<<
สิงหาคม 2558
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
4 สิงหาคม 2558
 

10 ข้อต้องรู้ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ฉบับล่าสุด! ก่อนตกเป็นจำเลย-ส่งต่อรูปดอกไม้ผิดไหม

10 ข้อต้องรู้ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ฉบับล่าสุด! ก่อนตกเป็นจำเลย-ส่งต่อรูปดอกไม้ผิดไหม


ขอขอบคุณข้อมูลจากมติชนออนไลน์ และขออนุญาตบันทึกไว้เป็นองค์ความรู้
เรื่องนี้มีความสำคัญมากต่อสังคมบ้านเราขณะนี้ มีรายสะเอียดดังนี้
//www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1438664531


กฎหมายลิขสิทธิ์ที่ออกมาทำให้เกิดความสับสนในสังคม

และมีคำถามตามมาว่าสิ่งใดทำได้สิ่งใดทำไม่ได้ 

กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ออกมาชี้แจงในเรื่องนี้

//www.matichon.co.th/online/2015/08/14386645311438664927l.jpg

วันที่ 4 ส.ค. - นางมาลี โชคล้ำเลิศ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา 
กล่าวถึงการคุ้มครองของกฎหมายลิขสิทธิ์ว่า หัวใจหลักของกฎหมายลิขสิทธิ์
อยู่ที่การห้ามทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่ต่อสาธารณะ 
แต่ก็มีข้อยกเว้นคือหากไม่ใช่การทำเพื่อการค้า มีการอ้างอิงที่มาก็สามารถทำได้ 
ภายใต้ข้อยกเว้นคือต้องไม่ทำให้ผลประโยชน์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ลดลง 
หรือกระทบกระเทือนถึงสิทธิ์ของเจ้าของ

สำหรับการนำข่าวจากหนังสือพิมพ์ไปเล่าในรายการเล่าข่าวนั้น 
หากเป็นเพียงการนำเอาข้อเท็จจริงไปนำเสนอในลีลาของตัวเอง
ถือว่าไม่มีความผิด แต่ก็จะต้องไม่ทำให้ยอดขายของหนังสือพิมพ์ลดลง 
เนื่องจากเป็นผลประโยชน์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ 
ส่วนกรณีการส่งต่อรูปดอกไม้ต่างๆ ในไลน์ 
ซึ่งเป็นรูปที่มีลิขสิทธิ์ถือว่ามีความผิด อย่างไรก็ตาม 
เป็นความผิดที่สามารถยอมความได้

นางมาลีกล่าวว่า กฎหมายลิขสิทธิ์มีมานานแล้ว 
แต่ที่ผ่านมาไม่มีการบังคับใช้อย่างจริงจัง 
จึงอยากฝากเตือนประชาชนหากไม่แน่ใจว่าการกระทำดังกล่าวละเมิดลิขสิทธิ์
หรือไม่ก็ไม่ควรทำ ทั้งนี้ เจ้าของลิขสิทธิ์จะต้องเป็นผู้แจ้งร้องทุกข์
หากเกิดความเสียหาย

1.ลิขสิทธิ์คุ้มครองอะไรบ้าง 
มีอะไรที่เราสามารถเอามาใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตหรือไม่

ตอบ ลิขสิทธิ์คุ้มครองงานสร้างสรรค์ เช่น บทความ หนังสือ ซอฟต์แวร์ 
เพลง รูปภาพ ภาพวาด ภาพถ่าย ภาพข่าว ภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น 
แต่ข้อเท็จจริงต่างๆ รวมทั้งข่าวประจำวันทั่วไปในส่วนของข้อเท็จจริง
ที่รายงานเพียงแค่ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ไม่เข้าข่ายงานอันมีลิขสิทธิ์ 
เราจึงสามารถเอามาใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต

2. เราสามารถดาวน์โหลดภาพยนตร์หรือเพลงจากอินเตอร์เน็ต
มาฟังและแชร์ต่อให้เพื่อนได้ไหม

