<<
กรกฏาคม 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
11 กรกฏาคม 2551
 

สิทธิของตนว่าด้วยการบังคับโทษในคดีอาญาและสิทธิผู้ต้องขัง

รู้เรื่องการบังคับโทษในคดีอาญาและสิทธิผู้ต้องขัง
เตือนใจ เจริญพงษ์

-ประชาชนควรรู้เรื่องการบังคับโทษในคดีอาญาและสิทธิผู้ต้องขังไว้ดังนี้
-----------------------------------------------------------------------------
- การบังคับโทษในคดีอาญา
เมื่อศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดไม่ว่าจะถึงที่สุดในศาลชั้นใดคำพิพากษาให้ลงโทษจำเลยต้องบังคับคดีโดยไม่ชักช้าโทษสำหรับผู้ที่กระทำความผิดมี 5 สถาน ได้แก่
1. ประหารชีวิต
2. จำคุก
3. กักขัง
4. ปรับ
5. ริบทรัพย์สิน
โทษประหารชีวิต
ผู้ต้องคำพิพากษาให้ประหารชีวิตหรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง มีสิทธิทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่คดีถึงที่สุด โดยยื่นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กรมราชทัณฑ์หรือเรือนจำที่ต้องคุมขังอยู่
-----------------------------------------------------------------------------
จำคุก
- กรณีความผิดที่มีโทษจำคุกและศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ถ้าผู้กระทำไม่เคยจำคุกมาก่อน หรือเคยถูกจำคุกเป็นความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือลหุโทษ ศาลอาจใช้ดุลยพินิจรอการลงโทษ หรือรอการกำหนดโทษก็ได้ (ไม่ต้องรับโทษจำคุกในเรือนจำ)
- ในกรณีที่ศาลมิได้สั่งรอการลงโทษหรือรอการกำหนดโทษ จำเลยจะถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำ / ทัณฑสถาน
- กำหนดโทษจำคุกอาจมีการเปลี่ยนแปลงไป หากได้รับการพระราชทานอภัยโทษ
-----------------------------------------------------------------------------
กักขัง
- ผู้ต้องโทษกักขังจะถูกกักขังไว้ในสถานที่สำหรับกักขังโดยเฉพาะ โดยสถานที่ดังกล่าวต้องไม่ใช่เรือนจำ
-----------------------------------------------------------------------------
ปรับ
- ผู้ต้องโทษปรับจะต้องชำระเงินค่าปรับภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา หากไม่ชำระจุถูกยึดทรัพย์สินใช้แทนค่าปรับหรือจะต้องถูกกักขังแทนค่าปรับ
- การกักขังแทนค่าปรับกำหนด 200 บาท ต่อ 1 วัน หากถูกควบคุมตัวมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นชั้นสอบสวนหรือชั้นศาล ศาลจะนำวันที่ถูกควบคุมตัวมาแล้วหักวันขังให้
- ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ปรับตั้งแต่ 80,000 บาท ผู้ต้องโทษปรับไม่มีเงินชำระค่าปรับอาจยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นที่พิพากษาคดีเพื่อขอทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับได้
-----------------------------------------------------------------------------
ริบทรัพย์สิน
ศาลมีอำนาจริบทรัพย์สินที่มีหรือได้มาโดยกระทำความผิด แต่หากทรัพย์สินที่ศาลสั่งให้ริบเป็นของบุคคลอื่น ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำความผิด บุคคลนั้นสามารถยื่นคำร้องขอคืนทรัพย์ได้
-----------------------------------------------------------------------------
- สิทธิของผู้ต้องขัง
1. สิทธิที่จะได้รับการติดต่อเยี่ยมเยียนจากญาติ
2. สิทธิในการได้พบทนายความ
3. สิทธิร้องทุกข์ขอความเป็นธรรม
4. เมื่อคดีเสร็จเด็ดขาด (นักโทษเด็ดขาด) มีสิทธิในการยื่นทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษเป็นรายบุคคล
5. สิทธิได้รับใบสำคัญในการปล่อยตัว (ใบบริสุทธิ์)
- ประโยชน์ที่นักโทษเด็ดขาดจะพึงดีรับหากประพฤติตนดี
1. ได้รับความสะดวกในเรือนจำตามที่อธิบดีกำหนด
2. เลื่อนชั้น
3. ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเหลือพนักงานเรือนจำ
4. ลาไม่เกิน 4 วัน (ไม่รวมเวลาที่ใช้ในการเดินทาง)
5. พักการลงโทษ
6. ลดวันต้องโทษจำคุก
7. ได้รับการคัดเลือกออกทำงานสาธารณะนอกเรือนจำ โดยได้รับลดวันต้องโทษและอาจได้รับรางวัลด้วย
-----------------------------------------------------------------------------
- สิทธิในการรื้อฟื้นคดีอาญา
คดีอาญาที่ถึงสุดแล้วอาจมีการร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ได้เมื่อ
- พยานบุคคลขึ้นศาลได้อาศัยเป็นหลักในการพิพากษาคดีอันถึงที่สุดนั้น ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดภายหลังว่าคำเบิกความของพยานนั้นเป็นเท็จหรือไม่ถูกต้องตรงกับความจริง
- พยานหลักฐานอื่นซึ่งศาลได้อาศัยเป็นหลักในการพิจารณาพิพากษาคดีอันถึงที่สุดนั้น ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในภายหลังว่าเป็นพยานหลักฐานปลอมหรือเท็จ
- มีพยานหลักฐานใหม่อันแจ้งชัดและสำคัญแก่คดีที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าบุคคลซึ่งต้องรับโทษไม่ได้กระทำความผิด
-----------------------------------------------------------------------------

ผู้มีสิทธิยื่นคำร้อง
1. บุคคลผู้ต้องรับโทษอาญาโดยคำพิพากษาถึงที่สุด
2. ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลในกรณีที่ผู้ต้องรับโทษเป็นผู้เยาว์หรือคนไร้ความสามารถ
-----------------------------------------------------------------------------
ระยะเวลาการยื่นคำร้อง
- ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ปรากฏข้อเท็จจริง หรือภายใน 10 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาในคดีเดิมถึงที่สุด แต่เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ ศาลจะรับคำร้องที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวไว้พิจารณาก็ได้
---------------------------------------------------------------------------















 

Create Date : 11 กรกฎาคม 2551
0 comments
Last Update : 3 พฤศจิกายน 2551 14:55:53 น.
Counter : 1291 Pageviews.

 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

justice0009
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




[Add justice0009's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com