Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
13 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 

13 พย 52 อภิณหปัจจเวกขณ์ 5



วันนี้มาเขียนธรรมะอีกแล้วค่ะ   นกหนูปูปลาแถวบ้านก็ถูกจับถ่ายรูปลงบล็อกหมดแล้ว  คงเหลือแต่ธรรมะที่ยังรับเข้ามาใหม่ๆทุกวัน  ขอออกตัวก่อนนะคะว่าได้แต่เขียน   ส่วนตัวเราเองก็ยังอยู่ในมรรคค่ะคือยังอยู่ในหนทางเดินไปเรื่อยๆ ยังไม่ได้สำเร็จนะคะ ( มรรคานุคา) พยายามทำเต็มที่ตามกำลังวาสนาได้แค่ไหนก็แค่นั้นล่ะค่ะ   หลวงพ่อชาท่านว่า "ทำไปเรื่อยๆ ๆ"  เราเป็นลูกศิษย์ก็ต้องเชื่อฟังค่ะ  ค่อยๆทำไปไม่รีบร้อน   ท่านว่าบางคนมาถึงวัดลงรถได้ก็รีบเดินจงกรมทำอย่างกับจะเอาให้สำเร็จซะวันนั้น  


ต้องขออภัยบางท่านที่มาอ่านบล็อกแล้วเกิดความเครียดไว้ด้วยค่ะ


               แต่เพราะว่าเป็นเรื่องที่เราชอบและก็ดูเหมือนจะเป็นเรื่องเดียวที่สนใจเป็นจริงเป็นจังทั้งที่ปกติเป็นคนไม่ค่อยสนใจอะไรเป็นเรื่องเป็นราวเท่าไหร่   ที่ชอบก็คงเพราะมันเป็นสัจจธรรม  ไม่ว่าจะพลิกแพลงมองมุมไหน มองด้านใด   มองเมื่อไหร่ก็เป็นของจริงทั้งหมด  Absolute truth  ไม่ใช่ความจริงสัมพัทธ์กับอะไร  เป็นจริงด้วยตัวของมันเองไม่ขึ้นกับกาลเวลา  และเมื่อน้อมนำเข้าสู่ใจก็ทำให้ความทุกข์ความเร่าร้อนในใจนั้นเบาบางลงได้  แม้เพียงชั่วขณะก็ยังดี   พระรัตนตรัยจึงเป็นที่พึ่งที่แท้จริงและถาวรของเรา 


               เมื่อวันจันทร์เช้า ฟังเทศน์ทางวิทยุหลวงตามหาบัวได้มีโอกาสฟังเทศน์ของหลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ พระโพธิธรรมาจารย์เถระ วัดป่าเขาน้อย จ. บุรีรัมย์ ศิษย์ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เรื่อง อภิณหปัจจเวกขณ์ 5 ชื่อเรื่องและเนื้อเรื่องเป็นสิ่งที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน เพราะเราไม่เคยศึกษาอภิธรรม  และก็ยังไม่คิดจะศึกษา วันนี้พยายามค้นหาชื่อเรื่องดีใจที่เปิดพบใน เวปฟังธรรม จึงทบทวนลงมาไว้เพื่อเตือนความจำ  และเล่าสู่กันฟัง  ถ้าท่านใดเคยฟังหรือทราบแล้วก็ทบทวนนะคะ 


อภิณหปัจจเวกขณ์ 5 (ข้อที่สตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม คฤหัสถ์ก็ตาม บรรพชิตก็ตาม ควรพิจารณาเนืองๆ )



       1. ชราธัมมตา (ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้) 
       2. พยาธิธัมมตา (ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา ไมล่วงพ้นความเจ็บป่วยไปได้)
       3. มรณธัมมตา (ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้)
       4. ปิยวินาภาวตา (ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เราจักต้องมีความพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น)
       5. กัมมัสสกตา (ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เราทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักต้องเป็นทายาท ของกรรมนั้น )




