มิถุนายน 2551
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
5 มิถุนายน 2551
 

กองทุนยุติธรรม ... ช่วยผู้ไม่ได้รับความเป็นธรรมได้จริงหรือ ?

เตือนใจ เจริญพงษ์


เมื่อปีพ.ศ.2549 กระทรวงยุติธรรมได้จัดตั้งกองทุนยุติธรรมขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนให้เป็นไปด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ง่ายขึ้น ดำเนินงานในรูปของคณะกรรมการบริหารกองทุนยุติธรรม มีปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นประธาน และผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรมเป็นเลขานุการคณะกรรมการ
..............................................................................................

.......ที่ผ่านมากองทุนยุติธรรมได้รับความสนใจจากประชาชนที่ยากจนและไม่ได้รับความเป็นธรรม มาขอรับบริการให้ช่วยเหลือมาโดยตลอด ผ่านช่องทางต่าง ๆ ของกระทรวงยุติธรรม ได้แก่ สำนักงานยุติธรรมจังหวัดซึ่งมีที่ตั้งอยู่ทุกจังหวัด คลินิกยุติธรรมของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพและสำนักงานกิจการยุติธรรม
............................................................................................


ถึงวันนี้กองทุนยุติธรรมยังคงมีปฏิบัติหน้าที่กระทำกิจการต่าง ๆ เช่น สนับสนุนเงินหรือค่าใช้จ่ายในการวางเงินประกันการปล่อยตัวชั่วคราว สนับสนุนเงินหรือค่าใช้จ่ายในการจ้างทนายความว่าความในคดีอาญา คดีแพ่งและคดีปกครอง สนับสนุนเงินหรือค่าใช้จ่ายในการชำระค่าธรรมเนียมศาลในคดีแพ่งและคดีปกครอง รวมทั้งสนับสนุนเงินหรือค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์
.................................................................................................

นอกจากนี้เกณฑ์การพิจารณาให้การสนับสนุนเงินกองทุนยุติธรรมคณะกรรมการบริหารกองทุนยุติธรรมยังต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์หลายประการ ได้แก่

1. ความสามารถในการให้ความช่วยเหลือของกองทุน
2. ลักษณะและโอกาสในการแพ้หรือชนะของคดี
3. ผลของคดีที่อาจจะส่งผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมของประเทศ
4. ฐานะของผู้รับความช่วยเหลือ
5. การให้ความช่วยเหลือจากกองทุนนี้จะต้องไม่ซ้ำซ้อนกับกรณีมีการช่วยเหลือตามกฎหมายอื่นอยู่แล้ว
.......................................................................................

ผู้เขียนได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้ทำงานกองทุนยุติธรรม มีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการให้ความช่วยเหลือดังนี้ว่า เนื่องจากกองทุนยุติธรรมมีลักษณะเป็นกองทุนหมุนเวียน
................................................................................................

....ดังนั้น ประเด็นหลักคือ คดีที่ประชาชนมาขอรับความช่วยเหลือต้องมีโอกาสชนะ ซึ่งเมื่อทางฝ่ายเลขานุการฯกองทุน ได้รับคำขอจากประชาชนแล้ว จะศึกษาข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย แล้วจัดทำความเห็นเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติ ซึ่งการพิจารณาว่าคดีมีโอกาสชนะหรือไม่นั้น มีแนวทางการพิจารณาพอเป็นตัวอย่าง ดังนี้
.....................................................................................

- กรณีผู้ร้องต้องการฟ้องหย่า จะต้องปรากฏเหตุฟ้องหย่าตามมาตรา 1516 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และต้องมีหลักฐานประกอบ เช่น

หากผู้ร้องอ้างว่าถูกอีกฝ่ายทำร้ายตามมาตรา 1516(3) ผู้ร้องอาจต้องแสดงหลักฐานการแจ้งความร้องทุกข์ หรือหลักฐานการตรวจ/รักษาร่างกาย หรือหากผู้ร้องอ้างเหตุฟ้องหย่าเพราะมีการยกย่องหญิงอื่น ก็ต้องมีพยานบุคคลที่สามารถให้คำยืนยันได้ เป็นต้น
....................................................................................

