counter : 393 Pageviews.

 
สาธุ ๆ ๆ ครับ


โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 12 มกราคม 2565 เวลา:8:53:44 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space