<<
เมษายน 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
22 เมษายน 2554
 

แล้ว"จริยธรรมล่ามในศาลยุติธรรมบ้านเรา"นั้นเป็นอย่างไร

เตือนใจ เจริญพงษ์
เมื่อวานนี้ 21 เม.ย. เป็นวันครบศาลยุติธรรม
บังเอิญมีภารกิจงานที่ต่างจังหวัด
จึงไม่ได้นำบทความ เรื่อง "จริยธรรมล่ามในศาลยุติธรรม"
ของท่าน สราวุธ เบญจกุล รองเลขาธิการ สนง.ศาลยุติธรรมมาฝาก
แบบสดๆๆ ไม่ว่ากันนะคะ
.................................................................................................
อ่านกันนะคะ
21 เมษายน 2554 เป็นวันสถาปนาศาลยุติธรรมครบรอบ 129 ปี
ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาศาลยุติธรรม
ทำหน้าที่ในการอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชนมาโดยตลอด
มีการพัฒนากระบวนการพิจารณาให้เหมาะสม
กับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง
................................................................................................. จนมาถึงปัจจุบันที่สังคมโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก
การติดต่อสื่อสารหรือการเดินทางระหว่างประเทศเป็นไปด้วยความรวดเร็ว
และสะดวกสบายมากขึ้นกว่าแต่ก่อน
ดังนั้น โอกาสที่ชาวต่างชาติจะเป็นผู้เสียหาย
เป็นพยานหรือเป็นผู้กระทำความผิดในคดี
ที่ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในประเทศไทย
จึงมีมากขึ้นด้วยเช่นกัน
................................................................................................. คดีชาวต่างชาติที่อยู่ในความสนใจของประชาชน
ได้แก่ คดีวิคเตอร์ บูท และคดีราเกซ สักเสนา เป็นต้น
.................................................................................................
ปัญหาที่ตามมา คือ.....
หากชาวต่างชาติที่เกี่ยวข้องกับคดี
ไม่ว่าจะ..เป็นโจทก์ จำเลย ...เป็นผู้ต้องหา ผู้เสียหายหรือพยานนั้น
ไม่สามารถสื่อสารภาษาของประเทศนั้นๆได้
กระบวนการยุติธรรมจะดำเนินไปอย่างไร....?
.................................................................................................
“ล่าม” .....จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ
เป็นตัวกลางในการสื่อสารแปลความหมาย
จากภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่ง
สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง
ในคดีที่เป็นชาวต่างชาติในระหว่างดำเนินกระบวนการพิจารณา
เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมสามารถดำเนินต่อไปได้
.................................................................................................
ในระดับสากลกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง
และสิทธิทางการเมือง พ.ศ. 2509
(International Covenant on Civil and Political Rights,1966)
ซึ่งประเทศไทยเข้าเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง
และสิทธิทางการเมืองโดยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539
โดยมีผลใช้บังคับกับประเทศไทยเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2540 ระบุว่า
.................................................................................................
“ในการตัดสินคดีข้อหาทางอาญา
ทุกคนชอบที่จะได้รับหลักประกันขั้นต่ำอย่างเสมอภาคโดยเต็มที่
คือ ต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างไม่คิดมูลค่าหรือไม่มีค่าตอบแทน
ในเรื่องล่าม ถ้าผู้นั้นไม่สามารถเข้าใจภาษาที่ใช้ในศาลนั้นได้
.................................................................................................
สำหรับประเทศไทย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 13
บัญญัติให้การสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง
หรือพิจารณาคดีให้ใช้ภาษาไทย
.................................................................................................
แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องแปลภาษาไทยท้องถิ่น