- กรณีผู้ร้องต้องการฟ้องให้มีการรับรองบุตร จะต้องปรากฏเหตุตามมาตรา 1555 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และต้องมีหลักฐานประกอบ เช่น ผู้ร้องต้องมีหลักฐานที่แสดงว่าบิดาเป็นผู้แจ้งการเกิด หรือผู้ร้องอ้างว่ามีการอยู่กินกันอย่างเปิดเผย ก็ต้องมีพยานบุคคลที่สามารถให้คำยืนยันได้ เป็นต้น
...........................................................................................

- กรณีการฟ้องเรียกทรัพย์มรดก จะต้องปรากฏว่า ผู้ร้องเป็นทายาท หรือผู้มีส่วนได้เสีย และคดีต้องไม่ขาดอายุความ แต่หากปรากฏว่าเป็นกรณีที่ทายาทบางคนครอบครองทรัพย์มรดกแทน ก็สามารถฟ้องได้ โดยไม่มีอายุความ ซึ่งอาจจะต้องค้นคว้าคำพิพากษาศาลฎีกามาประกอบด้วย
........................................................................................

- กรณีการฟ้องขอถอนคืนการให้เพราะเหตุเนรคุณ จะต้องมีเหตุที่จะถอนคืนการให้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531 เพราะมีบางกรณีที่จะไม่สามารถถอนคืนการให้ได้ เช่น ให้เป็นบำเหน็จสินจ้าง ให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน ให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา และให้ในการสมรส ทั้งนี้ ตามมาตรา 535
.............................................................................................

- กรณีฟ้องเรียกค่าเสียหายหรือสินไหมทอดแทน เพราะถูกละเมิด เช่นถูกรถชน ถูกข่มขืนกระทำชำเรา อาจพิจารณาโอกาสในการชนะคดี โดยการประสานไปยังพนักงานสอบสวน เพื่อสอบถามรายละเอียดข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งความเห็นเบื้องต้นของพนักงานสอบสวน หากปรากฏว่าพนักงานอัยการได้มีคำสั่งฟ้องคดีแล้ว อาจถือได้ว่า มีโอกาสในการชนะคดีเพราะพนักงานอัยการได้ใช้ดุลยพินิจในระดับหนึ่งแล้ว
..................................................................................................
- กรณีต้องการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ จะต้องปรากฏว่ามีพยานหลักฐานใหม่ที่ชัดแจ้งและสำคัญซึ่งถ้าได้นำมาสืบ จะแสดงว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิด หรือศาลได้มีคำพิพากษาว่าพยานหลักฐานเดิมเป็นเท็จ ตามมาตรา 5 ของพระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 แต่คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ห้ามยื่นเกิน 1 ปี นับแต่วันปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวหรือภายใน 10 ปี นับแต่วันที่คดีเดิมถึงที่สุด
..............................................................................................

นอกจากนั้น ในทุกกรณีหากจำเป็นต้องมีพยานบุคคลในกรณีต่าง ๆ ก็จะมีการประสานผู้ร้องว่ามีพยานบุคคลหรือไม่ พร้อมทั้งขอชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ หรือช่องทางการสื่อสารอื่นที่สามารถติดต่อประสานสอบถามพยานนั้น ๆ ได้
...........................................................................................

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า กองทุนยุติธรรมมิได้ให้การช่วยเหลือประชาชนในทุกกรณีตามที่ประชาชนเข้าใจ คดีที่มีโอกาสจะชนะเท่านั้นที่กองทุนยุติธรรมจะให้การช่วยเหลือสนับสนุนเพราะเมื่อกองทุนยุติธรรมให้การช่วยเหลือ จะให้การช่วยเหลือทั้งค่าทนายความและค่าธรรมเนียมศาล(โดยทางกองทุนยุติธรรมจะจ่ายค่าทนายความให้กับทนายความโดยตรง
...............................................................................................

ค่าธรรมเนียมศาล ก็จะออกเป็นเช็คสั่งจ่ายให้กับศาลที่จะรับฟ้องคดีนั้นโดยตรงเช่นกัน ส่วนในเรื่องการประกันตัวนั้น กองทุนยุติธรรมจะนำเงินไปซื้อประกันอิสรภาพให้กับผู้ขอ) ดังนั้น เมื่อคดีที่กองทุนให้การช่วยเหลือชนะ โดยปกติศาลจะมีคำสั่งให้ฝ่ายที่แพ้คดีจ่ายค่าธรรมเนียมศาลและ/หรือค่าทนายความแทนโจทก์ และเงินในส่วนที่ศาลสั่งจ่ายมาตรงนี้แหละที่จะเป็นภาระของผู้ขอที่จะต้องนำมาคืนกองทุนยุติธรรมเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนต่อไป
.............................................................................................

