DR.MOO CAN DO
Group Blog
 
<<
กันยายน 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
8 กันยายน 2553
 
All Blogs
 
ย้อนรอยคดีมรดกเลือด "ธรรมวัฒนะ"



       หากพูดถึงคดีที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อน และน่าติดตามยิ่งกว่าภาพยนตร์ไตรภาคฟอร์มยักษ์ เรื่องราวของการพลิกปมการเสียชีวิตของ “นายห้างทอง ธรรมวัฒนะ” อดีต ส.ส.กทม.พรรคประชากรไทย ที่ถูกนำไปโยงกับมรดกเลือดของตระกูล “ธรรมวัฒนะ” นับได้ว่าเป็นคดีที่อยู่ในความสนใจของมหาชนชาวไทยมาโดยตลอดเป็นระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา


            จุดเริ่มของคดีนี้ต้องย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2542 เวลา 03.35 น. เกิดเสียงปืนดังกึกก้องขึ้นท่ามกลางความเงียบสงัดของ “บ้านธรรมวัฒนะ” เมื่อทุกคนไปถึง ก็พบร่างไร้วิญญาณของนายห้างทอง ธรรมวัฒนะ เสียชีวิตอยู่บนเก้าอี้สีเขียวตัวโปรด สภาพแรกที่พบศพ “ห้างทอง” อยู่บนเก้าอี้ในท่าครึ่งนั่งครึ่งนอน ศีรษะแหงนไปด้านหลังพิงพนักเก้าอี้ ศีรษะมีรอยกระสุน อาวุธปืนรีวอลเวอร์ .38 ตกอยู่ที่หน้าตัก แขนตกห้อยอยู่ข้างตัว


            ที่จริงแล้ว “ห้างทอง” ไม่ใช่ศพแรก แต่เป็นศพที่ 4 ที่สังเวยมรดกเลือดของตระกูลนี้ หลังจากปฐมบทการละเลงเลือดเริ่มขึ้น เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2525 นางสาว กุสุมา ธรรมวัฒนะ น้องสาวของห้างทอง ถูกลอบยิงเสียชีวิต ต่อมา เมื่อ 6 พฤษภาคม 2533 นางนัยนา ตามประกอบ น้องคนที่ 6 ถูกอุ้มไปฆ่าอย่างทารุณ ถัดมาเป็นคิวของ “ผู้ใหญ่แดง” เทอดชัย ธรรมวัฒนะ พี่ชายคนโตของตระกูล ที่ถูกอุ้มหายไป ในวันที่ 25 สิงหาคม 2534 ส่วนทายาทกองมรดก “ ธรรมวัฒนะ” ที่หลงเหลือทุกคน ต่างภาวนาให้ “ห้างทอง” เป็นศพสุดท้าย และขอให้ฆาตกรในเงามืดปิดฉากการฆ่าลงเสียที


            คดี  “ห้างทอง” น่าจะปิดฉากได้โดยสมบูรณ์ไปแล้ว เมื่อทีมสืบสวนการตายชุดแรกภายใต้การควบคุมดูแลของพล.ต.อ.พรศักดิ์ ดุรงควิบูลย์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.ท.วรรณรัตน์ คชรักษ์ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล พล.ต.ต.จงรัก จุฑานนท์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล พล.ต.ต.จักรทิพย์ กุญชร ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ยศและตำแหน่งในขณะนั้น) ได้ปิดสำนวนลง โดยสรุปว่าเป็น “เป็นการกระทำอัตวินิบาตกรรม” หรือการฆ่าตัวตาย


            เรื่องราวมรดกเลือด “ธรรมวัฒนะ” เริ่มเลือนหายไปจากความสนใจของผู้คน แต่แล้วคดีก็ถูกรื้อออกมาเพื่อพิสูจน์หาความจริงอีกครั้ง เมื่อนางนฤมล มังกรพาณิชย์ น้องสาวนายห้างทอง ต้องการจะขอพระราชทานเพลิงศพให้พี่ชาย แต่ในกรณีการฆ่าตัวตาย จะไม่สามารถดำเนินการได้ นางนฤมลจึงได้ขอให้ ดร.เอเดรียน แม็ททิว ทอนตัน ลินาเคอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านดีเอ็นเอทางคราบเลือด จากประเทศอังกฤษ ตรวจสอบภาพถ่ายสภาพศพของนายห้างทองก่อนมีการเคลื่อนย้าย ซึ่งทางผู้เชี่ยวชาญได้ลงความเห็นอย่างชัดเจนว่า “ห้างทอง” ถูกฆาตกรรม