หรือภาษาถิ่นหรือภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย
หรือต้องแปลภาษาไทยเป็นภาษาไทยท้องถิ่น
หรือภาษาถิ่นเป็นภาษาต่างประเทศให้ใช้ล่ามแปล
กรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นชาวต่างประเทศไม่สามารถพูด
หรือเข้าใจภาษาไทยได้
.................................................................................................
หากผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่ได้นำล่ามมาแปลเอง
กฎหมายกำหนดให้พนักงานอัยการหรือศาลจัดหาล่ามให้
กรณีผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่สามารถพูดหรือได้ยิน
หรือสื่อความหมายได้
................................................................................................. เช่น ...หูหนวกหรือเป็นใบ้
กฎหมายบัญญัติให้ศาลจัดหาล่ามภาษามือให้
ผู้ที่จะมาทำหน้าที่ล่ามนั้นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในภาษานั้นๆ
.................................................................................................
สำหรับภาษาที่เป็นสากล
เช่น ...ภาษาอังกฤษ
สำนักงานศาลยุติธรรมได้จัดให้มีการอบรมเพื่อสร้างความเชี่ยวชาญ
ให้แก่ล่าม แต่สำหรับภาษาอื่นๆ
เช่น ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาพม่า
หรือภาษามือฯลฯนั้นยังไม่ได้จัดการอบรมเช่นภาษาอังกฤษ
.................................................................................................
หากล่ามไม่มีความรู้ ความสามารถ
หรือมีความเชี่ยวชาญเพียงพอ
อาจก่อให้เกิดปัญหาในการดำเนินกระบวนพิจารณาได้
.................................................................................................
สำนักงานศาลยุติธรรม
ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการทำหน้าที่ล่าม
จึงจัดทำประมวลจริยธรรมล่ามในศาลยุติธรรม ทั้งหมด 5 ข้อ
เพื่อให้การทำหน้าที่ ”ล่าม”
เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
เป็นไปอย่างถูกต้อง เที่ยงตรง เป็นธรรม และ สามารถตรวจสอบได้
.................................................................................................
ประมวลจริยธรรมล่ามในศาลยุติธรรม
ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.)
เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
.................................................................................................
ข้อ 1 หน้าที่ที่สำคัญของล่ามในศาลยุติธรรมคือ แปลภาษาไทยท้องถิ่น ภาษาถิ่น ภาษาต่างประเทศ ภาษามือ หรือสื่อความหมายโดยวิธีอื่น
.................................................................................................โดยจักต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เป็นกลาง ปราศจากอคติ ประพฤติตนตามกฎหมายและทำนองคลองธรรม อยู่ในกรอบศีลธรรมและจริยธรรม มีความรู้และความเข้าใจในภาษาที่แปลอย่างถ่องแท้และมีความพร้อมที่จะเสียสละเพื่อส่วนรวมเป็นสำคัญ ทั้งจักต้องแสดงให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนด้วยว่าตนปฏิบัติเช่นนี้อย่างเคร่งครัดครบถ้วน
.................................................................................................
กรณีที่ล่ามมีหรืออาจมีผลประโยชน์ขัดกันในคดี
ล่ามจักต้องแจ้งถึงผลประโยชน์ขัดกันที่มีอยู่หรืออาจจะมีในคดีให้ศาลแจ้งผู้รับผิดชอบราชการศาลทราบ พฤติการณ์ที่อาจสันนิษฐานได้ว่าจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ขัดกันในคดีดังกล่าวรวมถึงกรณีดังต่อไปนี้เช่น ล่ามเป็นเพื่อน หรือญาติของคู่ความหรือทนายความของคู่ความ ล่ามเคยปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับคดีหรือเคยตระเตรียมคดีนั้นมาก่อน ล่าม คู่สมรสของล่ามหรือบุตรมีส่วนได้เสียทางการเงินในเรื่องที่พิพาทหรือกับคู่ความในกระบวนพิจารณาคดี หรือมีส่วนได้เสียอื่นใดกับคดี
.................................................................................................