ประเภทของคดีที่มาขอรับการช่วยเหลือ
...................................................................................................
อาจกล่าวได้ว่า คดีที่ประชาชนมาขอรับการช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรมมีทุกประเภทคดี เช่น คดีฟ้องหย่า ฟ้องขอจัดการมรดก ฟ้องขับไล่ ฟ้องละเมิดเรียกค่าเสียหาย ฟ้องฐานผิดสัญญา คดีที่เกี่ยวกับการพิพากในกรรมสิทธิ์ในที่ดิน คดีเกี่ยวกับยาเสพติด คดีที่ถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำละเมิด คดีอาญาที่จำเลยต้องการทนายความเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ ฯลฯ
...............................................................................................

ซึ่งเท่าที่ผ่านมา นับแต่เดือนสิงหาคม 2549 ที่กองทุนยุติธรรมได้เริ่มดำเนินการ ปรากฏว่าประชาชนมีคำขอมาทั่วประเทศ ณ ปัจจุบัน มีคำขอเข้ามาแล้ว 400 กว่าคดี ส่วนใหญ่จะเป็นการขอความช่วยเหลือด้านทนายความและค่าธรรมเนียมศาลคู่กันมา และก็ได้รับการช่วยเหลือไปพอสมควร
................................................................................................

*สำนักงานยุติธรรมจังหวัดขอนแก่น
................................................................................................

ได้รับทราบวัตถุประสงค์และถือปฏิบัติโดยได้ประชาสัมพันธ์ทุกสื่อรวมทั้งลงพื้นที่ให้ประชาชนทราบ มีผู้มาติดต่อยื่นเรื่องเพื่อให้กองทุนช่วยเหลือจำนวนหลายรายเช่น

คดีเกี่ยวกับเนรคุณ คดีละเมิดเรียกค่าเสียหาย , คดีฟ้องหย่าเรียกค่าเลี้ยงดู , ซึ่งคดีทั้งหมดอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาลชั้นสืบพยาน คดีที่เสร็จเรียบร้อยมีหนึ่งคดีคือคดีฟ้องหย่าซึ่งผู้ยื่นคำขอถูกสามีทิ้งไปเป็นเวลา 10 ปีเศษ โดยปล่อยให้ผู้ร้องเลี้ยงดูบุตร 2 คนตามลำพัง ทำให้ผู้ร้องเดือดร้อน
.................................................................................................

เนื่องจากบุตรของผู้ร้องทั้งสองกำลังอยู่ในวัยเรียน ผู้ร้องจึงไม่สามารถใช้อำนาจปกครองบุตรได้อย่างเต็มที่ ผู้ร้องได้ยื่นคำขอรับการสนับสนุนกองทุนยุติธรรมและกองทุนได้ให้ความช่วยเหลือเงินค่าทนาย ขณะนี้ ศาลได้มีคำพิพากษาให้หย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยา และให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ผู้ร้องดีใจมากเพราะเมื่อก่อนไม่มีหน่วยงานไหนให้ความช่วยเห่ลือเลย และทางสำนักงานยุติธรรมจ.ขอนแก่นเองก็มีความรู้สึกดีใจกับผู้ร้องด้วยที่ได้ช่วยเหลือผู้ร้อง และรู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นตัวแทนของรัฐ ทำหน้าที่ช่วยเหลือประชาชนและมั่นใจว่ากองทุนยุติธรรมสามารถช่วยเหลือผู้ที่ร้อนในรายอื่น ๆ อื่นจำนวนมาก ทำให้ประชาชนมั่นใจในกระบวนการยุติธรรมอย่างแท้จริง

.................................................................................................

*กองทุนยุติธรรมสามารถพัฒนากระบวนการยุติธรรมเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้เสมอภาคเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ให้ความไว้วางใจและเปิดใจยอมรับในกระบวนการยุติธรรมมากขึ้น การช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ของกองทุนยุติธรรมประชาชนในระดับรากหญ้า(จริง ๆ)ได้รับการตอบสนองต่อความต้องการตรงตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ มีทัศนคดีที่ดีและมีความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรม โดยเห็นได้จากการมาขอรับบริการของประชาชน
...............................................................................................