            ถึงตอนนั้นกระแสสังคมเริ่มหันกลับมามองคดีนี้อีกครั้ง คณะกรรมการสืบสวนกรณีการตายของนายห้างทอง ธรรมวัฒนะ ถูกตั้งขึ้น โดยมีคีย์แมนสำคัญคือ พล.ต.ต.โกสินทร์ หินเธาว์ ผู้บังคับการกองปราบปราม ในขณะนั้น และแพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ การผ่าพิสูจน์ศพเป็นครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2547 โดยทีมแพทย์ชุดผ่าพิสูจน์ สรุปความเห็นว่าพบพิรุธหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น การกระเซ็นของหยดเลือด การตกของอาวุธปืน พฤติการณ์ของนายห้างทองก่อนตาย พฤติการณ์การเก็บหลักฐานของชุดสอบสวนชุดเก่า การเร่งปิดสำนวนคดี เศษอาหารที่หลงเหลืออยู่ในกระเพาะ ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดทำให้เชื่อว่า การตายของ “ห้างทอง” มีเงื่อนงำ และคนที่ถูกจ้องสงสัยมากที่สุดก็คือบุคคลที่อยู่กับ "ห้างทอง” เป็นคนสุดท้าย นายนพดล ธรรมวัฒนะ น้องชายร่วมสายโลหิตเดียวกัน ที่ยืนยันเป็นมั่นเป็นเหมาะว่าพี่ชายของตัวเองนั้น เครียดจนกระทั่งลงมือปลิดชีวิตตัวเอง


            การสืบสวนดำเนินต่อไปจนในที่สุด วันที่ 31 ตุลาคม 2546 พล.ต.ต.โกสินทร์ ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจพิมพ์คำร้องขออนุมัติหมายจับนายนพดล ธรรมวัฒนะ เพื่อแจ้งข้อกล่าวหา และนำตัวมาสอบสวนในฐานะผู้ต้องหาในคดีฆาตกรรมนายห้างทอง ท่ามกลางการปฎิเสธเสียงแข็งของเจ้าตัว และความกังขาของมหาชนต่อการสนับสนุนของ “จังหวัด ธรรมวัฒนะ” ลูกชาย “ห้างทอง” เอง ว่าอาตัวเองไม่ได้ฆ่าพ่อ?!? หลังจากนั้นไม่ได้นาน “จังหวัด” ได้ยื่นเรื่องขอถอดนายปริญญา ธรรมวัฒนะ นางนฤมล มังกรพานิช และนางคนึงนิตย์ ธรรมวัฒนะ พี่น้องฝ่ายตรงข้ามนายนภดล จากการเป็นผู้จัดการมรดก และระงับการขอพระราชทานเพลิงศพพ่อบังเกิดเกล้า นอกจากนี้ กรณีการสืบสวนความจริงจากการเสียชีวิตของ "ห้างทอง" ก็เป็นจุดเริ่มของปมขัดแย้งระหว่าง "คุณหญิงพรทิพย์" กับนายนพดล ซึ่งต่อมานายนภดล ได้ยื่นฟ้อง “ คุณหญิงหมอ” ทั้งคดีหมิ่นประมาท และเรื่องจรรยาบรรณแพทย์อีกหลายคดี


            ขณะที่นายนพดล ถูกอัยการยื่นฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลอาญา เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2547 ฐานฆ่านายห้างทอง พี่ชายตนเองโดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน โดยในการนำสืบพยานของฝ่ายโจทก์ พนักงานอัยการนำพยานหลายสิบปาก รวมทั้ง ดร.เอเดรียน แม็ททิว ทอนตัน ลินาเคอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านคราบเลือด แพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ พนักงานสอบสวนกองปราบปราม รวมทั้งนางนฤมล มังกรพาณิชย์ นายปริญญา ธรรมวัฒนะ และนางมัลลิการ์ หลีระพันธ์ ขึ้นเบิกความต่อศาล เพื่อพิสูจน์ความผิดนายนพดล โดยใช้พยานหลักฐานซึ่งเป็นผลพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์เป็นหลัก เพื่อชี้ชัดให้ศาลเชื่อว่าการเสียชีวิตของ “ห้างทอง”เกิดขึ้นจากการฆาตกรรม