       ข้อที่ควรพิจารณาเนืองๆ 5 อย่างนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อละสาเหตุต่างๆ มี ความมัวเมา เป็นต้น ที่ทำให้สัตว์ทั้งหลายตกอยู่ในความประมาท และประพฤติทุจริตทางไตรทวาร กล่าวคือ :-
       ข้อ 1 เป็นเหตุละหรือบรรเทาความเมาในความเป็นหนุ่มสาวหรือความเยาว์วัย
       ข้อ 2 เป็นเหตุละหรือบรรเทาความเมาในความไม่มีโรค คือ ความแข็งแรงมีสุขภาพดี
       ข้อ 3 เป็นเหตุละหรือบรรเทาความเมาในชีวิต
       ข้อ 4 เป็นเหตุละหรือบรรเทาความยึดติดผูกพันในของรักทั้งหลาย
       ข้อ 5 เป็นเหตุละหรือบรรเทาความทุจริตต่างๆ โดยตรง

       เมื่อพิจารณาขยายวงออกไป เห็นว่ามิใช่ตนผู้เดียวที่ต้องเป็นอย่างนี้ แต่เป็นคติธรรมดาของสัตว์ทั้งปวงที่จะต้องเป็นไป เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้เสมอๆ มรรคก็จะเกิดขึ้น เมื่อเจริญมรรคนั้นมากเข้า ก็จะละสังโยชน์ทั้งหลาย สิ้นอนุสัยได้.



ทรงอธิบายความแตกต่างในคุณสมบัติ ระหว่างพระอรหันต์สาวกผู้ปัญญาวิมุตติ กับ พระพุทธองค์เอง อย่างชัดเจนว่า
ในระดับสาวกแล้ว แม้พระอรหันต์ผู้ปัญญาวิมุตติ ก็มีคุณสมบัติเป็นเพียงผู้เดินตามมรรค (มรรคานุคา) เท่านั้น
ส่วนตถาคตเป็นมัคคัญญู (รู้มรรค) ตถาคตเป็นมัคควิทู (รู้แจ้งในมรรค) ตถาคตเป็นมัคคโกวิโท (ฉลาดในมรรค)

ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ หลุดพ้นแล้ว จากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ
                         เพราะความเบื่อหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ และความไม่ยึดมั่น จึงได้นามว่า“สัมมาสัมพุทธะ”.

ภิกษุทั้งหลาย! แม้ภิกษุผู้ปัญญาวิมุตต์ ก็หลุดพ้นแล้วจากรูป
จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ
                        เพราะความเบื่อหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ และความไม่ยึดมั่นจึงได้นามว่า“ปัญญาวิมุตต์”

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเป็นผู้หลุดพ้นจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ด้วยกันทั้งสองพวกแล้ว,
อะไรเป็นความผิดแผกแตกต่างกัน อะไรเป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน อะไรเป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกัน
                               ระหว่างตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ กับภิกษุผู้ปัญญาวิมุตต์ ?

                                                ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ
                                                          ได้ทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
                                                        ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครรู้ ให้มีคนรู้
                                        ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครกล่าว ให้เป็นมรรคที่กล่าวกันแล้ว

           ตถาคตเป็นมัคคัญญู(รู้มรรค), เป็นมัคควิทู(รู้แจ้งมรรค), เป็นมัคคโกวิโท(ฉลาดในมรรค);

ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสาวกทั้งหลายในกาลนี้เป็นมัคคานุคา(ผู้เดินตามมรรค) เป็นผู้ตามมาในภายหลัง.

                                                                 ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล
       เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกัน
                                  ระหว่างตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ กับภิกษุผู้ปัญญาวิมุตต์.

         
                                                     - พุทธสูตร ขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๑/๑๒๖.





 

Create Date : 13 พฤศจิกายน 2552
1 comments
Last Update : 18 พฤศจิกายน 2552 6:50:58 น.
Counter : 1663 Pageviews.

 

ธรรมสวัสดีค่ะ ศิษย์พี่
มาบล๊อกพี่ทีไรก็ได้ ธรรมะกลับไปทุกทีนะคะ อนุโมทนาบุญด้วยจ่ะ

ขอเสริมหน่อยนะคะ อภิณหปัจจเวกขณะ เป็นคำสวดในตอนที่พระทำวัดเช้า (และเย็น) นะคะแต่อาจจะสวดเป็นภาษาบาลี (บางวัดก็อาจจะสวดคำแปลด้วย) ที่พระนำมาสวดทุกเช้า(เย็น) ก็คงสวดเพื่อเกิดให้เป็นอนุสติ แก่ตนเอง และญาติโยมค่ะ ในตอนท้ายสวดว่า