ในส่วนของการช่วยเหลือในงานของกองทุนยุติธรรมของสำนักงานยุติธรรมระนอง
.................................................................................................

เนื่องจากประชาชนในพื้นที่ได้ทราบข้อมูลกองทุนยุติธรรมจากการประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานส่วนมากจะขอรับการสนับสนุนเป็นค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างทนายความ และค่าธรรมเนียมศาล ส่วนการประกันการปล่อยตัวชั่วคราวนั้นสำนักงานยุติธรรมจังหวัดระนองได้รับคำขอมาจำนวน 2 ราย แต่ไม่ได้รับอนุมัติทั้งสองรายเนื่องจากขั้นตอนในการปฏิบัติยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควรในส่วนของภูมิภาคเพราะยังไม่สามารถช่วยเหลือได้ทันท่วงที ส่วนในการให้บริการนั้น จะให้บริการในลักษณะเป็นกันเอง ไม่มีแบบหรือขั้นตอนให้ยุ่งยากแต่ยังคำนึงถึงหลักเกณฑ์ของกองทุนยุติธรรมในการให้ข้อมูล ให้คำปรึกษาและจะทำให้ผู้ขอรับบริการรู้สึกว่าไม่ถูกทอดทิ้งจากความเป็นธรรม

................................................................................................

ปัญหาอุปสรรคอาจมีบ้างในส่วนของการให้ข้อเท็จจริงและการเตรียมเอกสารมาประกอบแต่จะคอยประสานกับส่วนกลางหาวิธีแก้เป็นเรื่อง ๆ ไป
หน้าที่หลักคืองานบริการประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการให้คำปรึกษากฎหมาย รับคำร้องคุ้มครองสิทธิ์ ให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ สิ่งสำคัญมาก ๆ คือ ต้องทำให้เขารู้จักเราก่อนว่าเราเป็นใครอยู่หน่วยงานไหน ช่วยเหลือเขาได้อย่างไร เราก็แจ้งเขาว่าการยื่นคำร้องกับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพนี้จะไม่เป็นการตัดสิทธิในการรับเงินเบี้ยประกันเงินจากคู่กรณี หรือไม่ตัดสิทธิในการฟ้องแพ่งแล้วมาหวนคิดแล้วชาวบ้านฐานะยากจน มีรายได้วันละ 100 บาท จะเอาเงินที่ไหนไปจ้างทนายมาฟ้องแพ่งกันล่ะ
..............................................................................................

......จึงกลับมาดูเงื่อนไขและทำความเข้าใจกับคำว่ากองทุนยุติธรรมเลยได้รู้ว่านี่แหละเป็นสิทธิ์ที่เป็นทางออกหนึ่งของประชาชน โดยเฉพาะรากหญ้า ประจวบกับพักหลังนี้มีโอกาสได้ลงพื้นที่บ่อยมาก ๆ เลยเห็นปัญหาความยากลำบากของชาวบ้านที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ บางคนคร่ำครวญร้องไห้ด้วยความอึดอัดคับข้องใจด้วยไม่รู้จะอธิบายออกมาอย่างไร ว่าตนถูกเอารัดเอาเปรียบจากคนที่มีการศึกษา มีอำนาจเงิน อ้างความถูกต้องตามกฎหมายมาข่มเหงคนยากไร้
.................................................................................................

นอกจากนี้ผู้เขียนขอนำเสนอเรื่องราวการร้องขอความเป็นธรรมของประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อและไม่ได้รับความเป็นธรรม
.................................................................................................
จากทั้งการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรมและระบบงานยุติธรรมจำนวน 3 เรื่อง พอสังเขป
..............................................................................................

*เรื่องแรก
.................................................................................................

กรณีของนางส.นามสมมุติ ผู้ร้องมีหนังสือขอความเป็นธรรมต่อนายกรัฐมนตรีและสำนักนายกรัฐมนตรีได้สั่งให้กระทรวงยุติธรรมพิจารณาดำเนินการ และคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ กรณีด.ช. อ.นามสมมุติ บุตรชายผู้ร้องถูกยิงเสียชีวิตขณะเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจแห่งหนึ่งยิงสกัดจับผู้ร้าย ผู้ร้องขอให้ติดตามผู้กระทำความผิดมาลงโทษและชดใช้ค่าเสียหายโดยศาลอาญา มีคำพิพากษายกฟ้องผู้ต้องหาในคดีอาญาโดยเชื่อว่าคนร้ายไม่ใช่คนที่ยิงเด็ก ส่วนศาลแพ่งเชื่อว่าวิถีกระสุนเป็นของคนร้าย
................................................................................................