            ฝ่าย “นายนพดล” ก็นำสืบต่อสู้ด้วยวิธีการทางนิติวิทยาศาสตร์ เช่นกัน จนนำมาสู่การผ่าพิสูจน์ศพ “ห้างทอง” เป็นรอบที่ 3 ขึ้นเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2549 โดยทีมแพทย์นิติเวชผู้ชำนาญการจากหลากหลายสถาบัน ซึ่งบทสรุปการผ่าพิสูจน์ครั้งนี้คณะแพทย์เห็นว่า การตายของ “ห้างทอง”ไม่ใช่การฆาตกรรม นอกจากนี้จำเลยยังมีพยานปากสำคัญ คือดร.เฮนรี่ ลี ผู้เชี่ยวชาญด้านคราบเลือดจากประเทศสหรัฐอเมริกา เบิกความหักล้างผลการวิเคราะห์ของดร.เอเดรียน ลินาเคอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านคราบเลือดจากประเทศอังกฤษอีกด้วย โดยการสืบพยานโจทก์ และจำเลยในคดีนี้ใช้เวลายาวนานกว่า 3 ปี


            หลังจากต้องถูกแช่แข็ง เพื่อรอการผ่าพิสูจน์ถึง 3 รอบ ในที่สุดศพ “ห้างทอง” ก็ได้รับพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2549 กระทั้ง ศาลอาญามีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 28 ก.ย.50 โดยพิเคราะห์คำเบิกความและพยานหลักฐานที่ทั้งสองฝ่ายนำสืบหักล้างแล้วเห็นว่า พยานหลักฐานโจทก์ยังไม่มีน้ำหนักแน่นหนาเพียงพอที่จะลงโทษจำเลยได้ พิพากษายกฟ้อง อัยการอุทธรณ์ และเมื่อวานนี้ (1 ก.ย.) ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น โดยให้เหตุผลหลักว่า การผ่าศพพิสูจน์ของนายห้างทอง ของสถาบันนิติเวชวิทยา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ การผ่าพิสูจน์ศพของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม และความเห็นของดร.เฮนรี่ ลี แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โจทก์ไม่สามารถนำสืบได้ว่า จำเลย(นายนพดล) มีความผิดตามฟ้องจริง จึงพิพากษายกฟ้อง


            คดีนี้ ยังคงเหลือการพิสูจน์ข้อเท็จจริงกันอีกครั้งในชั้นศาลฎีกา แต่เชื่อว่า ทั้งฝ่ายโจทก์ และจำเลยต่างก็อ่อนล้าเต็มทีแล้ว ข้อสำคัญ ญาติผู้ตายเอง ก็อยากให้ผู้ตายได้ไปสู่สุขคติ จึงเชื่อว่า คดีนี้ น่าจะจบและปิดฉากลงด้วยคำพิพากษาของวศาลอุทธรณ์ก็เพียงพอแล้ว!
ข้อมูลจาก Manager online


Create Date : 08 กันยายน 2553
Last Update : 8 กันยายน 2553 6:49:45 น. 5 comments
Counter : 4328 Pageviews.

 
ตามที่พอได้เรียนมาบ้าง คนเราจะฆ่าตัวตายทำไมต้องขับรถมาฆ่า
ตัวตายที่บ้านน้องชาย ทำไมไม่ทำที่บ้านตัวเอง แต่ดูจากข่าวก็ว่าน้องๆก็เข้าใจกันได้แล้ว จบๆเสียทีก็ดีครับ


โดย: ข้าราชการบำนาญสาธารณสุข IP: 180.183.58.206 วันที่: 8 กันยายน 2553 เวลา:7:45:34 น.  

 
คนตายพูดอะไรไม่ได้ "เงิน" ของคนที่ยังอยู่ เบี่ยงเบนความเป็นจริงได้


โดย: นอนยัน IP: 110.49.193.90 วันที่: 8 กันยายน 2553 เวลา:12:13:07 น.  

 
ตกลงมันยังไงล่ะเนี่ย แต่ผมเชื่อเรื่องกรรม สักวันคนที่ทำจะได้รับกรรมแน่นอน อาจจะภายใน 2 ปีนับจากวันนี้ ได้รู้ความจริงแน่ๆ


โดย: scimovie วันที่: 16 กันยายน 2553 เวลา:22:21:54 น.  