ตอบ การดาวน์โหลดถือเป็นการทำซ้ำที่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ 
กรณีเว็บไซต์ลิขสิทธิ์ที่เจ้าของลิขสิทธิ์อนุญาตให้ดาวน์โหลดได้ฟรีก็สามารถดาวน์โหลดได้ แต่ไม่สามารถแชร์ต่อได้ ส่วนกรณีเว็บไซต์ที่ให้บริการ
โดยเก็บค่าใช้จ่ายในการดาวน์โหลด เมื่อผู้ใช้เสียค่าบริการแล้ว 
จึงจะดาวน์โหลดมาเพื่อรับชมหรือรับฟังได้ แต่ไม่สามารถแชร์ต่อได้เช่นกัน

3. การก๊อปปี้บทความหรือรูปภาพจากเว็บไซต์มาใส่เฟซบุ๊ก
ของเราหรือแชร์ต่อทางไลน์ ทำได้หรือไม่

ตอบ บทความหรือรูปภาพเป็นงานลิขสิทธิ์ การนำมาใช้ 
ไม่ว่าจะเป็นการก๊อปปี้หรือแชร์ต่อ ควรพิจารณาประกอบกับเงื่อนไข
การอนุญาตให้ใช้เนื้อหาของเว็บไซต์นั้นๆ ว่าจะทำได้มากน้อยเพียงใด 
อย่างไรก็ตาม ถ้านำมาใช้ในปริมาณน้อย เช่น 1 ถึง 2 ภาพ
ที่ไม่ได้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ (economic value) อย่างมีนัยสำคัญ
และไม่ได้เป็นการใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้าหรือหากำไรโดยมีการแสดง
ที่มาของบทความหรือรูปภาพก็อาจถือว่าเป็นการใช้งานลิขสิทธิ์
ที่เป็นธรรม(fairuse) ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

4. การนำงานมาใช้และเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มา 
หรือให้
เครดิตผู้สร้างสรรค์เพียงพอหรือไม่ที่จะไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

ตอบ การนำงานมาใช้และเผยแพร่ต้องอ้างอิงที่มาหรือให้เครดิตเสมอ
จึงจะไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และต้องเป็นกรณีที่ไม่ขัดต่อ
การแสวงหาประโยชน์จากงานลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ 
รวมทั้งต้องไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควรด้วย

5. การแฮ็กหรือหลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยี
เพื่อเข้าถึงงานลิขสิทธิ์ เช่น รูปภาพหรือคลิปวิดีโอบนอินเตอร์เน็ต 
และลบลายน้ำดิจิทัลออก และปรับแต่งรูปภาพหรือคลิปวิดีโอ
และโพสต์ไว้บนเว็บไซต์ของเรา มีความผิดอย่างไร และมีโทษเท่าใด

ตอบ การแฮ็กหรือหลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยี
เพื่อเข้าถึงงานลิขสิทธิ์โดยรู้อยู่แล้วว่าการกระทำดังกล่าวอาจจูงใจ
หรือก่อให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงถือว่า
มีความผิดฐานละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยี
และหากทำการลบลายน้ำดิจิทัลออกโดยรู้อยู่แล้วว่าการกระทำนั้น
อาจจูงใจให้เกิดก่อให้เกิด ให้ความสะดวก หรือปกปิดการละเมิดลิขสิทธิ์ 
ถือว่ามีความผิดฐานละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิ ส่วนการปรับแต่งรูปภาพ
หรือคลิปวิดีโอของผู้อื่นและโพสต์ไว้บนเว็บไซต์ของเราโดยไม่ได้รับอนุญาต
จากเจ้าของลิขสิทธิ์นั้นมีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์โดยการดัดแปลง
และเผยแพร่งานลิขสิทธิ์นั้นต่อสาธารณชน

โทษฐานละเมิดลิขสิทธิ์ปรับ 20,000 บาทถึง 200,000 บาท
เพื่อการค้า 100,000 ถึง 800,000 บาท หรือจำคุก 6 เดือนถึง 4 ปี 
หรือทั้งจำทั้งปรับ

โทษฐานละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิและมาตรการทางเทคโนโลยี 
ปรับ 10,000 บาทถึง 100,000 บาท 
เพื่อการค้า ปรับ 50,000 ถึง 400,000 บาท หรือจำคุก 3 เดือน 
ถึง 2 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

6. การก๊อปปี้ภาพหรือบทความจากอินเตอร์เน็ตมาใช้
ในลักษณะอย่างไรจึงจะต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ 
และอย่างไรจึงไม่ต้องขออนุญาต