ซึ่งสถานีตำรวจแห่งนั้นได้ให้การช่วยเหลือเยียวยาผู้ร้อง คณะกรรมการเพื่อพิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์ซึ่งส่งเรื่องนี้ให้กองทุนยุติธรรมพิจารณาต่อมาเลขานุการคณะกรรมการบริหารกองทุนยุติธรรมได้แจ้งผลการพิจารณาให้นางส.นามสมมุติที่คณะกรรมการมีมติอนุมัติเงินช่วยเหลือตามที่แจ้งว่าได้รับความเดือดร้อนและต้องกู้เงินมาเพื่อจ้างทนายความในการดำเนินคดี ซึ่งปัจจุบันยังค้างค่าจ้างทนายความอยู่เป็นเงิน 10,000 บาท
.............................................................................................

เรื่องที่สอง
................................................................................................

ข้อเท็จจริงแห่งคดี
...............................................................................................

ผู้ร้อง(นางสาว พ. นามสมมุติ) อ้างว่าผู้ร้องเป็นบุตรของนางส.นามสมมุติ ซึ่งถูกตำรวจสถานีตำรวจแห่งหนึ่งจับในข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจร โดยพฤติการณ์คือ ในวันที่ ... เดือน ... เวลา 12.30 น. มารดาผู้ร้องได้ไปเดินซื้อของที่ตลาดแห่งหนึ่ง มีแม่ค้ารายหนึ่งมากล่าวหามารดาผู้ร้องที่ขโมย พอดีมีเจ้าหน้าที่ตำรวจผ่านมาและเชิญให้ไปคุยกันที่สถานีตำรวจ มารดาผู้ร้องจึงเดินทางไปที่สถานีตำรวจด้วยตนเองโดยรถสามล้อรับจ้างและโดนแจ้งข้อหาลักทรัพย์ มารดาผู้ร้องต้องการติดต่อญาติแต่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ยอมให้ออกไปโทรศัพท์ จนเวลาประมาณ 18.00 น.
................................................................................................

จึงได้โทรศัพท์หาผู้ร้อง แต่ไม่เจอ มารดาผู้ร้องจึงติดต่อไปยังเจ้าอาวาสวัดแห่งหนึ่งเพื่อขอความกรุณาเจ้าอาวาสให้นำเงินมาประกันตัวออกไปเป็นเงิน 60,000 บาท และผู้ร้องต้องไปยืมเงินมาสมบทอีก 30,000 บาท รวมเป็นเงินที่ใช้เป็นหลักประกันทั้งสิ้น 90,000 บาท
.................................................................................................

มารดาผู้ร้องได้ร้องเรียนที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติซึ่งคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมได้มีการประชุมกรณีของมารดาผู้ร้อง โดยเชิญเจ้าพนักงานตำรวจที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล ที่ประชุมเห็นว่ามารดาผู้ร้องถูกกล่าวหาว่าลักทรัพย์ก่อนวันที่มารดาผู้ร้องถูกจับ และมารดาผู้ร้องอ้างว่าไม่มีการแจ้งสิทธิของผู้ต้องหาให้ทราบแต่อย่างใด
ต่อมา พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญาแห่งหนึ่ง ได้ยื่นฟ้องมารดาผู้ร้องในข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจร
....................................................................................................
ผลการพิจารณา
.................................................................................................

กรณีนี้แม้มารดาผู้ร้องได้ใช้เงินประกันตัวไปแล้ว แต่เงินที่ใช้ในการประกันตัว ผู้ร้องได้ไปยืมคนอื่นมาประกอบกับมารดาผู้ร้องได้ถูกจับกุมในความผิดที่มิใช่เป็นการกระทำความผิดซึ่งหน้า
............................................................................................