 
แฮ่ ยังงัยความจริงก้อต้องเปนความจริง คนที่เป็นวิทยากรบรรยายเรื่องคราบเลือด แต่ตอบว่าการที่เลือดหยดใหญ่กระเด็นไปได้ไกลกว่าหยดเล็กนั้น เป็นเพราะ the book said so เนียน่ะ ยังจ่ายให้ครั้งละเป็นหลายแสน ขำขำ ไม่ได้ตอบโดยใช้เกี่ยวกับโมเมนตัม พลังงานจลน์ พลังงานศักย์ เล้ย ดีแต่จำ เรื่องสิบกำลังติดลบ ว่าเรียกว่าอะไร 555


โดย: mmm IP: 203.151.17.34 วันที่: 23 กันยายน 2553 เวลา:15:30:48 น.  

 
เป็นกำลังใจให้คุณหญิงพรทิพย์


โดย: หมิว IP: 110.49.205.91 วันที่: 25 มกราคม 2554 เวลา:13:34:28 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

DR.MOO CAN DO
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]




ผมเป็น นิติพยาธิแพทย์ หรือ จะเรียกว่า หมอนิติเวช ก็ได้ครับ นิติพยาธิแพทย์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปีแล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง นิติพยาธิอีก 3 ปี และเมื่อสอบผ่าน ก็จะได้รับวุฒิบัตรเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ และได้เป็นนิติพยาธิแพทย์ โดยสมบูรณ์
หน้าที่ของหมอนิติเวช แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ
ส่วนแรก จะเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยคดี โดยในผู้ป่วยคดีนั้นแพทย์นิติเวชจะมีหน้าที่ในการตรวจ และให้ความเห็นกับพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับบาดแผลที่ตรวจพบ ซึ่งตำรวจจะนำไปใช้ในการตั้งข้อกล่าวหากับคู่กรณี และหน้าที่ต่อมาของแพทย์นิติเวชคือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีดังกล่าว
ส่วนที่สอง จะเกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต โดยในกรณีผู้เสียชีวิตนั้นแพทย์นิติเวชมีหน้าที่ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุในกรณีตายผิดธรรมชาติตามที่กฎหมายกำหนด และหากมีความจำเป็นต้องผ่าชันสูตร ก็จะต้องมีการทำรายงาน และให้ความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุของการเสียชีวิต ส่งให้พนักงานสอบสวน สุดท้ายหน้าที่หลักที่สำคัญโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีนั้นๆครับ
ประวัติการศึกษา
1.แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
2.วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3.ประกาศนียบัตร “Crime Scene Investigation” โครงการร่วมระหว่าง International Law Enforcement Academy กับ Federal Bureau of Investigation Academy
4.ประกาศนียบัตร “การบริหารงานโรงพยาบาล” คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงาน
1.อาจารย์ประจำภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มศว.
2.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
3.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
4.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
5.วิทยากร หัวข้อ "ICD-10" ของกระทรวงสาธารณสุข
6.วิทยากร หัวข้อ "การตรวจสถานที่เกิดเหตุ" ของมูลนิธิร่วมกตัญญู และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.วิทยากรอบรมหลักสูตรนายร้อยตำรวจอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
8.วิทยากร หัวข้อ "KPI รายบุคคล" ให้กับโรงพยาบาลและมหาลัยวิทยาลัย ในภาครัฐ
9.วิทยากร หัวข้อ "Living will" ให้กับโรงพยาบาลในภาครัฐและเอกชน10.วิทยากร หัวข้อ "นิติเวชศาสตร์กับงานด้านโบราณคดี" ให้กับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
11.ร่วมเขียนหนังสือ "KPI รายบุคคล"
12.ร่วมเขียนหนังสือ "มาตรฐาน ICD-10, ICD-9"
13.ที่ปรึกษารายการ "เรื่องจริงผ่านจอ" และ "Redline"
14.บทความทางวิชาการและผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ 15 เรื่อง
15.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตั้งแต่ ปี พศ.2553
16.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ ฯ คณะแพทยศาสตร์ มศว. ตั้งแต่ปี พศ.2551
ผศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี (DR.MOO CAN DO)
New Comments
Friends' blogs
[Add DR.MOO CAN DO's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.