"ปูโร นานัปปะการัสสะ อะสุจิโน" แปลว่า (ร่างกายของเรานี้) เต็มไปด้วย ของที่ไม่สะอาด มีประการต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว (ในร่างกายมนุษย์ เรามี 32 ประการ)

นานา+อัปการ=นานัปการ+อัสสะ=นานัปการัสสะ
สุจิ=สะอาด
อ=ไม่
โน=เป็น suffix หรือไวยากรณ์บอก กาล บอกกริยา หรือบอกสถานทางไวยากรณ์ อะไรสักอย่างนี่ค่ะ

(ในร่างกายมนุษย์ เรามี 32 ประการ บางตำราก็เรียก อาการ 32)

ภาษาบาลีใช้คำว่า ทวัตติงสาการ

เกสา-ผมทั้งหลาย
โลมา-ขนทั้งหลาย
นะขา-เล็บทั้งหลาย
ทันตา-ฟันทั้งหลาย
ตะโจ-หนัง
มังสัง-เนื้อ
นะหารู-เอ็นทั้งหลาย
อัฏฐี-กระดูกทั้งหลาย
อัฏฐิมิญชัง-เยื่อในกระดูก
วักกัง-ม้าม (แต่ทางการแพทย์ปัจจุบัน วักกัง/วักกะ แปลว่า ไต)
หะทะยัง-หัวใจ
ยะกะนัง-ตับ
กิโลมะกัง-พังผืด
ปิหะกัง-ไต (ส่วน ปิหกะ/ปิหกัง น่าจะแปลว่าม้าม)
ปัปผาสัง-ปอด
อันตัง-ไส้ใหญ่
อันตะคุณัง-สายรัดไส้
อุทะริยัง-อาหารใหม่
กะรีสัง-อาหารเก่า
ปิตตัง-น้ำดี
เสมหัง-น้ำเสลด
เสโท-น้ำเหงื่อ
เมโท-น้ำมันข้น
อัสสุ-น้ำตา
วะสา-น้ำมันเหลว
เขโฬ-น้ำลาย
สิงฆานิกา-น้ำมูก
ละสิกา-น้ำมันไขข้อ
มุตตัง-น้ำมูตร
มัตถะเก มัตถะลังคัง-เยื่อในสมอง

อาการ/อวัยวะ ทั้ง 32 ประการนี้ พระท่านให้พิจารณา ว่าเป็นของไม่สะอาด (แต่เมื่อมาประชุม กันแล้ว ก็ทำให้หลงไปว่า ร่างกายของคนเรา สวยงามหล่อ ก็เลยเกิดความหลง ความยึดมั่นถือมั่น เกิดกิเลส ตัณหา) ก็เป็นกุศโลบายของ พระพุทธองค์ ที่สอนให้มอง กองรูป ว่าเป็นของไม่สะอาด (อสุภะ)

ถ้าจะมองกลับไป (อย่างน้อยก็ย้อนไปประมาณเมื่อ 2552 ปีก่อน) คนโบราณนั้นมีความรู้เรื่อง anatomy มากพอสมควรนะคะจึงได้ ตั้งชื่ออวัยวะต่างๆ เอาไว้ละเอียด พอสมควร


//www.luongta.com/DharmaHtml/DharBoteEng/apinhaThai.htm

 

โดย: mcayenne94 12 พฤษภาคม 2554 15:37:49 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


mcayenne94
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 36 คน [?]




Bangkok

Kyoto

Sydney

Mcayenne94's Diary มีวัตถุประสงค์เพื่อบันทึกเรื่องราวของเจ้าของบ้านและสิ่งแวดล้อม ไม่มีวัตถุประสงค์ เพื่อการ จัดจำหน่าย ต้นไม้ดอกไม้ หรือสิ่งใด อนุญาตให้นำภาพถ่าย พร้อมชื่อMcayenneผู้ถ่ายภาพไปใช้ประโยชน์ได้ และสงวนสิทธิ์ไม่อนุญาตให้นำภาพถ่าย Mcayenne ไปใช้ โดยการดัดแปลงตัดต่อหรือลบชื่อภายในภาพ
Friends' blogs
[Add mcayenne94's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.