ซึ่งตำรวจไม่มีหมายจับ และคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมได้มีความเห็นเบื้องต้นไว้แล้ว ถือได้ว่ามารดาผู้ร้องได้รับความเดือดร้อน เพราะต้องไปกู้ยืมเงินมาเพื่อใช้ในการประกันตัว และไม่ได้รับความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม ตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยกองทุนยุติธรรม ข้อ 4 และพฤติกรรมที่มารดาผู้ร้องได้เดินทางไปสถานีตำรวจด้วยตนเอง เพราะเชื่อมั่นว่าไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิดกับทั้งมีพ่อค้าที่อยู่ใกล้เคียงได้เป็นพยานในขณะนั้นว่ามารดาผู้ร้องมิใช่ผู้กระทำความผิดแต่อย่างใด
...............................................................................................

คณะกรรมการบริหารกองทุนยุติธรรมจึงอนุมัติเงินกองทุนยุติธรรมเพื่อใช้เป็นหระกันในการปล่อยตัวชั่วคราวให้กับผู้ขอรับการสนับสนุนเป็นเงิน 6,500 บาท
..................................................................................................
เรื่องสุดท้าย
.................................................................................................

น.ส.ส.นามสมมุติ ผู้เสียหายได้นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ไปกับนายก.และนายอ.เพื่อไปเที่ยวบ้านของบุคคลทั้งสองตามคำชักชวน เพราะเห็นว่าเป็นคนรู้จัก เมื่อไปถึงสถานที่เกิดเหตุพบว่ามีกลุ่มวัยรุ่นประมาณ 20 คนมั่วสุมกันอยู่ จึงแน่ใจว่าถูกหลอกมาและได้พยายามโทรศัพท์ติดต่อญาติ แต่ถูกกลุ่มจำเลยแย่งเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่ไป
..............................................................................................

ต่อมาผู้เสียหายถูกกลุ่มของจำเลยข่มขืนอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง และหน่วงเหนี่ยวกักขังจนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายปราศจากเสรีภาพในร่างกาย พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องนายช.นามสมมุติ เป็นจำเลยกับพวกรวม 11 คน ต่อศาลจังหวัดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดหนึ่ง ในความผิดฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราหญิงอื่นที่มิใช่ภริยาของตนโดยใช้กำลังประทุษร้ายโดยหญิงอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้อันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงและหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่น ผู้เสียหายจึงต้องการฟ้องจำเลยกับพวกรวม 11 คนเพิ่มเติมในข้อหาชิงทรัพย์ พรากผู้เยาว์และเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง
.............................................................................................

จึงมายื่นคำขอรับการสนับสนุนเงินกองทุนยุติธรรมเพื่อใช้เป็นค่าจ้างทนายความเพื่อเป็นตัวแทนในการยื่นขอเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาที่อัยการเป็นโจทก์
................................................................................................
ผลการพิจารณา
................................................................................................
...เนื่องจากผู้ร้องและครอบครัวมีฐานะยากจนและไม่มีเงินค่าจ้างทนายความ ประกอบกับจำเลยในคดีนี้เป็นลูกหลานของผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น ผู้ร้องเกรงว่าจะไม่ได้รับความเป็นธรรมในคดี เพราะจำเลยทั้ง 11 คน บางคนเป็นลูกของตำรวจและข้าราชการครูในท้องถิ่น และมีทนายความเพื่อช่วยเหลือในการต่อสู้คดี 5 คน จึงอนุมัติให้ความช่วยเหลือด้านการจ้างทนายความเพื่อดำเนินคดีต่อไป
..........................................................................................

...จึงเชื่อได้ว่ากองทุนยุติธรรมเป็นทางเลือกหนึ่งของประชาชน ผู้ยากไร้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมทุกกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเป็นรูปธรรม จริงจัง ดังตัวอย่างคดีที่ได้ยกมาเพียง 3 คดีเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันมีคดีหลั่งไหลเข้ามาขอความช่วยเหลือและความเป็นธรรมเป็นจำนวนมาก…


Create Date : 05 มิถุนายน 2551
Last Update : 3 พฤศจิกายน 2551 15:37:43 น. 8 comments
Counter : 2687 Pageviews.  
 
 
 
 
อยากทราบว่า มีคดีฆ่าปาดคอกันตาย แล้วผู้ตายกำลังเรียนหนังสืออยู่ แต่ไม่ได้รับความเป้นธรรมเนื่องจากตำรวจได้ทำสำนวน ว่ามีการทะเลาะวิวาท ชุลมุน ทำให้ผู้เสียหายไม่ได้รับความเป็นธรรม และมีการจ้างทนายความว่าความ ผู้ปกครองสามารถยื่นคำขอรับเงินกองทุนได้รึเปล่าคะ ถ้าผลประการใด โปรดแจ้ง มาที่ coconut2552@hotmail.com ด้วยคะ ขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วยนะคะ
 
 

โดย: มะพร้าว IP: 118.175.145.64 วันที่: 18 สิงหาคม 2554 เวลา:13:31:19 น.  