ข้อ 2 ในขณะปฏิบัติหน้าที่ ล่ามต้องปฏิบัติหน้าที่¬ให้อยู่ในขอบเขตของการแปล และไม่ให้คำแนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นแก่บุคคลที่ตนปฏิบัติหน้าที่เป็นล่าม ทั้งต้องไม่กระทำการใดๆ ที่อาจถือได้ว่าเป็นการทำหน้าที่อื่นนอกจากการแปลล่ามควรจำกัดบทบาทของตนเองไว้เฉพาะการแปล ทั้งการแปลคำพูด เอกสาร ภาษามือ หรือสื่อความหมายโดยวิธีอื่นใด และต้องแปลให้ถูกต้องและครบถ้วน โดยไม่เปลี่ยนแปลง ตัดทอน หรือเพิ่มเติมข้อความหรือสิ่งอื่นใด ทั้งต้องไม่อธิบายความหมายเพิ่มเติมในการแปลด้วย
.................................................................................................
ข้อ 3 ล่ามต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเรียบร้อยและเคารพนับถือศาล ทั้งควรทราบและปฏิบัติตามกระบวนพิจารณาคดีในศาล ระเบียบ กฎเกณฑ์ ตลอดจนขั้นตอนในการแปล ล่ามควรพูดในอัตราความเร็วและระดับเสียงที่สามารถได้ยินทั่วทั้งห้องพิจารณา และควรแต่งกายให้สุภาพเพื่อเป็นการให้ความเคารพศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณา อีกทั้งล่ามควรหลีกเลี่ยงการกระทำใด ๆ ไม่ว่าในทางส่วนตัวหรือทางวิชาชีพที่จะก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อศาล
.................................................................................................ข้อ 4 กรณีที่ศาลมีคำสั่ง ล่ามต้องแสดงหนังสือรับรองการฝึกอบรมหรือประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการแปลอย่างถูกต้องและครบถ้วน และ
.................................................................................................
ข้อ 5 ล่ามต้องรักษาข้อมูลเกี่ยวกับคดีที่ตนปฏิบัติหน้าที่ไว้เป็นความลับ
แม้ว่าล่ามจะต้องรักษาความลับในข้อเท็จจริงที่ตนได้ล่วงรู้จากการปฏิบัติหน้าที่ก็ตาม แต่หากข้อมูลที่ตนล่วงรู้มานั้นเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงแก่บุคคลหรือเป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับอาชญากรรมซึ่งจะเกิดขึ้นในระหว่างกระบวนพิจารณา ล่ามพึงแจ้งข้อมูลดังกล่าวต่อผู้รับผิดชอบราชการศาลในทันที
ล่ามต้องไม่สนทนา รายงาน หรือให้ความเห็นใดๆ ต่อสาธารณะเกี่ยวกับคดีที่ตนมีส่วนเกี่ยวข้อง แม้ว่าข้อมูลดังกล่าวจะมิใช่ข้อมูลลับเฉพาะหรือมีกฎหมายบัญญัติไว้ให้เป็นความลับก็ตาม
.................................................................................................หากมีการบังคับใช้และปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมล่ามอย่างเคร่งครัด ย่อมเป็นหลักประกันความยุติธรรมให้กับประชาชนอีกทางหนึ่ง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนว่าทุกคนสามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้โดยไม่มีการแบ่งแยกแม้จะต่างชาติต่างภาษา เป็นมาตรฐานเพื่อนำไปสู่ความยุติธรรมที่ก้าวไกล โปร่งใส และเป็นธรรม
.................................................................................................
จบแล้วคะ
เรื่องนี้จำเป็นมากๆๆ
นึกถึงถ้าเป็นเราบ้าง ไปต่างถิ่น สื่อสารกันไม่รู้เรื่อง
ก็ลำบากนะคะ ถือเป็นความพยายามของศาลยุติธรรม
ที่จะสร้างมาตรฐานในกระบวนการพิจารณาให้เป็นธรรมจริงๆ
ก็....ให้คะแนนเต็มนะคะ
.................................................................................................



Create Date : 22 เมษายน 2554
Last Update : 22 เมษายน 2554 8:32:27 น. 3 comments
Counter : 862 Pageviews.  
 
 
 
 
 
 

โดย: คนเดินดิน (หน้าใหม่อยากกรอบ ) วันที่: 8 สิงหาคม 2554 เวลา:12:53:03 น.  

 
 
 
 
 

โดย: คนเดินดิน (หน้าใหม่อยากกรอบ ) วันที่: 12 สิงหาคม 2554 เวลา:14:46:00 น.  

 
 
 
 
 

โดย: SassymOn วันที่: 29 พฤศจิกายน 2554 เวลา:1:43:25 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

justice0009
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




[Add justice0009's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com