ตอบ กรณีที่ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ เช่น การนำภาพ
หรือบทความนั้นไปใช้ในเชิงพาณิชย์ เป็นต้น กรณีที่ไม่ต้องขออนุญาต
เจ้าของลิขสิทธิ์ ต้องเป็นการใช้ในปริมาณพอสมควร เช่น 
นำมาใช้ในการวิจัยหรือศึกษางานซึ่งไม่ใช่เพื่อหากำไร 
ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือเพื่อประโยชน์ของตนเอง
และบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท ใช้ในการติชม วิจารณ์ 
หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น 
ใช้ในการเสนอข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
ในงานนั้น และใช้ในการเรียนการสอน เป็นต้น

7. การทำบล็อกแล้ว embed โพสต์ของยูทูบมาไว้ที่บล็อกของเรา 
ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่

ตอบ การทำบล็อกแล้ว embed โพสต์ของยูทูบมาไว้ที่บล็อกของเรา 
ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เนื่องจากการกระทำดังกล่าว
ถือเป็นการทำซ้ำงานลิขสิทธิ์ในบล็อกและถือเป็นการเผยแพร่ต่อสาธารณชนด้วย
 ซึ่งสิทธิในการทำซ้ำและสิทธิในการเผยแพร่งานลิขสิทธิ์ต่อสาธารณชน 
เป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์

ในกรณีของการแชร์ลิงค์ (link) เพื่อแนะนำและบอกที่มาของเว็บไซต์ 
ก็อาจไม่เข้าข่ายการละเมิดลิขสิทธิ์

8. หากซื้อซีดีเพลง หนังสือ หรือรูปภาพมาอย่างถูกต้อง 
เมื่อใช้แล้วจะนำออกขายต่อได้หรือไม่ 
กรณีซื้อโดยดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ ภาพยนตร์ เพลงจากเว็บไซต์ 
จะขายต่อได้หรือไม่

ตอบ การซื้อซีดีเพลงหรือรูปภาพ ผู้ซื้อได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในแผ่นซีดี
หรือรูปภาพนั้น จึงสามารถนำออกขายต่อได้ แต่ผู้ซื้อไม่สามารถทำสำเนางาน
เพื่อนำออกขายได้ เนื่องจากสิทธิในการทำซ้ำและการนำออกเผยแพร่
ต่อสาธารณชนเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ 
สำหรับกรณีการซื้อมาโดยวิธีการดาวน์โหลดนั้น 
เป็นการที่เจ้าของลิขสิทธิ์อนุญาตให้ใช้สิทธิ (License) 
ดังนั้น ไม่สามารถนำไฟล์งานดังกล่าวออกขายต่อได้

9. ผู้ให้บริการทางอินเตอร์เน็ต (ISPs) เช่น 
YouTube Google True DTAC จะมีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
หรือไม่ หากผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตอัพโหลดหนังหรือเพลงละเมิดลิขสิทธิ์

ตอบ ผู้ให้บริการทางอินเตอร์เน็ต (ISPs) ไม่ต้องรับผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์
หากให้ความร่วมมือกับเจ้าของลิขสิทธิ์ในการนำงานละเมิดออกจากเว็บไซต์
ตามคำสั่งศาล

10. จะทำอย่างไรเมื่อมีคนนำงานลิขสิทธิ์ของเราไปใช้โดย
ไม่ได้รับอนุญาต

ตอบ เมื่อพบว่ามีการละเมิดเกิดขึ้น เจ้าของลิขสิทธิ์อาจแจ้งเตือน
ให้ผู้กระทำละเมิดหยุดการกระทำดังกล่าว หรือเจ้าของลิขสิทธิ์
อาจไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจหรือฟ้องร้องเป็นคดีต่อศาล 
หรืออาจขอให้มีการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทโดยใช้บริการไกล่เกลี่ย
ของกรมทรัพย์สินทางปัญญาหรือศาล/จบ

.........................................................................................................




Create Date : 04 สิงหาคม 2558
Last Update : 4 สิงหาคม 2558 19:39:39 น. 0 comments
Counter : 1992 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

justice0009
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




[Add justice0009's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com