 
 
 
ช่วยได้แน่หรือน้องสาวเราถูกผู้ชายต่อยหน้าแจ้งความแล้วแต่ยังเฉยๆอยู่เห็นมัมยังลอยนวลอยู่เลย
 
 

โดย: ปภาวี IP: 124.122.247.30 วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:20:43:25 น.  

 
 
 
ถูกใส่ร้ายว่าลักทรัพย์
 
 

โดย: เบียร์ IP: 118.174.128.142 วันที่: 31 พฤษภาคม 2555 เวลา:10:40:00 น.  

 
 
 
อยากทราบว่าถ้าเราไม่ได้ลัก ขโมยอะไรเขาเลยแต่จับคนขโมยไม่ได้เลยสร้างพยานขึ้นมาว่าคนนี้ขโมย และถูกจับสร้างพยานเท็จขึ้นมาต้องติดคุกด้วยหรอ กฏหมายไทย ทั้งๆๆๆไม่ได้ทำ ใครไม่ชอบความไม่ยุติธรรมโทรมาแนะนำหน่อย 0831912647 ขอขอบพระคุณใว้โอกาสนี้ด้วย
 
 

โดย: บ่าว IP: 118.174.128.142 วันที่: 31 พฤษภาคม 2555 เวลา:10:49:45 น.  

 
 
 
อยากทราบว่าถ้าเราไม่ได้ลัก ขโมยอะไรเขาเลยแต่จับคนขโมยไม่ได้เลยสร้างพยานขึ้นมาว่าคนนี้ขโมย และถูกจับสร้างพยานเท็จขึ้นมาต้องติดคุกด้วยหรอ กฏหมายไทย ทั้งๆๆๆไม่ได้ทำ ใครไม่ชอบความไม่ยุติธรรมโทรมาแนะนำหน่อย 0831912647 ขอขอบพระคุณใว้โอกาสนี้ด้วย
 
 

โดย: บ่าว IP: 118.174.128.142 วันที่: 31 พฤษภาคม 2555 เวลา:10:50:12 น.  

 
 
 
ถ้าช่วยเหลือคนที่ไม่ได้ทำผิดจิงคดีลูกสาวนุ๋คงหลุดคะขอขอบคุณคะทีมีกองทุนทั้งทีนุ๋ไม่เคยรุ้มาก่อนว่ามีกองทุนทนายไม่เห็นบอกคะ
 
 

โดย: จิราพร-โพธิบุตร IP: 1.47.68.103 วันที่: 4 กรกฎาคม 2559 เวลา:17:05:07 น.  

 
 
 
ถ้าช่วยเหลือคนที่ไม่ได้ทำผิดจิงคดีลูกสาวนุ๋คงหลุดคะขอขอบคุณคะทีมีกองทุนทั้งทีนุ๋ไม่เคยรุ้มาก่อนว่ามีกองทุนทนายไม่เห็นบอกคะ
 
 

โดย: จิราพร-โพธิบุตร IP: 1.47.68.103 วันที่: 4 กรกฎาคม 2559 เวลา:17:05:09 น.  

 
 
 
ผมยืมรถเพื่อนมาแล้วขับใปชนนักเรียน ม4กำลังข้ามถนนโดยเราย้อนศรทางคู่กรณีเรียกค่าทำขวัญ50000และเจ้าของรถที่ผมยืมใปชนนั้นก็ขอรถคืนโดยใช้สิทธทาง พ.ร.บเรื่องค่ารักษาทางคู่กรณีแล้วก็ยังเอารถออกคืนเจ้าของใม่ใด้อยากทราบว่ากองทุนยุติธรรมมีช่องทางช่วยเหลือหรือใม่เพราะผมมีฐานะยากจนมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน
 
 

โดย: ศักดิ์นรินทร์ ทรัพย์สุขสวัสดิ์ IP: 223.24.119.48 วันที่: 13 กรกฎาคม 2559 เวลา:10:29:09 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

justice0009
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




[Add justice0009's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com